รัฐกรณาฏกะ
รัฐกรณาฏกะ | |
---|---|
จากบนลงล่างและซ้ายไปขวา: วังไมซอร์, ปัตตทกัล, รูปปั้นโคมเตศวร , ตราอาณาจักรโหยสละ, น้ำตกศิวนสมุทรา, โกลกุมบัซ, การแสดงยักษคณะ และ วิรูปักษะมนเทียรแห่งฮัมปี | |
เพลง: "ชนะ ภารตะ ชนนียะ ตนุชเต" (Jaya Bharata Jananiya Tanujate)[1]
"(ชัยชนะแด่มารดากรณาฏกะ กุมารีแห่งพระมารดาอินเดีย)" | |
แผนที่รัฐกรณาฏกะ | |
พิกัด (เบงคลูรู): 12°58′N 77°30′E / 12.97°N 77.50°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
ก่อตั้ง | 1 พฤศจิกายน 1956 (ในชื่อรัฐไมซอร์) |
เมืองหลวง | เบงคลูรู |
เมืองใหญ่สุด | เบงคลูรู |
อำเภอ | 30 อำเภอ |
การปกครอง | |
• องค์กร | รัฐบาลรัฐกรณาฏกะ |
• ราชยปาล | วชุภาอี วลา (Vajubhai Vala) |
• มุขมนตรี | บี.เอส. เยดิยุรัปปา (B. S. Yediyurappa) (พรรค BJP) |
• รองมุขมนตรี |
|
• วิธันภวัน (นิติบัญญัติรัฐ) | |
• สันสัท (รัฐสภา) | |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 191,791 ตร.กม. (74,051 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 6 |
ความสูงจุดสูงสุด | 1,925 เมตร (6,316 ฟุต) |
ความสูงจุดต่ำสุด (ระดับน้ำทะเล) | 0 เมตร (0 ฟุต) |
ประชากร (2011)[2] | |
• ทั้งหมด | 61,130,704 คน |
• อันดับ | ที่ 8 |
• ความหนาแน่น | 320 คน/ตร.กม. (830 คน/ตร.ไมล์) |
เดมะนิม | คนกันนาดา (Kannadiga สำหรับบุรุษ Kannadati สำหรับสตรี) |
จีดีพี (2018–19)[3][4] | |
• รวม | ₹15.35 ล้านล้าน |
• ต่อประชากร | ₹210,887 |
เขตเวลา | UTC 05:30 (IST) |
รหัส ISO 3166 | IN-KA |
ทะเบียนพาหนะ | KA |
ภาษาราชการ | ภาษากันนาดา[5] |
เอชดีไอ (2018) | 0.682[6] ปานกลาง · ที่ 19 |
การรู้หนังสือ (2011) | 75.36%[7] |
อัตราส่วนเพศ (2011) | 973 ♀/1000 ♂[7] |
เว็บไซต์ | www |
สัญลักษณ์ของรัฐกรณาฏกะ | |
ตรา | กานดาเบรุนดา (Gandaberunda) [8] |
เพลง | "ชนะภารตะ ชนะนิยะ ตนุชันเต" (Jaya Bharata Jananiya Tanujate)[9] |
สัตว์ | ช้างเอเชีย[10] |
สัตว์ปีก | นกตะขาบทุ่ง[10] |
ดอกไม้ | บัวหลวง[10] |
ต้นไม้ | จันทน์ขาว[10] |
กรณาฏกะ [กอ-ระ-นา-ตะ-กะ] (กันนาดา: ಕರ್ನಾಟಕ) เป็นรัฐหนึ่งในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย รัฐกรณาฏกะก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 1956 ตามการประกาศใช้ States Reorganisation Act ชื่อเดิมของรัฐขณะจัดตั้งคือรัฐไมซอร์ และต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐกรณาฏกะในปี 1973 รัฐกรณาฏกะตั้งอยู่ในภูมิภาคกรณาฏ (Carnatic region) เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดในรัฐคือเบงคลูรู
อาณาเขตของรัฐติดกับทะเลอาหรับทางตะวันตก, รัฐกัวทางตะตกเฉียงเหนือ, รัฐมหาราษฏระทางเหนือ, รัฐเตลังคานาทางตะวันออกเฉียงเหนือ, รัฐอานธรประเทศทางตะวันออก, รัฐทมิฬนาฑูทางตะวันออกเฉียงใต้ และรัฐเกรละทางใต้ รัฐกรณาฏกะจึงถือเป็นรัฐเดียวในอินเดียใต้ที่มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐทางใจ้อื่น ๆ ทั้งสี่รัฐ รัฐกรณาฏกะกินพื้นที่ราว 191,976 ตารางกิโลเมตร (74,122 ตารางไมล์) หรือคิดเป็น 5.83% ของพื้นที่ทั้งประเทศ มีพื้นที่ใหญ่เป็นลำดับที่หกของอินเดีย ด้วยประชากร 61,130,704 คน (2011) ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 8 ของประเทศ และประกอบด้วย 30 เขต ภาษากันนาดา ซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาคลาสสิกของประเทศอินเดีย (classical language) เป็นภาษาที่ใช้อย่างแพร่หลายในรัฐและเป็นภาษาราชการประจำรัฐ ภาษาส่วนน้อยอื่น ๆ เช่นภาษาอูรดู, ภาษากงกณี, ภาษามราฐา, ภาษาตูลู, ภาษาทมิฬ, ภาษาเตลูกู, ภาษามลยาฬัม, ภาษาโกทวะ และภาษาบยารี (Beary) นอกจากนี้รัฐกรณาฏกะยังมีหมู่บ้านที่สื่อสารด้วยภาษาสันสกฤตอยู่เป็นหลัก[11][12][13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Protected Areas of India: State-wise break up of Wildlife Sanctuaries" (PDF). Wildlife Institute of India. Government of India. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2016. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ "Figures at a glance" (PDF). 2011 Provisional census data. Ministry of Home Affairs, Government of India. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2011. สืบค้นเมื่อ 17 September 2011.
- ↑ "MOSPI Gross State Domestic Product". Ministry of Statistics and Programme Implementation, Government of India. 1 August 2019. สืบค้นเมื่อ 16 September 2019.
- ↑ "Karnataka Budget 2018–19" (PDF). Karnataka Finance Dept. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2018. สืบค้นเมื่อ 15 March 2018.
- ↑ 50th Report of the Commission for Linguistic Minorities in India (PDF). nclm.nic.in. p. 123. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 July 2016.
- ↑ "Sub-national HDI – Area Database". Global Data Lab (ภาษาอังกฤษ). Institute for Management Research, Radboud University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
- ↑ 7.0 7.1 "Census 2011 (Final Data) – Demographic details, Literate Population (Total, Rural & Urban)" (PDF). planningcommission.gov.in. Planning Commission, Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 January 2018. สืบค้นเมื่อ 3 October 2018.
- ↑ Shankar, Shiva (7 February 2018). "State flag may be a tricolour with Karnataka emblem on white". The Times of India. The Times Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2018. สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.
- ↑ "Poem declared 'State song'". The Hindu. The Hindu Group. 11 January 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Huq, Iteshamul, บ.ก. (2015). "Introduction" (PDF). A Handbook of Karnataka (ภาษาอังกฤษ) (Fifth ed.). Karnataka Gazetteer Department. p. 48.
- ↑ "Seven Indian villages where people speak in Sanskrit". 24 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2019. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
- ↑ "Know about these 4 Indian villages where SANSKRIT is still their first language". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2019. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
- ↑ "Five Indian villages where sanskrit is spoken". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2019. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.