ข้ามไปเนื้อหา

ศาสนาอิสลามในประเทศสโลวาเกีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสนาอิสลามในทวีปยุโรป
ตามจำนวนร้อยละของประชากรประเทศ[1]
  90–100%
  70–80%
คาซัคสถาน
  50–70%
  30–50%
มาซิโดเนียเหนือ
  10–20%
  5–10%
  4–5%
  2–4%
  1–2%
  < 1%

ใน ค.ศ. 2010 มีมุสลิมอาศัยในประเทศสโลวาเกียประมาณ 5,000 คน ซึ่งน้อยกว่า 0.1% ของประชากรประเทศ[2]

ประวัติ

[แก้]

หลายทศวรรษหลังจากที่ฮังการีพ่ายแพ้ที่โมฮาชใน ค.ศ. 1526 กองกำลังตุรกีได้ยึดครองสตูโรโว (Párkány) และพื้นที่ส่วนอื่นของภาคกลางตอนใต้ของสโลวาเกีย พวกเขาได้สนับสนุนกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนนิกายโปรเตสแตนต์ ในขณะที่กองกำลังออสเตรียฮาพส์บวร์คครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันตก และสนับสนุนนิกายโรมันคาทอลิก ต่อมา กองกำลังตุรกีได้ยึดครองพื้นที่เพิ่มเติม และเข้าปล้นสะดมในดินแดนบริเวณนิตรา สุดท้ายแล้ว กองกำลังตุรกีพ่ายแพ้ในยุทธการที่เวียนนา กองทัพออตโตมันพ่ายแพ้ที่สโลวาเกีย และในช่วง ค.ศ. 1687–1699 กองทัพตุรกีออตโตมันที่ครอบครองฮังการีได้ล่มสลายไป

ประชากรมุสลิม

[แก้]

สโลวาเกียเป็นรัฐสมาชิกสุดท้ายในสหภาพยุโรปที่ไม่มีมัสยิด[3] ในวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 สโลวาเกียได้ผ่านร่างกฎหมายที่จะกีดขวางศาสนาอิสลามจากการได้สถานะเป็นศาสนาทางการของประเทศ[4] สโลวาเกียเป็นประเทศเดียวในสหภาพยุโรปที่ไม่มีมัสยิดแม้แต่หลังเดียว[5][6]

ศูนย์อิสลามกอร์โดบาในบราติสลาวา

[แก้]

ศูนย์อิสลามกอร์โดบา (Kultúrne Centrum Córdoba) ตั้งอยู่บนถนน Obchodná ในบราติสลาวา เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาเพียงแห่งเดียวของประเทศ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นมัสยิดที่แท้จริง ศูนย์อิสลามแห่งนี้เปิดทำการทุกวัน สามารถเข้าประกอบพิธีได้ตลอดเวลายกเว้นช่วงเช้า สำหรับในวันศุกร์ มีการสวดมนต์ในภาษาอาหรับ อังกฤษ และสโลวาเกีย โดยเริ่มในเวลา 13 นาฬิกา ศูนย์อิสลามแห่งนี้แม้จะไม่ใหญ่นัก แต่ก็เพียงพอสำหรับผู้เข้าร่วม 80-100 คน ภายในศูนย์มีโพเดียมไม้ที่ใช้สำหรับสวดมนต์วันศุกร์ โพเดียมนี้ไม่มีการตกแต่งลวดลายสวยงามเหมือนกับที่มัสยิดแห่งอื่น ๆ ศูนย์อิสลามกอร์โดบาในบราติสลาวาพยายามขอการรับรองให้เป็นมัสยิดแท้จริงจากรัฐบาล แต่ก็ถูกปฏิเสธ[7]

ความเกลียดชังต่อชาวมุสลิม

[แก้]

ในประเทศสโลวาเกีย ชาวมุสลิมถูกเกลียดชังจากพลเมืองท้องถิ่น เช่นเดียวกันกับที่ชาวผิวสีและชาวต่างชาติได้รับ ความเกลียดชังนี้สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากที่มีการอพยพครั้งใหญ่ของยุโรปใน ค.ศ. 2015 พร้อมด้วยการก่อการร้ายของมุสลิมในยุโรปตะวันตก[8] ใน ค.ศ. 2016 ได้มีการกล่าวถึงกรณีตัวอย่างของ Khadra Abdile ผู้ลี้ภัยชาวโซมาเลีย เธอถูกทำร้ายร่างกายหลายครั้งในบราติสลาวาเพียงเพราะเธอมีสีผิวต่างจากชาวเมืองและสวมฮิญาบด้วย ผู้ลี้ภัยได้รับความช่วยเหลือจากเอมิเลีย เตรปาโชวา ซึ่งเขาได้รับรางวัล Biela vrana ในภายหลัง[9]

นักการเมืองได้ออกมาแถลงการณ์ถึงเรื่องการแสดงความเกลียดชังต่อชาวมุสลิม เช่นเดียวกันกับผู้แทนจากพรรคอนุรักษ์นิยมฝ่ายซ้าย พรรคนีโอนาซี และกลุ่มประชาชนที่เคลื่อนไหว ก็ออกมาพูดถึงเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน[10][11][12] ในการประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2016 โรเบิร์ต ฟิโก ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เสนอถึงการป้องกันการก่อเหตุของชุมชนมุสลิมเพื่อลดการเกิดอาชญากรรม ข้อเรียกร้องเหล่านี้ไม่ขัดต่อกฎหมาย[13] ชุมชนอิสลามยังคงถูกประณามว่าเกี่ยวกับการก่อการร้ายและความรุนแรงทางเพศ[14]

ภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Religious Composition by Country, 2010-2050". Pew Research Center. 12 April 2015. สืบค้นเมื่อ 22 October 2017.
  2. [1]
  3. "Slovensko je poslednou krajinou únie, kde nie je mešita". Pluska (ภาษาสโลวัก). 7 PLUS, s.r.o. 15 November 2014. สืบค้นเมื่อ 5 April 2014.
  4. https://www.reuters.com/article/us-slovakia-religion-islam-idUSKBN13P20C
  5. Henrich, Alica (2015): Multiculturalism and Religious Tolerance Politics Concerning Muslims in Slovakia. Hamburg.
  6. "Slovakia effectively bans Islam from country, forbids mosques". Remix News. สืบค้นเมื่อ August 13, 2020.
  7. https://www.huffingtonpost.co.uk/muhammad-zulfikar-rakhmat/finding-slovakias-forgott_b_9571980.html
  8. Šnídl, Vladimír; Barcíková, Michaela (2018-06-05). "Zbitá somálska matka, porezaný Francúz, nadávky moslimom. Nenávisť k cudzincom rastie". dennikn.sk. N Press. ISSN 1339-844X. สืบค้นเมื่อ 2020-07-06.
  9. Biela vrana. "Biele vrany 2016". bielavrana.sk. สืบค้นเมื่อ 2020-07-06.
  10. Chovanec, Štefan (2017-02-01). "Odporca islamu Milan Mazurek: Cez deň bojuje proti moslimom, na večeru si odskočí do tureckej reštaurácie". hnonline.sk. MAFRA Slovakia. ISSN 1336-1996. สืบค้นเมื่อ 2020-07-06.
  11. "Kollár a Krajniak sa znovu pustili do Islamu, v Národnej rade Slovenskej republiky varovali pred terorom". securitymagazin.cz. สืบค้นเมื่อ 2020-07-06.
  12. TA3 TASR (2017-02-05). "Podľa Kollára si máme vážiť, že nemáme mešity. Poliačik hovorí o populizme". ta3.com. C.E.N. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-06. สืบค้นเมื่อ 2020-07-06.
  13. "Predseda vlády, sloboda prejavu a ucelená moslimská komunita". pravnelisty.sk. สืบค้นเมื่อ 2020-07-06.
  14. TASR (2016-01-07). "Fico chce zabrániť vzniku ucelenej moslimskej komunity na Slovensku". sme.sk. Petit Press. ISSN 1335-4418. สืบค้นเมื่อ 2020-07-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]