ข้ามไปเนื้อหา

มณฑลนครไชยศรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มณฑลนครไชยศรี
มณฑลเทศาภิบาล
พ.ศ. 2438 – 2475
Flag of มณฑลนครไชยศรี
ธง

เมืองหลวงนครปฐม
การปกครอง
 • ประเภทสมุหเทศาภิบาลต่างพระเนตรพระกรรณ
สมุหเทศาภิบาล 
• พ.ศ. 2438–2441
พระยามหาเทพ (บุตร บุณยรัตพันธุ์) (คนแรก)
• พ.ศ. 2441–2458
เจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร์ (ชม สุนทรารชุน)
• พ.ศ. 2458–2460
พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิรยศิริ)
• พ.ศ. 2466–2468
พระยาสุนทรบุรีศรีพิชัยสงคราม (อี้ กรรณสูต)
• พ.ศ. 2468–2475
หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช (คนสุดท้าย)
ยุคทางประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
• จัดตั้ง
พ.ศ. 2438
• เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลภาคตะวันตก
29 มีนาคม พ.ศ. 2459 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2469
• ยุบรวมกับมณฑลราชบุรี
1 เมษายน พ.ศ. 2475
ก่อนหน้า
ถัดไป
เมืองนครไชยศรี
เมืองสุพรรณบุรี
เมืองสมุทรสาคร
มณฑลราชบุรี
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ไทย

มณฑลนครไชยศรี เป็นมณฑลที่ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2438 เป็นมณฑลขนาดเล็กประกอบด้วยเมืองสุพรรณบุรี เมืองสมุทรสาคร และเมืองนครไชยศรี[1]

ประวัติ

[แก้]

หลังจากที่สยามได้ยกเลิกการปกครองหัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา มาเป็นการบริหารราชการเป็นกระทรวงเพื่อให้แต่ละเมืองมีฐานะเท่า ๆ กัน ภายใต้การดูแลบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย แต่ละเมืองมีผู้กินเมืองส่งไปจากส่วนกลาง จัดให้มีการปกครองส่วนมณฑลเทศาภิบาล ซึ่งเป็นการรวมหัวเมืองในเขตเดียวกัน

มีพระยามหาเทพ (บุตร บุณยรัตพันธุ์) เป็นข้าหลวงใหญ่คนแรก มีที่บัญชาการมณฑลอยู่ที่เมืองนครไชยศรี ตรงบริเวณโรงพยาบาลนครไชยศรี ในปัจจุบัน ต่อมา พ.ศ. 2441 ได้ย้ายที่บัญชาการมณฑลมายังบริเวณอำเภอเมืองนครปฐมในปัจจุบัน โดยได้ซ่อมแซมวังปฐมนครซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งที่ทำการบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ แล้วใช้เป็นที่บัญชาการมณฑล[2]

พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศยกเลิกมณฑนครไชยศรี โดยรวมเข้ากับมณฑลราชบุรี[3]

การปฏิรูป

[แก้]

เมืองนครไชยศรีแบ่งออกเป็น 5 อำเภอ คือ อำเภอตลาดใหม่ อำเภอบางปลา อำเภอพระปฐมเจดีย์ อำเภอกำแพงแสน และอำเภอเมือง เมืองสุพรรณบุรีแบ่งออกเป็น 4 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบางปลาม้า อำเภอบางลี่ และอำเภอบ้านทึง เมืองสมุทรสาครแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอกระทุ่มแบน อำเภอบางโทรัด และอำเภอเมือง[4]

มณฑลนครไชยศรี ได้มีประกาศจัดศาลมณฑลเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 (ร.ศ. 117)[5] มีการวางผังเมืองนครปฐมใหม่ สร้างเมืองใหม่ขึ้นทั้งเมือง ย้ายเมืองไปที่ตำบลพระปฐมเจดีย์ (ระบุว่าย้ายเมื่อ พ.ศ. 2444) ทำที่ป่าให้เป็นถนนหนทาง เช่น ถนนเทศะ ถนนหน้าพระ ถนนขวาพระ และถนนหลังพระ เป็นต้น สร้างที่ทำงานสำหรับราชการ สร้างบ้านพักราชการ สร้างตลาด สร้างเรือนจำกลางและสถานกักกันนครปฐมเมื่อ พ.ศ 2441[6]

ด้านการศึกษา พ.ศ. 2452 จัดให้มีโรงเรียนหลวง มีการจัดการเรียนการสอนในวัดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นอยางเป็นแบบแผนในระดับประถมศึกษา ได้แก่ โรงเรียนพิณพิทยาคาร โรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ โรงเรียนมณฑล โรงเรยนอุตรบำรุง โรงเรียนบรรหารพิทยาคม โรงเรียน วัดไร่ขิง และโรงเรียนวัดบางปลา มีโรงเรียนเชลยศักดิ์ที่เปิดสอนหนังสือไทยและอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2449 ชื่อว่า โรงเรียนบำรุงวิทยาพระปฐมเจดีย์ และจัดตั้งโรงเรียนประจำมณฑลเมื่อ พ.ศ. 2452 ปัจจุบันคือ โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. มณฑลเทศาภิบาล : วิเคราะห์เปรียบเทียบ, 14.
  2. "มณฑลนครไชยศรี" (PDF).
  3. จังหวัดนครปฐม. (2533). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดนครปฐม. 1.
  4. "รายงานข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลนครไชยศรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
  5. "ประวัติศาลจังหวัดนครปฐม". ศาลจังหวัดนครปฐม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-21. สืบค้นเมื่อ 2021-08-21.
  6. "ประวัติความเป็นมาของเรือนจำกลางและสถานกักกันนครปฐม". สถานกักกันนครปฐม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-21. สืบค้นเมื่อ 2021-08-21.
  7. โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย. (2532). 80 ปี พระปฐมวิทยาลัย 2452 - 2532. หน้า 3.

บรรณานุกรม

[แก้]