มะนาต
มะนาต | |
---|---|
เทพีแห่งโชคชะตา โชคลาภ เวลา และความตาย | |
ศูนย์กลางของลัทธิ | มักกะฮ์ |
ที่ประทับ | อัลมุชัลลัล |
สัญลักษณ์ | ดวงจันทร์เสี้ยว, แก้วแห่งความตาย |
เป็นที่นับถือใน | อาระเบีย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | ฮุบัล |
พี่น้อง | อัลลาต, อัลอุซซา |
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น | |
เทียบเท่าในกรีก | อะแนงกี |
มะนาต (อาหรับ: مناة เสียงอ่านภาษาอาหรับ: [maˈnaː(h)] กรรมการก, [maˈnaːt] construct state; บางครั้งทับศัพท์เป็น manāh) เป็นเทพีที่ถูกบูชาในคาบสมุทรอาหรับก่อนการมาของอิสลามและศาสดามุฮัมมัดในมักกะฮ์ พร้อมกับพี่น้องของพระองค์ อัลลาต และอัลอุซซา[1] ในบรรดาพี่น้องของพระองค์ ตัวพระองค์ดั้งเดิมและแก่ที่สุด[2]
เทวรูปของพระองค์ถูกทำลาย หลังจากศาสนาอิสลามเจริญรุ่งเรืองขึ้น และไม่มีใครบูชาพระองค์ในคาบสมุทรอาหรับอีกเลย
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]มีความเป็นไปได้เกี่ยวกับพระนามของเทพีอยู่ 2 แบบ ประการแรก น่าจะมาจากคำว่า "มะนะ"[3] ดังนั้น พระนามของพระองค์มีความหมายว่า "ตัดสินให้" หรืออีกแบบหนึ่งคือ "กำหนด"[3][2] ประการที่สอง มันมาจากคำว่า มะนิยะ แปลว่า "โชคชะตา"[4] ทั้งสองความหมายเหมาะกับหน้าที่ของพระองค์ในฐานะเทพีแห่งโชคชะตา[3][2]
การสักการะ
[แก้]เนื่องจากเป็นเทพีแห่งโชคชะตา โชคลาภ และเวลา[2][5] พระองค์แก่กว่าอัลลาตกับอัลอุซซา เพราะมีการตั้งชื่อถึงพระองค์ เช่น อับดุลมะนาฮ์ หรือซัยด์ มะนาฮ์ ถูกพบก่อนชื่อของอัลลาตหรืออัลอุซซา[6] แต่ทั้งสามเป็นเทพีที่เก่าแก่ที่สุดของมักกะฮ์[6]
วิหารของพระองค์เคยถูกสร้างระหว่างมักกะฮ์กับมะดีนะฮ์บนชายฝั่งของทะเลแดง[7] เช่นที่อัลมุชัลลัล[8] โดยบนูเอาส์กับบนูคอซรอจญ์เป็นเผ่าที่อุทิศแด่เทพีองค์นี้มากที่สุด[8] จากกวีที่น่าจะเขียนโดยอับดุลอุซซา อิบน์ วะดีอะฮ์ อัลมุซานี ไว้ว่า:
... ข้าขอสาบานต่อมะนาต ณ ที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งคอซรอจญ์[1]
ภาพลักษณ์ของพระองค์ในช่วงแรกเป็นภาพไม้ที่ถูกชุ่มไปด้วยเลือดที่เชือดพลี[2] แต่ภาพลักษณ์ที่รู้จักกันมากที่สุดอยู่ที่อัลมุชัลลัล[8] เมื่อชาวอาหรับก่อนการมาของอิสลามจะมาแสวงบุญที่อัลมุชัลลัล พวกเขาจะโกนหัวและยืนต่อหน้าเทวรูปมะนาตสักครู่หนึ่ง[1] พวกเขาถือว่าการแวงบุญจะไม่สมบูรณ์ถ้ายังไม่ไปเยี่ยมเทวรูปพระองค์[1]
เทวรูปของพระองค์อยู่ท่ามกลางเทวรูป 360 องค์ที่กะอ์บะฮ์ รายงานจากอิบน์ อัลกัลบี เมื่อผู้แสวงบุญเดินวนรอบกะอ์บะฮ์ พวกเขาจะสวดต่อพระนามของพระองค์กับพี่น้องของพระองค์ คืออัลลาตกับอัลอุซซา เพื่อให้พรและป้องกันพวกเขา[9]
มะนาตมีหน้าที่เฝ้าหลุมฝังศพ ตามจารึกบนป้ายสุสานที่เขียนว่า "และขอให้ดุชาเราะฮ์กับมะนาตกับก็อยเซาะฮ์สาปแช่งคนที่ขายสุสานนี้ หรือซื้อมัน หรือจำนำมัน หรือให้มันเป็นของขวัญ..."[2]
หลังการมาของอิสลาม
[แก้]ถูกกล่าวในโองการชัยฏอน
[แก้]มีรายงานอยู่หลายสายที่สืบไปยังสายรายงานของมุฮัมมัด อิบน์ กะอับ ที่ถูกลบออกไปสองชั่วรุ่นโดยอิบน์ อิสฮาก โดยมีเรื่องอยู่ว่า ในขณะที่มุฮัมมัดขอให้หมู่ญาติกับเพื่อนบ้านจากมักกะฮ์เข้ารับอิสลาม ตอนที่ท่านอ่านอายะฮ์จากซูเราะฮ์ อันนัจม์[10] ที่เทวทูตญิบรีลประทานไว้ว่า
- แล้วพวกเจ้ามิได้เห็นอัลลาต และอัลอุซซา
- และตัวอื่นคือตัวที่สาม, มะนาต ดอกหรือ?
- (ซูเราะฮ์ที่ 53, 19–20)
ชัยฏอนทำให้ท่านอ่านประโยคอื่นเป็น:
- แท้จริงสามองค์นั้นคือ อัลเฆาะรอนีก ซึ่งการขอร้องจะต้องแสวงหา (ภาษาอาหรับ:تلك الغرانيق العلى وإن شفاعتهن لترتجى.)
ประโยคนั้นมาจากบทสวดมนต์ของพหุเทวนิยมมักกะฮ์ที่กล่าวถึงเทพีทั้งสามในตอนที่เดินวนรอบกะอ์บะฮ์[9]
การทำลายวิหาร
[แก้]ในเดือนเดียวกันที่ส่งคอลิด อิบน์ อัลวะลีดไปทำลายอัลอุซซากับซุวา ซะอัด อิบน์ ซัยด์ อัลอัชฮาลีถูกส่งไปที่อัลมะชัลลัลพร้อมกับทหารม้า 20 นาย[11] เพื่อทำลายเทวรูปที่มีชื่อว่า มะนาต[12] ที่ถูกบูชาโดยพวกพหุเทวนิยมเผ่าเอาส์กับคอสรอจญ์ ตอนไปถึงที่นั่น ได้ปรากฏหญิงผิวดำแก้ผ้าที่มีผมกระเซิง ร้องไห้และตีอกของเธอ ซะอัดฆ่าเธอพร้อมกับทำลายเทวรูปและโลงศพ[13][14][15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Al-Kalbi 2015, p. 13.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Tate 2005, p. 170.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Phipps 1999, p. 22.
- ↑ Griffo 2011, p. 104.
- ↑ Andrae 2012, p. 17.
- ↑ 6.0 6.1 Al-Kalbi 2015, p. 12.
- ↑ Jordan 2014, p. 187.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Papaconstantinou 2016, p. 253.
- ↑ 9.0 9.1 Al-Kalbi 2015, p. 17.
- ↑ (กุรอาน ซูเราะฮ์ที่ 53)
- ↑ Abu Khalil, Shawqi (1 March 2004). Atlas of the Prophet's biography: places, nations, landmarks. Dar-us-Salam. p. 226. ISBN 978-9960-897-71-4.
- ↑ "Obligation to destroy idols - islamqa.info". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-13. สืบค้นเมื่อ 17 December 2014.
- ↑ List of Battles of Muhammad เก็บถาวร 2011-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "The Sealed Nectar". สืบค้นเมื่อ 17 December 2014.
- ↑ "Sa‘d bin Zaid Al-Ashhali was also sent", Witness-Pioneer.com เก็บถาวร 2011-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
สารานุกรม
[แก้]- Al-Kalbi, Ibn (2015). Book of Idols. Princeton University Press. ISBN 9781400876792.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Andrae, Tor (2012). Mohammed: The Man and His Faith. Courier Corporation. ISBN 9780486119090.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Brown, Daniel W. (2011). A New Introduction to Islam. John Wiley & Sons. ISBN 9781444357721.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Griffo, Kedar; Birkley, Michael (2011). Religion, Politics, and Freemasonry: A Violent Attack Against Ancient Africa. lulu.com. ISBN 9780557886005.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help)[แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง] - Jordan, Michael (2014). Dictionary of Gods and Goddesses. Infobase Publishing. ISBN 9781438109855.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Khan, Nasir (2006). Perceptions of Islam in the Christendoms: A Historical Survey. International Specialized Book Service Incorporated. ISBN 9788256015016.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Papaconstantinou, Arietta; Schwartz, Daniel L. (2016). Conversion in Late Antiquity: Christianity, Islam, and Beyond: Papers from the Andrew W. Mellon Foundation. Routledge. ISBN 9781317159735.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Phipps, William E. (1999). Muhammad and Jesus: A Comparison of the Prophets and Their Teachings. A&C Black. ISBN 9780826412072.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Tate, Karen (2005). Sacred Places of Goddess: 108 Destinations. CCC Publishing. ISBN 9781888729177.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - van der Toorn, Karel; Becking, Bob; van der Horst, Pieter (1999). MDictionary of Deities and Demons in the Bible. Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 9780802824912.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Van Donzel, E. J. (1994). Islamic Desk Reference. BRILL. ISBN 9789004097384.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help)