มาการง
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ประเภท | ขนมหวาน |
---|---|
แหล่งกำเนิด | ฝรั่งเศส |
ส่วนผสมหลัก | ส่วนขนมปัง : ไข่ขาว, น้ำตาลไอซิ่ง, น้ำตาลทราย, ผงแอลมอนด์หรือแอลมอนด์ป่น, สีผสมอาหาร ส่วนไส้ : บัตเตอร์ครีม, กานัช หรือแยม |
มาการง (ฝรั่งเศส: macaron, ออกเสียง: [makaˈʁɔ̃])[1] เป็นขนมหวานที่ได้จากการผสมเมอแร็งก์กับไข่ขาว, น้ำตาลไอซิ่ง, น้ำตาลทรายขาว, ผงแอลมอนด์หรือแอลมอนด์ป่น และสีผสมอาหาร มาการงรูปร่างเหมือนแซนด์วิช เป็นขนมปังสองชิ้นประกบกัน มีสอดไส้ตรงกลาง ส่วนไส้มักจะเป็นกานัช, บัตเตอร์ครีม (ครีมเนยที่ใช้แต่งหน้าเค้ก) หรือแยม คำว่า มาการง แผลงมาจากคำในภาษาอิตาลีว่า macarone, maccarone หรือ maccherone, เมอแร็งก์แบบอิตาลี
มาการง มีลักษณะคล้ายคุกกี้ ลักษณะเด่นของมาการงคือ ผิวด้านบนของขนมจะเรียบ ขอบรอบ ๆ เป็นรอยหยัก (มักจะเรียกว่า "ขา" หรือ "เท้า") และมีฐานเรียบแบน ขนมจะนุ่มชุ่มเล็กน้อยและละลายง่ายในปาก[2] มาการงมีหลากหลายรสชาติ ตั้งแต่รสดั้งเดิม (ราสป์เบอร์รี, ช็อกโกแลต) ไปจนถึงรสใหม่ ๆ (ฟัวกรา, ชาเขียว)[3]
คนส่วนใหญ่มักจะสับสนระหว่างมาการงกับแมคารูน (macaroon) จึงมีการใช้ชื่อภาษาฝรั่งเศสมาแทนภาษาอังกฤษเพื่อให้ดูต่างกัน แต่ก็ยิ่งทำให้สะกดชื่อกันผิดมากขึ้น บางตำราอาหารแยกชื่อ แมคารูน ไว้ใช้กับมาการงที่ไม่ใช่แบบของฝรั่งเศสดั้งเดิม แต่หลาย ๆ คนมีความเห็นว่า ขนมทั้งสองอย่างนี้มีความหมายเหมือนกัน[4] ซึ่งความจริงแล้ว คำว่า แมคารูน เป็นคำภาษาอังกฤษที่แปลมาจากคำว่า มาการง ในภาษาฝรั่งเศส เพราะฉะนั้นชื่อทั้งสองชื่อนี้มีความหมายเรียกขนมแบบเดียวกัน ทั้งนี้การใช้แต่ละชื่อก็อาจขึ้นอยู่กับการตีความของแต่ละบุคคล[4][5] เคยมีศาสตราจารย์ภาควิชาวัฒนธรรมอาหารที่สแตนฟอร์ด, แดน จูราฟสกี้ ชี้แจงว่า 'มาการง' (รวมถึง "มาการงปารีส", หรือ "มาการงแฌร์แบ") คือชื่อเรียกที่ถูกต้อง[6]
ประวัติ
[แก้]ถึงส่วนใหญ่จะพูดกันว่า มาการงเป็นขนมสัญชาติฝรั่งเศส ก็ยังมีข้อถกเถียงกันมากมาย สารานุกรมอาหารการกินชื่อลารุสกัสทรอนอมิก (Larousse Gastronomique) ระบุว่า มาการงนั้นมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1791 ในคอนแวนต์แห่งหนึ่งใกล้กับเมืองกอร์เมอรี จังหวัดแอ็งเดรลัวร์ บ้างก็สืบค้นประวัติศาสตร์ชาติฝรั่งเศสย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 1533 สมัยที่กาเตรีนา เด เมดีชี อภิเษกสมรสกับพระเจ้าอ็องรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส นางได้นำเชฟทำขนมชาวอิตาลีกลับมาด้วย[7] ในปี ค.ศ. 1792 ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส มีแม่ชีนิกายคาทอลิกสองท่านซึ่งหลบภัยไปอยู่ที่เมืองน็องซี ได้อบขนมคุกกี้มาการงขายเพื่อจะนำเงินมาจ่ายค่าบ้าน ทำให้มาการงเป็นที่รู้จักโดยทั่ว มีคนตั้งชื่อให้ท่านทั้งสองว่า "ซิสเตอร์มาการง" ซึ่งในช่วงแรกนั้น มาการงจะเป็นขนมเปล่า ๆ ไม่มีรสหรือไส้อะไรที่พิเศษ[8]
จนกระทั่งในคริสต์ทศวรรษ 1830 เริ่มมีการเสิร์ฟมาการงเป็นคู่ ๆ พร้อมกับแยม เหล้า และเครื่องเทศต่าง ๆ แต่มาการงในทุกวันนี้ประกอบไปด้วยเมอแร็งก์แอลมอนด์สองชิ้นประกบกันสอดไส้ตรงกลาง ไส้ที่ว่านี้อาจจะเป็นครีมเนยที่ใช้แต่งหน้าเค้ก (บัตเตอร์ครีม) แยม หรือกานัช ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า "แฌร์แบ" หรือ "มาการงปารีส" มีการกล่าวอ้างว่า เมื่อต้นยุคศตวรรษที่ 20 เชฟปีแยร์ เดฟงแตนแห่งร้านขนมฝรั่งเศสลาดูว์เร (Ladurée) เป็นผู้คิดค้นสูตรนี้ขึ้นมา แต่นักทำขนมอีกคนหนึ่งคือ โกลด แฌร์แบ ก็อ้างว่าสูตรนี้เป็นผลงานของเขาเช่นกัน[9][10][11]
รสชาติต่าง ๆ
[แก้]-
มาการงรสแอลมอนด์[12]
-
มาการงรสบลูเบอร์รี
-
มาการงรสคาราเมล
-
มาการงรสช็อกโกแลต
-
มาการงรสมะพร้าว
-
มาการงรสน้ำผึ้ง
-
มาการงรสเลมอน
-
มาการงรสส้ม
-
มาการงรสพริกไทยอ่อน
-
มาการงรสพิสตาชีโอ
-
มาการงรสกุหลาบ
-
มาการงรสวานิลลา
ความหลากหลายของมาการง
[แก้]ฝรั่งเศส
[แก้]ในหลาย ๆ เมืองของฝรั่งเศสต่างมีประวัติที่หลากหลายและมีความเป็นมายาวนานมาก อย่างเช่นที่แคว้นลอแรนมีความโดดเด่นมาก (น็องซีและบูแล), ภูมิภาคบาสก์ (แซ็ง-ฌ็อง-เดอ-ลุซ), แซ็งเตมีลียง, อาเมียง, มงมอรียง, เลอโดรา, โซ (Sault), ชาทร์, กอร์เมอรี, ฌัวเยิซ และแซ็งต์-ครัวในเบอร์กันดี
มาการงดาเมียง (Macarons d'Amiens) ในอาเมียงมีขนาดเล็ก รูปร่างกลมแบบมาการงทั่ว ๆ ไป ทำมาจากแอลมอนด์ เพสท์ (เมล็ดแอลมอนด์บดผสมรวมกับน้ำตาล และไข่), ผลไม้และน้ำผึ้ง ซึ่งค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1855[13]
ส่วนในเมืองมงมอรียง มาการงเลื่องชื่อมากขนาดมีการสร้างพิพิธภัณฑ์โดยเฉพาะ ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1920 ที่เมืองนี้มีร้านเบเกอรีมาการงที่เก่าแก่ที่สุดตั้งอยู่ ชื่อว่า แมซงรานู-เมตีวีเย (Maison Rannou-Métivier) มาการงของมงมอรียงนี้เป็นสูตรดั้งเดิมที่สืบทอดกันมากว่า 150 ปีแล้ว[14]
ในเมืองน็องซีที่แคว้นลอแรน มาการงเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เมืองนี้เลยทีเดียว เป็นที่เล่าขานกันมาว่า หัวหน้าแม่ชีท่านหนึ่งจากเมืองเรอมีร์มง (Remiremont) ตั้งกฎขึ้นมาปกครองแม่ชีทั้งหมด กฎนี้ชื่อว่า "ดามดูว์แซ็ง-ซาเครอม็อง" (Dames du Saint-Sacrement) เป็นกฎห้ามแม่ชีไม่ให้รับประทานเนื้อทุกชนิด และต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ซึ่งมีแม่ชีสองท่าน (ซิสเตอร์มาร์เกอริตและมารี-เอลีซาแบ็ต) ที่เชื่อกันว่าคือผู้ที่คิดค้นวิธีการทำมาการงขึ้นมา เพื่อจะได้รับประทานอาหารที่เหมาะสมและเป็นไปตามกฎนั้น ต่อมาท่านทั้งสองเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ซิสเตอร์มาการง" (เลเซอร์มาการง) ในปี ค.ศ. 1952 เมืองน็องซีนำชื่อของท่านมาใช้ตั้งชื่อถนนบางส่วนของรูว์เดอลาอาช (Rue de la Hache) (สถานที่ที่พวกท่านคิดค้นมาการงขึ้นมา) เพื่อเป็นการให้เกียรติ[15]
สวิตเซอร์แลนด์
[แก้]ในสวิตเซอร์แลนด์ มียี่ห้อลุกเซิมบัวร์เกอร์ลี (Luxemburgerli) เป็นขนมที่ผสมผสานงานศิลปะขนมหวานของร้านกงฟีซรีชปรึงลี (Confiserie Sprüngli) ที่ตั้งอยู่ในเมืองซูริก มาการงของยี่ห้อลุกเซิมบัวร์เกอร์ลีนี้[16][17][18] ประกอบไปด้วยเมอแร็งก์แอลมอนด์สองแผ่น[19] สอดไส้บัตเตอร์ครีม[20][21] ขนาดชิ้นมาการงจะเล็กกว่า เบากว่ามาการงของเจ้าอื่น ๆ ว่ากันว่า ส่วนผสมเบามาก สัมผัสเหมือนอากาศ[22] รสชาติที่มีจำหน่าย ได้แก่ วานิลลา, ช็อกโกแลต, สตรัชชาเตลลา (ช็อกโกแลตชิป), คาราเมล, ถั่วเฮเซล, แชมเปญ, เหล้าอามาเรตโต, เกาลัด, มอคา, อบเชย, เลมอน, ส้มจีน และราสป์เบอร์รี รสชาติบางแบบก็มีเฉพาะบางเทศกาลเท่านั้น มาการงวางขายในตู้โชว์แช่เย็นซึ่งจะอยู่ได้นานราว 3-5 วัน
ลุกเซิมบัวร์เกอร์ลีได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นโดยกามีย์ ชตูเดอร์ นักศิลปะขนมหวานซึ่งนำสูตรมาที่ซูริกหลังจากที่ได้คิดค้นขนมชนิดนี้ในร้านขนมหวานแห่งหนึ่งในลักเซมเบิร์ก (กงฟีซรีนามูร์) เมื่อปี ค.ศ. 1957 ที่นั่นเธอปรับปรุงสูตรเพื่อเข้าแข่งขันการทำศิลปะขนมหวาน คำว่า ลุกเซิมบัวร์เกอร์ลี (Luxemburgerli) คือชื่อเล่นที่เพื่อน ๆ ตั้งให้เขา เพราะครอบครัวเธอแต่เดิมมาจากลักเซมเบิร์ก แต่แรกเลยใช้ชื่อว่า แบเซเดอมุส" (Baiser de Mousse) (ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า โฟม คิส (foam kiss)) ต่อมาเปลี่ยนเป็น "เกอเบ็คเด็สลุกเซิมบัวร์เกิร์ส" (Gebäck des Luxemburgers) ("ขนมหวานของชาวลักเซมเบิร์ก") ให้ดูเข้ากับขนมมากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดเปลี่ยนมาเป็นชื่อในภาษาเยอรมันแบบสวิสคือ "ลุกเซิมบัวร์เกอร์ลี" (Luxemburgerli) แปลว่า "ชาวลักเซมเบิร์กตัวน้อย"
เกาหลีใต้
[แก้]มาการงเป็นที่นิยมมากในเกาหลีใต้[23] ที่นี่เรียกว่า "มาคารง" (ออกเสียงแบบภาษาเกาหลี) มีการนำผงชาเขียวหรือใบชาเขียวมาทำมาการงรสชาเขียว[24][25]
ญี่ปุ่น
[แก้]มาการงในญี่ปุ่นก็เป็นที่นิยมมาก ที่นี่เรียกกันว่า "มะกะรง"[26] มีการใช้แป้งถั่วลิสงแทนแอลมอนด์และแต่งรสชาติแบบวะกะชิ (ขนมหวานดั้งเดิมของญี่ปุ่น) มีวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ
ความนิยม
[แก้]ในปารีส ร้านขนมหวานชื่อลาดูว์เร (Ladurée) โด่งดังมากเรื่องมาการงมาเป็นเวลายาวนานถึง 150 ปี[update][27][28] ที่ฝรั่งเศส แมคโดนัลด์วางขายมาการงในแมคคาเฟ่ด้วย (จะเห็นในโฆษณาบางตัวที่มีการเชื่อมโยงระหว่างรูปร่างของเบอร์เกอร์กับมาการง)[27] มาการงของแมคคาเฟ่ผลิตโดยชาโตบล็อง (Château Blanc) ซึ่งคล้ายกับลาดูว์เร เพราะเป็นบริษัทภายใต้ กรุ๊ป โฮลเดอร์ (Groupe Holder) เหมือนกัน แต่สูตรของมาการงของทั้งสองร้านไม่เหมือนกัน[27]
นอกจากที่ยุโรปแล้ว มาการงแบบฝรั่งเศสนี้สามารถหาได้ในแคนาดา[29] และสหรัฐอเมริกา[30][31][32][33]
ในออสเตรเลีย มีอเดรียอาโน ซุมโบรายงานในรายการมาสเตอร์เชฟ ว่า มาการงเป็นขนมที่ถูกใจใครหลาย ๆ คน ถึงขนาดที่มีการวางจำหน่ายในแมคคาเฟ่ของแมคโดนัลด์[34]
มาการงเป็นที่นิยมมากทั่วโลก มีการประกาศให้วันที่ 20 มีนาคมเป็น "วันมาการง" เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ที่ปารีสโดยร้านของปีแยร์ แอร์เม (Pierre Hermé) แต่นั้นมาก็เป็นที่รู้กันไปทั่วโลก ในวันมาการงนี้ ร้านมาการงหลาย ๆ ที่ทั่วโลกจะแจกมาการงลูกค้าฟรีคนละชิ้น ส่วนที่ลูกค้าซื้อเพิ่มจะนำไปบริจาคการกุศลทั้งหมด[35]
ดูเพิ่ม
[แก้]- อัลฟาคอร์ (alfajor) ขนมหวานสเปนที่มีลักษณะคล้ายกัน
- วูปปีพาย (whoopie pie) เค้กแซนด์วิชชิ้นเล็ก ๆ แบบอเมริกัน
บรรณานุกรม
[แก้]- Meyers, Cindy: The Macaron and Madame Blanchez. In: Gastronomica. The Journal of Food and Culture, Vol. 9, No. 2 (Spring 2009), pp. 14–18, University of California Press, online.
- Jurafsky, Dan (16 November 2011). "Macarons, Macaroons, Macaroni. The curious history". Slate.
(About the history of the macaron.)
{{cite magazine}}
: Cite magazine ต้องการ|magazine=
(help)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Henry, Liz (2 May 2010). "Eats: Food quest — Paradise found: The search for the elusive macaron pays off". Sun Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-10. สืบค้นเมื่อ 10 May 2012.
- ↑ Comparison of good and bad recipes on making macarons เก็บถาวร 2012-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Wikimama.com
- ↑ "Macaron". Dessert Eater. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-11. สืบค้นเมื่อ 2014-07-21.
- ↑ 4.0 4.1 "Macaron vs Macaroon". Foodpr0n.com. 26 February 2010. สืบค้นเมื่อ 8 July 2012.
- ↑ "Macarons & Macaroons: What's the Difference?". ChefSteps. 2015. สืบค้นเมื่อ 1 November 2019.
- ↑ "Macarons, Macaroons, Macaroni. The curious history". Slate Magazine.
- ↑ History of Macarons เก็บถาวร 2009-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Madmacnyc.com
- ↑ Introduction to French Macarons
- ↑ The story of the Macaron เก็บถาวร 2010-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Laduree.fr
- ↑ Macarons, the Daddy Mac of Cookies, Fox News
- ↑ Jurafsky, Dan. "Macarons, Macaroons, Macaroni: the curious history". Slate.com. สืบค้นเมื่อ 9 March 2013.
- ↑ Naherny, Michelle. "Photos courtesy of". Honey B's Macarons. สืบค้นเมื่อ 8 July 2014.
- ↑ Nick Rider (1 May 2005). Short Breaks Northern France. New Holland Publishers. p. 135. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-24. สืบค้นเมื่อ 2014-07-21.
- ↑ Press book เก็บถาวร 2006-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Musée de l'Amande et du Macaron, see article La Maison Rannou-Métiviere, July/August 2003.
- ↑ Notre Histoire Maison des soeurs เก็บถาวร 2014-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Achat-nancy.com
- ↑ Hubbeling, Christina. "Wer macht die besten Macarons? (Who makes the best macarons?)". Neue Zürcher Zeitung. Neue Zürcher Zeitung AG. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
- ↑ "Luxemburgerli". Confiserie Sprüngli. Confiserie Sprüngli AG. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-22. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
- ↑ Böhler, Guido. "Macarons: wer macht die besten und schönsten? (Macarons: who makes the best and most attractive ones?)". delikatessenschweiz.ch. foodaktuell.ch. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
- ↑ Malgieri, Nick. "Baking : How to Make a Macaroon". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
- ↑ Gasser, Benno. "Auf der Suche nach dem besten Zürcher Macaron (The search for the best Zurich macaron)". Tages-Anzeiger. Tamedia AG. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
- ↑ Kummer, Corby. "Smackaroon! The Switzerland vs. France Cookie Smackdown". The Atlantic. The Atlantic Monthly Group. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
- ↑ Luxemburgerli – die luftig leichte Versuchung เก็บถาวร 2015-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Spruengli.ch
- ↑ Cha, Daniella: "Macarons: The New Trend for Desserts." Phoenix Plume. The official newspaper for Korea International School, 27 April 2011. Retrieved 8 December 2012.
- ↑ "마카롱,마카롱만드는법" (ภาษาเกาหลี). Naver. 7 August 2011. สืบค้นเมื่อ 8 May 2012.
- ↑ Dr. Grace (17 March 2012). "Green tea French macaron recipe". Graceful Cuisine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-02. สืบค้นเมื่อ 8 May 2012.
- ↑ "ジャン=フィリップ・ダルシー「夏の新作マカロン」" (ภาษาญี่ปุ่น). Fukui News. 9 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-17. สืบค้นเมื่อ 8 May 2012.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 Jargon, Julie (March 2, 2010). "Mon Dieu! Will Newfound Popularity Spoil the Dainty Macaron?". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ December 29, 2010.
- ↑ Reed, M. H. (January 29, 2009). "Macaroon Delight". The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 29, 2010.
- ↑ Chesterman, Lesley (October 11, 2008). "Macaron mania hits Montreal - finally!". The Gazette (Montreal). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-09. สืบค้นเมื่อ December 29, 2010.
- ↑ Denn, Rebekah (October 25, 2009). "French macarons are sweet, light and luscious". The Seattle Times.
- ↑ Greenspan, Dorie (April 1, 2010). "Macarons: New to The Easter Parade This Year". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ December 29, 2010.
- ↑ "Move Over, Cupcake: Make Way For The Macaroon". NPR. February 12, 2010. สืบค้นเมื่อ December 29, 2010.
- ↑ "eggzmacaron". Il est difficile de résister à atteindre pour un autre!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-01. สืบค้นเมื่อ 2021-08-21.
- ↑ Chavassieu, Olivia. "Heaven on Earth". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 7 March 2012.
- ↑ "Macaron Day 2013". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-19. สืบค้นเมื่อ 2014-07-21.
เอกสารเพิ่มเติม
[แก้]- B. Clermont (1776), "Des Macarons; commonly called Macaroni-drops", The professed cook, or, The modern art of cookery, pastry, and confectionary, made plain and easy, London: W. Davis, OCLC 6194222
- Louise-Béate-Augustine Friedel (1811), Le confiseur impérial, ou, L'art du confiseur dévoilé aux gourmands, A Paris: Chez Henri Tardieu ..., OCLC 61172534
- Frances Crawford (1853). "Macarons". French confectionary adapted for English families.
- Emile Herisse (1893), "Macaroons", The art of pastry making, London: Ward, Lock, Bowden
- ChefSteps (2013). "Macarons". ChefSteps Class on French Macarons. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 2014-07-21.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- How To Make French Makaron เก็บถาวร 2014-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน