ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาอุยกูร์เก่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาอุยกูร์เก่า
ประเทศที่มีการพูดอาณาจักรข่านอุยกูร์, โคโช, ราชอาณาจักรอุยกูร์กานโจว
ภูมิภาคมองโกเลีย, ฮามี่, ตูร์ปัน, กานซู่
ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 9–14[1]
พัฒนาเป็นภาษายุคูร์ตะวันตก
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรเตอร์กิกเก่า,[2] อักษรอุยกูร์เก่า
รหัสภาษา
ISO 639-3oui
นักภาษาศาสตร์oui

ภาษาอุยกูร์เก่า (จีนตัวย่อ: 回鹘语; จีนตัวเต็ม: 回鶻語; พินอิน: Huíhú yǔ) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเตอร์กิกที่ใช้พูดในราชอาณาจักรโคโช ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9–14 รวมถึงในบริเวณมณฑลกานซู่

ประวัติ

[แก้]
จารึกภาษาอุยกูร์เก่าบนผนังด้านในทางทิศตะวันออกของจูหยงกวนหยุนไถ
จารึกภาษาอุยกูร์เก่าบนผนังด้านในทางทิศตะวันตกของจูหยงกวนหยุนไถ

ภาษาอุยกูร์เก่ามีวิวัฒนาการมาจากภาษาเตอร์กิกเก่า ซึ่งสืบทอดมาจากภาษาเตอร์กิกไซบีเรีย หลังจากที่อาณาจักรข่านอุยกูร์ล่มสลายและผู้ที่รอดได้อพยพไปยังตูร์ปัน โคมูล (ต่อมาคือฮามี่) และกานซู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 9

ชาวอุยกูร์ในตูร์ปันและโคมูลก่อตั้งราชอาณาจักรโคโชและรับเอาศาสนามาณีกีและศาสนาพุทธเป็นศาสนาของตน ในขณะที่ชาวอุยกูร์ในกานซู่แรกเริ่มก่อตั้งราชอาณาจักรอุยกูร์กานโจว ซึ่งต่อมาอยู่ในอำนาจของอาณาจักรเซี่ยตะวันตก ซึ่งลูกหลานของพวกเขาคือชาวยุคูร์แห่งกานซู่ ภาษายุคูร์ตะวันตกเป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอุยกูร์เก่า[3]

ราชอาณาจักรโคโชดำรงอยู่ได้ต่อไปโดยเป็นรัฐบริวารของจักรวรรดิมองโกล แต่ต่อมาถูกพิชิตโดยจักรวรรดิข่านชากาทายซึ่งเป็นชาวมุสลิม โดยพิชิตตูร์ปันและโคมูลและเปลี่ยนภูมิภาคนี้ให้เป็นอิสลาม ภาษาอุยกูร์เก่าจึงสาบสูญจากตูร์ปันและโคมูล

ภาษาอุยกูร์ซึ่งเป็นภาษาราชการของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากภาษาอุยกูร์เก่า แต่เป็นลูกหลานของกลุ่มภาษาคาร์ลุกที่พูดในอาณาจักรข่านการา-ฆานิด[4] โดยเฉพาะภาษาฆากานีที่ได้รับการอธิบายโดยมะห์มูด อัล-กาชฆอรี (محمود الكاشغري) ภาษาสืบทอดเพียงภาษาเดียวที่ยังคงมีผู้พูดของภาษาอุยกูร์เก่าคือภาษายุคูร์ตะวันตก (Yellow Yughur) ซึ่งมีผู้พูดอยู่ในมณฑลกานซู่ของจีน

ลักษณะเด่น

[แก้]

ภาษาอุยกูร์เก่ามีระบบการนับแบบคาดเดา (anticipating counting system) และการใช้คำเชื่อม dro ซึ่งส่งต่อไปยังภาษายุคูร์ตะวันตก[5]

วรรณกรรม

[แก้]

วรรณกรรมภาษาอุยกูร์เก่าส่วนใหญ่เป็นข้อความทางศาสนาเกี่ยวกับศาสนามาณีกีและศาสนาพุทธ[6] โดยตัวอย่างถูกพบในเอกสารตัวเขียนตุนหวง จารึกหลายภาษารวมทั้งภาษาอุยกูร์เก่าสามารถพบได้ที่จูหยงกวนหยุนไถ (居庸关云台) ชาลาบริเวณด่านจูหยงกวนทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงปักกิ่ง และในศิลาจารึกของสุไลมาน

อักขระ

[แก้]

ราชอาณาจักรโคโชซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 843 เดิมใช้อักษรรูนเตอร์กิกโดยมีสำเนียงพูดแบบ "anïγ" อักษรอุยกูร์เก่าได้รับอิทธิพลมาจากชาวพื้นเมืองในท้องถิ่นที่มีสำเนียง "ayïγ" ซึ่งพวกเขาอพยพมายังตูร์ปันหลังปี ค.ศ. 840[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Old Uighur". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2024.
  2. Marcel Erdal (1991). Old Turkic Word Formation: A Functional Approach to the Lexicon. Otto Harrassowitz Verlag. pp. 5–. ISBN 978-3-447-03084-7.
  3. Clauson 1965, p. 57.
  4. Arik 2008, p. 145
  5. Chen et al, 1985
  6. 西域、 敦煌文献所见回鹊之佛经翻译. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 พฤษภาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2015.
  7. Sinor, D. (1998). "Chapter 13 – Language situation and scripts". ใน Asimov, M.S.; Bosworth, C.E. (บ.ก.). History of Civilisations of Central Asia. Vol. 4. UNESCO Publishing. part II p. 333. ISBN 81-208-1596-3.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Arik, Kagan (2008). Austin, Peter (บ.ก.). One Thousand Languages: Living, Endangered, and Lost (illustrated ed.). University of California Press. ISBN 978-0-520-25560-9. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2014.
  • Chén Zōngzhèn & Léi Xuǎnchūn. 1985. Xībù Yùgùyǔ Jiānzhì [Concise grammar of Western Yugur]. Peking.
  • Clauson, Gerard (April 1965). "Review An Eastern Turki-English Dictionary by Gunnar Jarring". The Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland. Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland (1/2). JSTOR 25202808.
  • Coene, Frederik (8 ตุลาคม 2009). The Caucasus – An Introduction. Taylor & Francis. ISBN 978-0-203-87071-6.

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]