มารตัณฑสูรยมนเทียร
มารตัณฑสูรยมนเทียร | |
---|---|
อาคารกลางของหมู่มนเทียร | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | อนันตนาค |
เทพ | มารตัณฑ์ (สูรยะ) |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | กัศมีร์ |
รัฐ | จัมมูและกัศมีร์ |
ประเทศ | อินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 33°44′44″N 75°13′13″E / 33.74556°N 75.22028°E |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | อินเดียโบราณ |
ผู้สร้าง | ลลิตาทิตยะ มุกตปีฑะ |
เสร็จสมบูรณ์ | ศตวรรษที่ 8 |
ทำลาย | ศตวรรษที่ 15 |
มารตัณฑสูรยมนเทียร หรือ มนเทียรพระอาทิตย์มารตัณฑ์ (อังกฤษ: Martand Sun Temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 8 เชื่อว่าสร้างขึ้นโดยกษัตริย์ลลิตาทิตยะ มุกตปีฑะแห่งจักรวรรดิกรโกฏ มนเทียรตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองอนันตนาคในหุบเขากัศมีร์ ชัมมูและกัศมีร์ ประเทศอินเดีย มนเทียรนี้สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระสูรยะ เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ในคติศาสนาฮินดู และมีอีกนามคือ มารตัณฑะ (मार्तण्ड, Mārtaṇḍa) มนเทียรถูกทำลายลงโดยผู้นำซีกันดาร์ ชาห์ มีรี ชาวมุสลิมในระหว่างความพยายามทำให้หุบเขากัศมีร์เปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม[1][2] หลังจากนั้นซากของมนเทียรยังเสียหายเพิ่มเติมจากแผ่นดินไหวในพื้นที่อีก[3]
มนเทียรตั้งอยู่บนยอดของที่ราบสูงซึ่งสามารถมองเห็นทิวของหุบเขากัศมีร์ทั้งหมดได้ จากการศึกษาซากและการค้นพบทางโบราณคดี ทำให้อาจพูดได้ว่ามนเทียรนี้เป็นสิ่งปลูกสร้างตัวอย่างชิ้นเยี่ยมของสถาปัตยกรรมกัศมีร์ ซึ่งผสมผสานรูปแบบของคันธาระ, คุปตะ และ จีน เข้าด้วยกัน[4][5] หินปูนก้อนใหญ่ของมนเทียรฉาบเข้าด้วยกันโดยใช้ปูนไลม์ (Lime mortar) เนื่องจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เสนอว่าการใช้งานปูนไลม์ในอินเดียเหนือเริ่มแพร่หลายหลังรัฐสุลต่านเดลีเรืองอำนาจในศตวรรษที่ 13 ทำให้มีการเสนอว่ากษัตริย์ลลิตาทิตยะได้ว่าจ้างให้ช่างจากบีแซนทีนมาเป็นผู้ออกแบบมนเทียร[6]
กรมสำรวจโบราณคดีอินเดียประกาศให้มนเทียรเป็นสถานที่อันมีความสำคัญระดับชาติ[7] ในปี 2012[8] มารตัณฑสูรยมนเทียรเป็นหนึ่งในสามจุดหมายในการแสวงบุญของบัณฑิตชาวกัศมีร์ ควบคู่กับศรฑาปีฐ และ อมรนาถมนเทียร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Pandit, Kashinath (1991). Baharistan-i-shahi: A chronicle of mediaeval Kashmir. Kolkata: Firma KLM Pvt. Ltd.
- ↑ Slaje, Walter (19 August 2019). "Buddhism and Islam in Kashmir as Represented by Rājataraṅgiṇī Authors". Encountering Buddhism and Islam in Premodern Central and South Asia (ภาษาอังกฤษ). De Gruyter. pp. 128–160. doi:10.1515/9783110631685-006. ISBN 978-3-11-063168-5. S2CID 204477165.
- ↑ Bilham, Roger; Bali, Bikram Singh; Bhat, M. Ismail; Hough, Susan (1 October 2010). "Historical earthquakes in Srinagar, Kashmir: Clues from the Shiva Temple at Pandrethan". Ancient Earthquakes (ภาษาอังกฤษ). doi:10.1130/2010.2471(10). ISBN 9780813724713.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Wink, André (1991). Al-Hind, the Making of the Indo-Islamic World, Volume 1 By André Wink. BRILL. pp. 250–51. ISBN 9004095098.
- ↑ Chaitanya, Krishna (1987). Arts Of India By Krishna Chaitanya. Abhinav Publications. p. 7. ISBN 9788170172093.
- ↑ "Martand Temple in Kashmir: Its grandeur survives, and so do its controversies". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 4 September 2022. สืบค้นเมื่อ 4 September 2022.
- ↑ "Archaeological Survey of India protected monuments". heritageofkashmir.org. สืบค้นเมื่อ 11 August 2012.
- ↑ "Protected monuments in Jammu & Kashmir". asi.nic.in, Archaeological Survey of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2012. สืบค้นเมื่อ 29 October 2012.