ข้ามไปเนื้อหา

ยัง คย็อง-จ็อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยัง คย็อง-จ็อง
ผู้ชายคนหนึ่งที่ไม่ได้ระบุชื่อในชุดเครื่องแบบเวร์มัคท์ (ซ้าย) หลังถูกจับกุมโดยทหารโดดร่มอเมริกันในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 หลังดีเดย์
เกิด3 มีนาคม ค.ศ. 1920
กรุงเฮโจ นิคมเกาหลี จักรวรรดิญี่ปุ่น
เสียชีวิต7 เมษายน ค.ศ. 1992 (อายุ 72 ปี)
แอแวนสตัน รัฐอิลลินอย สหรัฐ
รับใช้ ญี่ปุ่น
 สหภาพโซเวียต
 ไรช์เยอรมัน
แผนก/สังกัด กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น
กองทัพแดง
 กองทัพบกเยอรมัน
ประจำการ1938–1939 (ญี่ปุ่น)
1942–1943 (โซเวียต)
1943–1944 (เยอรมนี)
การยุทธ์ยุทธการที่ฮาลฮิน กอล
สงครามโลกครั้งที่สอง
ชื่อในภาษาอื่น
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
양경종
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คานะヤン・キョンジョン
การถอดเสียง
โรมาจิYan Kyonjon
ชื่อรัสเซีย
รัสเซียЯн Кёнджон

ยัง คย็อง-จ็อง (เกาหลี: 양경종; 3 มีนาคม ค.ศ. 1920 – 7 เมษายน ค.ศ. 1992) เป็นทหารชาวเกาหลี เคยร่วมรบในกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น กองทัพแดง และต่อมากองทัพบกเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นทหารเพียงคนเดียวที่ได้เข้าร่วมรบทั้งสามฝ่ายในสงครามครั้งนี้ และด้วยสถานะนี้ทำให้เขาได้รับการยอมรับ

สงครามโลกครั้งที่สอง

[แก้]

คย็อง-จ็องเป็นชาวเกาหลีที่เกิดในยุคที่เป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี เขาถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารในกองทัพกวางตุ้งของญี่ปุ่นในปีค.ศ. 1938 และได้เข้าสู้รบกับทหารโซเวียตในยุทธการที่ฮาลฮิน กอลในปีค.ศ. 1939 เขาถูกจับกุมเป็นชเลยโดยกองทัพแดงถูกส่งไปยังค่ายกูลัก

ความขาดแคลนกำลังพลของโซเวียตในการสู้รบกับนาซีเยอรมนี ทำให้ในปีค.ศ. 1942 คย็อง-จ็องถูกบังคับให้เข้าร่วมกับกองทัพแดงพร้อมกับเชลยอีกหลายพันคน เขาถูกส่งไปยังแนวรบด้านตะวันออกในทวีปยุโรป

ในปีค.ศ. 1943 คย็อง-จ็องถูกจับกุมโดยทหารเยอรมันในยูเครนตะวันออกในช่วงยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3 และได้เข้าร่วม "กองทหารตะวันออก" (Ostlegionen) ในสังกัดแวร์มัคท์ เขาถูกส่งตัวไปฝรั่งเศสในยึดครองเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในกองพันของอดีตเชลยศึกโซเวียตบนคาบสมุทรโคเตนตินในนอร์ม็องดีใกล้กับชายหาดยูทาห์ ต่อมาภายหลังการยกพลขึ้นบกโดยทหารสัมพันธมิตร คย็อง-จ็องถูกจับกุมโดยทหารพลร่มอเมริกันในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944

ตอนแรกอเมริกันคิดว่าเขาเป็นทหารญี่ปุ่นในเครื่องแบบทหารแวร์มัคท์ ร้อยโทโรเบิร์น บริวเนอร์ (Robert Brewer) จากกรมทหารราบโดดร่มชูชีพที่ 506 กองพลทหารโดดร่มที่ 101 รายงานว่าทหารใต้บัญชาของเขาได้จับกุมชาวเอเชียสี่คนในชุดเครื่องแบบทหารแวร์มัคท์หลังการยกพลขึ้นบกชายหาดยูทาห์ และในตอนแรกไม่มีใครสามารถสื่อสารกับพวกเขาได้เลย ยังได้ถูกส่งไปยังค่ายเชลยในอังกฤษและต่อมาถูกย้ายไปยังค่ายในสหรัฐอเมริกา

ชีวิตต่อมา

[แก้]

ยัง คย็อง-จ็อง, เชลยศึกเยอรมัน ได้รับการปล่อยตัวโดยกองทัพสหรัฐจากถูกจองจำในปีค.ศ. 1947 เขาได้สัญชาติอเมริกัน และย้ายไปพำนักในรัฐอิลลินอย ที่เขาได้ใช้ชีวิตจนกระทั่งเขาได้เสียชีวิตลงในปีค.ศ. 1992 เรื่องราวของเขาถูกสร้างเป็นภาพยนตร์เกาหลีใต้เรื่อง My Way ออกฉายในปีค.ศ. 2011