ข้ามไปเนื้อหา

ศาลเจ้าเกียนอันเกง

พิกัด: 13°44′24″N 100°29′33″E / 13.739953°N 100.492549°E / 13.739953; 100.492549
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาลเจ้าเกียนอันเกง
ศาลเจ้ากวนอันเก๋ง
建安宮
ศาลเจ้าเกียนอันเกง ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561
ศาสนา
ศาสนาศาสนาชาวบ้านจีน
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
เทพเจ้าแม่กวนอิม
ปีที่อุทิศพ.ศ. 2391[1]
ที่ตั้ง
ที่ตั้ง582 ถนนเทศบาลสาย 1 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ประเทศประเทศไทย
สถาปัตยกรรม
ประเภทสถาปัตยกรรมจีน
รูปแบบสถาปัตยกรรมฮกเกี้ยน
ผู้ก่อตั้งกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยน[2]
เสร็จสมบูรณ์พ.ศ. 2391[1]
ทิศทางด้านหน้าทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ประจำปี 2551[3]

ศาลเจ้าเกียนอันเกง หรือ ศาลเจ้ากวนอันเก๋ง (ตัวเต็ม: 建安宮) เป็นศาลเจ้าเจ้าแม่กวนอิมของกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยน ตั้งอยู่ในย่านชุมชนกุฎีจีน แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ศาลแห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหารและวัดซางตาครู้ส ศาลเจ้าได้สร้างขึ้นในปีใดไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่กล่าวกันว่าชาวจีนฮกเกี้ยนที่ตามเสด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นผู้สร้างขึ้น[2] เดิมศาลเจ้าแห่งนี้มีจำนวน 2 หลังซึ่งติดกัน คือ ศาลเจ้าโจวซือกง และ ศาลเจ้ากวนอู จนในเวลาต่อศาลเจ้าก็ทรุดโทรมลงไปมาก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ ได้มีชาวฮกเกี้ยนกลุ่มหนึ่งได้เข้ามารื้อศาลทั้ง 2 ลง แล้วสร้างใหม่จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2391[1] และดำรงสภาพเดิมมาจนถึงปัจจุบัน

เดิมทั้ง 2 ศาล ประดิษฐาน เจ้าพ่อโจวซือกง และ เจ้าพ่อกวนอู ตามชื่อศาลเจ้า แต่ภายหลังรื้อศาลเจ้าแล้วสร้างใหม่เพียงหลังเดียวทำให้องค์ประธานทั้ง 2 ได้ถูกย้ายไปด้วยซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นที่ใด[3] ปัจจุบันศาลเจ้ามีเจ้าแม่กวนอิม เป็นองค์ประธานหลัก[4]

ศาลเจ้าเกียนอันเกงมีทำเลที่ตั้งติดแหล่งน้ำจึงมีการวางผังหันสู่แม่น้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับผังบริเวณของศาลเจ้า จัดเป็นศาลเจ้าขนาดกลางที่มีอาคาร 2 หลังวางขนานกัน โดยมีชานระเบียงล้อมลานตรงกลางศาล (ผังแบบโดนัท) สำหรับงานศิลปกรรมที่สำคัญภายในศาลเจ้าประกอบด้วย ไม้เครื่องแกะสลักที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่าง ภาพจิตรกรรมฝาผนัง และกระเบื้องโค้งตามรูปแบบจีนประเพณี[5] จนในปี พ.ศ. 2551 ศาลเจ้าได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ปัจจุบันศาลเจ้าอยู่ในความดูแลของตระกูล สิมะเสถียร หรือ แซ่ซิ้ม เดิมและ ตันติเวชกุล หรือ แซ่ตัน เดิม ซึ่งเป็นตระกูลที่เข้ามาก่อสร้างปรับปรุงให้กับศาลเจ้าตั้งแต่ครั้นรัชกาลที่ 3[6][7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 ไชยพจน์พานิช, อชิรัชญ์ (2014). สถาปัตยกรรมศาลเจ้าจีนสะท้อนภาพชาวจีนในสังคมสมัยรัตนโกสินทร์ (PDF). สืบค้นเมื่อ 18 June 2023.
  2. 2.0 2.1 ไหว้เทพเจ้า 4 ศาลเสริมสิริมงคลในเทศกาลตรุษจีน[ลิงก์เสีย], Mcot.net .วันที่ 29 ม.ค. 2557
  3. 3.0 3.1 ศาลเจ้าเกียนอันเกง เก็บถาวร 2020-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เดลินิวส์ .วันที่ 5 ตุลาคม 2551
  4. สามศาสนา สี่ความเชื่อ สู่ความยั่งยืนของชุมชนกุฎีจีน เก็บถาวร 2016-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สมาคมถ่ายภาพกรุงเทพ .วันที่ 26/05/2559
  5. เที่ยวชุมชนกุฎีจีน เสพความคลาสสิก ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เก็บถาวร 2016-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, travel.mthai.com .วันที่ 9 พ.ค. 2558
  6. เที่ยวฝั่งธนฯ ชมชุมชนสามัคคี…กุฎีจีน เก็บถาวร 2005-09-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการ .วันที่ 22 มี.ค. 2548
  7. พระโพธิสัตว์กวนอิม...ศาลเจ้าเกียนอันเกง, Oknation .วันที่ 9 ก.ย. 2555

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°44′24″N 100°29′33″E / 13.739953°N 100.492549°E / 13.739953; 100.492549