รางวัลเมขลา
รางวัลเมขลา | |
---|---|
ปัจจุบัน: รางวัลสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2555 | |
รางวัลเมขลา ผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ | |
รางวัลสำหรับ | ผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ |
ประเทศ | ไทย |
จัดโดย | สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย |
รางวัลแรก | 10 มกราคม พ.ศ. 2523 |
| ||||||||||||||||||||||||||||
|
รางวัลเมขลา เป็นรางวัลผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2523 จนถึง พ.ศ. 2547 และได้มีการจัดงานขึ้นอีกครั้งหลังจากหายไป 6 ปี โดยจัดขึ้นในปี 2555 เป็นต้นมา ซึ่งถือเป็นการจัดครั้งที่ 24 และพิจารณาผลงานละครประจำปี พ.ศ. 2554
ประวัติ
[แก้]สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย ได้จัดงานรางวัลเมขลา เพื่อส่งเสริมและเป็นกำลังใจแก่ผู้เกี่ยวข้องในสายงานโทรทัศน์ โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2523 มี นายนคร วีระประวัติ เป็นนายกสมาคมฯ ส่วนผู้ตั้งชื่อรางวัล "เมขลา" คือ ศ.คุณหญิงจินตนา ยศสุนทร หนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน จนถึงครั้งที่ 4 พ.ศ. 2528 กลุ่มคนดังกล่าวได้แยกตัวออกไปตั้งชมรมส่งเสริมโทรทัศน์ เพื่อจัดรางวัลโทรทัศน์ทองคำ[1] สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทยจึงได้มีการเปลี่ยนตัวนายกสมาคมเป็น นายชาญ มีศรี ทำให้การจัดรางวัลเมขลายังคงดำเนินเรื่อยมาจนถึงครั้งที่ 23 พ.ศ. 2547
ในปี พ.ศ. 2554 สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย โดยนายชาตรี ศรียาภัย นายกสมาคม ได้รื้อฟื้นการจัดงานรางวัลเมขลาขึ้นมาอีกครั้ง โดยเริ่มจัดเป็นครั้งที่ 24 โดยมีการแบ่งรางวัลออกเป็น 3 ประเภท คือ รางวัลเมขลา, รางวัลมณีเมขลา หรือ รางวัลยอดนิยมแห่งปี และ รางวัลดาวเมขลา ที่มอบให้กับเหล่าคนบันเทิง โดยสื่อมวลชนเป็นผู้ตัดสิน นอกจากนี้ยังมอบ รางวัลเมขลามหานิยมแห่งปี ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถโหวตให้กับดารานำชาย-หญิง, ผู้กำกับ, พิธีกร และผู้ดำเนินรายการที่ชื่นชอบ [2] เป็นการจัดรางวัลเกียรติยศเป็นรายการแรกของไทย
รางวัลเมขลา ประกอบด้วยรางวัลประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวงการโทรทัศน์ ทั้งนี้มิได้เป็นการประกวดรายการโทรทัศน์ แต่เป็นการพิจารณาผลงานทุกรายการในแต่ละปี โดยทำการคัดเลือกเพื่อมอบประกาศเกียรติคุณแก่เจ้าของผลงานทางโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ ผ่านการตัดสินรางวัลของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นักข่าว นักสื่อสารมวลชน โดยยึดแนวการตัดสินมอบรางวัลจากการจัดงาน Emmy Awards ของสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนสำคัญ [3] มีพิธีมอบรางวัลเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนมกราคม
เกร็ดน่ารู้
- ปีที่งดจัดได้แก่ปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2546 ด้วยเหตุขัดข้องด้านการเตรียมงาน
- ผลจากการงดจัดสองปี ทำให้ดารามากฝีมืออย่าง อำภา ภูษิต พลาดการเข้าชิงถึงสองครั้ง ปี 2527 เธอฝากฝีมือยอดเยี่ยมในบทฝาแฝดจากเรื่อง 'สุดสายป่าน' อีกครั้งในปี 2546 จากเรื่อง 'นิราศสองภพ' แต่เธอก็ได้รับรางวัลจาก 'โทรทัศน์ทองคำ' มาครอง ส่วนอีกท่าน จริยา แอนโฟเน่ ได้รับรางวัลเกือบทุกสถาบัน จากละครเรื่อง 'ดงดอกเหมย' ก็พลาดรางวัลนี้ในปี 2546
- ครั้งที่จัดเร็วที่สุด คือ ครั้งที่ 8 ในปี พ.ศ. 2531 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ปีเดียวกัน
- ครั้งที่จัดช้าที่สุด คือ ครั้งที่ 25 ปี พ.ศ. 2555 ร่วมกับรางวัลพระสุรัสวดี(ตุ๊กตาทอง) ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2556
ลำดับงานประกาศผลรางวัล
[แก้]ครั้งและปีที่จัด | วันที่ประกาศผล | สถานที่ประกาศผลและมอบรางวัล | สถานีโทรทัศน์ถ่ายทอด |
---|---|---|---|
ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2523 | วันที่ 10 มกราคม 2524 | โรงละครแห่งชาติ | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2524 | วันที่ 16 มกราคม 2525 | โรงละครแห่งชาติ | ช่อง 5 |
ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2525 | วันที่ 22 มกราคม 2526 | โรงละครแห่งชาติ | ช่อง 5 |
ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2526 | วันที่ 21 มกราคม 2527 | โรงละครแห่งชาติ | ช่อง 3 |
ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2528 | วันที่ 15 มีนาคม 2529 | พาต้าเธียเตอร์ ปิ่นเกล้า (โรงภาพยนตร์แกรนด์พาต้า) |
ช่อง 3 |
ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2529 | วันที่ 14 มีนาคม 2530 | พาต้าเธียเตอร์ ปิ่นเกล้า | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2530 | วันที่ 19 มีนาคม 2531 | พาต้าเธียเตอร์ ปิ่นเกล้า | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2531 | วันที่ 24 ธันวาคม 2531 | พาต้าเธียเตอร์ ปิ่นเกล้า | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2532 | วันที่ 13 มกราคม 2533 | พาต้าเธียเตอร์ ปิ่นเกล้า | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 10 ประจำปี พ.ศ. 2533 | วันที่ 4 มกราคม 2534 | พาต้าเธียเตอร์ ปิ่นเกล้า | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2534 | วันที่ 10 มกราคม 2535 | พาต้าเธียเตอร์ ปิ่นเกล้า | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 12 ประจำปี พ.ศ. 2535 | วันที่ 22 มกราคม 2536 | ห้องประชุมชั้น 5 พาต้า หัวหมาก | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2536 | วันที่ 21 มกราคม 2537 | หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2537 | วันที่ 13 มกราคม 2538 | บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 15 ประจำปี พ.ศ. 2538 | วันที่ 19 มกราคม 2539 | หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2539 | วันที่ 17 มกราคม 2540 | เอ็มซีซีฮอลล์ เดอะมอลล์ บางกะปิ | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 17 ประจำปี พ.ศ. 2540 | วันที่ 16 มกราคม 2541 | หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 18 ประจำปี พ.ศ. 2541 | วันที่ 17 มกราคม 2542 | หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 19 ประจำปี พ.ศ. 2542 | วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2543 | หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 20 ประจำปี พ.ศ. 2543 | วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544 | หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 21 ประจำปี พ.ศ. 2544 | วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2545 | หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2545 | วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2546 | หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ | ช่อง 7 |
ครั้งที่ 23 ประจำปี พ.ศ. 2547 | วันที่ 23 เมษายน 2548 | โรงละครไทยอลังการ พัทยา | ช่อง 5 |
ครั้งที่ 24 ประจำปี พ.ศ. 2554 | วันที่ 10 มีนาคม 2555 | ห้องประชุมมงคลอาภา ๑ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร |
IPM SHOW |
ครั้งที่ 25 ประจำปี พ.ศ. 2555 | วันที่ 4 พฤษภาคม 2556 | หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ | ช่อง 11 [4] |
ผลรางวัล
[แก้]ในที่นี้ จะเป็นผลการตัดสินรางวัลเมขลาทุกครั้งที่จัด
รางวัลประเภทละครโทรทัศน์ (เฉพาะผู้แสดง)
[แก้]ครั้ง(ปี)ที่จัด | ผู้แสดงนำชายดีเด่น | ผู้แสดงนำหญิงดีเด่น | ผู้แสดงประกอบชายดีเด่น | ผู้แสดงประกอบหญิงดีเด่น |
---|---|---|---|---|
ครั้งที่ 1 (2523) | นพพล โกมารชุน สี่แผ่นดิน (ช่อง 5) ดาราละครโทรทัศน์ดีเด่นชาย |
นันทวัน เมฆใหญ่ สี่แผ่นดิน (ช่อง 5) ดาราละครโทรทัศน์ดีเด่นหญิง |
- | - |
ครั้งที่ 2 (2524) | ชลิต เฟื่องอารมย์ ไฟอารมณ์ (ช่อง 3) |
ลินดา ค้าธัญเจริญ ชลาลัย (ช่อง 9) |
สมจินต์ ธรรมทัต เขาชื่อกานต์ (ช่อง 3) |
รัชนู บุญชูดวง ไฟรักไฟพยาบาท (ช่อง 3) |
ครั้งที่ 3 (2525) | นิรุตติ์ ศิริจรรยา ปีกทอง (ช่อง 3) |
สุมาลี เหล่าชุนสุวรรณ ผู้หญิงคนหนึ่ง (ช่อง 7) |
อำนวย ศิริจันทร์ ฝันรัก (ช่อง 3) |
ดวงตา ตุงคะมณี สนิมสังคม (ช่อง 3) |
ครั้งที่ 4 (2526) | นพพล โกมารชุน น้ำตาลไหม้ (ช่อง 3) |
ธิติมา สังขพิทักษ์ พระจันทร์หลงเงา (ช่อง 3) |
จีรศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ สองพธู (ช่อง 5) |
อรสา พรหมประทาน อีแตน (ช่อง 3) |
ครั้งที่ 5 (2528) | ฉัตรชัย เปล่งพานิช ตี๋ใหญ่ (ช่อง 5) |
กุลกนิช คุ้มครอง คำพิพากษา (ช่อง 3) |
มีศักดิ์ นาครัตน์ คำพิพากษา (ช่อง 3) |
เยาวเรศ นิสากร มัสยา (ช่อง 7) |
ครั้งที่ 6 (2529) | โกวิท วัฒนกุล แม่เอิบ (ช่อง 5) |
นาถยา แดงบุหงา แหวนทองเหลือง (ช่อง 7) |
นพพล โกมารชุน สายโลหิต (ช่อง 3) |
เยาวเรศ นิสากร แหวนทองเหลือง (ช่อง 7) |
ครั้งที่ 7 (2530) | ฉัตรชัย เปล่งพานิช ปริศนา (ช่อง 3) |
อภิรดี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม ทองเนื้อเก้า (ช่อง 7) |
วิทยา สุขดำรงค์ ทองเนื้อเก้า (ช่อง 7) |
ดวงตา ตุงคะมณี แต่ปางก่อน (ช่อง 3) |
ครั้งที่ 8 (2531) | ยุรนันท์ ภมรมนตรี สวรรค์เบี่ยง (ช่อง 7) |
จารุณี สุขสวัสดิ์ ตะรุเตา (ช่อง 7) |
ชลิต เฟื่องอารมย์ เวิ้งระกำ (ช่อง 7) |
เยาวเรศ นิสากร อีสา (ช่อง 7) |
ครั้งที่ 9 (2532) | บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ คนเหนือดวง (ช่อง 7) |
วรรณิศา ศรีวิเชียร กลิ่นร่ำ (ช่อง 3) |
ปัญญา นิรันดร์กุล สมการวัย (ช่อง 7) |
สมฤทัย กล่อมน้อย อยู่เพื่อรัก (ช่อง 7) |
ครั้งที่ 10 (2533) | ธงไชย แมคอินไตย์ คู่กรรม (ช่อง 7) |
กมลชนก โกมลฐิติ คู่กรรม (ช่อง 7) |
รุจน์ รณภพ ขมิ้นกับปูน (ช่อง 7) |
ดวงดาว จารุจินดา คู่กรรม (ช่อง 7) |
ครั้งที่ 11 (2534) | โกวิท วัฒนกุล ไผ่แดง (ช่อง 7) |
จินตหรา สุขพัฒน์ สี่แผ่นดิน (ช่อง 3) |
ปัญญา นิรันดร์กุล ตะวันชิงพลบ (ช่อง 7) |
สมฤทัย กล่อมน้อย สุสานคนเป็น (ช่อง 7) |
ครั้งที่ 12 (2535) | ยุรนันท์ ภมรมนตรี คนบาป (ช่อง 5) |
อภิรดี ภวภูตานนท์ ลอดลายมังกร (ช่อง 7) |
เด่น ดอกประดู่ ลอดลายมังกร (ช่อง 7) |
อัญชลี ไชยศิริ คนบาป (ช่อง 5) |
ครั้งที่ 13 (2536) | ยุรนันท์ ภมรมนตรี คนละโลก (ช่อง 5) |
มนฤดี ยมาภัย นางทาส (ช่อง 7) |
บดินทร์ ดุ๊ก คนละโลก (ช่อง 5) |
วาสิฏฐี ศรีโลฟุ้ง หมาดำ (ช่อง 5) |
ครั้งที่ 14 (2537) | ศรัณยู วงศ์กระจ่าง ทวิภพ (ช่อง 7) |
สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ ทวิภพ (ช่อง 7) |
ศิริศักดิ์ นันทเสน วิมานมะพร้าว (ช่อง 7) |
พิศมัย วิไลศักดิ์ ปีกมาร (ช่อง 5) |
ครั้งที่ 15 (2538) | ยุรนันท์ ภมรมนตรี ความรักสีดำ (ช่อง 5) |
ปรียานุช ปานประดับ คือหัตถาครองพิภพ (ช่อง 7) |
พลรัตน์ รอดรักษา ขุนศึก (ช่อง 9) |
ญาณี จงวิสุทธิ์ ผู้กองยอดรัก (ช่อง 9) |
ครั้งที่ 16 (2539) | ยุรนันท์ ภมรมนตรี สาบนรสิงห์ (ช่อง 5) |
ชลิตา เฟื่องอารมย์ สาบนรสิงห์ (ช่อง 5) |
พอเจตน์ แก่นเพชร ด้วยแรงอธิษฐาน (ช่อง 7) |
สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์ มงกุฎดอกส้ม (ช่อง 7) |
ครั้งที่ 17 (2540) | พีท ทองเจือ ซอสามสาย (ช่อง 3) |
สุวนันท์ คงยิ่ง ตะวันทอแสง (ช่อง 7) |
ฤทธิ์ ลือชา นางละคร (ช่อง 7) |
ดวงดาว จารุจินดา เงิน เงิน เงิน (ช่อง 7) |
ครั้งที่ 18 (2541) | ยุรนันท์ ภมรมนตรี ไฟริษยา (ช่อง 7) |
จริยา แอนโฟเน่ ซอยปรารถนา 2500 (ช่อง 7) |
มนต์ชัย ภราดรบัญชา เผื่อใจไว้เจ็บ (ช่อง 7) |
อภิรดี ภวภูตานนท์ ดวงยิหวา (ช่อง 3) |
ครั้งที่ 19 (2542) | ธีรภัทร์ สัจจกุล ข้ามสีทันดร (ช่อง 7) |
พรชิตา ณ สงขลา เมียหลวง (ช่อง 3) |
ฤทธิ์ ลือชา ขุนเดช (ช่อง 7) |
ดวงดาว จารุจินดา ข้ามสีทันดร (ช่อง 7) |
ครั้งที่ 20 (2543) | พีท ทองเจือ อังกอร์ (ช่อง 7) |
กมลชนก โกมลฐิติ อาญารัก (ช่อง 3) |
ปัญญา นิรันดร์กุล เจ้าสัวน้อย (ช่อง 7) |
จริยา แอนโฟเน่ อาญารัก (ช่อง 3) |
ครั้งที่ 21 (2544) | อำพล ลำพูน ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (ช่อง 3) |
ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ ปิ่นไพร (ช่อง 7) |
กรรชัย กำเนิดพลอย ลูกทาส (ช่อง 5) |
สุวัจนี ไชยมุสิก โนห์รา (ช่อง 7) |
ครั้งที่ 22 (2545) | จุลจักร จักรพงษ์ ลูกผู้ชายหัวใจเพชร (ช่อง 7) |
พิยดา อัครเศรณี ร้อยเล่ห์ เสน่ห์ร้าย (ช่อง 5) |
อัมรินทร์ สิมะโรจน์ จิตสังหาร (ช่อง 7) |
อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ รอยไถ (ช่อง 7) |
ครั้งที่ 23 (2547) | แอนดริว เกร็กสัน เรือนไม้สีเบจ (ช่อง 3) ละครชีวิต เจษฎาภรณ์ ผลดี นางสาวจริงใจกับนายแสนดี (ช่อง 7) ละครหรรษา ดาราโทรทัศน์แสดงนำชายมหาชน |
วรนุช วงษ์สวรรค์ แม่อายสะอื้น (ช่อง 7) ละครชีวิต พิยดา อัครเศรณี บางรักซอย (ช่อง 9) ละครหรรษา ดาราโทรทัศน์แสดงนำหญิงมหาชน |
สุประวัติ ปัทมสูต แม่อายสะอื้น (ช่อง 7) |
สุฐิตา ปัญญายงค์ แม่อายสะอื้น (ช่อง 7) |
ครั้งที่ 24 (2554) | ณเดชน์ คูกิมิยะ เกมร้ายเกมรัก (ช่อง 3) |
อารยา เอ ฮาร์เก็ต ดอกส้มสีทอง (ช่อง 3) |
ชุมพร เทพพิทักษ์ เงาพราย (ช่อง 3) |
ศิริลักษณ์ ผ่องโชค ตลาดอารมณ์ (ช่อง 5) |
ครั้งที่ 25 (2555) | ณเดชน์ คูกิมิยะ ธรณีนี่นี้ใครครอง (ช่อง 3) |
อุรัสยา เสปอร์บันด์ ธรณีนี่นี้ใครครอง (ช่อง 3) |
โกสินทร์ ราชกรม รากบุญ (ช่อง 3) |
ศิรพันธ์ วัฒนจินดา บ่วง (ช่อง 3) |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นิตยสารทีวีพูล ฉบับที่ 212 : 17-23 มิถุนายน 2537
- ↑ แถลงข่าวประกาศรางวัลเมขลาปี 2554
- ↑ จากสูจิบัตรงานประกาศผลรางวัลเมขลา ครั้งที่ 16 ปี 2539
- ↑ สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงฯเทิดพระเกียรติ “อัครศิลปินแห่งชาติ”[ลิงก์เสีย] จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย