ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ฉายา | ชบาแก้ว | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ | ||
สมาพันธ์ย่อย | เอเอฟเอฟ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) | ||
สมาพันธ์ | เอเอฟซี (เอเชีย) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | หนึ่งฤทัย สระทองเวียน (รักษาการ) | ||
กัปตัน | ศิลาวรรณ อินต๊ะมี | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | วราภรณ์ บุญสิงห์ (142) | ||
ทำประตูสูงสุด | พิสมัย สอนไสย์ (75) | ||
รหัสฟีฟ่า | THA | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 46 2 (25 สิงหาคม 2023)[1] | ||
อันดับสูงสุด | 28 (กรกฎาคม พ.ศ. 2554, มิถุนายน พ.ศ. 2561) | ||
อันดับต่ำสุด | 43 (มีนาคม พ.ศ. 2565) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
ไทย 3–0 สิงคโปร์ (ฮ่องกง; 27 สิงหาคม พ.ศ. 2518) | |||
ชนะสูงสุด | |||
ไทย 14–1 ลาว (นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม; 22 กันยายน พ.ศ. 2555) | |||
แพ้สูงสุด | |||
เกาหลีเหนือ 15–0 ไทย (กรุงเทพ ประเทศไทย; 12 ธันวาคม พ.ศ. 2541) | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 2 (ครั้งแรกใน 2015) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบกลุ่ม (2015, 2019) | ||
เอเชียนคัพ | |||
เข้าร่วม | 17 (ครั้งแรกใน 1975) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1983) |
ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย เป็นทีมฟุตบอลหญิงตัวแทนของประเทศไทย ในการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติภายใต้การบริหารของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ผ่านมามีผลงานในระดับเอเชียคือ การคว้าตำแหน่งชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1983 (พ.ศ. 2526) และชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลซีเกมส์ประเภททีมหญิง 4 สมัย โดยในปัจจุบันทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยได้รับการจัดอันดับจากฟีฟ่าให้อยู่ในอันดับที่ 39 ของโลก[2] ทีมมีฉายาที่เรียกกันในหมู่แฟนกีฬาชาวไทยว่า "ชบาแก้ว"
บุคลากร
[แก้]ผู้ฝึกสอนปัจจุบัน
[แก้]- ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2566
ตำแหน่ง | ชื่อ |
---|---|
รักษาการหัวหน้าผู้ฝึกสอน | หนึ่งฤทัย สระทองเวียน |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน | อัจฉริยะ วณิชชานนท์ สาวิน จรัสเพชรานันท์ กฤษดา พวงมะลิ |
ผู้ฝีกสอนผู้รักษาประตู | เสกสรรค์ เสวกสูตร |
ผู้ฝีกสอนฟิตเนส | โชติวุฒ บุญยะพุกกะนะ |
นักวิเคาะห์การแข่งขัน | กันตะ ฮาชิบะ |
แพทย์ประจำทีม | พญ. ภัทราลักษณ์ อนันตสินกุล |
นักกายภาพ | ไทกิ ไซโตะ ดาภัค รวีธนเวช |
หมอนวด | ชนกพร เฉียงเหนือ |
เจ้าหน้าที่ทีม | สิริชัย กิโมโต สุพัฒน์ พลยุทธภูมิ ศุภกิตติ์ วิเศษอนุพงษ์ ศรายุทธ กล่ำถาวร |
ประวัติ
[แก้]ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยเคยครองแชมป์ซีเกมส์ในปี 1985, 1995, 1997 และ 2007 ส่วนในปี 2005 ทีมชาติทั้งเจ็ดประเทศ ซึ่งได้แก่ บรูไน, ไทย, อินโดนีเซีย, พม่า, ติมอร์ตะวันออก, มาเลเซีย, กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม และสิงคโปร์ ต่างมุ่งหวังที่จะเข้าแข่งขันกีฬาฟุตบอลหญิงที่จัดขึ้นในซีเกมส์ ที่มาริกินาในเดือนธันวาคม[3] โดยทีมฟุตบอลหญิงของไทยไม่ได้รับเหรียญรางวัลในครั้งดังกล่าว
ถึงกระนั้น ในการแข่งขันฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2014 รอบคัดเลือก วันที่ 21 พฤษภาคม ทีมชาติไทยเป็นฝ่ายชนะฟุตบอลหญิงทีมชาติบังกลาเทศ 9 ประตูต่อ 0 [4] ต่อมาในวันที่ 25 พฤษภาคม ทีมชาติไทยเป็นฝ่ายชนะฟุตบอลหญิงทีมชาติอิหร่าน 5 ประตูต่อ 1 และสามารถเข้าสู่ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2014 รอบสุดท้ายได้สำเร็จ[5][6][7] ทั้งนี้ เฮเลนา กอสตา ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติอิหร่าน เคยให้สัมภาษณ์ถึงนักฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยว่า มีทักษะการเล่นที่ยอดเยี่ยม และ ให้การยอมรับว่าฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยไม่เป็นรองทีมชาติใดทั้งในอาเซียนและเอเชีย[8]
สิ่งสืบเนื่อง
[แก้]หลังจากฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยได้รับสิทธิ์เข้าแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2015 ที่ประเทศแคนาดา ทางสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศได้เลือกให้ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย เป็นต้นแบบสำหรับฟุตบอลหญิงทีมชาติในทวีปแอฟริกาทางแถบใต้ ได้ดูเป็นแบบอย่าง[9][10]
ผลงาน
[แก้]ในฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย ทีมชาติไทยชนะเลิศ 1 ครั้ง ในปี 1983 และได้รองชนะเลิศ 3 ครั้ง ในปี 1975, 1977 และ 1981
- 1975 - รองชนะเลิศ
- 1977 - รองชนะเลิศ
- 1979 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 1981 - รองชนะเลิศ
- 1983 - ชนะเลิศ
- 1986 - อันดับสาม
- 1989 - รอบแรก
- 1991 - รอบแรก
- 1993 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 1995 - รอบแรก
- 1997 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 1999 - รอบแรก
- 2001 - รอบแรก
- 2003 - รอบแรก
- 2006 - รอบแรก
- 2008 - รอบแรก
- 2010 - รอบแรก
- 2014 - อันดับ 5
- 2018 - อันดับ 4
- 2022 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
- 2006 - อันดับสาม
- 2007 - รองชนะเลิศ
- 2008 - อันดับสาม
- 2011 - ชนะเลิศ
- 2012 - อันดับสาม
- 2013 - รอบแบ่งกลุ่ม
- 2015 - ชนะเลิศ
- 2016 - ชนะเลิศ
- 2018 - ชนะเลิศ
- 2019 - รองชนะเลิศ
- 2022 - รองชนะเลิศ
- เหรียญทอง 5 ครั้ง - ครั้งที่ 13 (ไทย), ครั้งที่ 18 (ไทย), ครั้งที่ 19 (อินโดนีเซีย), ครั้งที่ 24 (ไทย), ครั้งที่ 27 (พม่า)
- เหรียญเงิน 5 ครั้ง - ครั้งที่ 21 (มาเลเซีย), ครั้งที่ 25 (ลาว), ครั้งที่ 29 (มาเลเซีย), ครั้งที่ 30 (ฟิลิปปินส์), ครั้งที่ 31 (เวียดนาม)
ฟุตบอลเยาวชนหญิง
[แก้]- ฟุตบอลโลกหญิงอายุไม่เกิน 20 ปี - 2004 FIFA U-19 World Cup ร่วมเล่น ในปี ค.ศ. 2004 ในฐานะเจ้าภาพ
- ฟุตบอลเอเชียเยาวชนหญิง ยู 17 - อันดับสาม - 2005 (เกาหลีใต้)
เอเชียนเกมส์
[แก้]- 2018 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]รายชื่อผู้เล่น 23 คนสำหรับการแข่งขัน ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022
จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 9 เมษายน 2564
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | วราภรณ์ บุญสิงห์ | 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 | 155 | 0 | บีจี-บัณฑิตเอเชีย |
18 | GK | โชติมณี ทองมงคล | 12 มกราคม ค.ศ. 1999 | 1 | 0 | ชลบุรี เอฟเอ |
22 | GK | ทิฟฟานี สอนเผ่า | 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 | 4 | 0 | บรอนด์บี้ ไอเอฟ วูเมนส์ |
2 | DF | กาญจนาพร แสนคุณ | 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1996 | 24 | 0 | บีจี-บัณฑิตเอเชีย |
4 | DF | พรพิรุณ พิลาวัน | 8 เมษายน ค.ศ. 1999 | 10 | 0 | บีจี-บัณฑิตเอเชีย |
5 | DF | อมรรัตน์ อุดไชย | 4 กันยายน ค.ศ. 1994 | 1 | 0 | บีจี-บัณฑิตเอเชีย |
9 | DF | วารุณี เพ็ชรวิเศษ | 13 ธันวาคม ค.ศ. 1990 | 100 | 0 | เอ็มเอช นครศรี เลดี้ |
10 | DF | สุนิสา สร้างไธสง | 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 | 152 | 15 | บีจี-บัณฑิตเอเชีย |
11 | DF | จารุวรรณ ไชยรักษ์ | 23 เมษายน ค.ศ. 1990 | 10 | 3 | ชลบุรี เอฟเอ |
16 | DF | อุไรพร ยงกุล | 17 สิงหาคม ค.ศ. 1998 | 1 | 0 | บีจี-บัณฑิตเอเชีย |
19 | DF | พิสมัย สอนไสย์ | 19 มกราคม ค.ศ. 1989 | 115 | 75 | ไถจงบลูเวล |
3 | MF | อิรวดี มาครีส | 20 มกราคม ค.ศ. 1992 | 3 | 1 | เอ็มเอช นครศรี เลดี้ |
6 | MF | พิกุล เขื่อนเพ็ชร | 20 กันยายน ค.ศ. 1988 | 115 | 2 | บีจี-บัณฑิตเอเชีย |
7 | MF | ศิลาวรรณ อินต๊ะมี | 22 มกราคม ค.ศ. 1994 | 85 | 15 | ไถจงบลูเวล |
8 | MF | นิภาวรรณ ปัญโญสุข | 15 มีนาคม ค.ศ. 1995 | 20 | 2 | ชลบุรี เอฟเอ |
12 | MF | ณัฐวดี ปร่ำนาค | 9 ตุลาคม ค.ศ. 2000 | 12 | 2 | เอซี นางาโนะ ปาร์เซโร เลดีส์ |
15 | MF | อรพินท์ แหวนเงิน | 7 ตุลาคม ค.ศ. 1995 | 22 | 0 | บีจี-บัณฑิตเอเชีย |
20 | MF | วิลัยพร บุตรด้วง | 25 มิถุนายน ค.ศ. 1987 | 98 | 28 | ทหารอากาศ |
21 | MF | ชัชวัลย์ รอดทอง | 22 มิถุนายน ค.ศ. 2002 | 2 | 0 | กรุงเทพมหานคร |
13 | FW | กัญญาณัฐ เชษฐบุตร | 24 กันยายน ค.ศ. 1999 | 17 | 7 | บีจี-บัณฑิตเอเชีย |
14 | FW | เสาวลักษ์ เพ็งงาม | 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1996 | 20 | 10 | ไถจงบลูเวล |
17 | FW | ธนีกานต์ แดงดา | 15 ธันวาคม ค.ศ. 1992 | 80 | 32 | เอซี นางาโนะ ปาร์เซโร เลดีส์ |
ที่เคยถูกเรียกตัว
[แก้]รายชื่อผู้เล่นที่เคยถูกเรียกตัวติดทีมชาติไทยในรอบ 12 เดือนล่าสุด :
ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร | ถูกเรียกครั้งล่าสุด |
---|---|---|---|---|---|---|
GK | ญาดา เซ่งย่อง | 10 กันยายน ค.ศ. 1993 | 3 | 0 | เอ็มเอช นครศรี เลดี้ | ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก |
GK | ณัฐรุจา มุทนาเวช | 21 สิงหาคม ค.ศ. 1996 | 0 | 0 | บีจี-บัณฑิตเอเชีย | ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก (เก็บตัวฝึกซ้อม) |
GK | สลิตา สุทธิบูลย์ | 10 มกราคม ค.ศ. 1997 | 0 | 0 | ทหารอากาศ | ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก (เก็บตัวฝึกซ้อม) |
DF | ทิพกฤตา อ่อนสมัย | บีจี-บัณฑิตเอเชีย | ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก (เก็บตัวฝึกซ้อม) | |||
DF | ปณิฏฐา จีรัตนะภวิบูล | 0 | 0 | กรุงเทพมหานคร | ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก (เก็บตัวฝึกซ้อม) | |
DF | ขวัญฤดี แสงจันทร์ | 10 กันยายน ค.ศ. 1993 | 50 | 2 | บีจี-บัณฑิตเอเชีย | ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก (เก็บตัวฝึกซ้อม) |
DF | อินทร์อร พันธุ์ชาRET | ชลบุรี เอฟเอ | ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก (เก็บตัวฝึกซ้อม) | |||
MF | พลอยชมพู สมนึก | 26 ธันวาคม ค.ศ. 2002 | 2 | 0 | บีจี-บัณฑิตเอเชีย | ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก |
FW | จณิสตา จินันทุยา | โรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี | ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก | |||
FW | อลิษา รักพินิจ | 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 | ชลบุรี เอฟเอ | ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก (เก็บตัวฝึกซ้อม) | ||
FW | กาญจนา สังข์เงิน | กรุงเทพมหานคร | ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก (เก็บตัวฝึกซ้อม) | |||
Notes
|
กัปตันทีม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ทำเนียบผู้ฝึกสอน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- พ.ศ. 2558 - รางวัลนักกีฬาหญิงที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา (MThai Top Talk-About Sportswomen) [11]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The FIFA/Coca-Cola Women's World Ranking". FIFA. 25 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023.
- ↑ "อันดับทีมไทยจากฟีฟ่า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-20. สืบค้นเมื่อ 2013-06-12.
- ↑ Tandoc Jr., Edson C. (13 April 2005). "Tourism boost for Marikina". Philippine Daily Inquirer. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
- ↑ "แข้งสาวไทย" ฟอร์มดุยำบังกลาเทศเละ 9-0
- ↑ "สาวไทยถล่มอิหร่าน 5-1 ซิวตั๋วอช.คัพ 2014 : INN News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-07-05.
- ↑ นิสาแฮตทริก! แข้งสาวไทยลิ่วรอบ 2 ถล่ม'อิหร่าน' 5-1 - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- ↑ สาวไทยรัวอิหร่านยับศึกเอเอฟซีวีเมนฯ - เดลินิวส์
- ↑ "เปิดประตูสู่อาเซียน (กีฬา) : บันไดก้าวต่อไป ของฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2013-07-05.
- ↑ "ฟีฟ่าเลือกแข้งสาวไทยเป็นโมเดลพัฒนาชาติแอฟริกา - ไทยลีกออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-12. สืบค้นเมื่อ 2014-06-15.
- ↑ 'ฟีฟ่า' ยกแข้งสาว 'ไทยแลนด์โมเดล' หลังหยิบตั๋วบอลโลก - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- ↑ "บทสรุป!! นักกีฬาชาย-หญิง ที่ถูกพูดถึงมากสุด MThai Top Talk-About 2015". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-15. สืบค้นเมื่อ 2015-03-13.
สถิติ
[แก้]- ข้อมูลสถิติฟุตบอลเอเชีย จาก rsssf.com
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ เก็บถาวร 2019-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาไทย)
- FIFA profile