ข้ามไปเนื้อหา

สถานีรถไฟคลองมะพลับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คลองมะพลับ

Khlong Maphlap
สถานีรถไฟระดับที่ 3
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งตำบลศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
ชานชาลา2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1139 (มป.)
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการพ.ศ. 2453; 114 ปีที่แล้ว (2453)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
ชุมทางบ้านดารา
สถานีปลายทาง
สายเหนือ สวรรคโลก
สถานีปลายทาง
คลองมะพลับ
Khlong Maphlap
กิโลเมตรที่ 470.27
คลองละมุง
Khlong Lamung
–3.95 กม.
วัดคลองปู
Wat Khlong Pu
4.69 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีรถไฟคลองมะพลับ เป็นสถานีรถไฟระดับสามในเส้นทางรถไฟสายรองสายสวรรคโลก โดยเป็นสถานีรถไฟสถานีแรกในเขตจังหวัดสุโขทัย ตั้งอยู่ที่ ตำบลศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย เป็นหนึ่งในสองสถานีรถไฟที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสุโขทัย และเป็นสถานีรถไฟประจำอำเภอศรีนคร

ประวัติ

[แก้]

สถานีรถไฟคลองมะพลับ ก่อสร้างในรัตนโกสินทร์ศกที่ 128 หรือ พ.ศ. 2453 ตามพระกระแสพระราชโองการของพระบาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมมีฐานะเป็นที่หยุดรถประจำตำบลคลองมะพลับมาก่อน และใช้ชื่อว่า ที่หยุดรถคลองมะปรับ แต่ต่อมาก็เปลี่ยนมาเป็น คลองมะพลับ และยกฐานะเป็น สถานีรถไฟคลองมะพลับมาจนถึงทุกวันนี้ โดยชื่อ คลองมะปรับ ยังพบเห็นได้ในตัวย่อของสถานีรถไฟคลองมะพลับ "มป" ซึ่งย่อมาจาก คลองมะปรับ[1]

ตารางเวลาเดินรถ

[แก้]

ขบวนรถที่จอดสถานีรถไฟคลองมะพลับมีทั้งหมด 4 ขบวน ได้แก่

  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 3/4 กรุงเทพ(หัวลำโพง)-สวรรคโลก-ศิลาอาสน์-กรุงเทพ(หัวลำโพง) ปัจจุบัน ขบวนนี้อยู่ในสถานะ "งดเดินรถ"
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 405/406 ศิลาอาสน์-สวรรคโลก-ศิลาอาสน์ เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2566
ขบวนรถ ต้นทาง คลองมะพลับ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ท405 ศิลาอาสน์ 10.00 10.46 สวรรคโลก 11.00
ท406 สวรรคโลก 13.00 13.13 ศิลาอาสน์ 14.05
ดพ3 กรุงเทพอภิวัฒน์ 10.50 17.23 ศิลาอาสน์ 19.15 งดเดินรถ
ดพ4 ศิลาอาสน์ 19.50 18.23 กรุงเทพอภิวัฒน์ 04.00 งดเดินรถ
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

อ้างอิง

[แก้]
  1. คำกราบบังคมทูล รายงานการเปิดทางรถไฟอุตรดิตถ์และสวรรคโลก 26 ธ.ค. 2452