ข้ามไปเนื้อหา

ราชวงศ์อาหม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ราชวงศ์อาหม (ค.ศ. 1228-1826) ปกครองอาณาจักรอาหม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในรัฐอัสสัมมาเป็นเวลาเกือบ 600 ปี ราชวงศ์อาหมก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าหลวงเสือก่าฟ้า โดยทรงอพยพออกจากเมืองมาวหลวง จนกระทั่งสิ้นสุดลงหลังจากการรุกรานอัสลัมของพม่าและการผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษโดยบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ หลังจากสนธิสัญญายันดาโบ ในปี ค.ศ. 1826

รายพระนามกษัตริย์ในราชวงศ์อาหม

[แก้]
สวรรคเทวะ
Swargadeos
รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอาหม
ปีที่ครองราชย์
(ค.ศ.)
จำนวนปี
ที่ครองราชย์
พระนามอาหม พระนามอื่น การสืบสันตติวงศ์ สิ้นสุดรัชกาล เมืองหลวง
1228–1268 40 ปี เจ้าหลวงเสือก่าฟ้า อพยพออกจากเมืองมาวหลวง ในปี ค.ศ. 1215[1] สวรรคต เจ้รายดอย
1268–1281 13 ปี เจ้าหลวงเสือใต้ฟ้า พระราชโอรสในเจ้าหลวงเสือก่าฟ้า สวรรคต เจ้รายดอย
1281–1293 8 ปี เจ้าหลวงเสือบินฟ้า พระราชโอรสในเจ้าหลวงเสือใต้ฟ้า สวรรคต เจ้รายดอย
1293–1332 39 ปี เจ้าหลวงท้าวเสือขางฟ้า พระโอรสในเจ้าหลวงเสือบินฟ้า สวรรคต เจ้รายดอย
1332–1364 32 ปี เจ้าหลวงเสือข้ามฟ้า พระราชโอรสในเจ้าหลวงท้าวเสือขางฟ้า สวรรคต เจ้รายดอย
1364–1369 5 ปี ว่างกษัตริย์
1369–1376 7 ปี เจ้าหลวงเสือตือฟ้า พระอนุชาธิราชในเจ้าหลวงเสือข้ามฟ้า ถูกลอบปลงพระชนม์[2] เจ้รายดอย
1376–1380 4 ปี ว่างกษัตริย์
1380–1389 9 ปี ท้าวคำถี่ พระราชโอรสในเจ้าหลวงท้าวเสือขางฟ้า ถูกลอบปลงพระชนม์[3] เจ้รายดอย
1389–1397 8 ปี ว่างกษัตริย์
1397–1407 10 ปี เจ้าฟ้าเสือดัง พามุนี คุนวาร์ พระราชโอรสในท้าวคำถี่[4] สวรรคต จรากุรา
1407–1422 15 ปี เจ้าฟ้าเสือยัง พระราชโอรสในเจ้าฟ้าเสือดัง สวรรคต
1422–1439 17 ปี เจ้าฟ้าเสือเผือก พระราชโอรสในเจ้าฟ้าเสือยัง สวรรคต
1439–1488 49 ปี เจ้าฟ้าเสือแสน พระราชโอรสในเจ้าฟ้าเสือเผือก สวรรคต
1488–1493 5 ปี เจ้าฟ้าเสือหาญ พระราชโอรสในเจ้าฟ้าเสือแสน ถูกลอบปลงพระชนม์[5]
1493–1497 4 ปี เจ้าฟ้าเสือเปี่ยม พระราชโอรสในเจ้าฟ้าเสือหาญ สวรรคต
1497–1539 42 ปี เจ้าฟ้าเสือห่มเมือง สวรรคนารายัน
ทิหิงเกียราชาที่ 1
พระราชโอรสในเจ้าฟ้าเสือเปี่ยม ลอบปลงพระชนม์[6] พกะตา
1539–1552 13 ปี เจ้าฟ้าเสือกลืนเมือง คุระหะคะยันราชา (กษัตริย์แห่งครหคาออน) พระราชโอรสในเจ้าฟ้าเสือห่มเมือง สวรรคต ครหคาออน
1552–1603 51 ปี เจ้าฟ้าเสือข้าม โขระราชา (กษัตริย์ผู้พิการ) พระราชโอรสในเจ้าฟ้าเสือกลืนเมือง สวรรคต ครหคาออน
1603–1641 38 ปี เจ้าฟ้าเสือแสง ประตาปสิงห์
บุรฮาราชา
พุทธิสวรรคนารายัน
พระราชโอรสในเจ้าฟ้าเสือข้ามฟ้า สวรรคต ครหคาออน
1641–1644 3 ปี เจ้าฟ้าเสือรอม ชยทิตยะ สิงห์
ภคราชา
พระราชโอรสในเจ้าฟ้าเสือแสง ถูกปลดออกจากตำแหน่ง[7] ครหคาออน
1644–1648 4 ปี เจ้าฟ้าเสือชิงเมือง นริยาราชา (กษัตริย์ผู้ประชวรบ่อย) พระอนุชาธิราชในเจ้าฟ้าเสือรอม ถูกปลดออกจากตำแหน่ง[8] ครหคาออน
1648–1663 15 ปี เจ้าฟ้าเสือดำมา ชยธวัช สิงห์
ภคนิยาราชา
พระราชโอรสในเจ้าฟ้าเสือชิงเมือง สวรรคต ครหคาออน/พกะตา
1663–1670 7 ปี เจ้าฟ้าเสือเปิงเมือง จักรธวัช สิงห์ พระญาติในเจ้าฟ้าเสือดำมา[9] สวรรคต พกะตา/ครหคาออน
1670–1672 2 ปี เจ้าเสือหยาดฟ้า อุทัยยาทิตยะ สิงห์ พระอนุชาธิราชในเจ้าฟ้าเสือเปิงเมือง ถูกปลดออกจากตำแหน่ง[10]
1672–1674 2 ปี เจ้าเสือกรฟ้า รามธวัช สิงห์ พระอนุชาธิราชของเจ้าเสือยาดฟ้า ถูกวางยาพิษ[11]
1674–1675 21 วัน เจ้าคำยัง สะมะกุรียา ราชา สืบเชื้อสายจากเจ้าฟ้าเสือห่มเมือง ถูกปลดออกจากตำแหน่ง[12]
1675-1675 24 วัน ไม่มีพระนามอาหม โคบาร์ราชา พระราชปนัดดาของเจ้าฟ้าเสือห่ม[13] ถูกปลดออกจากตำแหน่ง[14]
1675–1677 2 ปี เจ้าฟ้าเมืองกลาง อรชุน คอนวาร์
ทิหิงเกียราชาที่ 2
พระราชนัดดาของประตาป สิงห์ พระโอรสในนามรูเปียน โกฮาอิน (Namrupian Gohain) ปลดออกจาตำแหน่ง, อัตวินิบาตกรรม[15]
1677–1679 2 ปี เจ้าเสือเย็นฟ้า ปรวัติยะ ราชา พระนัดดาในเจ้าฟ้าเสือห่มเมือง[16] ถูกปลดออกจากตำแหน่ง, ประหาร [17]
1679–1681 3 ปี เจ้าเสือลิกฟ้า
(เจ้าผู้ดำ)
รัตนธวัช สิงห์
ละรา ราชา
ตระกูลสมะกุรียา ถูกปลดออกจากตำแหน่ง, ประหาร[18]
1681–1696 15 ปี เจ้าเสือปาดฟ้า คทาธาร สิงห์ พระราชโอรสในโคบาร์ราชา สวรรคต บอร์โกลา
1696–1714 18 ปี เจ้าเสือขรุงฟ้า รุทระ สิงห์ พระราชโอรสในเจ้าเสือปาดฟ้า สวรรคต รังปุระ
1714–1744 30 ปี เจ้าเสือต้อนฟ้า สิพะ สิงห์ พระราชโอรสในเจ้าเสือขรุงฟ้า สววรคต
1744–1751 7 ปี เจ้าเสือแดนฟ้า ประมัตตะ สิงห์ พระอนุชาธิราชในเจ้าเสือต้อนฟ้า สวรรคต
1751–1769 18 ปี เจ้าเสือแรมฟ้า ราเชศวร สิงห์ พระอนุชาธิราชในพระเจ้าเสือแดนฟ้า สวรรคต
1769–1780 11 ปี เจ้าเสือใหญ่งำเมือง
(เสือใหญ่ฟ้า)
ลักษมี สิงห์ พระอนุชาธิราชในเจ้าเสือแรมฟ้า สวรรคต
1780–1795 15 ปี เจ้าเสือเฮ็ดเปิงเมืองงำ โกรินาถ สิงห์ พระราชโอรสในเจ้าเสือใหญ่งำเมือง สวรรคต โชรหัท
1795–1811 16 ปี เจ้าเสือหิงฟ้า กมเลศวร สิงห์ เหลนของแลชัย (Lechai) พระอนุชาในเจ้าเสือขรุงฟ้า[19] สวรรคตด้วยโรคฝีดาษ โชรหัท
1811–1818 17 ปี เจ้าเสือเดือนฟ้า (1) จันทรกานต์ สิงห์ พระอนุชาธิราชในเจ้าเสือหิงฟ้า ถูกปลดออกจากตำแหน่ง[20] โชรหัท
1818–1819 1 ปี ไม่มีพระนามอาหม ปุรันทาร สิงห์ (1) สืบเชือสายจากเจ้าเสือแรมฟ้า[20] ถูกปลดออกจากตำแหน่ง[21] โชรหัท
1819–1821 2 ปี เจ้าเสือเดือนฟ้า (2) จันทรกานต์ สิงห์ เสด็จออกจากเมืองหลวง[22]
1821–1822 1 ปี ไม่มีพระนามอาหม โชเคศวร สิงห์[note 1] หุ่นเชิดของกษัตริย์พม่า เป็นน้องชายของพระมเหสีในพระเจ้าบาจีดอ[23] สืบเชื้อสายมาจากชัมพร โคฮาอิน (Jambar Gohain) พระอนุชาในเจ้าเสือปาดฟ้า[24] ย้ายออก[25]
1833–1838 5 ปี ไม่มีพระนามอาหม ปุรันทาร สิงห์ (2)[26] ถูกปลดออกจากตำแหน่ง

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. ส่วนเดียวของอาณาจักรอาหมที่รอดพ้นจากการอยู่ภายใต้อาณัติแห่งพม่า คือดินแดนแม่น้ำบุรี ทิหิง (Buri Dihing) และแม่น้ำพรหมบุตร ซึ่งพวกโมอามาริอา ภายใต้การนำของประมุข บาร์ เสนะปติ ยังคงรักษาเอกราชไว้ได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gogoi 1968:253 ในพงศาวดารอาหมบุราณจีหลายแห่งกล่าวว่าพระองค์เสด็จออกมาจากเมืองมาวหลวง แต่ชาวไตบางส่วนเชื่อว่าพระองค์เสด็จออกมาจากเมืองมีด (Mong Mit) ไม่ใช่เมืองมาว ในปี ค.ศ. 1227 และในปี ค.ศ. 1209 พระองค์ได้ครองเมืองมีด ทันใดนั้นพระเจ้าเสือข่านฟ้า กษัตริย์แห่งเมืองมาว ได้เสด็จมาโจมตีเมืองมีด
  2. Gogoi 1968:273. ถูกลอบปลงพระชนม์โดยกษัตริย์ชุติยะขณะเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคด้วยกัน
  3. Gogoi 1968:274. ท้าวคำถี่ทรงอยู่ภายใต้พระมเหสีมากเกินไป ขุนนางผู้ใหญ่จึงพร้อมใจกันลอบปลงพระชนม์
  4. Gogoi 1968:274-275. เจ้าฟ้าเสือดังประสูติแต่พระมเหสีองค์ที่สองพระท้าวคำถี่ในหมู่บ้านพราหมณ์แห่งฮาบุง
  5. Gogoi 1968:282, พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์โดยชนเผ่าไทตุรุง เพื่อแก้แค้นที่พระองค์ลงโทษพวกเขาในข้อหาลักทรัพย์
  6. Gogoi 1968:309. พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ตามการวางแผนของเจ้าฟ้าเสือกลืนเมือง พระราชโอรสของพระองค์
  7. Gogoi 1968:386. พระองค์ถูกเหล่าขุนนางปลดออกจากตำแหน่ง เนื่องจากพระองค์ยืนยันที่นำบุตรชายของเหล่าขุนนางฝังทั้งเป็นไว้ในหลุมศพ (มอยด้ำ) ของพระโอรสบุญธรรม ภายหลังพระองค์ได้ถูกลอบปลงพระชนม์โดยพระนัดดา (เป็นบุตรของพระอนุชา) และได้ตำแหน่งกษัตริย์แห่งอาหมต่อไป
  8. Gogoi 1968:391-392. พระองค์ร่วมกับพระอัครมเหสีแต่งตั้งพระโอรสและขุนนางที่ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ ภายหลังพระองค์จึงถูกปลด และถูกลอบปลงพระชนม์โดยพระราชโอรสของพระองค์เองซึ่งต่อมาได้ครองราชย์เป็นเจ้าฟ้าเสือดำมา
  9. Gogoi 1968:448. เจ้าฟ้าเสือเปิงเมืองเป็นพระนัดดาแห่งเสือเลง (เทวราชา) ซึ่งเป็นพระราชโอรสในเจ้าฟ้าเสือห่ม
  10. Gogoi 1968:479-482 พระองค์ถูกพระอนุชาธิราชเข้าบุกรุกพระราชวัง ภายใต้การยุยงของละศัม เทเพรา (Lasham Debera) ในวันรุ่งขึ้นอุทัยยาทิตยะถูกส่งไปยังเจ้รายดอยและถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษ ส่วนพระมเหสีทั้งสามพระองค์ก็ถูกประหารชีวิต
  11. Gogoi 1968:484 รามธวัช สิงห์ ถูกวางยาพิษลอบปลงพระชนม์โดยการวางแผนของเทเพรา บอร์บารัว (Debera Borbarua) เมื่อพระองค์ทรงตรวจสอบอำนาจของเขา
  12. Gogoi 1968:486 ถูกปลดโดยเทเพรา บอร์บารัว ภายหลังก็ได้ประหารชีวิตพระองค์พร้อมด้วยพระมเหสีและพระอนุชาของพระมเหสี
  13. โคบาร์ ราชาเป็นพระโอรสในสารังคะ (Saranga) ซึ่งเป็นพระโอรสในเสือแท่น (Su Ten) พระราชโอรสในเจ้าฟ้าเสือห่ม
  14. Gogoi 1968:486-488 โคบาร์ ราชา ถูกปลดและถูกประหารโดยสาไรฆาติยะ (Saraighatia ผู้นำแห่งสาไรฆาต/กูวาหติ) นำโดยอะตัน บุรฮาโกฮาอิน (Atan Burhagohain) โดยเป้าหมายของเขาคือกำจัดเทเพรา บอร์บารัว ที่ตั้งโคบาร์ราชา เพื่อเป็นหุ่นเชิด
  15. Gogoi 1968:489 พระองค์ทรงถูกอะตัน บุรฮาโกฮาอิน วางแผนประทุษร้ายจนเกิดการต่อสู้กัน โดยพระองค์พ่ายแพ้ต่อสงคราม พระองค์ทรงพยายามหลบหนีไปยังครหคาออน แต่ถูกจับได้ พระองค์ถูกควักพระเนตร ท้ายที่สุดพระองค์ได้ทำร้ายพระเศียรด้วยก้อนหินจนสวรรคต พระศพถูกฝังในเจ้รายดอย
  16. Gogoi 1968:490 พระองค์เป็นพระโอรสใน เสือแตง (Su Teng) เป็นพระโอรสองค์ที่สามในเจ้าฟ้าเสือห่มเมือง
  17. Gogoi 1968:492-493 เจ้าเสือเย็นฟ้าถูกปลดโดยลาลุก-โสลา บอร์พูคาน ซึ่งต่อมาพระองค์ก็ถูกประหารชีวิต ซึ่งเป็นแผนการของอะตัน บุรฮาโกฮาอิน ขุนนางที่ทรงอิทธิพลในราชสำนักอาหม
  18. Gogoi 1968:496-497 พระองค์ถูกปลดและประหารชีวิตโดยคทาธาร สิงห์
  19. Baruah 1993:148-150 พระองค์ถูกสถาปนาเป็นกษัตริย์โดยปุรณนันทะ บุรฮาโกฮาอิน (Purnananda Burhagohain) เมื่อครั้งยังเป็นทารก พระองค์เป็นโอรสในกะดัม ทิฆาละ (Kadam Dighala) ซึ่งเป็นโอรสของอะยูสุต (Ayusut) ซึ่งเป็นโอรสของแลชัย (Lechai) ซึ่งเป็นพระราชโอรสในเจ้าเสือปาดฟ้า ส่วนพระชนกคือ กะดัม ทิฆาละไม่สามารถครองราชย์ได้ เนื่องจากมีร่างกายไม่สมบูรณ์
  20. 20.0 20.1 Baruah 1992:221 พระองค์ถูกปลดออกจากตำแหน่งโดยรุจินาถ บุรฮาโกฮาอิน พระองค์ถูกตัดพระกรรณข้างขวาและถูกจองจำใกล้กรุงโชรหัท ดังนั้นปุรันทาร สิงห์ ผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าเสือแรมฟ้าจึงได้ดำรงตำแหน่ง สวรรคเทวะ แทนเจ้าเสือเดือนฟ้า
  21. Baruah 1992:221-222 กองทัพของปุรันทาร สิงห์ ที่นำทัพโดยจักนาถ เทเกียล พูคาน (Jaganath Dhekial Phukan) ได้รับความพ่ายแพ้จากกองทัพพม่าที่นำทัพโดย นายพลเกียเมงจี (general Kee-Woomingee หรือ Kiamingi หรือ Alumingi Borgohain) ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1819 และโชรหัทตกอยู่ในมือของพม่า แม่ทัพพม่าจึงได้อัญเชิญเจ้าเสือเดือนฟ้ากลับมาครองราชย์อีกครั้งหนึ่ง
  22. Baruah 1992:223 จันทรกานต์ สิงห์เสด็จออกจากเมืองหลวงโชรหัท ไปยังเมืองกูวาหติ เมื่อกองทัพของพระเจ้าบาจีดอแห่งพม่า ซึ่งนำทัพโดยเมงจีมหาติลวะเข้าล้อมกรุงโชรหัท
  23. Baruah 1992:223. โชเคศวร สิงห์ เป็นน้องชายของเฮโม ไอเทว หนึ่งในพระมเหสีของพระเจ้าบาจีดอแห่งพม่า ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งอัสสัมโดย เมงจีมหาติลวะ (Mingimaha Tilwa)
  24. Bhuyan Dr. S.K. Tunkhungia Buranji or A History of Assam (1681-1826) second edition 1968 Department of HISTORICAL AND ANTIQUARIAN STUDIES IN ASSAM Guwahati page 213
  25. Baruah 1992:225 โชเคศวร สิงห์ได้ออกจากอำนาจกษัตริย์ที่ได้มาจากเมงจีมหาติลวะ โดยสิ้นสุดตำแหน่ง ราชาแห่งอัสสัม ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1822
  26. Baruah 1992:244 ปุรันทาร สิงห์ถูกตั้งขึ้นโดยบริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ถือเป็นเพียงราชาที่ปกครองดินแดนย่อยในแถบอัสสัมตอนบน
  • Baruah, S. L. (1993), Last Days of Ahom Monarchy, Munshiram Manoharlal Publishers Pvt Ltd, New Delhi
  • Gogoi, Padmeshwar (1968), The Tai and the Tai kingdoms, Gauhati University, Guwahati
  • อาจารย์เรณู วิชาศิลป์ (แปล-เรียบเรียง). พงศาวดารไทอาหม (Ahom Buranji) เล่ม 2, อมรินทร์พริ้นติ้ง:กรุงเทพฯ, 2539. หน้า 11-12
  • งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย ของ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ
  • ประวัติศาสตร์ชนชาติไท ของ กัญญา ลีลาลัย