ข้ามไปเนื้อหา

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ราชวงศ์ฮับส์บวร์ก)
ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค
พระราชอิสริยยศ
ปกครองออสเตรีย, ราชอาณาจักรเยอรมนี, จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, ซิซิลี, เนเปิลส์, สเปน, ฮังการี-โครเอเชีย, จักรวรรดิเม็กซิโก, โบฮีเมีย, โปรตุเกส และรัฐขนาดเล็กอื่น ๆ
สาขา
ประมุขพระองค์สุดท้ายวงศ์สเปน: พระเจ้าการ์โลสที่ 2 (ค.ศ. 1700)
วงศ์ออสเตรีย: พระราชินีนาถ มาเรีย เทเรซา (ค.ศ. 1780)
สถาปนาศตวรรษที่ 11: แร็ดบอต เคานต์แห่งฮาพส์บวร์ค
สิ้นสุด1700: (ภายหลังการสวรรคตของการ์โลสที่ 2 แห่งสเปน)
1780: (ภายหลังการสวรรคตของมาเรีย เทเรซา แห่งออสเตรีย)
เชื้อชาติชาวเยอรมัน, ชาวออสเตรีย, ชาวสเปน

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (เยอรมัน: Haus de Habsburg; อังกฤษ: House of Habsburg บางครั้งเขียนว่า Hapsburg) เป็นราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดราชวงศ์หนึ่งในทวีปยุโรป ราชวงศ์นี้ได้ปกครองประเทศสเปนและประเทศออสเตรีย รวมเวลาทั้งหมดถึง 6 ศตวรรษ แต่ที่รู้จักกันดีมากที่สุดคือ การปกครองในตำแหน่งของ จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หลังจากได้มีการสถาปนาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา พระราชวงศ์นี้ได้ปกครองรัฐและประเทศต่าง ๆ ถึง 1,800 รัฐ

ประวัติโดยย่อของพระราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค

[แก้]

จากเคานต์แห่งฮาพส์บวร์คจนถึงจักรพรรดิแห่งชาวโรมัน

[แก้]
ดินแดนอาณานิคมของพระราชวงศ์ฮาพส์บวร์คเมื่อประมาณ ค.ศ. 1200 ซึ่งจะแสดงเป็นสีชมพู, ถัดจากนั้นสีส้ม จะเป็นดินแดนของราชวงศ์ซาวอย, สีเขียว จะเป็นดินแดนของราชวงศ์แซ์รินเจน และ สีเหลือง จะเป็นดินแดนของไคบวร์ค
ดินแดนอาณานิคมของพระราชวงศ์ฮาพส์บวร์คภายใต้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งจะแสดงเป็นสีส้ม, โดยถัดมา สีม่วง จะเป็นดินแดนของพระราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก และ สีเขียวเข้มจะเป็นดินแดนของพระราชวงศ์วิทเตลส์แบช

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค เป็นชื่อที่ตั้งมาจากปราสาทฮาพส์บวร์ค (Habsburg Castle หรือที่ชาวสวิตรู้จักกันในนาม Hawk Castle) เมื่อประมาณศตวรรษที่ 12 โดยช่วงแรก พระราชวงศ์จะทรงประทับที่แคว้นสวาเบีย (ปัจจุบันคือเมืองอาร์กอว์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งขณะนั้น เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) จากนั้น พระราชวงศ์ก็ได้ขยายอำนาจออกไปตั้งแต่เมืองอัลเซส ไบรส์กอว์ อาร์กอว์ และธูร์กอว์ (ปัจจุบัน เมืองทั้งหมดตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี) และในที่สุดก็สามารถมีอำนาจปกครองจักรวรรดิได้ทั้งหมด โดยตั้งเมืองหลวงคือ กรุงเวียนนา (ปัจจุบันคือเมืองหลวงของประเทศออสเตรีย)

จากนั้น พระบรมวงศานุวงศ์ได้ทรงขยายอำนาจ ทรงนำประเทศต่าง ๆ มาผนวกรวมกับจักรวรรดิโดยการอภิเษกสมรส เช่น จักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ทรงอภิเษกสมรสกับมารี ซึ่งเป็นธิดาในดยุกแห่งบูร์กอญ หลังจากการอภิเษกสมรสแล้ว จักรพรรดิมักซีมีเลียนก็ได้ทรงผนวกเบอร์กันดีเข้ารวมกับจักรวรรดิ นอกจากนี้ ยังทรงนำดินแดนใกล้เคียงเบอร์กันดีมารวมกับจักรวรรดิอีกด้วย ต่อมาพระราชโอรสของทั้งสองพระองค์ พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา หรือสมญาพระนามว่า เฟลีเปผู้หล่อเหลา (Philip the Handsome) ได้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงฆัวนาแห่งสเปน องค์รัชทายาทหญิงแห่งสเปน จากนั้นพระราชโอรสของทั้งสองพระองค์ จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ทรงนำสเปน พื้นที่ทางตอนใต้ของอิตาลี มาผนวกกับจักรวรรดิ ต่อมาในพ.ศ. 2123 พระราชโอรสของพระองค์ พระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน ได้ทรงผนวกโปรตุเกสรวมเข้าเป็นอาณานิคม

ในรัชสมัยของจักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในตอนแรกทรงตั้งดินแดนศูนย์กลางของกรุงเวียนนาเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิ โดยต่อมามีพระราชโองการให้สร้างพระราชวังเชินบรุนน์ขึ้น (Schönbrunn Palace) โดยให้เป็นพระราชฐานแปรฤดูร้อน ซึ่งต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซามีพระราชเสาวณีย์ให้ก่อสร้างพระตำหนักเพิ่มเติมภายในพระราชวัง พระราชวังเชินบรุนน์จึงมีความยิ่งใหญ่ สวยงามจวบจนทุกวันนี้

สายสกุลของราชวงศ์: ฮาพส์บวร์ค ออสเตรีย และสเปน

[แก้]
แผนที่จักรวรรดิซึ่งแสดงอาณาเขตของจักรวรรดิราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค หลังจากสมรภูมิมืลห์เบิร์ก; ดินแดนของฮาพส์บวร์คจะแสดงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนที่เหลือจะเป็นดินแดนของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2064 จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ทรงมอบโอนแผ่นดินออสเตรียให้กับพระอนุชาของพระองค์ จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จากนั้น ก็มีการแยกสายสกุลฮาพส์บวร์ค-ออสเตรีย และฮาพส์บวร์ค-สเปน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยสายสกุลทางออสเตรียได้ดำรงพระยศ จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2099 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ยังได้ดินแดนของราชอาณาจักรฮังการีและโบฮีเมียตั้งแต่ พ.ศ. 2069 แต่มีช่วงหนึ่งที่ถูกจักรวรรดิออตโตมันยึดครอง ฮังการีและโบฮีเมีย อยู่ภายใต้จักรวรรดิออตโตมันเป็นเวลาถึง 150 ปี โดยต่อมา ได้สามารถพิชิตเอาชนะ และได้ดินแดนฮังการีคืนมาระหว่างพ.ศ. 2226พ.ศ. 2242

สายสกุลฮาพส์บวร์ค-สเปนได้ล่มสลายลงเมื่อพ.ศ. 2243 หลังจากสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน เช่นเดียวกับสายสกุลฮาพส์บวร์ค-ออสเตรีย ซึ่งถูกยุบลงหลังจากสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย อย่างไรก็ตาม องค์รัชทายาทองค์สุดท้ายแห่งสายสกุลฮาพส์บวร์ค-ออสเตรีย อาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซา ซึ่งเป็นองค์รัชทายาทหญิงทางพฤตินัย (Heiress Presumptive) ได้ทรงอภิเษกสมรสกับ ดยุกฟรานซิสที่ 3 สตีเฟนแห่งลอแรน องค์พระประมุขแห่งลอแรน (ทั้ง 2 พระองค์เป็นพระราชปนัดดาในจักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้น ทั้ง 2 พระองค์เป็นพระญาติกัน) โดยหลังจากการอภิเษกสมรสแล้ว สายสกุลฮาพส์บวร์ค-ออสเตรีย ได้ถูกยุบลง โดยการเปลี่ยนราชสกุลฮาพส์บวร์ค เป็นราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน และให้พระบรมวงศานุวงศ์รุ่นต่อ ๆ มาดำรงอยู่ในราชสกุลนี้จวบจนถึงปัจจุบัน

วงศ์ออสเตรีย-ฮังการี

[แก้]
ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
พระราชอิสริยยศจักรพรรดิแห่งออสเตรีย
พระมหากษัตริย์แห่งฮังการี
ปกครองออสเตรีย, ฮังการี
เชื้อชาติออสเตรีย, ฮังการี, และเยอรมัน l
ประมุขพระองค์แรกจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา
จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ผู้นำสกุลองค์ปัจจุบันคาร์ล ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน
สถาปนาค.ศ. 1780
ล่มสลายค.ศ. 1918
ราชวงศ์ถัดไปฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน
ออสเตรีย-เอ็สเทอ

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1806 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ถูกล้มล้างจากการรุกล้ำและรุกรานระบอบการเมืองการปกครองของนโปเลียน โบนาปาร์ต อย่างไรก็ตาม องค์พระประมุของค์สุดท้ายของจักรวรรดิจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ทรงสูญเสียตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไป พระองค์จึงทรงตั้งจักรวรรดิใหม่ คือ จักรวรรดิออสเตรีย และทรงแต่งตั้ง ^ พระราชอิสริยยศใหม่ทั้งหมด โดยพระองค์ทรงใช้พระยศในฐานะองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิใหม่ว่า จักรพรรดิแห่งออสเตรีย ในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1804 ซึ่งเป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่จักรวรรดิเก่าจะถูกล้มล้าง โดย 3 เดือนต่อมา นโปเลียนก็ได้สถาปนาตนเองเป็น จักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ในปีเดียวกัน

จักรพรรดิฟรันซ์ จึงทรงฉลองพระราชอิสริยยศใหม่ คือ

His Imperial and Royal Apostolic Majesty "We, Francis the First, by the grace of God Emperor of Austria; Apostolic King of Hungary, Bohemia, Dalmatia, Croatia, Slavonia, and Jerusalem. King of Galicia and Lodomeria; Archduke of Austria; Duke of Lorriane, Salzburg, Würzburg, Franconia, Styriaia, Carinthia, and Carniola; Grand Duke of Cracow; Grand Prince of Transylvania; Margrave of Moravia; Duke of Sandomir, Masovia, Lublin, Upper and Lower Silesia, Auschwitz and Zator, Teschen, and Friule; Prince of Berchtesgaden and Mergentheim; Princely Count of Habsburg, Gorizia, and Gradisca and Tyrol; and Margrave of Upper and Lower Lusatia and Istria".

ในช่วงของการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรีย-ฮังการี ค.ศ. 1867 ซึ่งเกิดจากการที่ประชาชนชาวฮังการีก่อการปฏิวัติเพื่อเรียกร้องเอกราชจากจักรวรรดิออสเตรีย จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย ต้องทรงไปไกล่เกลี่ยการจลาจลด้วยพระองค์เอง โดยทรงเจรจากับผู้นำปฏิวัติของฮังการี ในที่สุด ฮังการียอมจำนน และสลายการจลาจล จากนั้น จักรพรรดิจึงทรงรวมดินแดนออสเตรีย และฮังการีไว้ด้วยกัน ในชื่อจักรวรรดิใหม่ จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเจริญรุ่งเรืองจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คเริ่มระส่ำระส่าย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเกิดจากการที่นักชาตินิยมชาวบอสเนียเชื้อสายเซอร์เบีย ลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย และพระชายา เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ออสเตรียเรียกร้องให้เซอร์เบียรับผิดชอบ แต่ทางการเซอร์เบียเมินเฉย เป็นเหตุให้ออสเตรีย ประกาศสงครามกับราชอาณาจักรเซอร์เบียทันที จนเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ออสเตรีย ซึ่งมีเยอรมนี เข้าช่วย ได้แพ้สงครามในที่สุด องค์พระประมุของค์สุดท้ายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย ได้ทรงประกาศแยกออสเตรียและฮังการีออกจากกัน ทำให้มีการล้มล้างจักรวรรดิ เป็นเหตุให้จักรวรรดิล่มสลายลงในที่สุด อย่างไรก็ตาม พระองค์ยังไม่ได้ทรงสละราชสมบัติ พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งออสเตรีย จวบจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1922

การเรียกร้องการหวนคืนบัลลังก์

[แก้]

พระราชวงศ์ออสเตรีย-ฮังการีไร้อำนาจ และ แทบจะไร้ความหวังต่อการหวนคืนบัลลังก์โดยประชาชนที่ยังจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์ จนกระทั่งเมื่ออาร์ชดัชเชสอาเดลเลดแห่งออสเตรีย พระราชธิดาองค์โตในจักรพรรดิคาร์ล ได้ทรงเรียกร้องหวนคืนบัลลังก์ให้กับพระเชษฐาของพระองค์ อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์โตโดยทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาหลังจากที่พระราชบิดาเสด็จสวรรคต ได้ทรงเรียกร้องหวนคืนบัลลังก์ออกทางสื่อต่าง ๆ ทำให้รัฐบาลออสเตรียและรัฐบาลฮังการีได้ร่วมมือกันประชุมหารือเรื่องการกลับมาของพระราชวงศ์ แต่การประชุมครั้งนี้ ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด เป็นเหตุให้ยุติการประชุมชั่วคราว

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีบุคคลบางกลุ่มได้จัดให้มีการชุมนุมเรียกร้องการฟื้นฟูสถาปนา พระราชวงศ์ออสเตรีย-ฮังการีขึ้น ณ กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี เมื่อเวลา 9 นาฬิกา ต่อมาเวลา 18 นาฬิกาที่กรุงเวียนนา ก็มีการชุมนุมเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูสถาปนาพระราชวงศ์ให้กลับมาครองบัลลังก์ และยังเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในออสเตรีย และฮังการีอีกด้วย การชุมนุมนี้มีขึ้น ณ ใจกลางกรุงเวียนนา โดยมีหัวข้อชุมนุมเรียกร้องเป็นภาษาเยอรมันว่า 89 Jahre Republik Sind Genug! แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "89 Years are enough for the Republic" (แปล: "89 ปี...มากพอแล้วสำหรับการเป็นสาธารณรัฐ") การชุมนุมของบุคคลบางกลุ่มในทั้ง 2 ประเทศนี้ ทำให้มีการประชุมอย่างเร่งด่วนในรัฐสภาทั้งในออสเตรียและฮังการี และประธานาธิบดีของทั้ง 2 ประเทศต่างได้หารือกันอีกด้วย อย่างไรก็ดี ไม่ปรากฏว่าการชุมนุมดังกล่าวส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะเดิมที่เป็นรูปธรรมใด ๆ ทั้งสิ้น หลังจากเวลาผ่านไปกว่า 3 ปีเศษภายหลังการชุมนุมดังกล่าว ทั้งสาธารณรัฐออสเตรียและฮังการีต่างยังคงยึดมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและสาธารณรัฐไว้ได้อย่างมั่นคง และไม่มีทีท่าว่าประเทศทั้งสองซึ่งต่างก็เป็นรัฐอธิปไตยโดยสมบูรณ์แล้ว จะหวนกลับมารวมกันเป็นประเทศเดียวกันอีกได้แต่ประการใด แม้จนกระทั่งเมื่ออ็อทโท ฟ็อน ฮับสบวร์ค สิ้นพระชนม์ไปแล้วในปี พ.ศ. 2554 ก็ยังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่า ทั้งออสเตรียและฮังการีจะสามารถหวนกลับไปสู่การปกครองระบอบราชาธิปไตยได้อีกเลย

แผนผังราชสกุลในปัจจุบัน

[แก้]

รายพระนาม

[แก้]

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค: จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

[แก้]

บทความหลัก: จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ภาพ พระนาม รัชกาล
มักซีมีเลียนที่ 1 พ.ศ. 2051พ.ศ. 2062
(ค.ศ. 1508ค.ศ. 1519)
คาร์ลที่ 5 พ.ศ. 2062พ.ศ. 2099
(ค.ศ. 1519ค.ศ. 1556)
แฟร์ดีนันด์ที่ 1 พ.ศ. 2099พ.ศ. 2107
(ค.ศ. 1556ค.ศ. 1564)
มักซีมีเลียนที่ 2 พ.ศ. 2107พ.ศ. 2119
(ค.ศ. 1564ค.ศ. 1576)
รูดอล์ฟที่ 2 พ.ศ. 2119พ.ศ. 2155
(ค.ศ. 1576ค.ศ. 1612)
มัททีอัส พ.ศ. 2155พ.ศ. 2162
(ค.ศ. 1612ค.ศ. 1619)
แฟร์ดีนันด์ที่ 2 พ.ศ. 2162พ.ศ. 2180
(ค.ศ. 1619ค.ศ. 1637)
แฟร์ดีนันด์ที่ 3 พ.ศ. 2180พ.ศ. 2200
(ค.ศ. 1637ค.ศ. 1657)
เลโอโปลด์ที่ 1 พ.ศ. 2201พ.ศ. 2248
(ค.ศ. 1658ค.ศ. 1705)
โยเซฟที่ 1 พ.ศ. 2248พ.ศ. 2254
(ค.ศ. 1705ค.ศ. 1711)
คาร์ลที่ 6 พ.ศ. 2254พ.ศ. 2283
(ค.ศ. 1711ค.ศ. 1740)

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน: จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย

[แก้]

จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 มีแต่พระราชธิดา ก่อนหน้านี้ มีพระราชโอรส แต่ทรงสิ้นพระชนม์กะทันหัน พระองค์จึงทรงแต่งตั้ง สถาปนาพระราชธิดาองค์โตของพระองค์ อาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซา ให้เป็นองค์รัชทายาททางพฤตินัย (Heiress Presumptive) โดยทรงออกพระราชกฤษฎีกาพิเศษ เพื่อรับรองให้พระบรมวงศานุวงศ์เพศหญิงสามารถขึ้นครองราชย์สมบัติได้ เมื่อจักรพรรดิคาร์ลเสด็จสวรรคต อาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซาก็ได้ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งฮังการี และโบฮีเมีย ส่วนตำแหน่งองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นั้น พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับดยุกฟรานซิสที่ 3 สตีเฟนแห่งลอแรน (Duke Francis III Stephen of Lorraine) หลังจากอภิเษกสมรส ก็ทรงสถาปนา แต่งตั้งพระราชสวามีเป็น จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ให้พระราชสวามีเป็นองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่พระราชอำนาจ และการบริหารบ้านเมืองจะเป็นของจักรพรรดินีนาถแต่เพียงผู้เดียว หลังจากนั้น ทั้ง 2 พระองค์ได้ทรงร่วมกันก่อตั้งราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรนขึ้น (Habsburg-Lorraine) และมีพระบรมวงศานุวงศ์ได้ทรงดำรงอยู่ในราชสกุลนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพ พระนาม รัชกาล
ฟรันซ์ที่ 1 พร้อมด้วย พระนางมาเรีย เทเรซา พ.ศ. 2288พ.ศ. 2308
(ค.ศ. 1745ค.ศ. 1765)
โยเซฟที่ 2 พ.ศ. 2308พ.ศ. 2333
(ค.ศ. 1765ค.ศ. 1790)
เลโอโปลด์ที่ 2 พ.ศ. 2333พ.ศ. 2335
(ค.ศ. 1790ค.ศ. 1792)
ฟรันซ์ที่ 2 พ.ศ. 2335พ.ศ. 2349
(ค.ศ. 1792ค.ศ. 1806)

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค: อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล
มักซีมีเลียนที่ 1 พ.ศ. 2051พ.ศ. 2062 (ค.ศ. 1508 – ค.ศ. 1519)
คาร์ลที่ 5 พ.ศ. 2062พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1519 – ค.ศ. 1556)

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน: จักรพรรดิแห่งออสเตรีย

[แก้]

บทความหลัก: จักรพรรดิแห่งออสเตรีย

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2349 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ถูกล้มล้างจากการรุกล้ำและรุกรานระบอบการเมืองการปกครองของนโปเลียน โบนาปาร์ต อย่างไรก็ตาม องค์พระประมุของค์สุดท้ายของจักรวรรดิจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ทรงสูญเสียตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไป พระองค์จึงทรงตั้งจักรวรรดิใหม่ คือ จักรวรรดิออสเตรีย และทรงแต่งตั้งพระราชอิสริยยศใหม่ทั้งหมด โดยพระองค์ทรงใช้พระยศในฐานะองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิใหม่ว่า จักรพรรดิแห่งออสเตรีย ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2347

ภาพ พระนาม รัชกาล
ฟรันซ์ที่ 1 พ.ศ. 2347พ.ศ. 2378
(ค.ศ. 1804ค.ศ. 1835)
แฟร์ดีนันด์ที่ 1 พ.ศ. 2378พ.ศ. 2391
(ค.ศ. 1835ค.ศ. 1848)

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน และราชสกุลฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน : จักรพรรดิแห่งออสเตรีย

[แก้]

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน และราชสกุลฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน (Habsburg-Lorraine & Habsburg-Lothringen) อันที่จริงแล้วคือราชสกุลเดียวกัน จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟทรงแก้ไขกฎมณเฑียรบาลในเรื่องของการใช้ราชสกุล เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนทางด้านภาษา โดยให้มีการใช้ 2 ราชสกุลนี้สลับกันเป็นรุ่น ๆ ตัวอย่างเช่น จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟทรงดำรงอยู่ในราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน ดังนั้น พระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ จะทรงดำรงอยู่ในราชสกุลฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน (เช่น อาร์ชดยุกรูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งทรงอยู่ในราชสกุลฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน ดังนั้น พระธิดาของพระองค์ อาร์ชดัชเชสเอลิซาเบธ มารีจะทรงอยู่ในราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน สลับกันไปเป็นรุ่น ๆ)

ภาพ พระนาม รัชกาล ราชสกุล
ฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 พ.ศ. 2391พ.ศ. 2459
(ค.ศ. 1848ค.ศ. 1916)
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
คาร์ลที่ 1 พ.ศ. 2459พ.ศ. 2461
(ค.ศ. 1916ค.ศ. 1918)
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน

จักรพรรดิคาร์ล ทรงถูกขับออกจากราชสมบัติจากหลังจากพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในพ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) แต่พระองค์ยังดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแต่เพียงในนามจนกระทั่งสวรรคต หลังจากสิ้นรัชกาลของพระองค์ พระราชโอรสองค์โตของพระองค์ อาร์ชดยุกอ็อทโท เป็นผู้สืบราชสมบัติเป็นจักรพรรดิองค์ต่อไป ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 10 พรรษาเท่านั้น จักรพรรดินีซีต้า พระบรมราชชนนี จึงทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่พ.ศ. 2465พ.ศ. 2473[ต้องการอ้างอิง] ในปัจจุบันออสเตรียเป็นสาธารณรัฐ ดังนั้นจึงไม่มีการสืบราชสมบัติอีก แต่ อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค ประมุขแห่งราชวงศ์ ยังคงอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ออสเตรียต่อไป

ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ออสเตรีย

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ราชสกุล
อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค พ.ศ. 2465 – สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2554
(ค.ศ. 1922)
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน

ประมุขแห่งอดีตราชวงศ์

[แก้]
ภาพ พระนาม สถานะ ราชสกุล
อาร์ชดยุกคาร์ล ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน
พ.ศ. 2524 – ปัจจุบัน
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค: กษัตริย์แห่งฮังการี

[แก้]

บทความหลัก: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งฮังการี

ตั้งแต่รัชสมัยของจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ราชอาณาจักรฮังการี ก็ได้ถูกผนวกรวมเข้ากับจักรวรรดิออสเตรียตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ฮาพส์บวร์คสายอัลเบอร์ไทน์: กษัตริย์แห่งฮังการี

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล
อัลเบรชท์ที่ 2 พ.ศ. 1980พ.ศ. 1982
(ค.ศ. 1437ค.ศ. 1439)
ลาดิสเลาส์ที่ 5 โพสธูมัส พ.ศ. 1987พ.ศ. 1990
(ค.ศ. 1444ค.ศ. 1457)

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค: กษัตริย์แห่งฮังการี

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล
แฟร์ดีนันด์ที่ 1 พ.ศ. 2069พ.ศ. 2107
(ค.ศ. 1526ค.ศ. 1564)
มักซีมีเลียนที่ 2 พ.ศ. 2106พ.ศ. 2119
(ค.ศ. 1563ค.ศ. 1576)
รูดอล์ฟที่ 1 พ.ศ. 2119พ.ศ. 2151
(ค.ศ. 1572ค.ศ. 1608)
มัททีอัส พ.ศ. 2151พ.ศ. 2162
(ค.ศ. 1608ค.ศ. 1619)
แฟร์ดีนันด์ที่ 2 พ.ศ. 2161พ.ศ. 2180
(ค.ศ. 1618ค.ศ. 1637)
แฟร์ดีนันด์ที่ 3 พ.ศ. 2168พ.ศ. 2200
(ค.ศ. 1625ค.ศ. 1657)
แฟร์ดีนันด์ที่ 4 พ.ศ. 2190พ.ศ. 2197
(ค.ศ. 1647ค.ศ. 1654)
เลโอโปลด์ที่ 1 พ.ศ. 2198พ.ศ. 2248
(ค.ศ. 1655ค.ศ. 1705)
โยเซฟที่ 1 พ.ศ. 2230พ.ศ. 2254
(ค.ศ. 1687ค.ศ. 1711)
คาร์ลที่ 3 พ.ศ. 2254พ.ศ. 2283
(ค.ศ. 1711ค.ศ. 1740)

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน: กษัตริย์แห่งฮังการี

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล
มาเรีย เทเรซา พ.ศ. 2284พ.ศ. 2323
(ค.ศ. 1741ค.ศ. 1780)
โยเซฟที่ 2 พ.ศ. 2323พ.ศ. 2333
(ค.ศ. 1780ค.ศ. 1790)
เลโอโปลด์ที่ 2 พ.ศ. 2333พ.ศ. 2335
(ค.ศ. 1790ค.ศ. 1792)
ฟรันซ์ที่ 1 พ.ศ. 2335พ.ศ. 2378
(ค.ศ. 1792ค.ศ. 1835)
แฟร์ดีนันด์ที่ 5 พ.ศ. 2378พ.ศ. 2391
(ค.ศ. 1835ค.ศ. 1848)

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน และราชสกุลฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน : กษัตริย์แห่งฮังการี

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ราชสกุล
ฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 พ.ศ. 2391พ.ศ. 2459
(ค.ศ. 1848ค.ศ. 1916)
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
คาร์ลที่ 4 พ.ศ. 2459พ.ศ. 2461
(ค.ศ. 1916ค.ศ. 1918)
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน

ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ฮังการี

[แก้]
อ็อทโทที่ 2 พ.ศ. 2465 – ปัจจุบัน
(ค.ศ. 1922)
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน

กษัตริย์แห่งโบฮีเมีย

[แก้]

บทความหลัก: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมีย

ภาพ พระนาม รัชกาล
รูดอล์ฟที่ 1 พ.ศ. 1849พ.ศ. 1850
(ค.ศ. 1306ค.ศ. 1307)

ฮาพส์บวร์คสายอัลเบอร์ไทน์: กษัตริย์แห่งโบฮีเมีย

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล
อัลเบรชท์ที่ 1 พ.ศ. 1980พ.ศ. 1982
(ค.ศ. 1437ค.ศ. 1439)
ลาดิสเลาส์ โพสธูมัส พ.ศ. 1996พ.ศ. 2000
(ค.ศ. 1453ค.ศ. 1457)


ราชสกุลฮาพส์บวร์ค: กษัตริย์แห่งโบฮีเมีย

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล
แฟร์ดีนันด์ที่ 1 พ.ศ. 2069พ.ศ. 2107
(ค.ศ. 1526ค.ศ. 1564)
มักซีมีเลียนที่ 2 พ.ศ. 2106พ.ศ. 2119
(ค.ศ. 1563ค.ศ. 1576)
รูดอล์ฟที่ 2 พ.ศ. 2119พ.ศ. 2154
(ค.ศ. 1572ค.ศ. 1611)
มัททีอัส พ.ศ. 2154พ.ศ. 2161
(ค.ศ. 1611ค.ศ. 1618)
แฟร์ดีนันด์ที่ 2 พ.ศ. 2164พ.ศ. 2180
(ค.ศ. 1621ค.ศ. 1637)
แฟร์ดีนันด์ที่ 3 พ.ศ. 2168พ.ศ. 2200
(ค.ศ. 1625ค.ศ. 1657)
แฟร์ดีนันด์ที่ 4 พ.ศ. 2190พ.ศ. 2197
(ค.ศ. 1647ค.ศ. 1654)
เลโอโปลด์ที่ 1 พ.ศ. 2198พ.ศ. 2248
(ค.ศ. 1655ค.ศ. 1705)
โยเซฟที่ 1 พ.ศ. 2230พ.ศ. 2254
(ค.ศ. 1687ค.ศ. 1711)
คาร์ลที่ 2 พ.ศ. 2254พ.ศ. 2283
(ค.ศ. 1711ค.ศ. 1740)

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน: กษัตริย์แห่งโบฮีเมีย

[แก้]

ก่อนหน้านี้ โบฮีเมีย เป็นประเทศที่ไม่ได้รวมกับจักรวรรดิ ตั้งแต่รัชสมัยของจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทเรซา โบฮีเมียถูกผนวกรวมเข้ากับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ภาพ พระนาม รัชกาล
มาเรีย เทเรซา พ.ศ. 2286พ.ศ. 2323
(ค.ศ. 1743ค.ศ. 1780)
โยเซฟที่ 2 พ.ศ. 2323พ.ศ. 2333
(ค.ศ. 1780ค.ศ. 1790)
เลโอโปลด์ที่ 2 พ.ศ. 2333พ.ศ. 2335
(ค.ศ. 1790ค.ศ. 1792)
ฟรันซ์ที่ 1 พ.ศ. 2335พ.ศ. 2378
(ค.ศ. 1792ค.ศ. 1835)
แฟร์ดีนันด์ที่ 5 พ.ศ. 2378พ.ศ. 2391
(ค.ศ. 1835ค.ศ. 1848)

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน และราชสกุลฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน : กษัตริย์แห่งโบฮีเมีย

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ราชสกุล
ฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 พ.ศ. 2391พ.ศ. 2459
(ค.ศ. 1848ค.ศ. 1916)
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
คาร์ลที่ 3 พ.ศ. 2459พ.ศ. 2461
(ค.ศ. 1916ค.ศ. 1918)
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน

ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์โบฮีเมีย

[แก้]
อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค พ.ศ. 2465 – ปัจจุบัน
(ค.ศ. 1922)
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค: กษัตริย์แห่งเยอรมัน

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล
รูดอล์ฟที่ 1 พ.ศ. 1816พ.ศ. 1834
(ค.ศ. 1273ค.ศ. 1291)

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค: เคานต์แห่งฮาพส์บวร์ค

[แก้]

ก่อนที่พระเจ้ารูดอล์ฟที่ 1 แห่งเยอรมนี จะทรงดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ประมุขแห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ได้ทรงดำรงตำแหน่งเป็น เคานต์แห่งฮาพส์บวร์ค (Count of Habsburg) ปกครองดินแดนฮาพส์บวร์คทางตอนเหนือ (ปัจจุบันคือทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี และประเทศสวิตเซอร์แลนด์)

ดยุกแห่งออสเตรีย

[แก้]

เมื่อแผ่นดินฮาพส์บวร์คถูกแยกออกเป็น 2 ส่วน แผ่นดินฮาพส์บวร์คฝั่งตะวันออกได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใหม่ จากเคานต์เป็นดยุก โดยเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ดัชชีออสเตรีย (Duchy of Austria) ซึ่งในปัจจุบันคือรัฐโลเวอร์ ออสเตรีย และ ตางตะวันออกของรัฐอัปเปอร์ ออสเตรีย ประเทศออสเตรีย นอกจากนี้ แคว้นออสเตรีย ยังได้ผนวกดัชชีสติเรีย และ คารินเธีย รวมทั้ง คานิโอล่า และทีโรล รวมเข้ากับออสเตรียในพ.ศ. 1906

ต่อมา องค์พระประมุขของแผ่นดินฮาพส์บวร์คฝั่งตะวันตกสวรรคต และไม่มีองค์รัชทายาท ดยุกแห่งออสเตรียจึงเข้าไปปกครองแผ่นดินทางตะวันตกแทน ซึ่งได้แก่ อัลเซส ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี รวมทั้งโวราร์ลเบิร์ก แต่สูญเสียดินแดนลุ่มแม่น้ำไรน์ และทะเลสาบคอนสแตนส์ เพื่อที่จะขยายแผ่นดินไปถึงสมาพันธรัฐสวิสเก่า (Old Swiss Confederacy) แต่ในที่สุด ก็สามารถปกครองแผ่นดินดังกล่าวจนถึงพ.ศ. 1922 หลังจากนั้น ก็ถูกปกครองในตำแหน่งใหม่คือ เคานต์แห่งทีโรล (Princely Count of Tyrol) ดังพระนามที่จะกล่าวด้านล่างนี้

หลังจากที่ดยุกรูดอล์ฟที่ 4 เสด็จสวรรคต พระอนุชาของพระองค์ ดยุกรูดอล์ฟที่ 3 และ ดยุกเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งออสเตรีย ได้ทรงปกครองแผ่นดินฮาพส์บวร์คด้วยกันตั้งแต่พ.ศ. 1908พ.ศ. 1922 (1365 – 1379) , ขณะที่ทรงราชย์ ได้มีการแยกแผ่นดินออกเป็น 2 อาณาจักรตามสนธิสัญญานอยเบิร์ก (Treaty of Neuberg) โดยดยุกอัลเบรชท์ทรงปกครองแคว้นออสเตรีย (ทำให้มีการก่อตั้งฮาพส์บวร์คสายอัลเบอร์ไทน์ (Albertine Line) ส่วนดยุกเลโอโปลด์ได้ทรงปกครองแคว้นสติเรีย, คานิโอล่า, คารินเธีย, วินดิช มาร์ช, ทีโรล, และเฟอร์เธอร์ ออสเตรีย (ต่อมามีการก่อตั้งฮาพส์บวร์คสายเลโอโปลด์ (Leopoldine Line))

ฮาพส์บวร์คสายอัลเบอร์ไทน์: ดยุกแห่งออสเตรีย

[แก้]

ฮาพส์บวร์คสายเลโอโปลด์: ดยุกแห่งสติเรีย, คารินเธีย และทีโรล

[แก้]
สายเลโอโปลด์-อินเนอร์ ออสเตรีย
[แก้]
สายเลโอโปลด์-ทีโรล
[แก้]

การรวมแผ่นดินคืนของฮาพส์บวร์ค

[แก้]

เนื่องจากดยุกซีจิสมันด์ทรงไม่มีพระราชบุตรเลย และทรงรับจักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นพระราชบุตรบุญธรรม เมื่อสิ้นรัชกาลของดยุกซีจิสมันด์แล้ว พระราชโอรสบุญธรรมก็ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาบุญธรรมเป็นดยุก และเมื่อสิ้นรัชกาลจักรพรรดิ พระราชบิดาแล้ว พระองค์ก็ทรงสืบราชสมบัติเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต่อ และในการที่พระองค์ทรงครองราชย์เป็นองค์พระประมุข 2 ประเทศนี่เอง จึงทรงรวมแผ่นดินฮาพส์บวร์ค 2 ส่วนเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง โดยพระองค์ทรงแต่งตั้งพระองค์เองเป็นดยุกแห่งออสเตรียตั้งแต่พ.ศ. 2028พ.ศ. 2033

กษัตริย์แห่งเยอรมัน และจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อตอนรวมแผ่นดินใหญ่ฮาพส์บวร์ค

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล
รูดอล์ฟที่ 1 พ.ศ. 1816พ.ศ. 1834
(ค.ศ. 1273ค.ศ. 1291)
อัลเบรชท์ที่ 1 พ.ศ. 1841พ.ศ. 1851
(ค.ศ. 1298ค.ศ. 1308)
อัลเบรชท์ที่ 2 พ.ศ. 1981พ.ศ. 1982
(ค.ศ. 1438ค.ศ. 1439)
ฟรีดริชที่ 3 พ.ศ. 1983พ.ศ. 2036
(ค.ศ. 1440ค.ศ. 1493)

ฮาพส์บวร์คสเปน และฮาพส์บวร์คโปรตุเกส: กษัตริย์แห่งสเปน และกษัตริย์แห่งโปรตุเกส

[แก้]

สายสกุลฮาพส์บวร์คสเปนได้สิ้นสุดลงหลังจากสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน: แกรนด์ดยุกแห่งทัสกานี

[แก้]

จักรพรรดิฟรันซ์ ซึ่งทรงเป็นแกรนด์ดยุกแห่งทัสกานี ได้ทรงมอบราชบัลลังก์ทัสกานีให้กับพระราชโอรสองค์โต อาร์ชดยุกเลโอโปลด์ ตั้งแต่บัดนั้น ราชรัฐทัสกานีได้อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค จนถึงการรวมชาติอิตาลี

ภาพ พระนาม รัชกาล
ฟรันซ์ที่ 1 พ.ศ. 2288พ.ศ. 2308
(ค.ศ. 1745ค.ศ. 1765)
โยเซฟที่ 2 พ.ศ. 2308พ.ศ. 2333
(ค.ศ. 1765ค.ศ. 1790)
แฟร์ดีนันด์ที่ 3 ครั้งที่ 1: พ.ศ. 2333พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1790ค.ศ. 1800)
ครั้งที่ 2: พ.ศ. 2357พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1814ค.ศ. 1824)
เลโอโปลด์ที่ 2 พ.ศ. 2367พ.ศ. 2402
(ค.ศ. 1824ค.ศ. 1859)
แฟร์ดีนันด์ที่ 4 พ.ศ. 2402พ.ศ. 2451
(ค.ศ. 1859ค.ศ. 1908)
แฟร์ดีนันด์ที่ 5 พ.ศ. 2451พ.ศ. 2485
(ค.ศ. 1908ค.ศ. 1942)
แฟร์ดีนันด์ที่ 6 พ.ศ. 2485พ.ศ. 2491
(ค.ศ. 1942ค.ศ. 1948)
ก๊อทเฟรด พ.ศ. 2491พ.ศ. 2527
(ค.ศ. 1948ค.ศ. 1984)
เลโอโปลด์ ฟรันซ์ พ.ศ. 2527พ.ศ. 2536
(ค.ศ. 1984ค.ศ. 1993)
ซีจิสมันด์ พ.ศ. 2536 – ปัจจุบัน
(ค.ศ. 1993)

ดูเพิ่มที่ ลำดับการสืบสันตติวงศ์ราชบัลลังก์ทัสกานี

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน และราชสกุลฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน : อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย-เอสต์

[แก้]

พระราชอิสริยยศแห่งออสเตรีย-เอสต์ (Austria-Este) เป็นพระราชอิสริยยศที่เกิดจากการอภิเษกสมรสของอาร์ชดยุกแฟร์ดีนันด์ คาร์ล พระราชโอรสในจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา ที่ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาเรีย เบียทริซ ริคคิอาร์ด้าแห่งเอสต์ องค์รัชทายาทหญิงแห่งแคว้นโมเดน่าและเรจจิโอ้ โดยหลังจากการอภิเษกสมรส มีการรวมพระราชอิสริยยศออสเตรีย และเอสต์ รวมเข้าไว้ด้วยกัน จึงได้มีการก่อตั้งราชสกุล หรือพระราชอิสริยยศออสเตรีย-เอสต์ขึ้น และได้มีพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ทรงดำรงพระราชอิสริยยศนี้ตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา

ภาพ พระนาม รัชกาล ราชสกุล
อาร์ชดยุกแฟร์ดีนันด์ คาร์ลแห่งออสเตรีย-เอสต์ พ.ศ. 2314พ.ศ. 2357
(ค.ศ. 1771ค.ศ. 1814)
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
ฟรานเซสโก้ที่ 4 พ.ศ. 2357พ.ศ. 2389
(ค.ศ. 1814ค.ศ. 1846)
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
ฟรานเซสโก้ที่ 5 พ.ศ. 2389พ.ศ. 2418
(ค.ศ. 1846ค.ศ. 1875)
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย-เอสต์ พ.ศ. 2418พ.ศ. 2457
(ค.ศ. 1875ค.ศ. 1914)
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน
อาร์ชดยุกคาร์ลแห่งออสเตรีย-เอสต์ พ.ศ. 2457พ.ศ. 2461
(ค.ศ. 1914ค.ศ. 1922)
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน
อาร์ชดยุกโรเบิร์ตแห่งออสเตรีย-เอสต์ พ.ศ. 2461พ.ศ. 2539
(ค.ศ. 1922ค.ศ. 1996)
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
อาร์ชดยุกลอเรนซ์แห่งออสเตรีย-เอสต์ เจ้าฟ้าชายแห่งเบลเยียม พ.ศ. 2539 – ปัจจุบัน
(ค.ศ. 1996)
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน และราชสกุลฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน : ดยุกแห่งโมเดน่า

[แก้]

แคว้นโมเดน่า ได้ปกครองโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค หลังจากการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา มีมติให้ยกดินแดนโมเดน่าให้กับราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค โดยได้ปกครองจนถึงการรวมชาติอิตาลี

ภาพ พระนาม รัชกาล ราชสกุล
ฟรานเซสโก้ที่ 4 พ.ศ. 2357พ.ศ. 2389
(ค.ศ. 1814ค.ศ. 1846)
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
ฟรานเซสโก้ที่ 5 พ.ศ. 2389พ.ศ. 2418
(ค.ศ. 1846ค.ศ. 1875)
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย-เอสต์ พ.ศ. 2418พ.ศ. 2457
(ค.ศ. 1875ค.ศ. 1914)
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน
อาร์ชดยุกคาร์ลแห่งออสเตรีย-เอสต์ พ.ศ. 2457พ.ศ. 2461
(ค.ศ. 1914ค.ศ. 1922)
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน
อาร์ชดยุกโรเบิร์ตแห่งออสเตรีย-เอสต์ พ.ศ. 2461พ.ศ. 2539
(ค.ศ. 1922ค.ศ. 1996)
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
อาร์ชดยุกลอเรนซ์แห่งออสเตรีย-เอสต์ เจ้าฟ้าชายแห่งเบลเยียม พ.ศ. 2539 – ปัจจุบัน
(ค.ศ. 1996)
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน: จักรพรรดิแห่งเม็กซิโก

[แก้]

จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ได้ทรงเชื้อเชิญ อาร์ชดยุกแฟร์ดีนันด์ มักซีมีเลียน พระโอรสองค์รองในอาร์ชดยุกฟรันซ์ คาร์ลแห่งออสเตรีย และเป็นพระราชอนุชาในจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย ให้ไปครองราชย์บัลลังก์อิมพีเรียลแห่งเม็กซิโก โดยการครองบัลลังก์นี้ นำไปสู่การก่อตั้งจักรวรรดิเม็กซิโกที่ 2 พระองค์และพระชายา เจ้าหญิงชาร์ลอตแห่งเบลเยียม ได้รับการสถาปนาเป็น จักรพรรดิ และ จักรพรรดินีแห่งเม็กซิโก แต่ในขณะที่ทรงราชย์นั้น ไม่ค่อยราบรื่นดีนัก เพราะเนื่องจากมีผู้ที่ต่อต้านพระองค์อยู่มากมาย จนในที่สุด ก็ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์ โดยคณะปฏิวัติสาธารณรัฐนิยม พระองค์ทรงถูกประหารชีวิตเมื่อพ.ศ. 2410 โดยผู้นำปฏิวัติเบนิโต ยัวเรซ (ภายหลังได้เป็นประธานาธิบดีแห่งเม็กซิโก) ส่วนจักรพรรดินีมเหสี ก็เสด็จอพยพกลับมาตุภูมิ

ภาพ พระนาม รัชกาล
มักซีมีเลียนที่ 1 พ.ศ. 2407พ.ศ. 2410
(ค.ศ. 1864ค.ศ. 1867)

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค: สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

[แก้]

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึงศตวรรษที่ 18 ออสเตรียได้ส่งอาร์ชดัชเชสหลายพระองค์ไปอภิเษกสมรสกับพระบรมวงศานุวงศ์ฝรั่งเศส เพื่อผลประโยชน์ทางการทูต และพันธมิตรระหว่าง 2 ประเทศ โดยเฉพาะในรัชสมัยของจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้มีพระบรมราชโองการให้พระราชธิดาองค์โตของพระองค์ อาร์ชดัชเชสมารี หลุยส์ ให้ไปอภิเษกสมรสกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส เพื่อรักษาสมดุลในจักรวรรดิ หลังจากที่นโปเลียนได้รุกรานออสเตรีย และได้ยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ลง

สายฮาพส์บวร์ค

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล พระสวามี
เจ้าหญิงเอลีนอร์แห่งฮาพส์บวร์ค, เจ้าหญิงแห่งคาสตีล พ.ศ. 2041พ.ศ. 2101
(ค.ศ. 1498ค.ศ. 1558)
พระเจ้ามานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกส เมื่อพระเจ้ามานูเอลเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ทรงไปอภิเษกสมรสอีกครั้งกับสมเด็จพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส

ฮาพส์บวร์ค วงศ์ออสเตรีย

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล พระสวามี
อาร์ชดัชเชสเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย พ.ศ. 2097พ.ศ. 2135
(ค.ศ. 1554ค.ศ. 1592)
สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 แห่งฝรั่งเศส

ฮาพส์บวร์ค วงศ์สเปน

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล พระสวามี
เจ้าหญิงแอนน์แห่งสเปน พ.ศ. 2144พ.ศ. 2209
(ค.ศ. 1601ค.ศ. 1666)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส
เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซาแห่งสเปน พ.ศ. 2181พ.ศ. 2226
(ค.ศ. 1638ค.ศ. 1683)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล พระสวามี
อาร์ชดัชเชสมาเรีย แอนโตเนียแห่งออสเตรีย พ.ศ. 2298พ.ศ. 2336
(ค.ศ. 1755ค.ศ. 1793)
สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน: จักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล พระสวามี
อาร์ชดัชเชสมารี หลุยส์ แห่งออสเตรีย พ.ศ. 2334พ.ศ. 2390
(ค.ศ. 1791ค.ศ. 1847)
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส

หลังจากนโปเลียนถูกขับออกจากราชบัลลังก์ พระองค์ก็เสด็จกลับกรุงเวียนนา และนอกจากพระองค์ทรงเป็นจักรพรรดินีมเหสีแห่งฝรั่งเศสแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นดัชเชสแห่งปาร์มาด้วย (Duchess of Parma) โดยแคว้นปาร์มาได้ถูกโอนให้เป็นแผ่นดินของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คหลังจากการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา แต่อยู่ได้ไม่นานก็ถูกผนวกเข้ากับราชอาณาจักรอิตาลี

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค: สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส

[แก้]

สายฮาพส์บวร์ค

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล พระสวามี
เจ้าหญิงเอลีนอร์แห่งฮาพส์บวร์ค, เจ้าหญิงแห่งคาสตีล พ.ศ. 2041พ.ศ. 2101
(ค.ศ. 1498ค.ศ. 1558)
พระเจ้ามานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกส เมื่อพระเจ้ามานูเอลเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ทรงไปอภิเษกสมรสอีกครั้งกับสมเด็จพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส
เจ้าหญิงแคเธอรีนแห่งฮาพส์บวร์ค, เจ้าหญิงแห่งสเปน พ.ศ. 2050พ.ศ. 2121
(ค.ศ. 1507ค.ศ. 1578)
พระเจ้ายูฮาวที่ 3 แห่งโปรตุเกส

ฮาพส์บวร์ค วงศ์ออสเตรีย

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล พระสวามี
อาร์ชดัชเชสมารี แอนน์แห่งออสเตรีย พ.ศ. 2226พ.ศ. 2297
(ค.ศ. 1683ค.ศ. 1754)
พระเจ้ายูฮาวที่ 5 แห่งโปรตุเกส

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล พระสวามี
อาร์ชดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย พ.ศ. 2340พ.ศ. 2369
(ค.ศ. 1797ค.ศ. 1826)
พระเจ้าเปโตรที่ 4 แห่งโปรตุเกส
(จักรพรรดิเปโตรที่ 1 แห่งบราซิล)

ตราแผ่นดินแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

[แก้]

ค.ศ. 1867 - 1915

[แก้]
โล่แผ่นดินออสเตรีย (ตรงกลาง) ล้อมรอบด้วยบรรดารัฐสมาชิก (1867–1915)
การวางตำแหน่งโล่แผ่นดินของรัฐสมาชิก
I II III IV V
ราชอาณาจักรฮังการี ราชอาณาจักรกาลิเซียและโลโดเมเรีย โลเวอร์ออสเตรีย ดัชชีซัลซ์บวร์ค ดัชชีสติเรีย
VI VII VIII
เคาน์ตีทีโรล ดัชชีคารินเทีย และ ดัชชีคาร์นิโอลา
(มุทราการแล้ว)
แคว้นชายแดนโมราเวีย และ ดัชชีไซลีเชีย (มุทราการแล้ว)
IX X XI
ราชรัฐทรานซิลเวเนีย ราชอาณาจักรอิลลิเรีย ราชอาณาจักรโบฮีเมีย

ค.ศ. 1915 เป็นต้นไป

[แก้]
ตราแผ่นดินกลางของแผ่นดินออสเตรียในฐานะส่วนหนึ่งของจักรวรรดิ โล่ตรงกลางคือโล่ประจำราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
ตราแผ่นดินร่วมของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี แสดงถึงดินแดนซิสไลทาเนีย (โล่อันซ้าย) และดินแดนทรานส์ไลทาเนีย (โล่อันขวา) โดยมีโล่ประจำราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค-ลอแรนอยู่ตรงกลางเยื้องบนระหว่างโล่แผ่นดินทั้งสอง ด้านล่างเขียนคำขวัญว่า อินดิวิซซิบิทเทอร์ แอก อินเซเพราบิทเทอร์ (indivisibiliter ac inseparabiliter; แปล. หนึ่งเดียว แยกมิได้) โดยที่บรรดารัฐสมาชิกอื่น ๆ รับทราบกันถือเอาโล่ราชวงศ์นี้แทนตัวประมุขแห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในฐานะผู้ปกครองบรรดารัฐสมาชิก
ดินแดนของออสเตรีย (ซิลไลทาเนีย)
โล่ ส่วน ดินแดน
I
II
III
IV
V
VI
VII
VIII
IX
X
XI
XII
XIII
XIV
XV
XVI
XVII
XVIII
XIX
XX
ราชอาณาจักรกาลิเซียและโลโดเมเรีย
ราชอาณาจักรโบฮีเมีย
ราชอาณาจักรแดลเมเชีย
ดัชชีไซลีเลียบนและล่าง
ดัชชีซัลซ์บวร์ค
แคว้นชายแดนโมราเวีย
เคาน์ตีทีโรล
ดัชชีบูโกวีนา
มลรัฐโฟราร์ลแบร์ก
แคว้นชายแดนอิสเทียร์
เคาน์ตีโกริเซีย
เคาน์ตีกราดิสกา
มลรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
เสรีนครตรีเยสเต
อาร์ชดัชชีออสเตรียล่าง
อาร์ชดัชชีออสเตรียบน
ดัชชีสติเรีย
ดัชชีคาร์นิโอลา
ดัชชีคารินเทีย
อาร์ชดัชชีออสเตรีย
ดินแดนภายใต้มุงกุฎแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ทรานส์ไลทาเนีย)
โล่ ส่วน ดินแดน
I
II
III
IV
V
VI
VII
ราชอาณาจักรแดลเมเชีย (ส่วนหนึ่งของฮังการี)
ราชอาณาจักรโครเอเชีย
ราชอาณาจักรสลาโวเนีย
ราชรัฐใหญ่ทรานซิลเวเนีย
มลรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
นครฟีอูเมและแขวงภายใน
ราชอาณาจักรฮังการี
โล่ประจำราชวงศ์
โล่ ส่วน ตำแหน่ง
I
II
III
เคานต์แห่งฮาพส์บวร์ค
อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย
ดยุกแห่งลอแรน

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. อ้างสิทธื์ในพระราชอิสริยยศ แต่มิเคยปกครองในทางพฤตินัย

อ้างอิง

[แก้]
  • Brewer-Ward, Daniel A. The House of Habsburg: A Genealogy of the Descendants of Empress Maria Theresia. Clearfield, 1996.
  • Evans, Robert J. W. The Making of the Habsburg Monarchy, 1550-1700: An Interpretation. Clarendon Press, 1979.
  • McGuigan, Dorothy Gies. The Habsburgs. Doubleday, 1966.
  • Wandruszka, Adam. The House of Habsburg: Six Hundred Years of a European Dynasty. Doubleday, 1964 (Greenwood Press, 1975).
  • Crankshaw, Edward. The Fall of the House of Habsburg. Sphere Books Limited, London, 1970. (first published by Longmans in 1963)
  • Palmer Alan. "Napoleón and Marie Louise" Ariel Mexico 2003
  • Henry Bogdan: Histoire des Habsbourg: des origines à nos jours. Paris: Perrin, coll. « Tempus », n° 107, 2005. 425 pp., 18 cm. ISBN 2-262-02376-X.
  • Michael Erbe: Die Habsburger (1493–1918). Eine Dynastie im Reich und in Europa. Kohlhammer Verlag, Stuttgart 2000. ISBN 978-3-17-011866-9
  • Hans Flesch-Brunningen (Hrsg.) : Die letzten Habsburger in Augenzeugenberichten, Düsseldorf 1967.
  • Dorothy Gies McGuigan: Familie Habsburg 1273 bis 1918 : Glanz und Elend eines Herrscherhauses, Berlin, 2003 (10. Auflage). ISBN 3-548-33173-4.
  • Brigitte Hamann (Hrsg) : Die Habsburger. Ein biographisches Lexikon, Wien/München 1996 (3.Auflage).
  • Heinz-Dieter Heimann: Die Habsburger – Dynastie und Kaiserreiche, München 2004 (2. Auflage).
  • Karl-Friedrich Krieger: Die Habsburger im Mittelalter. Von Rudolf I. bis Friedrich III. Kohlhammer Verlag, 2. Aufl., Stuttgart 2004. ISBN 978-3-17-018228-8
  • Thomas Lau (Hg.), Österreichische Familien. Machthaber, Mimen und Magnaten. Böhlau Wien, 2006. ISBN 978-3-205-77543-0. (enthält ein Kapitel über die Familie Habsburg).
  • Richard Reifenscheid: Die Habsburger in Lebensbildern. Von Rudolf I. bis Karl I., Wien 1990 (4. Auflage).
  • Karl Vocelka/Lyenne Heller: Die Lebenswelt der Habsburger, Kultur- und Mentalitätsgeschichte einer Familie, Graz/Wien/Köln 1997.
  • Karl Vocelka/Lyenne Heller: Die private Welt der Habsburger. Leben und Alltag einer Familie, Graz/Wien/Köln 1998.
  • Brigitte Vacha (Hrsg.) : Die Habsburger. Eine Europäische Familiengeschichte, Graz/Wien/Köln 1992, ISBN 3-222-12107-9
  • Adam Wandruszka: Das Haus Habsburg. Die Geschichte einer europäischen Dynastie, Wien 1989 (7.Auflage).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]