ข้ามไปเนื้อหา

ลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักบุญลูกา
ลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร โดย จาโกโป ปอนตอร์โม ที่ซานตาเฟลิชิตา (Santa Felicita) ฟลอเรนซ์
ผู้นิพนธ์พระวรสาร
เสียชีวิตราว ค.ศ. 84
ใกล้โบเทีย (ประเทศกรีซ)
นิกายโรมันคาทอลิก

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
แองกลิคัน
ลูเทอแรน

โปรเตสแตนต์บางคณะ
วันฉลอง18 ตุลาคม
สัญลักษณ์สาวกของพระเยซู แพทย์ คนกับวัวมีปีก คนวาดภาพพระนางมารีย์พรหมจารี (เชื่อกันว่านักบุญลูกาเป็นผู้วาดภาพเหมือนของพระแม่มารีย์) แปรงและจานทาสี (สัญลักษณ์ของจิตรกร) วัวมีปีก
องค์อุปถัมภ์จิตรกร ศิลปิน และอื่น ๆ

ลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร[1][2] (อังกฤษ: Luke the Evangelist; ฮีบรู: לוקא; กรีก: Loukas) เกิดที่แอนติออก ประเทศตุรกีปัจจุบัน เสียชีวิตประมาณปี ค.ศ. 84 ใกล้โบเทีย (Boeotia) ในประเทศกรีซ ลูกาเป็นหนึ่งในผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน (อีก 3 ท่าน ได้แก่ มัทธิว ยอห์น และมาระโก) เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้ประพันธ์พระวรสารนักบุญลูกาและกิจการของอัครทูตซึ่งเป็นเอกสารส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่

ประวัติ

[แก้]

ลูกาเป็นชาวซีเรียเชื้อสายกรีก[3][4][5][6][7][8] อาศัยอยู่ที่เมืองแอนติออก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศตุรกี ท่านเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์แพทย์และศัลยแพทย์ วันฉลองตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม

เอกสารฉบับแรกที่กล่าวถึงนักบุญลูกาคือในจดหมายนักบุญเปาโลถึงฟีเลโมน บทที่ 24 และฉบับ “โคโลเซียน” (Colossians) 4:14 และ ฉบับ “ทิโมธี 2” (2 Timothy) 4:11 ซึ่งเป็นจดหมายเหตุที่กล่าวกันว่าเปาโลอัครทูตเป็นผู้เขียน เอกสารฉบับต่อมาที่กล่าวถึงนักบุญลูกาคือใน “Anti-Marcionite Prologue to the Gospel of Luke” ซึ่งเป็นเอกสารที่ครั้งหนึ่งเชื่อกันว่าเขียนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ต่อมาเชื่อว่าเป็นคริสต์ศตวรรษที่ 4 แต่เฮลมุท เคิสเตอร์ (Helmut Koester) อ้างว่าข้อความข้างล่าง--ซึ่งเป็นส่วนเดียวที่ยังเป็นภาษากรีกต้นฉบับอยู่--เป็นส่วนที่เขียนเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 2

ลูกา ชาวแอนติออก อาชีพแพทย์[9] เขาเป็นเพื่อนร่วมเดินทางของเปาโลอัครทูต และได้ติดตามเปาโลจนกระทั่งเปาโลพลีชีพ เขารับใช้พระผู้เป็นเจ้าติดต่อกันตลอดมา โดยไม่แต่งงาน ไม่มีบุตร เต็มไปด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ เขาเสียชีวิตเมื่ออายุ 84 ปี (หน้า 335)

เอกสารบางฉบับกล่าวว่าลูกาเสียชีวิตที่ธีบส์ ปัจจุบันคือประเทศกรีซ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของโบเธีย หลักฐานเหล่านี้ทำให้สรุปได้ว่าลูกามีส่วนเกี่ยวข้องกับเปาโล

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 203-4
  2. "ประวัตินักบุญตลอดปี: นักบุญลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-12. สืบค้นเมื่อ 2011-08-11.
  3. “The New Testament Documents: Their Origin and Early History”, George Milligan, 1913, Macmillan and co. limited, p.149 (พันธสัญญาใหม่: ที่มาและประวัติศาสตร์เบื้องต้น, หน้า 149)
  4. Saint Luke Catholic Online article (นักบุญลูกาออนไลน์)
  5. “Saints: A Visual Guide”, Edward Mornin, Lorna Mornin, 2006, Eerdmans Books, p.74 (นักบุญ: คู่มือทางจักษุ, หน้า 74)
  6. Saint Luke Catholic Encyclopedia article (นักบุญลูกา (Catholic Encyclopedia))
  7. “New Outlook”, Alfred Emanuel Smith, 1935, Outlook Pub. Co., p. 792
  8. “New Testament Studies” I. Luke the Physician: The Author of the Third Gospel, Adolf von Harnack, 1907, Williams & Norgate; G.P. Putnam's Sons, p.5 (“การศึกษาพันธสัญญาใหม่)” I. นักบุญลูกา : ผู้ประพันธ์พระวรสารฉบับที่สาม โดยเอดอลฟ ฟอน ฮาร์นัค, หน้า 5)
  9. A Commentary on the Original Text of the Acts of the Apostles, Horatio Balch Hackett, 1858, Gould and Lincoln; Sheldon, Blakeman & Co., p.12 (“ความเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาดั้งเดิมของกิจการของสาวก” โดยโฮราชิโอ บอลช แฮคเค็ท, หน้า 12)

ดูเพิ่ม

[แก้]