ราชวงศ์ไศเลนทร์
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
| |
พระราชอิสริยยศ | ราชาแห่งศรีวิชัย |
---|---|
เชื้อพระวงศ์ที่สำคัญ | พระเจ้าศรีชยนาศแห่งศรีวิชัย พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1แห่งพระนครหลวง |
ประมุขพระองค์แรก | พระเจ้าศรีชยนาศแห่งศรีวิชัย |
สถาปนา | ศตวรรษที่ 8 |
สิ้นสุด | พ.ศ. 1818 |
ราชวงศ์ไศเลนทร์ (อักษรโรมัน: Shailendra dynasty ) ; (IAST: Śailēndra) ภาษาสันสกฤต Śaila หมายถึง "ราชาแห่งภูเขา" ราชวงศ์ไศเลนทร์สถาปนาโดย พระเจ้าศรีชยนาศแห่งศรีวิชัย (Jaya Sri Jayanasa) พระมหากษัตริย์แห่ง อาณาจักรศรีวิชัย ในศตวรรษที่ 8 ซึ่งการครองราชย์ของพระองค์สร้างความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้ [1] พระองค์เป็นผู้สนับสนุนพุทธศาสนานิกายมหายานและทรงสร้างศาสนสถานในชวากลางด้วยอนุสรณ์สถานทางพุทธศาสนา หนึ่งในนั้นคือมหาสถูปบุโรพุทโธ ซึ่งปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกโดย UNESCO[2] [3] [4]
คำจารึกที่สร้างโดยกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์มีสามภาษาคือภาษามลายูเก่า ชวาเก่า และสันสกฤต เขียนด้วยอักษรกาวี (Kawi) หรืออักษรก่อนนาการี ( pre-Nāgarī ) การใช้ภาษามลายูเก่าได้จุดประกายให้เกิดการคาดเดาถึงต้นกำเนิดของชาวสุมาตราหรือความเชื่อมโยงแบบศรีวิจายันของราชวงศ์นี้แต่ในทางกลับกันการใช้ภาษาชวาเก่าบ่งบอกถึงการก่อตั้งทางการเมืองที่มั่นคงบนเกาะชวา การใช้ภาษาสันสกฤตมักจะบ่งบอกถึงลักษณะที่เป็นทางการและความสำคัญทางศาสนา เหตุการณ์ที่อธิบายไว้ในจารึกที่พบในชวากลาง บาหลี สุมาตรา และศรีวิชัย
แม้ว่าหลักฐานจารึกของราชวงศ์ไศเลนทร์มีมากในที่ราบเคดู ( Kedu ) ในพื้นที่ของชวากลางแต่ต้นกำเนิดของราชวงศ์นี้ยังเป็นข้อถกเถียง[5] นอกเหนือจากชวากลางแล้วยังมีความเป็นไปได้ที่ต้นกำเนิดของราชวงศ์นี้อาจเริ่มต้นในสุมาตรา หรือในอินเดียจากการศึกษาล่าสุดเห็นได้ชัดว่าสนับสนุนต้นกำเนิดของราชวงศ์นี้ว่ามีการนับถือศาสนาฮินดูมาก่อนหันมานับถือพุทธศาสนา แม้หลักฐานจารึกต่างๆและร่องรอยโบราณสถาน โบราณวัตถุจะมีความเกี่ยวข้องกับศรีวิชัยในสุมาตราและคาบสมุทรไทย-มาเลย์ แต่ราชวงศ์ไศเลนทร์ก็มีแนวโน้มว่าจะมีต้นกำเนิดจากชวามากกว่าที่อื่นแล้วค่อยขยายดินแดนไปยังสุมาตรา บาหลี ศรีวิชัย และเจนละของกัมพูชา
ในปีค.ศ. 1025 พระเจ้าราเชนทราที่ 1 แห่ง ราชวงศ์โจฬะ ในอินเดียทรงริเริ่มการรุกรานทางทะเลต่ออาณาจักรศรีวิชัยดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร [6] การนำทัพทางทะเลของราเชนทราที่ 1 แห่งราชวงศ์โจฬะเพื่อรุกราน อาณาจักรศรีวิชัย และอาณาจักรชวาเพื่อขยายเส้นทางการค้าของพ่อค้าชาวทมิฬซึ่งทำการยึดครองเมืองท่าสำคัญหลายแห่ง การรุกรานนี้นำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์ไศเลนทร์ของศรีวิชัยในที่สุด[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kenneth Perry Landon (1969). Southeast Asia. Crossroad of Religions. University of Chicago Press. ISBN 0-226-46840-2.
- ↑ Briggs, Lawrence Palmer (1951). "[Review of] South East Asia. Crossroad of Religions by K.P. Landon". The Far Eastern Quarterly. 9 (3): 271–277.
- ↑ G. Coedes (1934). "On the origins of the Sailendras of Indonesia". Journal of the Greater India Society. I: 61–70.
- ↑ K.R. Hall (1985). Maritime Trade and State Development in Early South East Asia. Honolulu: University of Hawaii Press. ISBN 0-8248-0959-
- ↑ Paul Michel Munoz (2006). Early Kingdoms of the Indonesian Archipelago and the Malay Peninsula. Editions Didier Millet. ISBN 981-4155-67-5.
- ↑ Munoz, Paul Michel (2006). Early Kingdoms of the Indonesian Archipelago and the Malay Peninsula. Singapore: Editions Didier Millet. ISBN 981-4155-67-5.
- ↑ Power and Plenty: Trade, War, and the World Economy in the Second Millennium by Ronald Findlay,Kevin H. O'Rourke p.69