ข้ามไปเนื้อหา

สมองไหล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมองไหล (อังกฤษ: brain drain หรือ human capital flight) หรือ การสูญเสียคนชั้นมันสมอง เป็นการอพยพออกจากประเทศขนานใหญ่ของบุคคลซึ่งมีทักษะหรือความรู้เฉพาะด้าน; ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะความขัดแย้ง การขาดโอกาส ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง หรือความเสี่ยงด้านสุขภาพ "สมองไหล" มักได้รับพิจารณาว่าเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้อพยพมักจะนำบางส่วนของการฝึกซึ่งได้รับการสนับสนุนของรัฐบาลไปด้วย คู่ขนานกับการโยกย้ายทุน ซึ่งหมายถึงการเคลื่อนไหวในแนวเดียวกันของทุนทางการเงิน สมองไหลมักเกี่ยวข้องกับการลดทักษะการทำงานของผู้อพยพในประเทศจุดหมายของพวกเขา ในขณะที่ประเทศซึ่งอพยพออกนั้นสูญเสียประสบการณ์ของผู้มีทักษะ

คำว่า brain drain ประดิษฐ์ขึ้นโดยราชสมาคมเพื่อธิบายถึงการอพยพ "นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี" จากทวีปยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สองไปยังทวีปอเมริกาเหนือ ปรากฏการณ์ตรงกันข้าม คือ "การได้คนชั้นมันสมอง" ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการอพยพเข้ามาขนานใหญ่ของบุคคลที่มีคุณวุติทางเทคนิค ตามทฤษฎีแล้ว ภาวะ "สมองไหล" สามารถยุติได้ด้วยการให้โอกาสทางอาชีพแก่บุคคลผู้มีความชำนาญและให้โอกาสในการพิสูจน์ความสามารถของตนเอง

สมองไหลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนา อย่างเช่น อดีตอาณานิคมในทวีปแอฟริกา กลุ่มประเทศหมู่เกาะในแคริบเบียน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศซึ่งมีเศรษฐกิจที่วางแผนมาจากศูนย์กลาง อย่างเช่น ในอดีตเยอรมนีตะวันออกและสหภาพโซเวียต ที่ซึ่งทักษะทางการค้าไม่ได้รับผลตอบแทนทางการเงิน