สกุลศิลปะเซียนา
ตระกูลการเขียนภาพแบบเซียนนา (ภาษาอังกฤษ: Sienese School) เป็นการเขียนภาพจิตรกรรมที่รุ่งเรืองในเมืองเซียนนาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึง 15 และชั่วระยะเวลาหนึ่งเป็นฝีมือการเขียนที่เทียบเท่ากับตระกูลการเขียนภาพแบบฟลอเรนซ์ แต่ลักษณะของเซียนนาจะไปทางเชิงอนุรักษนิยมมากกว่าและมีแนวโน้มไปทางการตกแต่งที่งดงามแบบปลายศิลปะกอธิค ผู้ที่เป็นตัวแทนการเขียนของตระกูลนี้คนสำคัญก็ได้แก่ดุชโชซึ่งงานมีอิทธิพลมาจากศิลปะแบบ;ซิโมเน มาร์ตินิลูกศิษย์ของดุชโช; เปียโตร และ อัมโบรจิโอ ลอเร็นเซ็ตติ; โดเม็นนิโค และ ทัดดิโอ ดิ บาร์โตโล; สเตฟาโน ดิ จิโอวานนิ และ มัตติโอ ดิ จิโอวานนิ ไม่เช่นการเขียนแบบธรรมชาตินิยมของตระกูลการเขียนแบบฟลอเรนซ์ งานเขียนของเซียนนาจะดูเป็นเชิงรหัสยะ (mystical streak) ซึ่งจะเห็นได้จากหัวเรื่องการวาดที่มักจะเป็นเรื่องเหตุการณ์การปาฏิหาริย์และไม่คำนึงถึงสัดส่วนเท่าใดนักและบิดเบือนเวลาและสถานที่และการใช้สีก็เป็นสีแบบเหมือนฝัน มาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 จิตรกรแมนเนอริสม์เช่นโดเม็นนิโค ดิ พาเซ เบคคาฟูมิ และ อิลโซโดมา ก็ทำงานที่นั่น ขณะที่บาลดาสซาเร เปรูซซิ (Baldassare Peruzzi) เกิดและฝึกงานที่เซียนนาแต่งานเขียนแสดงให้เห็นฝีมือที่ได้มาจากที่ได้ทำงานที่กรุงโรมเป็นเวลานาน ฐานะทางเศรษฐกิจและการเมืองของเซียนนาเริ่มตกต่ำในคริสต์ทศวรรษ 1500 ซึ่งทำให้ความมีอิทธิพลทางด้านจิตรกรรมลดถอยตามลงไปด้วย
รายนามจิตรกร
[แก้]ค.ศ. 1251 - ค.ศ. 1300
[แก้]- กุยโด ดา เซียนนา (Guido da Siena)
ค.ศ. 1301 - ค.ศ. 1350
[แก้]- ดุชโช (Duccio di Buoninsegna)
- เซ็นยา ดิ บวยนาเวนตูรา (Segna di Buonaventura)
- นิโคโล ดิ เซ็นยา (Niccolò di Segna)
- ซิโมเน มาร์ตินิ (Simone Martini)
- ลิบโป เม็มมิ (Lippo Memmi)
- นัดโด เค็คคาเรลลิ (Naddo Ceccarelli)
- อัมโบรจิโอ ลอเร็นเซ็ตติ (Ambrogio Lorenzetti)
- เปียโตร ลอเร็นเซ็ตตี (Pietro Lorenzetti)
- บาร์โตโลมิโอ บุลการินิ (Bartolomeo Bulgarini)
ค.ศ. 1351 - ค.ศ. 1400
[แก้]- บาร์โตโล ดิ เฟรดิ (Bartolo di Fredi)
- อันเดรอา วันนิ (Andrea Vanni)
- ฟรานเชสโค ดิ วันนุชชิโอ (Francesco di Vannuccio)
- จาคโคโป ดิ มิโน เดล เปลลิชเชียโอ (Jacopo di Mino del Pellicciaio)
- นิโคโล ดิ โบนาคคอร์โซ (Niccolò di Bonaccorso)
- นิโคโล ดิ เซอร์ ซอซโซ (Niccolò di Ser Sozzo)
- ลูคา ดิ โทมเม (Luca di Tommè)
- ทัดดิโอ ดิ บาร์โตโล (Taddeo di Bartolo)
- อันเดรอา ดิ บาร์โตโล (Andrea di Bartolo)
- เปาโล ดิ จิโอวานนิ เฟอิ (Paolo di Giovanni Fei)
ค.ศ. 1401 - ค.ศ. 1450
[แก้]- เบเนเด็ตโต ดิ บินโด (Benedetto di Bindo)
- โดเม็นนิโค ดิ บาร์โตโล (Domenico di Bartolo)
- จิโอวานนิ ดิ เปาโล (Giovanni di Paolo)
- เกรกอริโอ ดิ เค็คโค (Gregorio di Cecco)
- มาร์ติโน ดิ บาร์โตโลมิโอ (Martino di Bartolomeo)
- ครูบาแห่งบานพับภาพออสเซอวันตา (Master of the Osservanza Triptych)
- เปียโตร ดิ จิโอวานนิ เดอัมโบรจิโอ (Pietro di Giovanni d'Ambrogio)
- ปริอาโม เดลลา เควอเซีย (Priamo della Quercia)
- ซาโน ดิ เปียโตร (Sano di Pietro)
- สเตฟาโน ดิ จิโอวานนิ (Stefano di Giovanni)
- เวคคิเอียตตา (Vecchietta)
ค.ศ. 1451 - ค.ศ. 1500
[แก้]- นิโคโล ดิ อูลิสเซ (Nicola di Ulisse)
- มัตติโอ ดิ จิโอวานนิ (Matteo di Giovanni)
- เบ็นเว็นนุโต ดิ จิโอวานนิ (Benvenuto di Giovanni)
- คาร์โล ดิ จิโอวานนิ (Carlo di Giovanni)
- ฟรานเชสโค ดิ จอร์โจ มาร์ตินิ (Francesco di Giorgio Martini)
- เนโรชชิโอ ดิ บาร์โตโลมิโอ เดลานดิ (Neroccio di Bartolomeo de' Landi)
- เปียโตร ฟรานเชสโค เดกลิ โอริโอลิ (Pietro di Francesco degli Orioli)
- กุยโดชชิโอ คอซซาเรลลิ (Guidoccio Cozzarelli)
- เบอร์นาร์ดิโน ฟุงกาอิ (Bernardino Fungai)
- เปลเลกริโน ดิ มาเรียโน (Pellegrino di Mariano)
- อันเดรีย ดิ นิโคโล (Andrea di Niccolò)
- เปียโตร ดิ โดเม็นนิโค (Pietro di Domenico)
ค.ศ. 1501 - ค.ศ. 1550
[แก้]- จิโรลาโม ดิ เบ็นเวนูโต (Girolamo di Benvenuto)
- จิอาโคโม พาชชิอารอตติ (Giacomo Pacchiarotti)
- จิโรลาโม เดล พาชเชีย (Girolamo del Pacchia)
- โดเม็นนิโค ดิ พาเซ เบคคาฟูมิ (Domenico Beccafumi)
- อิลโซโดมา (Il Sodoma) (Giovanni Antonio Bazzi)
- บาร์โตโลเมโอ เนโรนิ (Bartolomeo Neroni)