ข้ามไปเนื้อหา

สถานีรถไฟเขาเต่า

พิกัด: 12°27′32″N 99°58′11″E / 12.4589°N 99.9698°E / 12.4589; 99.9698
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีรถไฟเขาเต่า
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งบ้านเขาเต่า ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พิกัด12°27′32″N 99°58′11″E / 12.4589°N 99.9698°E / 12.4589; 99.9698
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
ชานชาลา1
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ระดับชานชาลา1
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี4121 (ขต.)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
สวนสนประดิพัทธ์ สายใต้ วังก์พง
มุ่งหน้า สุไหงโก-ลก
เขาเต่า
Khao Tao
กิโลเมตรที่ 225.04
สวนสนประดิพัทธ์
Suan Son Pradiphat
−4.01 กม.
วังก์พง
Wang Phong
7.81 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้

สถานีรถไฟเขาเต่า ตั้งอยู่ที่บ้านเขาเต่า ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 241.09 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากอยู่ห่างจากสถานีรถไฟธนบุรีเป็นระยะทาง 225.04 กิโลเมตร เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายใต้ อยู่ระหว่าง สถานีรถไฟหนองแก และ สถานีรถไฟวังก์พง ใช้สัญญาณแบบไฟสี ไฟฟ้า-รีเลย์ ตัวย่อของสถานีคือ ขต.

ตารางเวลาการเดินรถ

[แก้]

เที่ยวไป

[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง เขาเต่า ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ธ251 ธนบุรี 13.10 18.03 ประจวบคีรีขันธ์ 19.10
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวกลับ

[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง เขาเต่า[1] ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ธ252 ประจวบคีรีขันธ์ 04.40 06.03 ธนบุรี 10.30
ธ254 หลังสวน 06.30 11.20 ธนบุรี 17.25
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เหตุการณ์รถไฟตกราง

[แก้]
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ลงพื้นที่เกิดเหตุ

เหตุการณ์รถไฟตกรางที่สถานีเขาเต่า เป็นเหตุการณ์ที่นับว่าเป็นอุบัติเหตุทางรถไฟไทยที่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากที่สุดรอบในหลายปี เหตุเกิดขึ้นเมื่อเวลา 04.20 น. ของวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยรถด่วนขบวนที่ 84 วิ่งจากสถานีตรังปลายทางสถานีกรุงเทพ ทำให้ตู้โดยสารทั้งหมด 15 ตู้ พลิกคว่ำเสีย 6 ตู้ มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 88 ราย และทำให้วันนั้นทั้งวัน รถไฟสายใต้ทุกขบวนต้องหยุดให้บริการทั้งหมด

ในเบื้องต้น ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ประเมินค่าเสียหายทั้งหมดนับ 100 ล้านบาท[2] จากขบวนรถไฟตู้โดยสารทั้งหมด 14 ตู้ ได้รับความเสียหาย 9 ตู้ และความเสียหายของราง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 120 ล้านบาท และความเสียหายจากการสั่งระงับการให้บริการรถไฟในเส้นทางสายใต้ 28 เที่ยว และขบวนรถสินค้า 5 เที่ยว เป็นเงิน 9 ล้านบาท[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-19. สืบค้นเมื่อ 2018-05-22.
  2. "นายกฯรุดดูเหตุรถไฟตกราง-รายชื่อผู้ตาย 7คน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-25. สืบค้นเมื่อ 2010-08-09.
  3. สรุปสาเหตุตกราง พขร.หลับใน