ข้ามไปเนื้อหา

ยัญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยัญในวิวาหะ (งานแต่งงานแบบฮินดู)

ยัญ หรือ ยญ (สันสกฤต: यज्ञ, อักษรโรมัน: yajña, แปลตรงตัว'บูชายัญ') ในศาสนาฮินดูหมายถึงพิธีกรรมที่กระทำต่อหน้ากองไฟ ส่วนใหญ่มีมนตร์ประกอบ[1] ยัญเป็นพิธีกรรมแบบพระเวท มีอธิบายอยู่ในส่วนพราหมณัมของพระเวท และในยชุรเวท[2] พิธีกรรมพัฒนาขึ้นมาจากการเซ่นไว้และบวงสรวงแก่กองไฟ มาเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นการถวายบูชาแด่พระอัคนี[1]

เนื้อหาในอุปนิษัทพระเวทส่วนที่เกี่ยวข้องกับยัญจะเรียกว่า "กรรมกัณฑ์" (ส่วนทำงาน) เพื่อให้แตกต่างจากส่วน "ญาณกัณฑ์" (ส่วนความรู้) การประกอบพิธียัญที่สมบูรณ์เป็นส่วนสำคัญหนึ่งของสำนักมิมังสาในปรัชญาฮินดู[3] นอกจากนี้ยัญยังมีบทบาทสำคัญในพิธีกรรมเปลี่ยนผ่านของฮินดู เช่น งานแต่งงาน

ศัพทมูล

[แก้]

"ยญ" (สันสกฤต: यज्ञ, อักษรโรมัน: yajña) มีรากมาจากคำในภาษาสันสกฤต "ยช" (yaj) แปลว่า 'การยูชา ชื่นชม ยกย่อง เคารพ' ปรากฏในวรรณกรรมพระเวทยุคแรก อายุมากกว่า 2000 ปีก่อนริสต์กาล[4][5] ในฤคเวท, ยชุรเวท (คำว่า "ยชุรเวท" ก็มาจากราก "ยช" เดียวกัน) และคัมภีร์อื่น ๆ ใช้คำว่ายัญหมายถึง "การบูชา การแสดงความเคารพ การสวดบูชา" ไปจนถึงความหมายเดียวกับ "การบูชายัญ" ในความหมายภาษาไทยปัจจุบัน[4] ในวรรณกรรมยุคหลังพระเวท ยัญใช้เรียกพิธีกรรมใดก็ตามที่มีการประกอบพิธีในทางสัญลักษณ์[4]

ในขณะที่ภาษาไทยปัจจุบัน "ยัญ" ดังที่ปรากฏในคำว่า "บูชายัญ" หมายถึง "การบูชาของพราหมณ์อย่างหนึ่ง การเซ่นสรวงด้วยวิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา"[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 SG Nigal (1986), Axiological Approach to the Vedas, Northern Book, ISBN 978-8185119182, pages 80–81
  2. Laurie Patton (2005), The Hindu World (Editors: Sushil Mittal, Gene Thursby), Routledge, ISBN 978-0415772273, pages 38-39
  3. Randall Collins (1998), The Sociology of Philosophies, Harvard University Press, ISBN 978-0674001879, page 248
  4. 4.0 4.1 4.2 Monier Monier-Williams, Sanskrit English Dictionary, Oxford University Press, ISBN 978-8120831056 (Reprinted in 2011), pages 839-840
  5. Jack Sikora (2002), Religions of India, iUniverse, ISBN 978-0595247127, page 86
  6. พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน. บูชายัญ. เข้าถึงจาก Sanook Dictionary.