วัน แบงค็อก
ภาพรวมโครงการวัน แบงค็อก จากแยกวิทยุ เมื่อเดือนตุลาคม 2567 | |
โครงการ | |
---|---|
เริ่มสร้าง | 8 มีนาคม พ.ศ. 2561 |
แล้วเสร็จ | พ.ศ. 2570 |
เปิดใช้งาน | 18 มีนาคม พ.ศ. 2567 (ไม่เป็นทางการ; อาคารสำนักงาน 4 และพาเหรดบางส่วน) 25 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (พิธีเปิด; อาคารสำนักงาน 3, พาเหรด, เดอะสตอรีส์ และพื้นที่เปิดโล่ง) 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567 (โรงแรมเดอะ ริทส์-คาร์ลตัน) พ.ศ. 2568 (อาคารสำนักงาน 5 และโรงแรมแอนดาซ) พ.ศ. 2569 (โพสต์ 1928 และโรงแรมเฟรเซอร์ สวีทส์) พ.ศ. 2570 (ทั้งโครงการ) |
ค่าก่อสร้าง | 120,000 ล้านบาท |
สถานะ | เปิดใช้งานบางส่วน |
พื้นที่ | 108 ไร่ |
ผู้พัฒนาโครงการ | บริษัท วัน แบงค็อก จำกัด |
สถาปนิก | สคิดมอร์, โอวิงส์ แอนด์ เมอร์ริลล์ บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด บริษัท แปลน แอสโซซิเอทส์ จำกัด |
ผู้จัดการ | บริษัท วัน แบงค็อก โฮลดิ้งส์ จำกัด โดย
|
เจ้าของ | สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ |
เว็บไซต์ | onebangkok |
ลักษณะทางกายภาพ | |
อาคารหลัก | วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ |
พื้นที่สาธารณะ | วัน แบงค็อก พาร์ค พาเหรด พาร์ค ไวร์เลส พาร์ค |
การจัดสรรพื้นที่ | อาคารสำนักงาน โรงแรม อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย พื้นที่ค้าปลีก |
ถนน | ถนนพระรามที่ 4 ถนนวิทยุ |
ขนส่งมวลชน | ลุมพินี |
ที่ตั้ง | |
พิกัด: 13°43′38″N 100°32′50″E / 13.7272°N 100.5473°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
เขต | ปทุมวัน |
แขวง | ลุมพินี |
ที่อยู่ | กลุ่มอาคาร R1 1877 ถนนพระรามที่ 4 กลุ่มอาคาร R2 195 ถนนวิทยุ กลุ่มอาคาร R3 189 ถนนวิทยุ |
วัน แบงค็อก (อังกฤษ: One Bangkok) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมใจกลางกรุงเทพมหานคร บนพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จำนวน 108 ไร่ บริเวณหัวมุมแยกวิทยุ ติดกับสวนลุมพินี ในพื้นที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน[1] พัฒนาโดยบริษัท วัน แบงค็อก จำกัด (ชื่อเดิม: บริษัท เกษมทรัพย์วัฒน จำกัด[2]) และบริหารโดยบริษัท วัน แบงค็อก โฮลดิ้งส์ จำกัด กิจการร่วมทุนระหว่างบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด[3] เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาย่านพระรามที่ 4 ของกลุ่มทีซีซี
ภายหลังจากชนะการประมูลที่ดินผืนนี้จากสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ผู้พัฒนาโครงการจากกลุ่มทีซีซีได้ทำสัญญาเช่าที่ดินเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557[4] จากนั้นได้เปิดตัวโครงการเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560[5] ก่อนเริ่มการก่อสร้างเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561[6] ต่อมาเริ่มเปิดอย่างไม่เป็นทางการในบางส่วนของระยะแรกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2567[7] และมีพิธีเปิดโครงการระยะแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2567[8] โดยมีกำหนดแล้วเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการในปี พ.ศ. 2570[9][10]
ประวัติ
[แก้]ความเป็นมาและการประมูลที่ตั้งโครงการ
[แก้]พื้นที่โครงการวัน แบงค็อก เดิมเป็นสถานีวิทยุศาลาแดง[11], โรงเรียนเตรียมทหาร, สนามมวยเวทีลุมพินี และสวนลุมไนท์บาซาร์ โดยสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ได้นำพื้นที่บริเวณนี้มาประมูลครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยเปิดให้บริษัทเอกชนเสนอแผนการพัฒนาโครงการ ซึ่งมีผู้ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 8 ราย อาทิ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน), บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) และ กลุ่มทีซีซี เป็นต้น โดยในครั้งแรกนี้ เซ็นทรัลพัฒนาเป็นผู้ชนะการประมูล[12] แต่บริษัทไม่สามารถเข้าไปพัฒนาพื้นที่ได้ทันที เนื่องจากติดปัญหาการย้ายออกจากพื้นที่ของ บริษัท พี.คอน. ดีเวลลอปเม้นท์ (ไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการสวนลุมไนท์บาซาร์ จนต้องมีการฟ้องร้อง และศาลมีคำสั่งให้ออกจากพื้นที่ อย่างไรก็ตาม หลังจากระยะเวลาผ่านมา 8 ปี กลุ่มเซ็นทรัลก็ยังคงไม่สามารถเข้าไปพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวได้ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์จึงยกเลิกสัญญากับเซ็นทรัลพัฒนา เพื่อนำที่ดินดังกล่าวออกมาประมูลใหม่[13]
การประมูลครั้งที่สองนี้ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ได้มอบหมายให้บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด จัดประมูลในปี พ.ศ. 2556[14] โดยมีผู้เข้ารอบ 18 ทีม กำหนดขอบเขตของโครงการเป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสม ซึ่งประกอบด้วย ที่อยู่อาศัย โรงแรม ศูนย์การค้า สำนักงาน ศูนย์การศึกษา และศูนย์วัฒนธรรม ซึ่งมีผู้ผ่านการพิจารณา 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ในเครือกลุ่มทีซีซี, เซ็นทรัลพัฒนา ผู้ชนะการประมูลเดิม, บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (เจ้าของบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)) และกลุ่มบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
อย่างไรก็ตาม การประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลล่าช้ากว่ากำหนด เนื่องจากติดข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้ หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทในสวนเบญจกิติและพื้นที่โดยรอบ ซึ่งออกเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยมีใจความสำคัญคือ ห้ามสร้างอาคารสูงเกินกำหนดในพื้นที่โดยรอบสวนเบญจกิติ ซึ่งพื้นที่ประมูลโครงการนี้อยู่ในพื้นที่บริเวณที่ 4 จึงถูกจำกัดความสูงไว้ที่ 45 เมตรด้วย ทำให้เอกชนที่เข้าประมูลไม่สามารถพัฒนาโครงการได้เต็มที่ ทั้งที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง เนื่องจากเป็นที่ดินราคาแพงย่านใจกลางเมือง อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครได้เล็งเห็นข้อจำกัดดังกล่าว จึงแก้ไขข้อบัญญัติในปี พ.ศ. 2557 โดยปลดล็อกความสูงในพื้นที่โดยรอบส่วนใหญ่ ยกเว้นพื้นที่ที่ตั้งของสวนเบญจกิติ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และโรงงานยาสูบเดิม ที่ยังคงจำกัดความสูงไว้ไม่เกิน 23 เมตรเช่นเดิม ทำให้พื้นที่ประมูลโครงการนี้ไม่ถูกจำกัดความสูงอีก
ผู้ที่ถือเป็นตัวเต็งของการประมูลครั้งที่สอง คือกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา เนื่องจากเป็นผู้ชนะการประมูลในครั้งที่ผ่านมา แต่ในที่สุด ผู้ชนะการประมูลได้แก่ บริษัทในเครือกลุ่มทีซีซี ของเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้แก่ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยจำกัดระยะเวลาเช่าไว้ที่ 30 ปี พร้อมตัวเลือกขยายสัญญาอีก 30 ปี[15] โดยมีพิธีลงนามสัญญาเช่าที่ดินผืนดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557 นอกจากนี้ กลุ่มทีซีซียังได้เชิญชวนให้เซ็นทรัลพัฒนาซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลรอบก่อนหน้า เข้าร่วมลงทุนโครงการและพัฒนาพื้นที่ค้าปลีกแทนตน เพื่อให้ตนสามารถพัฒนาอาคารสำนักงานซึ่งเป็นสิ่งที่ตนถนัดได้อย่างเต็มที่[4] แต่เซ็นทรัลพัฒนาไม่ได้ตอบรับคำเชิญดังกล่าว และหันไปร่วมมือกับเครือดุสิตธานี เพื่อพัฒนาโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ในพื้นที่เดิมของโรงแรมดุสิตธานีที่อยู่ใกล้เคียงแทน
การเปิดตัวโครงการ ออกแบบ และก่อสร้าง
[แก้]โครงการวัน แบงค็อก เปิดตัวต่อสาธารณชนครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560 โดยมีการเปลี่ยนแปลงผู้พัฒนาโครงการร่วมของทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จาก บมจ.ยูนิเวนเจอร์ เป็นบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ส่วนยูนิเวนเจอร์จะหันไปบริหารโครงการแทน[5] จากนั้นโครงการผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561[16] จึงมีพิธียกเสาเอกเริ่มต้นการก่อสร้างโครงการในอีกสองวันถัดมาคือเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561[6]
โครงการได้รับการออกแบบแผนแม่บทโดย สกิดมอร์, โอวิงส์ และเมอร์ริล[17] ร่วมกับ บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด[18] และบริษัท แปลน แอสโซซิเอทส์ จำกัด[19] โดยใช้เงินลงทุนจำนวน 120,000 ล้านบาท[5] ทำให้เคยเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้จำนวนเงินลงทุนสูงที่สุดในวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยในขณะเปิดตัวโครงการ (แทนที่ไอคอนสยาม) ก่อนสถิติจะถูกทำลายลงโดยโครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์[20] (ที่จะเปิดให้บริการทั้งโครงการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2568)
การเปิดให้บริการ
[แก้]วัน แบงค็อก เริ่มเปิดอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2567 ในส่วนอาคารวัน แบงค็อก ทาวเวอร์ 4 และพาเหรดบางส่วน บริเวณทางเชื่อมสถานีลุมพินี ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล[7] จากนั้นในเดือนตุลาคมมีการแสดงเลเซอร์ฉายไปยังอาคารภายในโครงการ ในช่วงเวลา 19:00–24:00 น.[21]
วัน แบงค็อก เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2567 โดยในช่วงเช้ามีพิธีทำบุญเปิดโครงการเมื่อเวลา 9:19 น. ณ อาคารสำนักงาน 4 โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) เสด็จมาเป็นประธาน[22] และในช่วงค่ำ ตั้งแต่เวลา 19:00 น. มีพิธีเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ ณ วัน แบงค็อก ฟอรัม และวัน แบงค็อก พาร์ค[23] โดยมีบุคคลสำคัญที่เข้าร่วมในพิธี อาทิ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรีและอดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พร้อมด้วยนราพร จันทร์โอชา ภริยา[24], พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (ผู้แทนภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม), พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐและอดีตรองนายกรัฐมนตรี, สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และประธานกรรมการบริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน), ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, พลตำรวจเอก สันต์ ศรุตานนท์ และพลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา[25] รวมถึงคณะทูตานุทูต และนักธุรกิจ เช่น ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์[26] และอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์[25] พร้อมด้วยศิลปินและดารานักแสดงอีกจำนวนหนึ่ง[27] โดยมีกรรมการและผู้บริหารจากกลุ่มทีซีซี ประกอบด้วย เจริญ ปณต และฐาปน สิริวัฒนภักดี เป็นผู้ทำพิธีเปิด รวมทั้งสมาชิกครอบครัวสิริวัฒนภักดี และผู้บริหารโครงการ วัน แบงค็อก ที่ร่วมแสดงความยินดีบนเวที
ในพิธีเปิด มีการแสดง 2 ชุด ดังนี้
- การแสดงบทเพลงประจำโครงการ ชื่อเพลง "The Heart of Bangkok" ประพันธ์โดย อภิสิทธิ์ วงศ์โชติ และ วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล บรรเลงโดยวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย ขับร้องโดยคณะนักร้องประสานเสียงจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี กำกับการแสดงโดย สุธีศักดิ์ ภักดีเทวา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2566
- การแสดงผสมผสานความเป็นไทยเข้ากับเทคโนโลยีร่วมสมัย จำนวน 4 องก์ สร้างสรรค์โดยออดิทัวร์ ผู้ร่วมสร้างสรรค์การแสดงในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ร่วมแสดงโดยลอเรน ออลเรด, คาลัม สกอตต์ และพีพี - กฤษฏ์ อำนวยเดชกร[28][29]
ทั้งนี้ พื้นที่ซึ่งเปิดให้บริการในวันดังกล่าว ประกอบด้วย ส่วนค้าปลีกหลัก คือ พาเหรด, เดอะสตอรีส์ และ เดอะ ฟอรัม[8] รวมถึงอาคารวัน แบงค็อก ทาวเวอร์ 3, อาคาร เดอะ ไวร์เลส เฮาส์ และสวนสาธารณะทั้งหมด[30] ไม่นานหลังจากนั้นโรงแรมเดอะริทส์-คาร์ลตัน กรุงเทพฯ ก็เปิดให้บริการ[31] สำหรับส่วนอาคารชุดเพื่อการพักอาศัย, อาคารวัน แบงค็อก ทาวเวอร์ 2 กับ 5, โพสต์ 1928, โรงแรมแอนดาซกับโรงแรมเฟรเซอร์ สวีทส์ และอาคารวัน แบงค็อก ทาวเวอร์ ซึ่งเป็นอาคารสูงที่สุดของโครงการ กำหนดเปิดให้บริการในระยะถัดไป ตามลำดับ ดังนี้
วันที่ | ส่วนที่เปิดให้บริการ | อ้างอิง | |||
---|---|---|---|---|---|
รีเทล | เวิร์กเพลส | ฮอสพิทาลิตี | อาร์ตแอนด์คัลท์เจอร์ | ||
18 มีนาคม พ.ศ. 2567 (ไม่เป็นทางการ) | พาเหรด (ทางเชื่อม MRT) | วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ 4 | — | — | [21] |
25 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (พิธีเปิด) | พาเหรด, เดอะสตอรีส์, เดอะ ฟอรัม | วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ 3 | — | เดอะ ไวร์เลส เฮาส์, สวนสาธารณะทั้งหมด | [8] |
4 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | — | — | โรงแรมเดอะริทส์-คาร์ลตัน กรุงเทพฯ | — | [31] |
การจัดสรรพื้นที่
[แก้]วัน แบงค็อก ออกแบบโดยใช้แนวคิด "เมืองกลางใจ" (The Heart of Bangkok)[32] ประกอบด้วย 4 โซนหลัก ได้แก่ รีเทล (ส่วนค้าปลีก, ศูนย์การประชุม), เวิร์คเพลส (สำนักงาน), ฮอสพิทาลิตี (โรงแรม, ที่อยู่อาศัย) และ อาร์ตแอนด์คัลท์เจอร์ (สวนสาธารณะ, ส่วนจัดแสดงศิลปะ)[33] ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญ ดังนี้[34][30]
วัน แบงค็อก รีเทล
[แก้]-
อาคารพาเหรด
-
อาคารเดอะ ฟอรัม
วัน แบงค็อก รีเทล (อังกฤษ: One Bangkok Retail) เป็นส่วนบริการร้านค้าปลีกบริเวณฐานล่างของอาคารตั้งแต่ชั้น B1 จนถึงชั้นล่างสุดของแต่ละอาคาร พื้นที่รวมกว่า 321,000 ตารางเมตร (พื้นที่เช่ารวม 160,000 ตารางเมตร) พื้นที่ทั้งหมดออกแบบภายใต้แนวคิด "ประสบการณ์ช้อปปิ้งแบบไร้รอยต่อ" (Interconnected Retail Experiences) ที่ทุกอาคารจะมีแนวคิดในการออกแบบและจัดวางร้านค้าแบบของตัวเอง มีดีไซน์เฉพาะตัวแตกต่างกันไป และสามารถเชื่อมถึงกันได้ทั้งหมดด้วยส่วนเชื่อมประสาน (Jointing Point) และสะพานเชื่อมระหว่างอาคาร ก่อให้เกิดเส้นทาง "รีเทลลูป" และ "ฟู้ดลูป" ระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร เมื่อทุกอาคารรวมอาคารค้าปลีก 4 ที่เป็นฐานของอาคารวัน แบงค็อก ทาวเวอร์ เปิดใช้งานทั้งหมด ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 4 ส่วน ดังนี้
พาเหรด
[แก้]พาเหรด (อังกฤษ: Parade) หรืออาคาร R1 เป็นอาคารค้าปลีกหลักจำนวน 9 ชั้นฝั่งถนนพระรามที่ 4 ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของโครงการ โดยทำหน้าที่เป็นฐานอาคารของอาคารประสม วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ ทู และอาคารสำนักงาน วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ ทรี มีพื้นที่อาคารรวม 140,000 ตารางเมตร (พื้นที่เช่า 85,000 ตารางเมตร) ตัวอาคารออกแบบภายใต้แนวคิด "พื้นที่เปิดสำหรับทุกคน" (Open Playground for Everyone) ที่นำเสนอและรวบรวมแนวคิด "ช็อป-เล่น-ทำงาน-กิน" (Shop-Play-Work-Eat) เอาไว้ได้อย่างลงตัว มีจุดเด่นด้วยร้านค้าแบรนด์ดังทั้งในไทยและต่างประเทศ ร้านอาหาร คาเฟ่ และซูเปอร์มาร์เก็ตที่รวบรวมสินค้าจากทั่วทุกมุมโลกไว้ในที่เดียวกัน ประกอบด้วยร้านค้าหลักในกลุ่ม "เมด อิน วัน แบงค็อก" คือ วัน คอนเทนต์ สโตร์, สารพัดไทย, มิตซูโคชิ เดปาจิกะ และศูนย์อาหารฟู้ดสตรีท รวมถึงผู้เช่าหลักที่รายอื่น ได้แก่ นิโตริ, มูจิ[35], และอาริ เอ็กซ์พีเรียนซ์ เซ็นเตอร์[36] ที่ทั้งสามร้านเป็นร้านค้าปลีกที่มีพื้นที่ขายใหญ่ที่สุดและเป็นสาขาเรือธงของแต่ละแบรนด์[37] รวมถึง คิง เพาเวอร์ ซิตี บูทีก แอท วัน แบงค็อก[32][38] ร้านค้าปลอดอากรรูปแบบใหม่ของกลุ่มคิง เพาวเวอร์สาขาแรกในไทย, ศูนย์การแพทย์ครบวงจรโดยโรงพยาบาลเมดพาร์ค, สวนสนุกฮาร์เบอร์แลนด์, สวนน้ำฮาร์เบอร์ไอส์แลนด์[39] ซึ่งเป็นสวนน้ำในร่มขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศไทย, และโรงภาพยนตร์วัน อัลทราสกรีนส์ จำนวน 6 โรง[40] นอกจากนี้อาคารแห่งนี้ยังเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีลุมพินี ที่ชั้น B1 โดยมีร้านค้ารองรับอีกจำนวนหนึ่ง รวมถึงบิ๊กซีมินิและร้านยาเพรียวอีกด้วย
เดอะ สตอรีส์
[แก้]เดอะ สตอรีส์ (อังกฤษ: The Storeys, แปลว่า "ชั้น") หรืออาคาร R2 เป็นอาคารค้าปลีกหลังที่สองจำนวน 6 ชั้นฝั่งถนนวิทยุทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโครงการ โดยทำหน้าที่เป็นฐานอาคารของอาคารสำนักงาน วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ โฟร์ อาคารโรงแรม ปฐมเฮาส์ และอาคารโรงแรม แอนดาซ แอท วัน แบงค็อก มีพื้นที่อาคารรวม 64,000 ตารางเมตร (พื้นที่เช่า 35,000 ตารางเมตร) ตัวอาคารออกแบบภายใต้แนวคิด "พื้นที่สร้างตัวตนของคุณ" (Your Own Story Playground) นำเสนอร้านค้าแนวคิดใหม่ที่เป็นเทรนด์โลก ผสมผสานด้วยกลิ่นอายวัฒนธรรมร่วมสมัย และคอนเซปท์สโตร์รูปแบบใหม่ที่นำเสนอที่นี่เป็นที่แรก ทั้งร้านแฟชัน ร้านอาหาร คาเฟ่ แหล่งสังสรรค์ยามกลางคืน และสถานออกกำลังกายรูปแบบใหม่ ประกอบด้วยร้านค้าหลักในกลุ่ม "เมด อิน วัน แบงค็อก" คือ แบงค็อก วันเดอร์ และ เทคเวิลด์ บาย ดอทไลฟ์ รวมถึงผู้เช่าหลักที่รายอื่น ได้แก่ จิม ทอมป์สัน ไลฟ์สไตล์ สโตร์[41] ซึ่งเป็นสาขาแรกที่มีทั้งร้านค้า นิทรรศการ และร้านอาหารในพื้นที่เดียวกัน[42], คลับ 21[43], สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ แฟล็กชิพ สโตร์[44] ซึ่งเป็นสาขาแรกในไทยที่มีจุดเทเครื่องดื่มเหลือทิ้งเพื่อง่ายต่อการนำแก้วพลาสติกไปรีไซเคิล[45], เจ็ตส์ แบล็ค ฟิตเนส[46] ซึ่งเป็นเจ็ตส์ฟิตเนสสาขาที่ 50 ของประเทศไทย และเป็นเจ็ตส์ แบล็ค แห่งแรกที่เปิดทำการ 24 ชั่วโมง รวมถึงมีบริการผ้าเช็ดตัวให้บริการสมาชิกเป็นแห่งแรก จากเดิมที่เจ็ตส์ แบล็คจะมีเวลาทำการตายตัว และไม่มีบริการดังกล่าว, % อะราบิกา, ปาติเซอเรีย โควา มอนเตนาโปเลโอเน แบงค็อก[47] เป็นต้น นอกจากนี้อาคารแห่งนี้ยังเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีลุมพินี ที่ชั้น B1 เช่นเดียวกัน โดยมีร้านค้ารองรับอีกจำนวนหนึ่ง
โพสต์ 1928
[แก้]โพสต์ 1928 (อังกฤษ: POST 1928; อ่านว่า โพสต์ ไนน์ทีน ทเวนตี้เอท) หรืออาคาร R3 เป็นอาคารค้าปลีกหลังที่สามจำนวน 5 ชั้นฝั่งถนนวิทยุทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโครงการ โดยทำหน้าที่เป็นฐานอาคารของอาคารที่พักอาศัย วัน 89 ไวร์เลส อาคารที่พักอาศัย เอททีน เซเวน และอาคารสำนักงาน วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ ไฟว์ มีพื้นที่อาคารรวม 67,000 ตารางเมตร (พื้นที่เช่า 40,000 ตารางเมตร) ตัวอาคารออกแบบภายใต้แนวคิด "ถนนช็อปปิ้งของกรุงเทพ" (Bangkok Shopping Street) นำเสนอร้านค้าแฟชันระดับเรือธงจากทั่วทุกมุมโลกในรูปแบบสแตนด์อโลน ทั้งร้านสินค้าหรูหรา สินค้าสุขภาพ บริการด้านความงาม สินค้าตกแต่งบ้าน รวมถึงร้านสตรีทแวร์ระดับพรีเมียม โดยอาคารแห่งนี้มีกำหนดเปิดทำการภายในปี พ.ศ. 2569
เดอะ ฟอรัม
[แก้]เดอะ ฟอรัม (อังกฤษ: The Forum) หรืออาคาร R4 เป็นอาคารค้าปลีกหลังที่ 4 จำนวน 5 ชั้นฝั่งถนนวิทยุทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโครงการ โดยอาคารแห่งนี้ใช้ฐานอาคารแยกต่างหาก ที่พื้นที่บางส่วนถูกออกแบบเพื่อใช้ร่วมกับอาคาร วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ เพื่อให้กลายเป็นอาคารค้าปลีก 4 โดยสมบูรณ์ ตลอดจนอาคารวันพาวเวอร์ และอาคารห้องชุดหลังที่ 3 อาคารดังกล่าวทำหน้าที่เป็นศูนย์ความบันเทิง และศูนย์ประชุมอเนกประสงค์ พื้นที่ 50,000 ตารางเมตร โดยเป็นที่ตั้งของ วัน แบงค็อก ฟอรัม ศูนย์นิทรรศการ การประชุม และโรงมหรสพ ซึ่งบริหารโดย บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ประกอบด้วยฟอรัมฮอลล์ พื้นที่ 10,000 ตารางเมตร ความจุสูงสุด 6,000 ที่นั่ง[48] กับห้องประชุมย่อยอีก 4 ห้อง รวมถึงร้านค้าหลักในกลุ่ม "เมด อิน วัน แบงค็อก" อีก 2 ร้าน คือ บิ๊กซี แบงค็อก มาร์เช และโรงเบียร์ช้าง แคนวาส[49]
เมด อิน วัน แบงค็อก
[แก้]เมด อิน วัน แบงค็อก (อังกฤษ: Made in One Bangkok) เป็นการนำเสนอพื้นที่ร้านค้าหลักแนวคิดใหม่ที่จะเป็นร้านค้ารูปแบบเฉพาะที่จะมีสาขาแค่ที่ วัน แบงค็อก ที่เดียวจำนวน 9 โซน ประกอบด้วย
- มิตซูโคชิ เดปาจิกะ[50] ซูเปอร์มาร์เก็ตระดับพรีเมียมรูปแบบใหม่ที่นำเอารูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ตของอิเซตันเดิมที่เคยเปิดให้บริการที่เซ็นทรัลเวิลด์ มารวมกับแนวคิด เดปาจิกะ เพื่อปรับใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย นำเสนอผ่านพื้นที่ค้าปลีกหลัก 2 ส่วน ได้แก่ ซอยมิตซูโคชิ ที่เป็นการรวมร้านอาหารและคาเฟ่ทั้งในไทยและต่างประเทศไว้ที่เดียวกัน เช่น ยามาซากิ, หวานนรี, โควาดาริ, อาฟเตอร์ ยู รวมถึงพอท มาสเตอร์ ร้านข้าวอบหม้อดินจากสิงคโปร์สาขาแรกในประเทศไทย และ ฟู้ดฮอลล์ ซูเปอร์มาร์เก็ตระดับพรีเมียมที่รวบรวมสินค้าจากทั่วทุกมุมโลกเพื่อนำเสนอเป็นครั้งแรกในไทย ซูเปอร์มาร์เก็ตดังกล่าวบริหารงานโดย บริษัท วัน แบงค็อก มิตซูโคชิ จำกัด ที่เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างโครงการ และ อิเซตัน มิตซูโคชิ โฮลดิงส์ จากประเทศญี่ปุ่น
- สารพัดไทย[51] ร้านค้าที่นำเสนอความเป็นไทยร่วมสมัยผ่านสินค้าหลากหลายรายการ รวมถึงยังมีร้าน ศาลาชา โดยร้านทีไทม์แอนด์สเปซ ทองหล่อ ที่แตกรูปแบบร้านมาเปิดให้บริการที่สารพัดไทยโดยเฉพาะ
- ศูนย์อาหารฟู้ดสตรีท ศูนย์อาหารในกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ ที่ได้รับการออกแบบใหม่ภายใต้รูปแบบเฉพาะตัว พร้อมทั้งนำเสนอร้านอาหารคุณภาพระดับมิชลินไกด์ในราคาประหยัด เข้าถึงได้ทุกคน
- วัน คอนเทนต์ สโตร์ ร้านหนังสือรูปแบบใหม่แห่งแรกในไทย โดย ร้านนายอินทร์ ร่วมกับ ร้านเอเชียบุ๊คส์ นำเสนอประสบการณ์ร้านหนังสือและสินค้าไลฟ์สไตล์รูปแบบใหม่ครั้งแรกในไทย
- เลิร์นนิง แล็บ พื้นที่เรียนรู้รูปแบบใหม่เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก ๆ โดยอมรินทร์เบบี้แอนด์คิดส์ ภายใต้เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ
- เทคเวิลด์ บาย ดอทไลฟ์ ร้านสินค้าไอทีไลฟ์สไตล์รูปแบบใหม่ ที่นำเสนอสินค้าไอทีระดับพรีเมียม ตอบรับต่อไลฟ์สไตล์รูปแบบใหม่ของคนกรุงเทพ บริหารงานโดย บริษัท คอปเปอร์ไวลด์ จำกัด (มหาชน)
- แบงค็อกวันเดอร์ แอท วัน แบงค็อก แหล่งรวมร้านสังสรรค์แห่งใหม่ท่ามกลางพื้นที่สีเขียวกลางกรุงเทพ รวมร้านอาหารระดับไฟน์ไดนิ่งในตอนกลางวัน และเปลี่ยนเป็นร้านแฮงก์เอาท์ในยามค่ำคืน
- ช้าง แคนวาส โรงเบียร์ต้มสดแห่งแรกใจกลางกรุงเทพมหานครโดยเบียร์ช้าง ให้บริการทั้งร้านอาหาร และเครื่องดื่มนานาชนิด ภายใต้บรรยากาศเฉพาะตัวที่ถูกออกแบบอย่างพิถีพิถัน
- บิ๊กซี แบงค็อก มาร์เช ซูเปอร์มาร์เก็ตระดับพรีเมียมอีกแห่งโดยบิ๊กซีรีเทล โดยถือเป็นสาขาในโมเดลฟู้ดเพลสที่มีพื้นที่สาขาใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งยังมี วีอาร์เฟรช มาร์เก็ต รูปแบบใหม่พร้อมจุดทำอาหารสดในสาขา และห้องเครื่องดื่มจากทั่วทุกมุมโลกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบิ๊กซีทุกสาขา
วัน แบงค็อก เวิร์กเพลส
[แก้]-
อาคารวัน แบงค็อก ทาวเวอร์ 3
-
อาคารวัน แบงค็อก ทาวเวอร์ 4
-
อาคารวัน แบงค็อก ทาวเวอร์ 5
วัน แบงค็อก เวิร์กเพลส (อังกฤษ: One Bangkok Workplace) เป็นพื้นที่อาคารสำนักงานระดับพรีเมียมจำนวน 5 อาคาร แบ่งเป็นอาคารสำนักงานล้วนจำนวน 3 อาคาร คือ
- อาคาร วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ ทรี (อังกฤษ: One Bangkok Tower 3) ตั้งอยู่บนอาคารศูนย์การค้าพาเหรด ความสูง 42 ชั้น พื้นที่รวม 98,500 ตารางเมตร ออกแบบโดยใช้เลข "3" เป็นแบบบริเวณยอดอาคาร รวมถึงมีพื้นที่บางส่วนที่สามารถรับทิวทัศน์แม่น้ำเจ้าพระยาได้แบบพาโนรามา
- อาคาร วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ โฟร์ (อังกฤษ: One Bangkok Tower 4) ตั้งอยู่บนอาคารศูนย์การค้าเดอะ สตอรีส์ ความสูง 45 ชั้น พื้นที่รวม 96,302 ตารางเมตร ออกแบบโดยใช้สถาปัตยกรรมแบบไทยร่วมสมัย รวมกับการใช้ตัวเลข "4" เป็นแบบบริเวณระเบียงมุมด้านข้างอาคาร รวมถึงมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์และจุดชมทัศนียภาพบริเวณยอดอาคารด้วย อาคารดังกล่าวเป็นอาคารเดียวที่เป็นการร่วมทุนระหว่างโครงการ และ อิเซตัน มิตสึโคชิ โฮลดิงส์ จากประเทศญี่ปุ่น
- อาคาร วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ ไฟฟ์ (อังกฤษ: One Bangkok Tower 5) ตั้งอยู่บนอาคารโพสต์ 1928 ความสูง 30 ชั้น พื้นที่รวม 100,534 ตารางเมตร และมีพื้นที่ต่อชั้นมากที่สุดในกลุ่มอาคารสำนักงาน ออกแบบโดยใช้สัญญาณโทรเลขเป็นแบบอาคาร เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่สถานีวิทยุศาลาแดงในอดีต
นอกจากนี้ยังมีอาคารแบบประสมอีกจำนวน 2 อาคาร คือ
- อาคาร วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ (อังกฤษ: One Bangkok Tower) ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่อาคารค้าปลีก 4 และจะเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย และติดอันดับหนึ่งในสิบของอาคารที่สูงที่สุดในอาเซียนเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ที่ความสูง 437.03 เมตร โดยมียอดอาคารที่ศึกษาไว้ที่ความสูง 412 เมตร อาคารดังกล่าวประกอบด้วยพื้นที่สองส่วน คือส่วนสำนักงานบริเวณโซนล่างและโซนกลางอาคาร และโรงแรมระดับ 6 ดาวที่โซนด้านบนสุดของอาคาร ปัจจุบันงานฐานรากอาคารก่อสร้างแล้วเสร็จ และโครงการยังได้รับสินเชื่อสีเขียว (Green loan) ระยะยาว วงเงิน 50,000 ล้านบาท จากธนาคารพาณิชย์ของไทย 5 แห่ง คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ สำหรับพัฒนาโครงการ ซึ่งส่วนหนึ่งจะนำมาก่อสร้างอาคารนี้อีกด้วย[52] แต่ยังไม่สามารถก่อสร้างต่อได้เนื่องจากพื้นที่ตั้งของอาคารบางส่วนติดอยู่ในเขตที่ดินที่อยู่อาศัย (สีน้ำตาล) โดยอยู่ระหว่างรอให้กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงบังคับใช้ผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ เพื่อปลดล็อกพื้นที่ทั้งโครงการให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชยกรรม (สีแดง) โดยโครงการได้ปูพื้นเป็นเวทีชั่วคราวสำหรับพิธีเปิด
- อาคาร วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ ทู (อังกฤษ: One Bangkok Tower 2) ตั้งอยู่บนอาคารศูนย์การค้าพาเหรด ความสูง 49 ชั้น อาคารดังกล่าวประกอบด้วยพื้นที่สองส่วน คือส่วนสำนักงานบริเวณโซนล่างอาคาร และโรงแรมเฟรเซอร์สวีทกรุงเทพ ซึ่งประกอบด้วยส่วนโรงแรมบริเวณโซนกลางอาคาร และพื้นที่ 10 ชั้นสุดท้ายโซนบนสุดของอาคารเป็นพื้นที่เซอร์วิสเซส อพาร์ตเมนต์ให้เช่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าเปิดใช้งานได้ใน พ.ศ. 2569
ปัจจุบัน วัน แบงค็อก เวิร์กเพลส เป็นที่ตั้งสำนักงานของบริษัทชั้นนำหลายบริษัท อาทิ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย[53] กลุ่มแอลจี อีเลคทรอนิคส์ ประเทศไทย[54] กลุ่มเอสเต ลอเดอร์ ประเทศไทย[55] สำนักงานที่ปรึกษาและบลจ. เคจีไอ[56] สำนักงานที่ปรึกษาอีวาย[57] ไลน์แมน วงใน[58] และเน็ตฟลิกซ์ ประเทศไทย[59] เป็นต้น
วัน แบงค็อก ฮอสพิทาลิตี
[แก้]-
อาคารวัน 89 ไวร์เลส (โรงแรมเดอะ ริทส์ คาร์ลตัน และเรสซิเดนเซส แอท วัน แบงค็อก) ทางซ้ายมือ และโรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก ทางขวามือ
-
อาคารปฐมเฮาส์ (ซ้ายมือ) และอาคารเอททีน เซเวน (ขวามือ)
วัน แบงค็อก ฮอสพิทาลิตี (อังกฤษ: One Bangkok Hospitality) เป็นกลุ่มอาคารโรงแรมระดับพรีเมียม และอาคารคอนโดมิเนียมให้เช่าจำนวน 5 แห่ง อาทิ โรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก ในเครือโรงแรมไฮแอท[60] โรงแรมเดอะริทช์ คาร์ลตัน กรุงเทพ จำนวน 259 ห้อง[61] โรงแรมเฟรเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพฯ[62] และโรงแรมระดับพรีเมียมในอาคาร ปฐมเฮาส์ รวมถึงยังมีคอนโดมิเนียมให้เช่าอีกจำนวน 4 แห่ง คือ เซอร์วิสเซส อพาร์ทเมนต์ ใน โรงแรมเฟรเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นส่วนยอดอาคารจำนวน 10 ชั้นของอาคารวัน แบงค็อก ทาวเวอร์ ทู, อาคารที่พักอาศัย วัน 89 ไวร์เลส ซึ่งตั้งตามเลขที่ตั้งของอาคารคือเลขที่ 189 ถนนวิทยุ มีพื้นที่สองส่วนคือโรงแรมเดอะริทช์ คาร์ลตัน กรุงเทพ และคอนโดมิเนียม, อาคารที่พักอาศัย เอททีน เซเวน ซึ่งตั้งตามเลขที่ตั้งอาคารเช่นกัน คือเลขที่ 187 ถนนวิทยุ และอาคารหลังที่ 3 ที่ตั้งอยู่ด้านหลังอาคารเดอะ ฟอรัม ใกล้ ๆ กับอาคารวันเพาเวอร์
วัน แบงค็อก อาร์ดแอนด์คัลท์เจอร์
[แก้]-
หมุดเขตประกาศโบราณสถานสถานีวิทยุศาลาแดง บริเวณวัน แบงค็อก บูเลอวาร์ด
-
เดอะ ไวร์เลส เฮาส์ แอท วัน แบงค็อก
วัน แบงค็อก อาร์ดแอนด์คัลท์เจอร์ (อังกฤษ: One Bangkok Art & Culture) เป็นพื้นที่สาธารณะรอบ ๆ โครงการ แบ่งเป็นดังนี้
- พื้นที่สีเขียวภายในโครงการจำนวน 50 ไร่[63] ซึ่งเป็นสวนสาธารณะสามแห่ง ที่มีประติมากรรมจัดแสดงโดยรอบโครงการ ซึ่งในอนาคตจะจัดการแสดงศิลปะหมุนเวียนเพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ด้วย คือ
- วัน แบงค็อก พาร์ค สวนสาธารณะหลักภายในโครงการ มีน้ำพุอยู่ตรงกลาง และประติมากรรม 2 อย่าง คือ
- It is, It isn't โดยโทนี เครก
- S-Curve โดย Anish Kapoor
- พาเหรด พาร์ค สวนสาธารณะขนาดย่อมบริเวณด้านหน้าอาคารพาเหรด ฝั่งถนนพระรามที่ 4 มีประติมากรรม Zero โดย Elemgreen & Dragset ซึ่งย้ายมาจากบริเวณท่าเรืออาคารอีสต์เอเชียติก[64]
- ไวร์เลส พาร์ค สวนสาธารณะขนาดย่อมบริเวณด้านหน้าอาคารโพสต์ 1928 และอาคารเดอะ สตอรีส์ ฝั่งถนนวิทยุ โดยภายในสวนยังมี
- ประติมากรรม Fly โดย Alex Face (พัชรพล แตงรื่น) ศิลปินแนวสตรีทอาร์ตชื่อดังของไทย
- อาคารพิพิธภัณฑ์ เดอะ ไวร์เลส เฮาส์ วัน แบงค็อก ซึ่งเป็นการจำลองอาคารสถานีและเสาวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทยมาเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงประวัติศาสตร์ของที่ตั้งโครงการ รวมถึงจัดแสดงวัตถุโบราณที่ค้นพบระหว่างการทำฐานรากของอาคาร[65][66][67]
- วัน แบงค็อก พาร์ค สวนสาธารณะหลักภายในโครงการ มีน้ำพุอยู่ตรงกลาง และประติมากรรม 2 อย่าง คือ
- ถนนโดยรอบโครงการ มี 2 เส้น ดังนี้
- วัน แบงค็อก บูเลอวาร์ด (อังกฤษ: One Bangkok Boulevard) เป็นถนนที่เชื่อมต่อจากทางเข้าหลักของโครงการจากฝั่งถนนวิทยุ มุ่งหน้าตรงเข้าไปวนโดยรอบวัน แบงค็อก พาร์ค ซึ่งเขตทางบางส่วนในช่วงระหว่างศูนย์การค้าโพสต์ 1928 กับวัน แบงค็อก พาร์ค ซ้อนทับกับที่ตั้งของสถานีวิทยุศาลาแดงในอดีต โครงการจึงได้จัดทำหมุดเขตประกาศโบราณสถานใหม่ให้สอดคล้องกับที่ตั้งเดิม
- วัน แบงค็อก พาร์ค เลน (อังกฤษ: One Bangkok Park Lane) เป็นถนนที่เชื่อมต่อจากทางเข้าที่ 1 ของโครงการ เลียบซอยอรุณมักกินนอน ไปบรรจบที่ระหว่างโพสต์ 1928 และ เดอะ ฟอรัม ซึ่งบางส่วนเชื่อมต่อกับอุโมงค์เชื่อมไปยังทางพิเศษเฉลิมมหานครผ่านด่านลุมพินีที่โครงการเป็นผู้ก่อสร้างให้ อีกทั้งยังเชื่อมไปยังถนนวิทยุ ผ่านซอยอรุณมักกินนอน ซอยปลูกจิต และซอยสนามคลี โดยไม่ต้องผ่านถนนพระรามที่ 4 และแยกวิทยุได้อีกด้วย[68][69][70]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ TCC GROUP เผยโฉม ONE BANGKOK บริเวณถ.พระรามสี่ มูลค่ากว่า 120,000 ลบ.
- ↑ ประวัติของกรรมการที่ครบกําหนดตามวาระซึ่งได้รับการเสนอชื่อกลับเข้าดํารงตําแหน่ง บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)
- ↑ ว่องไชยกุล3, พัฐรัศมิ์ (3 เมษายน 2017). "เจ้าสัว 'เจริญ' ทุ่ม 1.2 แสนล้านพัฒนาโครงการยักษ์ One Bangkok แยกพระราม4-วิทยุ". ฟอบส์ ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 "ต้อนรับกทม. ปลดล็อคที่ดินพระราม 4 เสี่ยเจริญดึงเซ็นทรัลสร้างคอมเพล็กซ์ครบวงจร". คิดเรื่องอยู่. 27 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 5.0 5.1 5.2 "'One Bangkok' อภิมหาโครงการของเสี่ยเจริญ". The Leader Asia. 4 เมษายน 2017. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2019.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 6.0 6.1 "One Bangkok โครงการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทย เริ่มก่อสร้าง". มติชน. 8 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 7.0 7.1 ""วัน แบงค็อก" เปิดออฟฟิศตึกแรกแล้ว! พื้นที่ "รีเทล" แกรนด์โอเพนนิ่งเดือนตุลาฯ ชูจุดเด่น "ช้อปปิ้ง สตรีท"". Positioning Magazine. 19 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 8.0 8.1 8.2 "เบิกฤกษ์ 25 ตุลาคม 67 เปิด 'วัน แบงค็อก' พลิกกรุงเทพฯ สู่มหานครระดับโลก". กรุงเทพธุรกิจ. 7 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""เจ้าสัวเจริญ" 10 ปี ปั้น วัน แบงค็อก "One Bangkok" พระราม 4 ผงาด ตึกสูง อาเซียน". ฐานเศรษฐกิจ. 30 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "กลุ่ม TCC ทุ่มกว่า 1.2 แสนล้าน เปิด One Bangkok". Prop2Morrow. 3 เมษายน 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 เมษายน 2017. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2017.
- ↑ ตำนานวิทยุไทย เครื่องมือสร้าง-ชาติ
- ↑ ทรัพย์สินฯประกาศชัดCPNคว้าสวนลุมไนท์
- ↑ เซ็นทรัล เลิกสัญญา สวนลุมไนท์ เปิดประมูลใหม่ 88 ไร่
- ↑ เซ็นทรัลทิ้งโปรเจ็กต์สวนลุมไนท์ สนง.ทรัพย์สินฯนับหนึ่งใหม่ ยักษ์อสังหาฯแห่ชิงดำ
- ↑ ""เจ้าสัวเจริญ" คว้าพื้นที่ "ร.ร.เตรียมทหารเดิม" ผุดคอมเพล็กซ์กว่าหมื่นล้านบาท สร้าง "แลนด์มาร์ก" ใหม่ของกรุงเทพฯ". ผู้จัดการออนไลน์. 21 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการ ONE BANGKOK". ศูนย์ข้อมูลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "One Bangkok". SOM (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "ONE BANGKOK". www.a49.com.
- ↑ "One Bangkok – Plan Associates". planassociates.co.th.
- ↑ โครงการบ้านและคอนโดระดับเวิลด์คลาส ใกล้สุวรรณภูมิ - MQDC
- ↑ 21.0 21.1 "นับถอยหลัง วัน แบงค็อก เปิดทางการ 25ต.ค.นี้สุดอลังการด้วยโชว์ระดับโลก". สปอตไลต์. อมรินทร์ทีวี. 20 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พิธีทำบุญเปิดโครงการ วัน แบงค็อก". วัน แบงค็อก. 1 พฤศจิกายน 2024. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ วัน แบงค็อก เปิดแล้วอย่างอลังการ เจ้าสัวเมืองไทยแห่ยินดี คนร่วมงานคึกคัก
- ↑ "เปิดแล้ว "วัน แบงค็อก" "อลังการ" สม "รอคอย"". ไทยรัฐ. 28 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 25.0 25.1 "One Bangkok Opening Celebration รังสรรค์โชว์ระดับโลก เฉลิมฉลองยิ่งใหญ่สุดตระการตา". Hiso Party (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-10-28.
- ↑ "ยิ่งใหญ่! เจ้าสัว "เจริญ-เจียรวนนท์" ร่วมเปิดเมือง "วัน แบงค็อก" มูลค่า 1.2 แสนล้าน อย่างเป็นทางการ". ผู้จัดการออนไลน์. 25 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ไฮโซแห่แห่ยินดีกับ "วัน แบงค็อก"". mgronline.com. 2024-10-27.
- ↑ "เผยโฉม วัน แบงค็อก แลนด์มาร์คใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ". thepeople (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-28.
- ↑ "One Bangkok เปิดตัวเฟสแรกอย่างเป็นทางการ มุ่งสู่การเป็นแลนด์มาร์กใหม่ของกรุงเทพฯ". www.thairath.co.th. 2024-10-26.
- ↑ 30.0 30.1 "เปิดผัง "One Bangkok" แลนด์มาร์คระดับโลก". Realist Blog. 20 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 31.0 31.1 "The Ritz-Carlton Bangkok opens on Dec 4" [โรงแรมเดอะ ริทซ์-คาร์ลตัน กรุงเทพฯ เปิดในวันที่ 4 ธันวาคม]. บางกอกโพสต์ (ภาษาอังกฤษ). 25 พฤศจิกายน 2024. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 32.0 32.1 "วัน แบงค็อก เปิดรีเทล ต.ค.นี้ ดึงแบรนด์หรู - ดิวตี้ฟรี มุ่งโกลบอลเดสทิเนชั่น". bangkokbiznews. 2024-03-19.
- ↑ Techasriamornrat, Sirarom (2024-10-25). "สรุป One Bangkok มีอะไรข้างในบ้าง เปิดเป็นทางการแล้ววันนี้" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ บริษัท ไท-ไท วิศวกร จำกัด (14 ธันวาคม 2018). รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับสมบูรณ์) โครงการ ONE BANGKOK (Report). สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2024.
- ↑ "'มูจิ' ปักธง 'วัน แบงค็อก' เปิดคอนเซ็ปต์สโตร์ ใหม่ ใหญ่สุดในไทย". matichon.
- ↑ Boonwanit, Wootinon. "'อาริ'ฉลองเปิดสาขาใหม่ที่ 'วัน แบงค็อก'". เดลินิวส์.
- ↑ "ไม่ไป..ก็ไม่รู้!!". 2024-10-25.
- ↑ "KING POWER CITY BOUTIQUE". The King Power Corporation.
- ↑ "เตรียมพบกัน! HarborLand One Bangkok (TH)". HarborLand Group. 2024-10-31.
- ↑ "One Ultra Screens Parade at One Bangkok วัน อัลทราสกรีนส์ วัน แบงค็อก". K9 Digitive (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "จิม ทอมป์สัน เตรียมเปิด 'ไลฟ์สไตล์สโตร์' แห่งแรกที่ 'วัน แบงค็อก' ผสมผสานร้านอาหารและการช็อปปิ้ง - Forbes Thailand". forbesthailand.com.
- ↑ "เปิดโมเมนต์ประวัติศาสตร์! จิม ทอมป์สัน จัดงานสุดอลังการ เปิดตัว "ไลฟ์สไตล์สโตร์"แห่งแรก ณ วัน แบงค็อก ตอกย้ำแบรนด์ไลฟ์สไตล์ครบวงจรระดับโลก". www.gourmetandcuisine.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "เปิดตัวแล้ว Club 21 One Bangkok ร้านมัลติแบรนด์คอนเซ็ปต์ใหม่ตอบโจทย์นักสะสม". naewna.com.
- ↑ Starbucks Reserve One Bangkok
- ↑ "สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ วัน แบงค็อก ร้านกาแฟสีเขียวใหญ่สุด เผยโปรฯ 1 แถม 1 ยังมี". bangkokbiznews. 2024-10-29.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Jetts Fitness Opens 50th Club at One Bangkok". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-11-04.
- ↑ "Boonlapo คว้า Pasticceria Cova Montenapoleone เปิดสาขาแรกในไทย ณ One Bangkok". posttoday. 2024-10-31.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Building castles in the sky". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-07-07.
- ↑ "ONE Bangkok เปิดตัวสุดยิ่งใหญ่ หวังต่อยอดจาก Smart City ใจกลางเมืองสู่ "เมืองกลางใจ" ที่ใช้ใจสร้าง | propholic.com ONE Bangkok เปิดตัวสุดยิ่งใหญ่ หวังต่อยอดจาก Smart City ใจกลางเมืองสู่ "เมืองกลางใจ" ที่ใช้ใจสร้าง propholic.com". 2024-10-25.
- ↑ วัน แบงค็อก ผนึก อิเซตัน ห้างญี่ปุ่น เปิด มิตซูโคชิ ฟู้ดเดสติเนชั่น แห่งแรกในไทย
- ↑ "เปิดอาณาจักร "สารพัดไทย" ศูนย์รวมสินค้าไลฟ์สไตล์ดีไซน์ไทย สุดโมเดิร์น". www.sanook.com/women. 2024-11-08.
- ↑ "One Bangkok ลงนาม Green Loan 5 แบงก์ กู้ 50,000 ล้านพัฒนาความยั่งยืนระยะยาว". โพสต์ทูเดย์. 27 พฤศจิกายน 2024. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ลงนามสัญญา ย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่ วัน แบงค็อก". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ "LG ประเทศไทย รับ ตลาดปีนี้เหนื่อยจากเศรษฐกิจและกำลังซื้อชะลอตัว ลุ้นเงินดิจิทัลช่วยกระตุ้นยอดขาย เผยเตรียมซ่อม-จัดโปรโมชัน ช่วยลูกค้าที่เจอน้ำท่วมในเชียงราย". เดอะ สแตนดาร์ด.
- ↑ "เอสเต ลอเดอร์ ประกาศย้ายสำนักงาน มาที่ One Bangkok". Brand Inside.
- ↑ "KGI แจ้งย้ายสำนักงานใหญ่ไปโครงการ วัน แบงค็อก (One Bangkok)". มิติหุ้น.
- ↑ "เออีวาย ประเทศไทย จับมือ วัน แบงค็อก ประกาศย้ายสำนักงานแห่งใหม่ ตอบรับการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร". RYT9.
- ↑ เอื้อศิริศักดิ์, ธนาดล (2024-09-22). "WeFlex ของ LINE MAN Wongnai วงเงินพิเศษ 30,000 ต่อปีให้พนักงานเบิกเพื่อพัฒนาตัวเอง". The Cloud.
- ↑ "Anchalee C. on LinkedIn: Netflix One Bangkok open house! Such a cooool working space and fun perks.…". www.linkedin.com.
- ↑ Hyatt to Accelerate Growth of its Luxury and Lifestyle Brands in Asia Pacific
- ↑ เปิดมาสเตอร์แพลนโครงการวัน แบงค็อก บนพื้นที่ 104 ไร่ใจกลางเมือง ด้วยเงินลงทุนกว่า 1.2 แสนล้านบาท
- ↑ "One Bangkok จับมือ เฟรเซอร์ส ฮอลพิทาลิตี้ รังสรรค์ "เฟรเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพฯ" มอบประสบการณ์การพักผ่อนที่เหนือระดับ". www.marketthink.co. 2023-11-28.
- ↑ วัน แบงค็อก (One Bangkok) เมืองแห่งความครบครันเพื่อการใช้ชีวิตที่สมบูรณ์แบบแห่งแรกและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เปิดตัวมาสเตอร์แพลน เจาะลึกการออกแบบทั้งโครงการ
- ↑ "รีวิวงาน Bangkok Art Biennale 2018 (Part 2): ตามล่าศิลปะริมแม่น้ำเจ้าพระยา". THE ZEPIA WORLD (ภาษาอังกฤษ). 2018-12-29.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "One Bangkok: A New Era of Urban Living Begins on 25 October". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-10-18.
- ↑ "รีวิว One Bangkok (วันแบงค็อก)". trueid.net.
- ↑ เอื้อศิริศักดิ์, ธนาดล (2024-11-01). "ลายแทงงานศิลปะ One Bangkok ตั้งแต่นิทรรศการรากเหง้าถนนวิทยุ ถึงชิ้นงานหาดูยากเข้าชมฟรี". The Cloud.
- ↑ ฐานเศรษฐกิจ (2023-02-13). "ONE BANGKOK "Evolving Bangkok" ร่วมขับเคลื่อนไปพร้อมกรุงเทพฯ สู่มหานครระดับโลก". thansettakij.
- ↑ "เปิดแล้ว ด่าน ฯ ลุมพินี ทางพิเศษเฉลิมมหานคร 11 ก.ค.67 เป็นต้นไป". pptvhd36.com. 2024-07-11.
- ↑ ""เปิดใช้ด่านทางด่วนพิเศษ 'ลุมพินี' วันแรก ด่านที่ถูกตั้งคำถาม เอื้อประโยชน์ One Bangkok หรือไม่ " - themomentumco". www.instagram.com.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- วัน แบงค็อก ที่เฟซบุ๊ก
- วัน แบงค็อก ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)
- วัน แบงค็อก ที่อินสตาแกรม
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วัน แบงค็อก
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์