ข้ามไปเนื้อหา

ศาลเจ้ากวนอู (คลองสาน)

พิกัด: 13°44′14″N 100°30′00″E / 13.737202251702483°N 100.50003666375329°E / 13.737202251702483; 100.50003666375329
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาลเจ้ากวนอู
武聖廟
ศาลเจ้ากวนอู ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566
ศาสนา
ศาสนาศาสนาชาวบ้านจีน
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
เทพกวนอู
ปีที่อุทิศพ.ศ. 2331[1]
ที่ตั้ง
ที่ตั้ง251 ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
ประเทศประเทศไทย
สถาปัตยกรรม
ประเภทสถาปัตยกรรมจีน
รูปแบบโครงสร้างไม้รับน้ำหนักหลังคาแบบชาเหลียง[2]
ผู้ก่อตั้งกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยน
เสร็จสมบูรณ์พ.ศ. 2391[1]
ทิศทางด้านหน้าทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

ศาลเจ้ากวนอู (ตัวเต็ม: 武聖廟) เป็นศาลเจ้าเทพกวนอูของกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยน ต่อมาได้รับการเคารพและดูแลรักษาโดยกลุ่มชาวจีนแต้จิ๋วจวบจนมาจนถึงปัจจุบัน ศาลแห่งนี้ตั้งอยู่ในซอยสมเด็จเจ้าพระยา 3 แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพมหานครที่ก่อสร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีประวัติจารึกขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2331[1]

ศาลเจ้ากวนอู มีทำเลที่ตั้งติดแหล่งน้ำจึงมีการวางผังหันสู่แม่น้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เช่นเดียวศาลเจ้าเกียนอันเกง ที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ กัน สำหรับผังบริเวณของศาลเจ้ามีลักษณะศาลเจ้าขนาดกลาง มีการวางผังแบบตัว I หรือ 工 (กง) คือมีลักษณะเป็นอาคาร 2 หลังที่วางขนานกัน ได้แก่ อาคารทางเข้าและอาคารประธาน โดยมีชานเชื่อมต่อบริเวณใจกลางศาลเจ้า บริเวณด้านข้างของชานเชื่อมทั้ง 2 ฝั่งเป็นบ่อน้ำในลานกลางแจ้งขนาดย่อม[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 ไชยพจน์พานิช, อชิรัชญ์ (2014). สถาปัตยกรรมศาลเจ้าจีนสะท้อนภาพชาวจีนในสังคมสมัยรัตนโกสินทร์ (PDF). สืบค้นเมื่อ 18 June 2023.
  2. He, Zhonghuan (2020). ความเชื่อและพิธีกรรมของศาลเจ้ากวนอูในพื้นที่กรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาฝั่งธนบุรี. สืบค้นเมื่อ 19 June 2023.
  3. สุจินันท์กุล, รุ่ง (1999). การศึกษาเพื่อเสนอแนวความคิดในการอนุรักษ์ศาลเจ้าจีนในกรุงเทพมหานคร ที่สร้างขึ้นช่วงสมัยรัชกาลที่ 1ถึงรัชกาลที่ 5. p. 92. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-19. สืบค้นเมื่อ 19 June 2023.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°44′14″N 100°30′00″E / 13.737202251702483°N 100.50003666375329°E / 13.737202251702483; 100.50003666375329