สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การรถไฟแห่งประเทศไทย | |||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | 1 ถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 | ||||||||||||||||||||||||||||||||
พิกัด | 13°44′20″N 100°31′0″E / 13.73889°N 100.51667°E | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้บริหาร | กระทรวงคมนาคม | ||||||||||||||||||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||||||||||||||||||
ชานชาลา | 12 ชานชาลาราง (ตัวสถานี) 8 ชานชาลาราง (โรงรถดีเซลราง) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | หัวลำโพง รถโดยสารประจำทาง เรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษม แท็กซี่ / มอเตอร์ไซค์รับจ้าง | ||||||||||||||||||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ระดับชานชาลา | ชั้นพิเศษ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่จอดรถ | ด้านข้างสถานี | ||||||||||||||||||||||||||||||||
สถาปนิก | มารีโอ ตามัญโญและอันนีบาเล ริกอตติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปแบบสถาปัตยกรรม | เรอแนซ็องส์ใหม่ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||||||||||||||||||
รหัสสถานี | 1001 (กท.) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||||||||||||||||||||||||
พ.ศ. 2544 | 60,000 คนต่อวัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) หรือ สถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นอดีตสถานีกลางของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด เริ่มก่อสร้างขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้บริเวณถนนพระรามที่ 4 โดยมีรูปแบบของทางเชื่อมต่อทางสถาปัตยกรรมที่กลมกลืนกับรถไฟฟ้ามหานคร
สถานีกรุงเทพก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ คล้ายกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ เป็นหลัก โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่รัศมี 80 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่ง
ก่อนปี พ.ศ. 2566 สถานีกรุงเทพเคยมีรถไฟกว่า 100 ขบวนต่อวัน โดยมีผู้โดยสารที่มาใช้บริการที่สถานีกรุงเทพหลายหมื่นคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2561) และโดยเฉพาะช่วงวันสำคัญและวันหยุดเนื่องในเทศกาลต่าง ๆ ของไทย เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ จะมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก
ปัจจุบันมีเพียงรถไฟขบวนรถธรรมดา รถชานเมือง และรถนำเที่ยวจำนวน 62 ขบวนเท่านั้น ที่ยังคงเริ่มต้นให้บริการที่สถานีกรุงเทพ ส่วนขบวนรถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ รวมจำนวน 52 ขบวน ได้ย้ายไปเริ่มต้นให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566[1]
ประวัติ
[แก้]สถานีนี้เริ่มสร้างในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 สถานีรถไฟกรุงเทพ เดิมเป็นสถานีที่ให้บริการทั้งด้านการขนส่งสินค้า และขนส่งมวลชน ต่อมาการขยายตัวในด้านการโดยสารและขนส่งสินค้ามีมากขึ้น แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัดเพียง 120 ไร่ จึงทำให้ต้องย้ายกิจการขนส่งสินค้าไปอยู่ที่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 และทำการปรับปรุงสถานีรถไฟกรุงเทพให้เป็นสถานีรถไฟสำหรับบริการด้านขนส่งมวลชนเพียงอย่างเดียว เพื่อสามารถรองรับผู้โดยสารจากทั่วทุกสารทิศของประเทศ
การเปิดใช้งานสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
[แก้]เมื่อสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2564 และกลายเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้สถานีกรุงเทพต้องลดสถานะเป็นสถานีรองแทน ซึ่งในอนาคตสถานีกรุงเทพจะเป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง และจะพัฒนาพื้นที่เป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟไทยและศูนย์การเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มคนบางส่วนที่คัดค้าน เช่น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย เนื่องจากการยกเลิกสถานีกรุงเทพนั้นจะทำให้คนที่ต้องเดินทางเข้ามาทำงานในเมืองโดยใช้รถไฟทุกวันได้รับความเดือดร้อน สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะกรรมการนักศึกษาคณะโบราณคดี ได้ร่วมแถลงการณ์คัดค้านนโยบายการปิดสถานีกรุงเทพ ขอให้มีการจัดมรดกทางวัฒนธรรมของสถานีกรุงเทพให้ชัดเจน เป็นต้น
โดยในช่วงแรกที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เปิดใช้ จะมีเพียงรถไฟทางไกลบางขบวนเท่านั้นที่สามารถขึ้นไปใช้ได้ เช่น ขบวนรถนั่งและนอนปรับอากาศรุ่น JR-West Blue train (บนท.ป.JR) ที่ปรับปรุงใหม่ซึ่งจะพ่วงกับรถไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.Power Car), ขบวนรถนั่งและนอนปรับอากาศรุ่น CNR ชุด 115 คันซึ่งมีห้องน้ำเป็นระบบปิดและมีรถไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.Power Car) อยู่ในริ้วขบวน ส่วนรถไฟทางไกลขบวนอื่น ๆ จะยังคงใช้สถานีกรุงเทพต่อไปจนกว่าจะปรับปรุงห้องน้ำในตู้โดยสารเป็นระบบปิดจนเสร็จสิ้นแล้ว จึงจะทยอยไปรวมที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ต่อไป
โดยในปี พ.ศ. 2565 การรถไฟแห่งประเทศไทยมีแผนที่จะย้ายจุดเริ่มต้นของรถไฟทางไกล 28 ขบวนไปที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์อีกครั้งในวันที่ 1 กันยายน[2] แต่สุดท้ายแผนก็ได้เลื่อนออกไป จนกระทั่งในวันที่ 27 ธันวาคม การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ประกาศย้ายจุดเริ่มต้นของรถไฟทางไกลกลุ่มขบวนรถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ ของสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ รวมจำนวน 52 ขบวนไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566[3] ส่วนขบวนรถธรรมดา รถชานเมือง และรถนำเที่ยวจำนวน 62 ขบวน ยังคงให้บริการที่สถานีรถไฟกรุงเทพตามเดิม[1] ทั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการของ สถานีรถไฟกรุงเทพ เป็น สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อป้องกันการสับสน
ลักษณะของสถานี
[แก้]ตัวสถานีแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ อาคารมุขหน้า มีลักษณะเหมือนระเบียงยาว และอาคารโถงสถานีเป็นอาคารหลังคาโค้งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก คือ เป็นงานเลียนแบบสถาปัตยกรรมโบราณของกรีก - โรมัน จุดเด่นของสถานีกรุงเทพอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งประดับไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาซึ่งติดตั้งไว้กลางส่วนโค้งของอาคารด้านในและด้านนอก โดยเป็นนาฬิกาที่สั่งทำขึ้นพิเศษเป็นการเฉพาะ ไม่ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตเหมือนนาฬิกาทั่ว ๆ ไป
เมื่อก่อสร้างเสร็จใหม่ ๆ ในปี พ.ศ. 2459 ในช่วงแรก ๆ บริเวณอาคารมุขหน้าของสถานีจะเขียนว่า "สถานีรถไฟหลวง สายเหนือ" ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นคำว่า "สถานีกรุงเทพ" ในภายหลัง
บริเวณที่พักผู้โดยสารเป็นห้องโถงชั้นครึ่ง ชั้นล่างซึ่งมีที่นั่งจำนวนมาก มีร้านค้าหลากหลาย ได้แก่ ร้านอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ผลไม้ ขนมปัง ไอศกรีม หนังสือ ร้านขายยา ฯลฯ ก่อนถึงห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้ายังมีห้องละหมาดอีกด้วย เหนือห้องประชาสัมพันธ์มีจอภาพขนาด 300 นิ้ว ควบคุมด้วยระบบดอลบีดิจิทัล ฉายเรื่องราวเกี่ยวกับการรถไฟ ส่วนชั้นลอยมีที่นั่งไม่มากนัก มีบริษัททัวร์ บริษัทรับจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบิน บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา และร้านกาแฟ
ที่ผนังด้านซ้ายและขวาของสถานีกรุงเทพมีภาพเขียนสีน้ำ เป็นภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญๆ ของประเทศ อาทิ พระบรมมหาราชวัง ตลาดน้ำ เขาวัง ภูกระดึง หาดสมิหลา ฯลฯ นอกจากนี้ที่ด้านหน้าสถานีมีสวนหย่อมและน้ำพุสำหรับประชาชน โดยข้าราชการรถไฟได้รวบรวมทุนทรัพย์จัดสร้างอนุสาวรีย์น้อมเกล้าฯ อุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระพุทธเจ้าหลวง อนุสาวรีย์ที่ว่านี้เป็นรูป “ช้างสามเศียร” มีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แกะสลักเป็นภาพนูนสูงประดิษฐานอยู่ด้านบน
ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 มีการจัดงาน Clash de Cartier ซึ่งเป็นงานปาร์ตี้พร้อมการจัดแสดงเครื่องเพชรของคาร์เทียร์ ที่สถานีกรุงเทพ[4]
การให้บริการ
[แก้]กิจการรถไฟ ข้อมูลเมื่อ 19 มกราคม 2566[update] มีเส้นทางที่ออกจากสถานีกรุงเทพ จำนวน 4 สาย ได้แก่
- ทางรถไฟสายเหนือ จำนวน 16 ขบวน
- ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 ขบวน
- ทางรถไฟสายตะวันออก จำนวน 22 ขบวน
- ทางรถไฟสายใต้ จำนวน 4 ขบวน
เที่ยวขึ้น
[แก้]ขบวนรถ | ต้นทาง | สถานีกรุงเทพ | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ช303 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 04.15 | ต้นทาง | ลพบุรี | 07.05 | ยกเว้นวันหยุดราชการ | |
ช339 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 05.05 | ต้นทาง | ชุมทางแก่งคอย | 08.05 | ยกเว้นวันหยุดราชการ | |
น909 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 06.30 | ต้นทาง | น้ำตกไทรไยคน้อย | 11.30 | เฉพาะวันหยุดราชการ | |
น911 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 06.30 | ต้นทาง | สวนสนประดิพัทธ์ | 11.33 | เฉพาะวันหยุดราชการ | |
ธ275 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 05.55 | ต้นทาง | ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก | 11.17 | ||
ธ283 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 06.55 | ต้นทาง | จุกเสม็ด | 11.20 | ||
ธ281 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 08.00 | ต้นทาง | กบินทร์บุรี | 11.35 | ||
ธ261 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 09.20 | ต้นทาง | สวนสนประดิพัทธ์ | 14.00 | ||
ธ201 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 09.30 | ต้นทาง | พิษณุโลก | 17.55 | ||
ธ367 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 10.10 | ต้นทาง | ชุมทางฉะเชิงเทรา | 11.45 | ||
ธ209 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 11.15 | ต้นทาง | บ้านตาคลี | 15.40 | ||
ธ233 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 11.30 | ต้นทาง | สุรินทร์ | 20.00 | ||
ช389 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 12.10 | ต้นทาง | ชุมทางฉะเชิงเทรา | 13.30 | ||
ธ279 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 13.05 | ต้นทาง | ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก | 17.27 | ||
ธ211 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 12.55 | ต้นทาง | ตะพานหิน | 19.15 | ||
ธ207 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 14.10 | ต้นทาง | นครสวรรค์ | 19.35 | ||
ธ277 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 15.25 | ต้นทาง | กบินทร์บุรี | 18.20 | ||
ช301 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 16.30 | ต้นทาง | ลพบุรี | 19.40 | ||
ช391 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 16.35 | ต้นทาง | ชุมทางฉะเชิงเทรา | 17.55 | ||
ช341 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 17.00 | ต้นทาง | ชุมทางแก่งคอย | 20.00 | ||
ช355 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 16.40 | ต้นทาง | สุพรรณบุรี | 20.04 | ||
ช317 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 17.30 | ต้นทาง | ลพบุรี | 20.20 | ยกเว้นวันหยุดราชการ | |
ช371 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 17.40 | ต้นทาง | ปราจีนบุรี | 20.55 | บชส.76-มีเดินทุกวัน | |
ช313 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 18.20 | ต้นทาง | ชุมทางบ้านภาชี | 20.30 | ยกเว้นวันหยุดราชการ | |
ช383 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 18.25 | ต้นทาง | ชุมทางฉะเชิงเทรา | 20.05 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
เที่ยวล่อง
[แก้]ขบวนรถ | ต้นทาง | สถานีกรุงเทพ | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ช314 | ชุมทางบ้านภาชี | 04.45 | ปลายทาง | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 06.50 | ยกเว้นวันหยุดราชการ | |
ช302 | ลพบุรี | 04.30 | ปลายทาง | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 07.35 | ||
ช356 | สุพรรณบุรี | 04.00 | ปลายทาง | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 08.05 | ||
ช342 | ชุมทางแก่งคอย | 05.30 | ปลายทาง | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 08.30 | ||
ช318 | ลพบุรี | 06.00 | ปลายทาง | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 08.50 | ยกเว้นวันหยุดราชการ | |
ธ208 | นครสวรรค์ | 05.00 | ปลายทาง | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 10.15 | ||
ช304 | ลพบุรี | 08.00 | ปลายทาง | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 10.30 | ||
ช340 | ชุมทางแก่งคอย | 08.45 | ปลายทาง | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 11.10 | ยกเว้นวันหยุดราชการ | |
ธ212 | ตะพานหิน | 05.30 | ปลายทาง | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 12.10 | ||
ธ202 | พิษณุโลก | 06.05 | ปลายทาง | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 14.05 | ||
ธ234 | สุรินทร์ | 05.20 | ปลายทาง | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 14.25 | ||
ธ262 | สวนสนประดิพัทธ์ | 14.35 | ปลายทาง | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 19.20 | ||
น910 | น้ำตกไทรไยคน้อย | 14.25 | ปลายทาง | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 19.25 | เฉพาะวันหยุดราชการ | |
น912 | สวนสนประดิพัทธ์ | 16.28 | ปลายทาง | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 21.40 | เฉพาะวันหยุดราชการ | |
ธ210 | บ้านตาคลี | 16.00 | ปลายทาง | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 20.35 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
การเชื่อมต่อ
[แก้]ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพจะมีทางเดินเชื่อมไปยังสถานีหัวลำโพง ในเส้นทางของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล อยู่ภายในชั้นใต้ดินของสถานีรถไฟ
แผนผังสถานี
[แก้]G ชานชาลารถไฟทางไกล |
|||||
ชานชาลา 14 | |||||
ชานชาลา 13 | |||||
ชานชาลา 12 | |||||
ชานชาลา 11 | |||||
ชานชาลา 10 | |||||
ชานชาลา 9 | |||||
ชานชาลา 8 | |||||
ชานชาลา 7 | |||||
ชานชาลา 6 | |||||
ชานชาลา 5 | |||||
ชานชาลา 4 | |||||
ชานชาลา 3 | |||||
ชานชาลา 2 | |||||
ชานชาลา 1 | |||||
G ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | โถงพักคอยและรับผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า, ทางออก | |||
B1-B2 ส่วนของสถานีรถไฟฟ้ามหานคร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางเดินเชื่อมไปยัง สถานีหัวลำโพง, ชั้นขายบัตรโดยสาร, ชานชาลาสถานี |
อุบัติเหตุ
[แก้]- พ.ศ. 2529 เหตุหัวรถจักรจีอี 6 คันไร้คนขับ ชนสถานีกรุงเทพ พ.ศ. 2529
- พ.ศ. 2559
- และรวมถึงเหตุการณ์รถไฟตกรางในย่าน หลายครั้ง
สมุดภาพ
[แก้]-
สถานีรถไฟกรุงเทพในปี พ.ศ. 2566
-
ชานชาลาที่ 8 สำหรับขบวนรถเร็วที่ 109 กรุงเทพ - เชียงใหม่
-
รูปปั้นช้างเอราวัณ ด้านหน้าสถานีรถไฟกรุงเทพ
-
ระหว่างชานชาลาที่ 4-5
-
ขบวนรถด่วนที่ 83 กรุงเทพ - ตรัง จอดเทียบชานชาลาที่ 10 ในปี พ.ศ. 2549
-
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 714 (C56 16) (C5616) ที่ย่านสถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549
-
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 714 (C56 16) (C5616) ที่ย่านสถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2555
-
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 714 (C56 16) (C5616) ที่ย่านสถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558
-
ชานชาลาสถานีรถไฟกรุงเทพ มองจากย่านสถานี
-
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 713 (C56 15) (C5615) จอดแสดงในงาน Unfolding Bangkok ซึ่งงานจะจัดวันที่ 18 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2566 ขณะจอดเทียบอยู่ในชานชลาที่ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ
-
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 713 (C56 15) (C5615) จอดแสดงในงาน Unfolding Bangkok ซึ่งงานจะจัดวันที่ 18 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2566 ขณะจอดเทียบอยู่ในชานชลาที่ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ
-
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 713 (C56 15) (C5615) จอดแสดงในงาน Unfolding Bangkok ซึ่งงานจะจัดวันที่ 18 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2566 ขณะจอดเทียบอยู่ในชานชลาที่ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ
-
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 715 (C56 17) (C5617) จอดแสดงในงาน Unfolding Bangkok ซึ่งงานจะจัดวันที่ 18 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2566 ขณะจอดเทียบอยู่ในชานชลาที่ 4 สถานีรถไฟกรุงเทพ
-
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 715 (C56 17) (C5617) จอดแสดงในงาน Unfolding Bangkok ซึ่งงานจะจัดวันที่ 18 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2566 ขณะจอดเทียบอยู่ในชานชลาที่ 4 สถานีรถไฟกรุงเทพ
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 356 กำลังออกจากสถานีกรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2480
-
ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ บริเวณจุดจำหน่ายตั๋ว ในปี พ.ศ. 2562
-
ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ บริเวณที่นั่งพักคอยและร้านค้าเช่า ในปี พ.ศ. 2562
-
ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ บริเวณชานชาลา ในปี พ.ศ. 2562
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 จอดแสดงในงาน Hua Lamphong in Your Eye ขณะจอดเทียบอยู่ในชานชลาที่ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 จอดแสดงในงาน Hua Lamphong in Your Eye ขณะจอดเทียบอยู่ในชานชลาที่ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 จอดแสดงในงาน Hua Lamphong in Your Eye ขณะจอดเทียบอยู่ในชานชลาที่ 4 สถานีรถไฟกรุงเทพ
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 จอดคู่กับ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 จอดแสดงในงาน Hua Lamphong in Your Eye ขณะจอดเทียบอยู่ในชานชลาที่ 4 และ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ
-
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 จอดคู่กับ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 จอดแสดงในงาน Hua Lamphong in Your Eye ขณะจอดเทียบอยู่ในชานชลาที่ 4 และ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ
-
ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ บริเวณชานชาลา ในปี พ.ศ. 2566
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
[แก้]การคมนาคม
[แก้]- รถไฟฟ้ามหานคร
- เรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษม
- ท่าหัวลำโพง
- ท่านพวงศ์
- ท่ายศเส
- เรือด่วนเจ้าพระยาและไทย สมายล์ โบ้ท
- ท่ากรมเจ้าท่า
- เรือข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยา
- ท่าสวัสดี
- สะพาน
|
|
หน่วยงานราชการ
[แก้]
|
|
รัฐวิสาหกิจ
[แก้]- การรถไฟแห่งประเทศไทย
- ศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพ
สถานศึกษา
[แก้]
|
|
|
|
สถานพยาบาล
[แก้]- โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ
- โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์
- โรงพยาบาลกว๋องสิวมูลนิธิ
สถานพยาบาลสัตว์
[แก้]- โรงพยาบาลสัตว์ศิริเวช
ศาสนสถานและสุสาน
[แก้]- ศาสนาพุทธ
|
|
- ศาสนาอิสลาม
- มัสยิดหลวงโกชาอิศหาก
- ศาสนาคริสต์
- โบสถ์กาลหว่าร์
- คริสตจักรสะพานเหลือง
- ความเชื่ออื่น ๆ
อนุสรณ์สถาน
[แก้]พิพิธภัณฑ์
[แก้]- พิพิธภัณฑ์รถไฟไทย
- พิพิธตลาดน้อย
สวนสาธารณะ
[แก้]สนามกีฬา
[แก้]ธุรกิจ
[แก้]ตลาดและศูนย์การค้า
[แก้]- ตลาดน้อย
- คลองถม
- เยาวราช
- ริเวอร์ซิตี
องค์กรไม่แสวงหากำไร
[แก้]สถานที่ทางธรรมชาติ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ดีเดย์ 'ศักดิ์สยาม' นำทีมเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์สถานีกลางฯ-มธ.รังสิต". ไทยโพสต์. 2023-01-19. สืบค้นเมื่อ 2023-01-19.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ดีเดย์ 1 ก.ย.นี้! รถไฟทางไกลให้บริการ @สถานีกลางบางซื่อ 28 ขบวน www.dailynews.co.th สืบค้นเมื่อ 29-05-2565.
- ↑ "ดีเดย์ 19 ม.ค.66 รถไฟทางไกล 52 ขบวน เปิดหวูด สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์". กรุงเทพธุรกิจ. 2022-12-27. สืบค้นเมื่อ 2023-01-20.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โอดี้ NEWS ข่าวส่งเสริมสังคม – คาร์เทียร์เนรมิตงานปาร์ตี้ Clash de Cartier สุดยิ่งใหญ่แห่งปี เผยความงามที่อยู่เหนือความคาดหมายของเครื่องประดับที่ฉีกทุกกรอบ ทลายทุกกฏ".
- ↑ "ระทึก! ไฟไหม้หลังคาสถานีรถไฟหัวลำโพง โชคดีไร้เจ็บ คาดไฟฟ้าลัดวงจร(มีคลิป)". mgronline.com. 2016-05-08.
- ↑ "ผลสอบเหตุระเบิดสถานีรถไฟหัวลำโพงเกิดจากความประมาท". Thai PBS.
- กรมรถไฟหลวง, รายงานกองบัญชาการครั้งที่ 20 กล่าวด้วยการเดินรถไฟหลวงทางขนาดใหญ่ในกรุงสยามประจำพระพุทธศักราช 2459 (ปีคฤศต์ศักราช 1916-17), โรงพิมพ์กรมรถไฟ, พระนคร, พ.ศ. 2460 (เก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
- กรมรถไฟหลวง,งานฉลองรถไฟหลวง 50 ปี, โรงพิมพ์กรมรถไฟ, พระนคร, พ.ศ. 2490
- ประวัติสถานีรถไฟกรุงเทพ เก็บถาวร 2007-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่เฟซบุ๊ก
- ประวัติสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เก็บถาวร 2021-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย