ข้ามไปเนื้อหา

วิตนีย์ ฮิวสตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิตนีย์ ฮูสตัน)
วิตนีย์ ฮิวสตัน
ฮิวสตันในปี 1991
เกิดวิตนีย์ เอลิซาเบธ ฮิวสตัน
9 สิงหาคม ค.ศ. 1963(1963-08-09)
นวร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012(2012-02-11) (48 ปี)
เบเวอร์ลีฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
สาเหตุเสียชีวิตจมน้ำเนื่องจากโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจและภาวะโคเคนเป็นพิษ
สุสานสุสานแฟร์วิล เวสต์ฟิลด์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา
สัญชาติ สหรัฐอเมริกา
การศึกษาMount Saint Dominic Academy
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแสดง
  • ผู้ผลิตภาพยนตร์
  • นางแบบ
ปีปฏิบัติงาน1977–2012
คู่สมรสบ็อบบี้ บราวน์ (สมรส 1992; หย่า 2007)
บุตรบ็อบบี คริสตินา บราวน์
บิดามารดา
  • จอห์น รัสเซล ฮิวสตัน (บิดา)
  • คิสซี ฮิวสตัน (มารดา)
ญาติดิออน วอร์วิค (ลูกพี่ลูกน้อง)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
  • อาร์แอนด์บี
  • ป็อป
  • โซล
  • กอสเปล
  • แดนซ์
ค่ายเพลง
เว็บไซต์whitneyhouston.com
ลายมือชื่อ

วิตนีย์ ฮิวสตัน (อังกฤษ: Whitney Houston) หรือชื่อจริงว่า วิตนีย์ เอลิซาเบธ ฮิวสตัน (Whitney Elizabeth Houston; 9 สิงหาคม 250611 กุมภาพันธ์ 2555) เป็นนักร้อง นักแสดง และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ. 2552 เธอถูกยกให้เป็นศิลปินหญิงที่ได้รับรางวัลมากที่สุดตลอดกาลจากบันทึกสถิติโลกกินเนสส์[1] ฮิวสตันยังเป็นหนึ่งในศิลปินเพลงที่มียอดขายสูงสุดตลอดกาล โดยประมาณ 200 ล้านแผ่นเสียงทั่วโลก[2][3]

ฮิวสตันมีอัลบั้มสตูดิโอ 7 อัลบั้มและอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ 2 อัลบั้ม ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รับการรับรองระดับเพชร มัลติแพลทินัม แพลทินัมหรือทองโดยสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA) ความนิยมของเธอในชาร์ตเพลงยอดนิยมต่าง ๆ รวมถึงความโดดเด่นของเธอในเอ็มทีวี มีอิทธิพลต่อศิลปินหญิงชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาจำนวนมาก

ฮิวสตันเริ่มร้องเพลงในโบสถ์ตั้งแต่ยังเป็นเด็กและกลายเป็นนักร้องเบื้องหลังในช่วงมัธยมปลาย ด้วยคำแนะนำของ Clive Davis ประธานบริษัท Arista Records เธอได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงเมื่ออายุ 19 ปี อัลบั้มสตูดิโอสองชุดแรกของเธอคือ Whitney Houston (1985) และ Whitney (1987) โดยทั้งสองอัลบั้มขึ้นอันดับหนึ่งในบิลบอร์ด 200 และอยู่ในอันดับอัลบั้มยอดขายสูงสุดตลอดกาล เธอเป็นศิลปินเพียงคนเดียวที่มีซิงเกิลอันดับหนึ่ง 7 ครั้งติดต่อกันบนบิลบอร์ดฮอต 100 ของสหรัฐอเมริกา จาก "Saving All My Love for You" ในปี 1985 ถึง "Where Do Broken Hearts Go" ในปี 1988

ฮิวสตันเริ่มต้นการแสดงในภาพยนตร์โรแมนติกเขย่าขวัญเรื่อง The Bodyguard (1992) โดยเธอปล่อยเพลงประกอบภาพยนตร์ทั้งหมด 6 เพลง รวมถึง I Will Always Love You ซึ่งได้รับรางวัลแกรมมี สาขาบันทึกเสียงแห่งปี และกลายเป็นเพลงที่ขายดีที่สุดโดยผู้หญิงคนหนึ่งในประวัติศาสตร์วงการดนตรี อัลบั้มประกอบภาพยนตร์นี้ยังได้รับรางวัลแกรมมี สาขาอัลบั้มแห่งปี และยังคงเป็นอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์

ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555 ฮิวสตันถูกพบเสียชีวิตในห้องพักของเธอที่โรงแรมเบเวอร์ลีฮิลตัน ซึ่งตั้งอยู่ในเบเวอร์ลีฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย รายงานการชันสูตรศพได้พิจารณาว่าเธอเสียชีวิตจากการจมน้ำในอ่างอาบน้ำ โดยคาดว่าโรคหัวใจและการใช้โคเคนเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เธอเสียชีวิต[4] การเสียชีวิตของเธอก่อนงานประกาศผลรางวัลแกรมมี ครั้งที่ 54 ในอีกไม่กี่วัน ทำให้สื่อทั่วโลกต่างนำเสนอข่าวอย่างใหญ่โต[5]

ชีวิตในวัยเด็กและการเริ่มต้นอาชีพ

[แก้]

วิตนีย์ ฮิวสตันเกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1963 ในครอบครัวที่มีรายได้ปานกลางในเมืองนวร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์[6] เธอเป็นลูกสาวของทหารและผู้บริหาร จอร์จ รัสเซล ฮิวสตัน จูเนียร์ และนักร้องเพลงกอสเปล เอมิลี ซิสซี ฮิวสตัน [7] พี่ชายของเธอชื่อไมเคิลเป็นนักร้อง และพี่น้องร่วมมารดายังเป็นอดีตผู้เล่นบาสเกตบอล แกรี การ์แลนด์[8][9] พ่อแม่ของเธอทั้งสองคนเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาแต่แม่ของเธอมีเชื้อสายดัตช์อีกด้วย[10] ฮิวสตันเป็นลูกพี่ลูกน้องของนักร้อง ดิออน วอร์วิค และดีดี วอร์วิกเมื่อนับจากฝ่ายมารดา ส่วนแม่อุปถัมภ์ของเธอคือ ดารลีน เลิฟ[11] และป้ากิตติมศักดิ์ของเธอคือ อารีทา แฟรงคลิน[12][13] เธอได้พบกับแฟรงคลินเมื่อเธออายุ 8-9 ขวบ เมื่อแม่ของเธอพาเธอยังห้องอัดเพลง[14] หลังจากนั้นครอบครัวของเธอย้ายไปยังอีสต์ออเรนจ์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ เมื่อเธออายุสี่ขวบ[15]

เมื่ออายุ 11 ปี ฮิวสตันเริ่มการแสดงในฐานะศิลปะเดี่ยวกับคณะประสานเสียงกลุ่มกอสเปล ในโบสถ์ New Hope Baptist ในนวร์ก ซึ่งเธอได้เริ่มฝึกเล่นเปียโนเป็นครั้งแรกอีกด้วย[16] ผลงานการแสดงของเธอในโบสถ์คือเพลง "Guide Me, O Thou Great Jehovah"[17] เมื่อโตขึ้น เธอได้เข้าเรียนที่ Mount Saint Dominic Academy และทำให้เธอได้พบ ร็อบบิน แคลทฟอร์ด ซึ่งเธอกล่าวว่าเป็นเพื่อนสนิทที่สุดของเธอ[18] ฮิวสตันกล่าวว่าแม่ของเธอเป็นผู้สอนร้องเพลงและทำให้เธอได้รู้จักเพลงจากศิลปินหลายคน เช่น ชากา คาน, แกลดีส์ ไนต์ และโรเบอร์ตา แฟล็ก ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมามีอิทธิพลต่อเธอในฐานะนักร้องและนักดนตรีอย่างมาก[19]

ฮิวสตันในช่วงวัยเด็กได้ใช้เวลาบางส่วนไปผับที่แม่ของเธอเปิดบริการ โดยเธอมักจะขึ้นไปบนเวทีและทำการแสดงเป็นบางครั้ง ในปี 1977 ขณะอายุ 14 ปี เธอเป็นนักร้องแบ็กอัพให้กับวงไมเคิล เซเจอร์ ในเพลง Life's a Party[20] ในปี 1978 ขณะอายุ 15 ปี เธอได้ร่วมร้องประสานในเพลง I'm Every Woman ของชากา คาน โดยเพลงนั้นได้เริ่มทำให้ฮิวสตันเป็นที่รู้จัก[21][22] เธอยังร้องแบ็กอัพให้กับอัลบั้มของศิลปินอีกหลายคน เช่น Lou Rawls และ Jermaine Jackson[21]

ในต้นยุค 1980 ฮิวสตันทำงานเป็นนางแบบหลังจากที่มีตากล้องไปเห็นเธอใน Carnegie Hall ร้องเพลงกับแม่ ทำให้เธอได้ลงนิตยสารเซเวนทีน[23] และกลายเป็นหนึ่งในผู้หญิงผิวสีคนแรกในหน้าปกของนิตยสาร[24] เธอยังเป็นจุดเด่นในหน้าปกนิตยสารอย่าง Glamour, Cosmopolitan และ Young Miss รวมถึงในโฆษณาเครื่องดื่ม Canada Dry[21] รูปลักษณ์และความมีเสน่ห์ของเธอทำให้เธอกลายเป็นหนึ่งในนางแบบวัยรุ่นที่โด่งดังในช่วงเวลาขณะนั้น[21] ในขณะที่เป็นนางแบบ เธอก็ยังเดินหน้าอัดเพลงโดยมีไมเคิล เบิร์นฮอร์น, บิล ลาสเวล และมาร์ติน บีซีเป็นโปรดิวเซอร์ โดยมี One Down เป็นอัลบั้มแรกจากวงแมททีเรียล หลังจากนั้น ฮิวสตันมีส่วนในการร้องเพลง Memerois เพลงคัฟเวอร์โดยฮิว ฮอปเปอร์ จากวงซอฟท์แมชชีน โดยโรเบิร์ต คริสต์กัล จากวงดิวิลเลจวอยซ์ อธิบายผลงานของเธอว่าเป็น หนึ่งในเพลงที่งดงามที่เคยได้ยิน[25] เธอยังได้ร่วมร้องเพลงในอัลบั้ม Paul Jabara and Friends ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดที่ 4 ของพอล จาบารา วางจำหน่ายโดยโคลัมเบียเรเคิดส์ เมื่อปี 1983[26]

วันที่เสียชีวิต

[แก้]

ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 วิทนีย์ถูกพบเสียชีวิตที่โรงแรมเบเวอร์ลีฮิลตัน ในเบเวอร์ลี ฮิลส์, รัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตยังคงไม่เป็นที่แน่ชัด เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของเบเวอร์ลีฮิลส์ระบุว่าพบนักร้องสาวในร่างซึ่งไร้การตอบสนองและได้ทำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพเป็นเวลาประมาณ 20 นาที ก่อนที่จะประกาศว่าเธอได้เสียชีวิตลงแล้ว ณ เวลา 15:55 นาฬิกา[27] ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า "ไม่มีข้อบ่งชี้ใดที่แน่ชัดว่าการเสียชีวิตเป็นเหตุอาชญากรรม"

ผู้มีชื่อเสียงจากหลากหลายแขนงต่างกันร่วมแสดงความเสียใจต่อการตายของวิทนีย์ เช่น ดอลลี พาร์ตันผู้ที่ร้องเพลง ไอวิลออลเวย์สเลิฟยู ซึ่งวิทนีย์นำมาร้องคัฟเวอร์ใหม่แสดงความเห็นว่า "จะยังคงรู้สึกสำนึกและเกรงขามต่อการแสดงอันน่าตื่นตะลึงที่เธอได้กระทำกับเพลงของฉัน และขอพูดมันจากก้นบึ้งของหัวใจ 'วิทนีย์ ฉันจะยังคงรักคุณเสมอไป คุณจะยังคงเป็นที่โหยหาจากผู้คน'." ส่วนแม่บุญธรรมของวิทนีย์ อาเรธา แฟรงคลิน กล่าวว่า "มันเป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อและชวนตกตะลึง ฉันไม่อยากจะเชื่อว่าตัวเองเพิ่งจะได้อ่านข่าวนี้ผ่านหน้าจอโทรทัศน์ไป"[28]

ทางด้านอดีตสามีของวิทนีย์อย่าง บ็อบบี้ บราวน์ ระบุว่าเขา "ร้องไห้ไม่หยุด" หลังจากที่ได้รับทราบข่าวการเสียชีวิต เขาไม่ได้ยกเลิกตารางการแสดงของตัวเองที่กำลังดำเนินอยู่ ภายในหนึ่งชั่วโมงของการตาย บ็อบบี้ได้จุมพิตแล้วโบกไปยังท้องฟ้าพร้อมกับหลั่งน้ำตาก่อนจะพูดว่า "วิทนีย์, ผมรักคุณ" ซึ่งผู้ชมการแสดงของเขาในมิสซิสซิปปีต่างร่วมเป็นสักขีพยาน[29][30][31][32]

ผลงาน

[แก้]

สตูดิโออัลบั้ม

[แก้]

ภาพยนตร์

[แก้]
ปีที่ฉายหนัง ชื่อภาพยนตร์ บทบาท รางวัล
2535 The Bodyguard ราเชล มอลรอน * ถูกเสนอชื่อเข้าชิง - 1993 เอ็มทีวี มูฟวี่ อวอร์ด สำหรับบทบาทหญิงยอดเยี่ยม[33]
  • ถูกเสนอชื่อเข้าชิง - 1993 เอ็มทีวี มูฟวี่ อวอร์ด สำหรับบทบาทการแสดงที่มีประสิทธิภาพ[34]
  • ถูกเสนอชื่อเข้าชิง - 1993 เอ็มทีวี มูฟวี่ อวอร์ด สำหรับนักแสดงยอดเยี่ยมคู่กับ เควิน คอสต์เนอร์[35]
2538 Waiting to Exhale ซาวานน่า แจ็คสัน * ถูกเสนอชื่อเข้าชิง - 1996 NAACP อิมเมจ อะวอร์ดสำหรับรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม[36]
2539 The Preacher's Wife จูลี่ บิกสส์ * เข้าชิงรางวัล - 1997 NAACP อิมเมจ อะวอร์ดสำหรับนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม[37]
  • ถูกเสนอเข้าชิง - 1997 บล็อกบัสเตอร์ เอนเตอร์เทนเมนต์ อะวอร์ด สำหรับ นักแสดงหญิงที่โปรดปราน (คอเมดี้/โรแมนติด)[38]
  • ถูกเสนอเข้าชิง - 1997 คิดส์ ชอยส์ อะวอร์ดสำหรับนักแสดงหญิงจากภาพยนตร์สุดโปรดปราน[39]

อัลบั้มรวมเพลงอย่างเป็นทางการ

[แก้]
  • Whitney: The Greatest Hits - 2000
  • Love, Whitney - 2001
  • Artist Collection: Whitney Houston - 2004
  • The Ultimate Collection - 2007
  • The Essential Whitney Houston - 2011
  • I Will Always Love You: The Best of Whitney Houston - 2012

รายการอ้างอิง

[แก้]
  1. Encyclopedia of African American history, 1896 to the present: from the age of segregation to the twenty-first century. Oxford University Press; 2009. ISBN 978-0-19-516779-5. p. 459–460.
  2. Dobuzinskis, Alex (2009-09-15). "Whitney Houston says she is "drug-free"". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2009-11-01.
  3. Sullivan, Caroline (2012-02-12). "Whitney Houston obituary". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2012-02-12.
  4. "Whitney Houston: Cocaine in system not a fatal dose, expert says". Los Angeles Times. April 5, 2012. สืบค้นเมื่อ March 28, 2013.
  5. Christopher, Tommy (February 13, 2012). "Howard Kurtz Asks If Whitney Houston's Death 'Is Worth' Intense News Coverage". สืบค้นเมื่อ February 13, 2012.
  6. nytimesobit
  7. Notable Black American women. VNR AG; 1996. ISBN 978-0-8103-9177-2. p. 304–305.
  8. "Top 10 Things You May Not Know About Whitney Houston". ABC. February 16, 2012. Retrieved November 4, 2012.
  9. "Michael Houston 'Devastated' At Death Of Sister" เก็บถาวร 2012-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Entertainment Wise. February 12, 2012. Retrieved November 4, 2012.
  10. Visionary Project Video Interview (bottom of page) -Cissy Houston: My Family, go to the 1:00 mark. September 2, 2009 [archived 2018-09-21; cited February 11, 2012].
  11. Whitney's godmother: 'She was a light'. Nancy Grace spoke with Whitney Houston's godmother and Rock and Roll Hall of Fame singer Darlene Love.. February 13, 2012 [archived 2013-01-02; cited February 17, 2012].
  12. The Detroit News. Aretha Franklin recalls meeting a young Whitney Houston [cited February 18, 2012].[ลิงก์เสีย]
  13. Whitney Houston Sings Her Way to Stardom. Johnson Publishing Company; August 26, 1985. p. 59.
  14. The Detroit News. Aretha Franklin recalls meeting a young Whitney Houston [cited February 18, 2012].[ลิงก์เสีย]
  15. Whitney Houston. Chelsea House Publishers; January 1998. ISBN 978-0-7910-4456-8. p. 21.
  16. Whitney & Bobby – Addicted to Love. September 2005 [cited March 17, 2007]. Vibe Magazine.
  17. Jet. Johnson Publishing Company; February 17, 1986. p. 59.
  18. Vibe. Vibe Media Group; June 2007 [cited February 13, 2012]. p. 78.[ลิงก์เสีย]
  19. Whitney Houston: Down and Dirty. Rolling Stone; Jann S. Wenner, editor and publisher. June 10, 1993 [cited March 17, 2007].
  20. Bronson, Fred (October 1, 2003). The Billboard book of number 1 hits. Random House Digital. p. 629. ISBN 978-0-8230-7677-2.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 Singer Whitney Houston a Model of Success. Johnson Publishing Company; July 16, 1990. p. 32.
  22. Whitney and Cissy Houston on the Joys and Worries of Motherhood. Johnson Publishing Company; May 1995 [cited February 15, 2012]. p. 30–.
  23. The Soul of Whitney. December 2023 [cited February 15, 2008]. Essence Magazine.
  24. Salon.com. Didn't She Almost Have It All; April 13, 2006 [archived 2008-05-22; cited December 12, 2007].
  25. RobertChristgau.com. Material she was a great song writer [cited December 12, 2007].
  26. Allmusic. Paul Jabara & Friends Album Review [cited January 14, 2010].
  27. February 11, 2012 | 6:32 pm. "Whitney Houston's death: Medics performed CPR for about 20 minutes — latimes.com". Latimesblogs.latimes.com. สืบค้นเมื่อ 2012-02-12.
  28. "Singer Whitney Houston dies at 48". Edition.cnn.com. 1963-08-09. สืบค้นเมื่อ 2012-02-12.
  29. http://www.dailymail.co.uk/tvshowbiz/article-2100022/Whitney-Houston-dead-Bobby-Brown-makes-tearful-tribute-performs-onstage-shortly-death-ex-wife.html
  30. http://www.thairath.co.th/content/oversea/237818 จบตำนาน วิทนีย์ ฮุสตัน เสียชีวิตแล้ว
  31. http://www.thairath.co.th/content/oversea/237991 อดีตสามีร่ำไห้ หลังทราบข่าว 'วิทนีย์ ฮุสตัน' เสียชีวิต
  32. http://www.thairath.co.th/content/oversea/237886 ปริศนาการตาย 'วิทนีย์ ฮุสตัน' เพราะยาเสพติดทำลายชีวิต?
  33. swaptree.com. MTV Movie Awards: Best Female Performance; July 13, 1993 [cited January 11, 2010].
  34. swaptree.com. MTV Movie Awards: Best Breakthrough Performance; July 13, 1993 [cited January 11, 2010].
  35. swaptree.com. MTV Movie Awards: Best On-Screen Duo; July 13, 1993 [cited January 11, 2010].
  36. tv.com. Whitney Houston: Blurbs [archived 2010-12-03; cited January 11, 2010].
  37. EBONY's 50th Anniversary Show, Denzel Washington Among NAACP Image Award Winners (p60). March 3, 1997 [cited January 8, 2010].
  38. 1996 Blockbuster Entertainment Awards Nominees Announced. February 1, 1997 [cited June 15, 2010].
  39. Internet Movie Database. 1997 Kids' Choice Awards [archived 2007-01-12; cited January 13, 2010].


แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]