ข้ามไปเนื้อหา

มาร์ช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มาร์ช (อังกฤษ: march) หมายถึง เพลงแบบหนึ่งซึ่งประพันธ์ไว้ใช้ในการเดินแถวและ​สวนสนาม เช่น การเดินแถวของทหาร และ​การ​สวนสนาม​ของทหาร​ เป็นต้น เพื่อให้การเดินแถวมีระเบียบเรียบร้อยไม่สับสน โดยจะมีจังหวะการเดินตามจังหวะเพลง

การบรรเลงเพลงมาร์ช โดยวงโยธวาทิตของกองทัพเวียดนาม
การเดินพิธีสวนสนาม ตามจังหวะเพลงมาร์ช ของทหารรักษาพระองค์ ในประเทศไทย

ประเภทของเพลงมาร์ช

[แก้]

เพลงมาร์ชมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่

  1. Quick March หรือ Quick Steps เป็นจังหวะการเดินแบบเร็ว ประมาณ 116 ถึง 120 ก้าวต่อนาที เป็นทำนองเพลงที่คึกคัก เร้าใจ มีจังหวะหนักแน่นมั่นคง มีการเดินหลักอยู่ 2 แบบคือ
    1. การก้าวตามจังหวะแบบปกติ
    2. การก้าวแบบ Short March คือการก้าวตามจังหวะ แต่มีช่วงก้าวที่สั้น หรือการก้าวแบบส้นต่อส้น
  2. Slow หรือ Processional March ใช้จังหวะการเดินแบบช้า ๆ ประมาณ 72 ก้าวต่อนาที เป็นท่วงทำนองเพลงที่ขึงขัง สง่างาม องอาจ หรืออาจเศร้าสลด โดยแบบ Slow จะแบ่งได้ 2 ชนิด ใช้ในโอกาสที่ต่างกันด้วย คือ
    1. Festival March มีทำนองที่สง่าเกรียงไกรและร่าเริง ใช้บรรเลงนำขบวนแห่ในงานพิธีที่สำคัญ เช่น งานสมรส งานฉลองชัยชนะ
    2. Funeral March มีทำนองที่เศร้าสลด ใช้บรรเลงเดินนำขบวนแห่ศพ

การเดินแบบ Slow March นั้นจะแตกต่างจาก Quick March โดยที่การเดินแบบ Slow March จะย่างเท้าก้าวละ 2 จังหวะ โดยจังหวะที่หนึ่งจะเตะเท้าออกไปข้างหน้า ปลายเท้าชี้ตรง ฝ่าเท้าขนานกับพื้น จังหวะที่สองจึงวางเท้าลง

ตัวอย่างเพลงมาร์ช
  • Marche militaire - Schubert
  • Triumphal March from Aida - Verdi
  • March from 'The Ruins of Athens' - Beethoven
  • Funeral March from Symphony No.3 (Eroica) - Beethoven
  • March of the Priests from Athalie - Mendelssohn
  • March Slave - Tchaikovsky
  • Wedding March - Mendelssohn

นักประพันธ์เพลงมาร์ช

[แก้]

จอห์น ฟิลิป ซูซา (1854-1932) นักประพันธ์เพลงมาร์ชที่ทั่วโลกให้การยอมรับว่าเป็นราชาแห่งเพลงมาร์ช เป็นผู้ควบคุม วงดุริยางค์นาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ในช่วงปลายยุค โรแมนติก ผลงานชิ้นเอกของเขา คือ เดอะสตาร์สแอนด์สไตรพ์สฟอร์เอเวอร์ เพลงมาร์ชที่สภาคองเกรส มีมติให้เป็นเพลงมาร์ชประจำชาติอย่างเป็นทางการ

อ้างอิง

[แก้]