ยุทธการที่เชียร์โนบีล
ยุทธการที่เชียร์โนบีล | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ปี 2022 | |||||||
แผนที่ดินแดนที่รัสเซียยึดครองทางตอนเหนือของยูเครนหลังยุทธการที่เชียร์โนบีล | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
รัสเซีย สนับสนุน: เบลารุส[1] | ยูเครน | ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
กองทัพรัสเซีย | กองทัพยูเครน | ||||||
กำลัง | |||||||
ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ไม่ทราบ | ถูกจับ 200 คน[3] |
ยุทธการเชียร์โนบีล หรือ ยุทธการเชอร์โนบิล เป็นการปะทะทางทหารในเขตหวงห้ามเชียร์โนบีล ระหว่างกองทัพรัสเซียกับกองทัพยูเครน เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 วันแรกของการรุกรานยูเครน[4] กองกำลังรัสเซียเข้ารุกรานผ่านทางเบลารุส และสามารถยึดพื้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีลได้ภายในวันนั้น[5][1][6] ภายในวันที่ 7 มีนาคม ผู้คนราว 300 คน คนงาน 100 คน และทหารยูเครน 200 คน ติดอยู่ในโรงไฟฟ้า นับตั้งแต่รัสเซียเข้ายึดพื้นที่ดังกล่าว[3] ในวันที่ 31 มีนาคม มีรายงานว่ากองกำลังรัสเซียส่วนใหญ่ที่เข้ายึดครองเชียร์โนบีลได้ถอนกำลังออกโดยเป็นส่วนหนึ่งของการรวมกลุ่มของกองกำลังรัสเซียในพื้นที่
เหตุการณ์
[แก้]ในข่วงบ่ายของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 วันแรกของการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย รัฐบาลยูเครนประกาศว่ากองทัพรัสเซียได้ทำการโจมตีในเขตหวงห้ามเชียร์โนบีล[7] ภายในวันเดียวกันนั้น รัฐบาลยูเครนได้ประกาศว่ารัสเซียเข้ายึดครองพื้นที่เชียร์โนบีลและปรือปิยัจแล้ว[8] ภายหลังการเข้ายึดสำเร็จ เจ้าหน้าที่รัฐของสหรัฐได้ระบุว่ามี "รายงานที่น่าเชื่อถือว่าทหารรัสเซียจับพนักงานที่ทำงานในเชียร์โนบีลเป็นตัวประกัน"[9]
มีรายงานว่าการปะทะเกิดการโจมตีถูกจุดที่เก็บสารกัมมันตภาพรังสี นอกจากนี้ยังพบค่ากัมมันตรังสีสูงขึ้นในพื้นที่[10] อย่างไรก็ตาม องค์การพลังงานปรมาณูนานาชาติระบุว่า "ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต และไม่มีความเสียหายแก่พื้นที่ก่อสร้าง[ในเชียร์โนบีล]"[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Coakley, Amanda. "Lukashenko Is Letting Putin Use Belarus to Attack Ukraine". Foreign Policy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Cole, Brendan (2022-03-31). "Russian troops sickened by contaminated Chernobyl soil: official". Newsweek (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ 3.0 3.1 Tobias, Ben (7 March 2022). "Ukraine war: Chernobyl workers' 12-day ordeal under Russian guard". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2022. สืบค้นเมื่อ 7 March 2022.
- ↑ Reuters (24 February 2022). "Chernobyl power plant captured by Russian forces -Ukrainian official". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Chernobyl nuclear plant targeted as Russia invades Ukraine". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Russian forces seize Chernobyl nuclear power plant". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Russian troops breach area near Chernobyl, adviser to Ukrainian minister says". Reuters. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Chernobyl power plant captured by Russian forces -Ukrainian official". Reuters. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Restuccia, Andrew (24 February 2022). "White House Calls for Release of Any Hostages at Chernobyl Site". Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Chernobyl no-go zone targeted as Russia invades Ukraine". Associated Press. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "IAEA Director General Statement on the Situation in Ukraine". International Atomic Energy Agency. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.