ลิกไนต์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ลิกไนต์ (อังกฤษ: Lignite) มักเรียกกันว่าถ่านหินสีน้ำตาล เป็นถ่านหินชนิดหนึ่งที่มีซากพืชสลายตัวหมด ไม่เห็นโครงสร้างของพืช ลักษณะเนื้อเหนียวและผิวด้าน มีสีเข้ม มีปริมาณออกซิเจนและความชื้นำ มีปริมาณคาร์บอนสูงกว่าพีต (ประมาณ 25 - 60%)[1][2] เมื่อติดไฟมีควันและเถ้าถ่านมาก จึงถูกจัดให้อยู่ในชั้นคุณภาพต่ำสุดของถ่านหิน ลิกไนต์ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับให้ความร้อน โดยส่วนใหญ่พบว่าลิกไนต์จะใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ในโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังไอน้ำ เนื่องจากมีปริมาณสำรองมากและมีราคาถูก และใช้บ่มใบยา มีการทำเหมืองมากในหลายประเทศ เช่น เยอรมนี รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย กรีซ จีน อินเดีย เป็นต้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากลิกไนต์มักมีปริมาณความชื้นสูงและมีแนวโน้มที่จะลุกไหม้เองได้ง่าย ทำให้มักมีปัญหาในเรื่องของการขนส่งและเก็บรักษา พบมากที่ลำปาง[3]
การจุดไฟหินลิกไนต์ทำให้เกิดความร้อนน้อยกว่าเทียบกับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และกำมะถันที่ปล่อยออกมามากกว่าถ่านหินอื่น ๆ ดังนั้นลิกไนต์จึงถูกจัดว่าเป็นถ่านหินที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์มากที่สุด[4] ซึ่งแล้วแต่ว่าแหล่งที่ขุดลิกไนต์มาจากที่ไหน ลิกไนต์ก็จะมีปริมาณโลหะหนักที่เป็นพิษ และ สารกัมมันตภาพรังสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตามแต่ละพื้นที่ไปด้วย อาจมีอยู่ในลิกไนต์และเหลืออยู่ในขึ้เถ้าหลังจากเผาไหม้ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์[5]
ลักษณะเฉพาะ
[แก้]ลิกไนต์มีสีน้ำตาลอมดำและมีปริมาณคาร์บอนตั้งแต่ 25–60% (แล้วแต่แหล่งที่พบ) โดยปราศจากเถ้าแห้ง อย่างไรก็ตาม บางครั้งความชื้นอาจสูงถึง 75%[1] และมีปริมาณขี้เถ้าอยู่ในประมาณ 6-19% เทียบกับถ่านหินบิทูมินัสที่มีความชื้นประมาณ 6-12 % เป็นผลให้ปริมาณคาร์บอนโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 25-35% (เนื่องจากความชื้นและแร่ธาตุอื่น ๆ ที่อยู่ในถ่านหิน)[2]
ปริมาณพลังงานของลิกไนต์อยู่ในช่วง 10 ถึง 20 MJ/กก. (9–17 ล้าน BTU ต่อ ชอร์ตตัน) บนพื้นฐานที่มีความชื้นและปราศจากแร่ธาตุ ปริมาณพลังงานของลิกไนต์ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาเฉลี่ยอยู่ที่ 15 MJ/กก. (13 ล้าน BTU/ตัน) ตามที่ได้รับ[6] ปริมาณพลังงานของลิกไนต์ที่ใช้ในรัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย เฉลี่ย 8.6 MJ/กก. (8.2 ล้าน BTU/ตัน) เมื่อคำนวณแบบรวมความชื้น[7]
ลิกไนต์มีปริมาณสารระเหยสูงซึ่งทำให้สามารถแปลงเป็นก๊าซและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเหลวได้ง่ายกว่าถ่านหินที่มีคุณภาพสูงกว่า ด้วยปริมาณความชื้นที่สูงและความไวต่อ การเผาไหม้ที่เกิดขึ้นเอง อาจทำให้เกิดปัญหาในการขนส่งและการเก็บรักษา กระบวนการที่แยกน้ำออกจากถ่านหินสีน้ำตาลจะช่วยลดความเสี่ยงของการเผาไหม้ที่เกิดขึ้นเองให้อยู่ในระดับเดียวกับถ่านหินดำ เพิ่มค่าความร้อนของมันให้กลายเป็นเชื้อเพลิงเทียบเท่าถ่านหินดำ และลดโอกาสในการเผาไหม้ขึ้นมาเองด้วยการบีบอัดให้มวลอยู่ในระดับใกล้เคียงหรือหนาแน่นกว่าถ่านหินดำส่วนใหญ่[8] อย่างไรก็ตาม การขจัดความชื้นออกจากลิกไนต์ก็จะทำให้ต้นทุนสุทธิของมันเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
ลิกไนต์สลายตัวอย่างรวดเร็วเมื่อสัมผัสกับอากาศ กระบวนการนี้เรียกว่า การหย่อน[9]
การนำไปใช้
[แก้]ลิกไนต์ส่วนใหญ่อยู่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า[2] อย่างไรก็ตาม มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ถูกใช้ในทาง เกษตรกรรม, อุตสาหกรรม, หรือแม้แต่ การเจียร หรือ ปัดเงา อัญมณี. ในอดีต ลิกไนต์จะใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อสร้างความอบอุ่นในบ้านเรือน แต่ค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะมีความสำคัญต่ำกว่าการผลิตไฟฟ้า
ใช้เป็นเชื้อเพลิง
[แก้]ลิกไนต์มักพบในชั้นหนาๆ ที่อยู่ใกล้กับพื้นผิว ทำให้มีราคาไม่แพงสำหรับการขุด อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีความหนาแน่นของพลังงานต่ำ, เปราะ, และ โดยปกติจะมีความชื้นสูง ถ่านหินสีน้ำตาลไม่มีประสิทธิภาพในการขนส่ง และไม่มีการซื้อขายอย่างกว้างขวางในตลาดโลก เมื่อเทียบกับเกรดถ่านหินที่สูงกว่า[1][7] มักถูกเผาในโรงไฟฟ้าใกล้กับเหมือง เช่น ที่โรงไฟฟ้ามอนติเซลโล ในหุบเขาลาโทรบ, ออสเตรเลีย ของบริษัท ลูมิแนนต์ หรือ ที่โรงไฟฟ้ามาร์ตินเลค ในเท็กซัส สาเหตุหลักมาจากปริมาณความชื้นแฝงสูงและความหนาแน่นพลังงานต่ำของถ่านหินสีน้ำตาล การปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินสีน้ำตาล มักสูงกว่าโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินสีดำ เมื่อเทียบกับพลังงานที่ผลิตได้คิดเป็นเมกะวัตต์ชั่วโมง (MWh) ซึ่งโรงไฟฟ้าที่ปล่อยมลพิษสูงที่สุดในโลก คือโรงไฟฟ้าเฮเซลวูด ที่ตั้งอยู่ที่ออสเตรเลีย[10] จนกระทั่งปิดตัวลงในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2017[11] การดำเนินงานของโรงงานถ่านหินสีน้ำตาลแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับ การทำเหมืองเปิดถมตามหลัง เป็นประเด็นทางการเมืองที่อ่อนไหว เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อม[12][13]
สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี เคยใช้ถ่านหินลิกไนต์อย่างมาก แต่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพึ่งพาตัวเองด้านพลังงาน ล่าสุดสามารถทดแทนปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากลิกไนต์ได้กว่า 70% แล้ว[14] ลิกไนต์ ยังเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมเคมี ผ่าน Bergius process หรือ Fischer-Tropsch synthesis แทนที่น้ำมันดิบ[15] ซึ่งจำเป็นต้องนำเข้ามาด้วยสกุลเงินหลัก หลังจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของ สหภาพโซเวียต ในช่วงทศวรรษ 1970 ซึ่งเคยส่งมอบน้ำมันดิบในอัตราต่ำกว่าราคาตลาดมาก่อน.[16] นักวิทยาศาสตร์เยอรมันตะวันออกยังได้พัฒนาการเปลี่ยนลิกไนต์ให้เป็น ถ่านโค้ก ที่เหมาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมโลหะ (โค้กลิกไนต์ที่มีอุณหภูมิสูง) และโครงข่ายรถไฟ ทางรถไฟ ส่วนใหญ่ต้องอาศัยลิกไนต์ ไม่ว่าจะเป็นหัวรถจักรไอน้ำ (รถไฟไอน้ำ) หรือ ระบบไฟฟ้า (ระบบไฟฟ้าบนรางรถไฟ) ซึ่งส่วนใหญ่ใช้พลังงานที่ผลิตจากลิกไนต์ [16] ตามตารางด้านล่าง เยอรมันตะวันออกเป็นผู้ผลิตลิกไนต์รายใหญ่ที่สุดในช่วงเวลายาวนานหลังจากได้รับเอกราช
ปี 2014 ประมาณ 12% ของ พลังงานในเยอรมนี และคิดเป็น 27% ของพลังงานไฟฟ้าของเยอรมนี มาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ [17] ขณะที่ในปี 2014 ใน พลังงานในกรีซ ถ่านหินลิกไนต์ จัดหาพลังงานประมาณ 50% เพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงานของประเทศ เยอรมนีได้ประกาศแผนการที่จะ ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ถ่านหินลิกไนต์ ภายในปี 2038 อย่างช้าที่สุด[18][19][20][21] กรีซยืนยันว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งสุดท้ายจะถูกปิดตัวลงในปี 2025 หลังจากได้รับแรงกดดันจาก สหภาพยุโรป[22] และมีแผนที่จะลงทุนอย่างหนักใน พลังงานทดแทน[23]
การสร้างความอบอุ่นในครัวเรือน
[แก้]ลิกไนต์เคยและยังคงถูกนำมาใช้แทนฟืน ในการสร้างความอบอุ่นในครัวเรือน โดยปกติจะถูกอัดเป็นก้อนเพื่อใช้ประโยชน์นี้ briquettes[24][25] ด้วยกลิ่นที่เกิดขึ้นขณะเผาไหม้ ทำให้ลิกไนต์มักถูกมองว่าเป็นเชื้อเพลิงสำหรับคนยากจน เมื่อเทียบกับถ่านหินคุณภาพสูงที่มีราคาแพงกว่า ในประเทศเยอรมนี ก้อนลิกไนต์สำเร็จรูปยังคงหาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าปลีกสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง และซูเปอร์มาร์เก็ต[26][27][28][29]
เกษตรกรรม
[แก้]ลิกไนต์มีประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับการเกษตรกรรม โดยลิกไนต์อาจมีคุณค่าในฐานะสารปรับปรุงดินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยปรับปรุงการแลกเปลี่ยนประจุลบวก เพิ่มปริมาณฟอสฟอรัส และในขณะเดียวกันก็ลดปริมาณโลหะหนักที่ดินสามารถดูดซึมได้[30][31] ซึ่งอาจจะดีกว่าผงโพแทสเซียมฮิวเมทที่ขายกันทั่วไป[32] นอกจากนี้ เถ้าลอยจากการเผาไหม้ลิกไนต์ในโรงไฟฟ้า อาจมีประโยชน์เป็นสารปรับสภาพดินและปุ๋ยได้อีกด้วย[33] อย่างไรก็ตาม ยังขาดผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ในระยะยาวของผลิตภัณฑ์จากลิกไนต์ในด้านการเกษตรกรรมอยู่พอสมควร[34]
ลิกไนต์ยังสามารถใช้เพาะเลี้ยงและกระจายเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมชีวภาพ (biological control microbes) ที่ช่วยยับยั้งแมลงศัตรูพืช คาร์บอนในลิกไนต์ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ขณะที่เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมชีวภาพเป็นทางเลือกแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช[35]
ลีโอนาร์ไดต์ เป็นสารปรับสภาพดินที่อุดมไปด้วยกรดฮิวมิกซึ่งเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาออกซิเดชันตามธรรมชาติเมื่อลิกไนต์สัมผัสกับอากาศ[36] กระบวนการนี้สามารถจำลองแบบเทียมได้ในวงกว้าง[37] ลิกไนต์ไซลอยด์ที่อายุน้อยกว่า (ยังดูเป็นท่อนไม้) จะมีปริมาณกรดฮิวมิกมากกว่า[38]
ในการขุดเจาะโคลน
[แก้]ปฏิกิริยาควอเทอร์นารีแอมโมเนียม ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า ลิกไนต์ที่ผ่านการปรับสภาพด้วยแอมโมเนีย (ATL) ซึ่งใช้ในน้ำโคลนสำหรับงานขุดเจาะ เพื่อลดการสูญเสียของเหลวขณะทำการขุดเจาะ[39]
เป็นตัวดูดซับทางอุตสาหกรรม
[แก้]ลิกไนต์อาจมีศักยภาพในการนำไปใช้เป็น ตัวดูดซับทางอุตสาหกรรม การทดลองแสดงให้เห็นว่าการดูดซับเมทิลีนบลูนั้น อยู่ในระดับเดียวกับถ่านกัมมันต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมในปัจจุบัน[40]
อัญมณี
[แก้]เจ็ท เป็นรูปแบบหนึ่งของลิกไนต์ที่เคยถูกนำมาใช้เป็นอัญมณี[41] เครื่องมือที่ทำจากเจ็ทที่เก่าแก่ที่สุดนั้นมีอายุประมาณ 10,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช[42] และเครื่องประดับจากเจ็ท เช่น สร้อยคอ ยุคหินใหม่ จนถึงปลาย ยุคบริเตนสมัยโรมัน.[43] เครื่องประดับจากเจ็ทเคยกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในช่วงยุควิกตอเรีย.[44]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Otto, C. Kopp. "lignite". Britannica.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 2.2 "Coal explained". U.S. Energy Information Administration. 2023-10-24. สืบค้นเมื่อ 2024-07-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ถ่านหิน". กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน. สืบค้นเมื่อ 2024-07-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Lignite coal – health effects and recommendations from the health sector" (PDF). Health and Environment Alliance. December 2018. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09.
- ↑ "Gesundheit: Feiner Staub, großer Schaden".
- ↑ "Lignite". Glossary. U.S. Energy Information Agency. สืบค้นเมื่อ 4 May 2021.
- ↑ 7.0 7.1 "A principal brown coal province" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ 30 June 2022.
- ↑ George, A.M.. State Electricity Victoria, Petrographic Report No 17. 1975; Perry, G.J and Allardice, D.J. Coal Resources Conference, NZ 1987 Proc.1, Sec. 4.. Paper R4.1
- ↑ Schobert, Harold H., บ.ก. (1995). "Chapter 1 The principal lignite deposits of North America". Coal Science and Technology. 23: 1–50. doi:10.1016/S0167-9449(06)80002-9. ISBN 9780444898234.
- ↑ "Hazelwood tops international list of dirty power stations". World Wide Fund for Nature Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-13. สืบค้นเมื่อ 2008-10-02.
- ↑ "End of generation at Hazelwood". Engie. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-31. สืบค้นเมื่อ 2017-06-30.
- ↑ "The Greens Won't Line Up For Dirty Brown Coal In The Valley". Australian Greens Victoria. 2006-08-18. สืบค้นเมื่อ 2007-06-28.
- ↑ "Greenpeace Germany Protests Brown Coal Power Stations". Environment News Service. 2004-05-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-06-28.
- ↑ Irfan, Ulmair (3 November 2014). "How East Germany Cleaned Up Dirty Power". Scientific American. Springer Nature America, Inc. สืบค้นเมื่อ 4 May 2021.
- ↑ "Liquid fuel revival". Chemistry and Industry. No. 22. SCI. 2009. สืบค้นเมื่อ 4 May 2021.
- ↑ 16.0 16.1 "The history of energy in Germany". Planete energies. Total Foundation. 29 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 4 May 2021.
- ↑ "Statistics on energy production in Germany 2014, Department of Energy (in german, lignite = "Braunkohle")" (PDF). 2014-10-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-06. สืบค้นเมื่อ 2015-12-10.
- ↑ "Interview zum Kohlekompromiss: "Damit ist es nicht getan"". Tagesschau.de.
- ↑ "Was der Kohlekompromiss für Deutschland bedeutet". Erneuerbareenergien.de. 13 August 2019.
- ↑ "Teurer Kohlekompromiss". Zdf.de. สืบค้นเมื่อ 30 June 2022.
- ↑ "Kommentar zum Kohleausstieg: Der Kohlekompromiss ist ein Meisterstück". Ksta.de. 26 January 2019.
- ↑ "Greece confirms last coal plant will be shut in 2025". Euractiv.com. 26 April 2021.
- ↑ "Σκρέκας: Προετοιμάζουμε και σχεδιάζουμε την πράσινη πολιτική της χώρας | ΣΚΑΪ". Skai.gr. 18 May 2021.
- ↑ Francis, Wilfrid (1980). Fuels and fuel technology : a summarized manual (2d (SI) ed.). Oxford: Pergamon Press. pp. 4–5. ISBN 9781483147949.
- ↑ Thuβ, U.; Popp, P.; Ehrlich, Chr.; Kalkoff, W.-D. (July 1995). "Domestic lignite combustion as source of polychlorodibenzodioxins and -furans (PCDD/F)". Chemosphere. 31 (2): 2591–2604. Bibcode:1995Chmsp..31.2591T. doi:10.1016/0045-6535(95)00132-R.
- ↑ "Briketts kaufen bei". Obi.de.
- ↑ "Briketts kaufen bei". Hornbach.de.
- ↑ "Braunkohlebriketts 10kg bei REWE online bestellen!". Shop.rewe.de. สืบค้นเมื่อ 30 June 2022.
- ↑ "Briketts kaufen bei Bauhaus". Bauhaus.info.
- ↑ Kim Thi Tran, Cuc; Rose, Michael T.; Cavagnaro, Timothy R.; Patti, Antonio F. (November 2015). "Lignite amendment has limited impacts on soil microbial communities and mineral nitrogen availability". Applied Soil Ecology. 95: 140–150. Bibcode:2015AppSE..95..140K. doi:10.1016/j.apsoil.2015.06.020.
- ↑ Li, Changjian; Xiong, Yunwu; Zou, Jiaye; Dong, Li; Ren, Ping; Huang, Guanhua (March 2021). "Impact of biochar and lignite-based amendments on microbial communities and greenhouse gas emissions from agricultural soil". Vadose Zone Journal. 20 (2). Bibcode:2021VZJ....2020105L. doi:10.1002/vzj2.20105.
- ↑ Lyons, Graham; Genc, Yusuf (28 October 2016). "Commercial Humates in Agriculture: Real Substance or Smoke and Mirrors?". Agronomy. 6 (4): 50. doi:10.3390/agronomy6040050.
- ↑ Ram, Lal C.; Srivastava, Nishant K.; Jha, Sangeet K.; Sinha, Awadhesh K.; Masto, Reginald E.; Selvi, Vetrivel A. (September 2007). "Management of Lignite Fly Ash for Improving Soil Fertility and Crop Productivity". Environmental Management. 40 (3): 438–452. Bibcode:2007EnMan..40..438R. doi:10.1007/s00267-006-0126-9. PMID 17705037. S2CID 1257174.
- ↑ Patti, Antonio; Rose, Michael; Little, Karen; Jackson, Roy; Cavagnaro, Timothy (2014). "Evaluating Lignite-Derived Products (LDPs) for Agriculture – Does Research Inform Practice?". EGU General Assembly Conference Abstracts: 10165. Bibcode:2014EGUGA..1610165P. สืบค้นเมื่อ 4 May 2021.
- ↑ Jones, Richard; Petit, R; Taber, R (1984). "Lignite and stillage:carrier and substrate for application of fungal biocontrol agents to soil". Phytopathology. 74 (10): 1167–1170. doi:10.1094/Phyto-74-1167.
- ↑ "Youngs, R.W. & Frost, C.M. 1963. Humic acids from leonardite – a soil conditioner and organic fertilizer. Ind. Eng. Chem., 55, 95–99" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09. สืบค้นเมื่อ 30 June 2022.
- ↑ Gong, Guanqun; Xu, Liangwei; Zhang, Yingjie; Liu, Weixin; Wang, Ming; Zhao, Yufeng; Yuan, Xin; Li, Yajun (3 November 2020). "Extraction of Fulvic Acid from Lignite and Characterization of Its Functional Groups". ACS Omega. 5 (43): 27953–27961. doi:10.1021/acsomega.0c03388. PMC 7643152. PMID 33163778.
- ↑ Mackie, Samuel Joseph (1861). The Geologist. Original from Harvard University: Reynolds. pp. 197–200.
- ↑ Elgibaly, A.; Farahat, M.; Abd El Nabbi, M. (1 December 2018). "The Optimum Types and Characteristics of Drilling Fluids Used During Drilling in The Egyption Western Desert". Journal of Petroleum and Mining Engineering. 20 (1): 89–100. doi:10.21608/jpme.2018.40453.
- ↑ Qi, Ying; Hoadley, Andrew F.A.; Chaffee, Alan L.; Garnier, Gil (April 2011). "Characterisation of lignite as an industrial adsorbent". Fuel. 90 (4): 1567–1574. Bibcode:2011Fuel...90.1567Q. doi:10.1016/j.fuel.2011.01.015.
- ↑ Neuendorf, K. K. E. Jr.; Mehl, J. P.; Jackson, J. A., บ.ก. (2005). Glossary of Geology (5th ed.). Alexandria, Virginia: American Geological Institute. p. 344.
- ↑ "Venus figures from Petersfels". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2016. สืบค้นเมื่อ 9 August 2016.
- ↑ Allason-Jones, Lindsay (1996). Roman Jet in the Yorkshire Museum. The Yorkshire Museum. pp. 8–11. ISBN 0905807170.
- ↑ Muller, Helen (1987). Jet. Butterworths. pp. 59–63. ISBN 0408031107.