ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาครีโอลมาเก๊า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาครีโอลมาเก๊า
Patuá
ประเทศที่มีการพูดมาเก๊า
จำนวนผู้พูดน้อยกว่า 4,000 คน (ส่วนใหญ่สามารถพูดได้ทั้ง 2 ภาษา)  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ภาษาครีโอลโปรตุเกส
  • ภาษาครีโอลมาเก๊า
รหัสภาษา
ISO 639-2cpp
ISO 639-3mzs

ภาษาครีโอลมาเก๊า (อังกฤษ: Macanese Creole) หรือ ภาษาชนบทมาเก๊า (Macanese Patois) เป็นภาษาลูกผสมที่เกิดจากภาษามลายู ภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาสิงหล และภาษาโปรตุเกส ปัจจุบันเหลือใช้น้อย ชื่อเรียกของภาษานี้ในหมู่ผู้พูดคือ Papia Cristam di Macau ("การพูดของชาวคริสต์ในมาเก๊า") และมีชื่อเรียกทั่วไปว่า Dóci Língu di Macau ("ภาษาหวานแห่งมาเก๊า") และ Doci Papiaçam ("การพูดที่หวาน") ในบทกวี ภาษาโปรตุเกสเรียกภาษานี้ว่า Macaista Chapado ("มาเก๊าแท้"), หรือ Patuá (จากภาษาฝรั่งเศส patois)

ประวัติ

[แก้]

จุดเริ่มต้น

[แก้]

ภาษาครีโอลมาเก๊ากำเนิดขึ้นในมาเก๊าหลังจากที่มาเก๊ากลายเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสเมื่อพุทธศตวรรษที่ 21 ซึ่งทำให้ภาษาโปรตุเกสกลายเป็นภาษาทางการค้าที่สำคัญในเอเชียตะวันออก ภาษานี้พัฒนาขึ้นครั้งแรกในกลุ่มลูกหลานของชาวโปรตุเกสที่แต่งงานกับชาวมลายูในมะละกาและชาวศรีลังกามากกว่าที่จะเป็นชาวจีนในบริเวณใกล้เคียง ทำให้ภาษานี้ได้รับอิทธิพลจากภาษามลายูและภาษาสิงหลมาก ในพุทธศตวรรษที่ 22 ภาษาได้รับอิทธิพลจากการผสมผสานกับภาษาของผู้อพยพ ที่มาจากอาณานิคมของโปรตุเกสอื่นๆในเอเชีย โดยเฉพาะมาจากศรีลังกา มะละกา และอินโดนีเซียที่ถูกดัตช์ยึดครอง รวมทั้งผู้อพยพจากญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาคริสต์

พัฒนาการ

[แก้]

เช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ ภาษาครีโอลมาเก๊ามีการเปลี่ยนแปลงของการใช้งาน ไวยากรณ์ คำศัพท์และประโยคมาก ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของประชากรและปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมในมาเก๊า นักภาษาศาสตร์บางคนได้ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนระหว่างภาษาครีโอลมาเก๊าแบบเดิมที่ใช้พูดจนถึงพุทธศตวรรษที่ 24 และภาษาครีโอลมาเก๊าแบบใหม่ซึ่งเกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 24 ที่มีอิทธิพลจากภาษาจีนกวางตุ้งมาก เนื่องจากชายชาวมาเก๊าได้แต่งงานกับหญิงชาวจีน การครอบครองฮ่องกงของอังกฤษทำให้มีคำศัพท์จากภาษาอังกฤษผ่านเข้ามามาก นอกจากนั้น ยังได้รับคำยืมจากภาษาในประเทศอินเดีย ภาษาสเปน และภาษาจากยุโรปและเอเชียอื่นๆ ทำให้ภาษาครีโอลมาเก๊าเป็นภาษาผสมระหว่างภาษาของยุโรปและเอเชียจำนวนมาก

ความสำคัญทางวัฒนธรรม

[แก้]

ภาษานี้มีบทบาทสำคัญในสังคมมาเก๊าและการพัฒนาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21–24 และเป็นภาษาสำคัญในการสื่อสารของชาวยุโรปที่อยู่ในมาเก๊า ภาษาครีโอลมาเก๊ายังมีผู้พูดเป็นภาษาแม่หลายพันคนในมาเก๊า ฮ่องกง และที่อื่น ๆ ซึ่งเป็นการใช้ภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาโปรตุเกสที่เป็นภาษาราชการของอาณานิคม ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 มีการบังคับให้ใช้ภาษาโปรตุเกสมาตรฐาน ทำให้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาของชนชั้นสูงและภาษาครีโอลมาเก๊าเป็นภาษาของชนชั้นล่าง

สถานะปัจจุบัน

[แก้]

ในช่วงที่เป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ผู้พูดภาษาครีโอลมาเก๊ามีแนวโน้มลดลง แต่เริ่มดีขึ้นหลังจากกลับมาอยู่ภายใต้การปกครองของจีน เนื่องจากเป็นภาษาท้องถิ่นที่ฮ่องกงไม่มี

การจัดจำแนกและภาษาใกล้เคียง

[แก้]

ภาษาครีโอลมาเก๊าเป็นภาษาลูกผสมที่เกิดจากหลายภาษา ทำให้จัดเข้ากลุ่มภาษาหลักๆได้ยาก ใกล้เคียงกับภาษาผสมที่เกิดจากอิทธิพลของภาษาโปรตุเกสและภาษามลายูอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ภาษาคริสตังในมะละกาและภาษาผสมที่เกิดจากภาษาโปรตุเกสที่ตายแล้วในอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับภาษาอินโด-โปรตุเกสอื่นๆในศรีลังกาและอินเดีย

รากศัพท์

[แก้]

ส่วนใหญ่มาจากภาษามลายู โดยผ่านภาษาผสมที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาโปรตุเกสอื่นๆ เช่น sapeca ("เหรียญ") และ copo-copo ("ผีเสื้อ") คำอีกกลุ่มหนึ่งมาจากภาษาสิงหล บางส่วนมาจากภาษาในอินเดีย เช่น fula ("ดอกไม้") และ lacassa ("เส้นหมี่") จากภาษาจีนกวางตุ้ง เช่น amui ("เด็กหญิง") และ laissi ("ของขวัญของเงินสด") จากภาษาอังกฤษ เช่น adap (จาก "hard-up" หมายถึง"มีเงินน้อย") และ afet ("อ้วนt") ภาษาโปรตุเกสที่มีอิทธิพลเป็นสำเนียงโปรตุเกสใต้

ไวยากรณ์

[แก้]

มีทั้งแบบของภาษาในเอเชียและยุโรป กรณีของภาษาในเอเชีย ภาษามาเกาไม่มีคำนำหน้านาม ไม่มีการผันคำกริยา เช่น io sam หมายถึง "ฉันเป็น" และ ele sam หมายถึง "เขาเป็น" ไม่มีการเปล่ยนรูปสรรพนาม io หมายถึง "ฉัน," ทังที่เป็นประธาน กรรม และแสดงความเป็นเจ้าของ รูปแสดงความเป็นเจ้าของใช้เป็นคำคุณศัพท์ เช่น ilotro-sua หมายถึง "ของพวกเขา")

การแสดงเหตุการณ์กำลังกระทำใช้อนุภาค ta ซึ่งอาจมาจากภาษาโปรตุเกส está ("มันเป็น")เหตุการณ์สมบูรณ์แสดงด้วยอนุภาค ja อาจมาจากภาษาโปรตุเกส já ("เดี๋ยวนี้" หรือ "พร้อมแล้ว") การซ้ำคำใช้แสดงรูปพหูพจน์ เช่น casa-casa = "บ้านหลายหลัง" china-china = "ของหรือคนจากเมืองจีนหลายอย่าง" cedo-cedo = "เช้ามาก" รุปแบบนี้ได้มาจากไวยากรณ์ภาษามลายู ภาษานี้ไม่มีระบบการเขียนที่แน่นอน

ตัวอย่างกวีพิพนธ์ภาษาครีโอลมาเก๊า

[แก้]
  แปลเป็นภาษาโปรตุเกส แปลเป็นภาษาไทย
Nhonha na jinela A moça na janela สาวน้อยที่หน้าต่าง
Co fula mogarim Com uma flor de jasmim พร้อมกับดอกมะลิ
Sua mae tancarera     Sua mãe é uma Chinesa pescadora แม่ของเธอเป็นชาวประมงจีน
Seu pai canarim Seu pai é um Indiano Português พ่อของเธอเป็นคนอินเดียเชื้อสายโปรตุเกส

อ้างอิง

[แก้]
  • Batalha, Graciete Nogueira (1974). Língua de Macau: o que foi e o que é. Macau: Centro de Informação e Turismo.
  • Batalha, Graciete Nogueira (1977). Glossário do dialecto macaense: notas lingüísticas, etnográficas, e folclóricas. Coimbra: Instituto de Estudos Românicos.
  • Batalha, Graciete Nogueira (1985). "Situação e perspectivas do português e dos crioulos de origem portuguesa na Ásia Oriental (Macau, Hong Kong, Singapura, Indonesia)". Congresso sobre a situação actual da língua portuguesa no mundo. Lisboa: Instituto de Cultura e Língua Portuguesa, No. 646 vol. 1, 287-303.
  • Batalha, Graciete Nogueira (1988). Suplemento ao glossário do dialecto macaense : novas notas linguísticas, etnográficas e folclóricas. Macau: Instituto Cultural de Macau.
  • Bruning, Harald (2007). "Patua - A procura do reconhecimento internacional." 'Revista Macau,' 16-25. IV Serie - No. 6. Gabinete de Comunicacao Social da Regiao Administrativa Especial de Macau/Delta Edicoes, Lda.
  • Senna Fernandes, Miguel de and Alan Baxter (2004). Maquista Chapado: Vocabulary and Expressions in Macao's Portuguese Creole. Macau: Macau International Institute.
  • Santos Ferreira, José dos (1978). Papiá cristá di Macau: Epitome de gramática comparada e vocabulário: dialecto macaense. Macau: [s.n.]. OCLC 11852962
  • Tomás, Isabel (1988). "O crioulo macaense. Algumas questões". Revista de Cultura 2/2: 36-48.
  • Tomás, Isabel (1990). "Da vida e morte de um crioulo". Revista de Cultura 4/9: 68-79.
  • N.B. A major part of the above article is based on a feature story by Harald Bruning that was published in the Chinese edition of Macau Magazine, produced by Sinofare Co. Ltd for the Macau Government Information Bureau (GCS), in June 2004.