ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลทีมชาติไทยในฟุตบอลโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผลงานทีมชาติไทย ในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
  จำนวนทีมผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในโซนเอเชีย
  อันดับของทีมชาติไทย
  จำนวนทีมทั้งหมดที่ร่วมแข่งขันรอบคัดเลือก

ผลงานของทีมชาติไทยในฟุตบอลโลกนั้น ยังไม่ประสบความสำเร็จ โดยทีมชาติไทยเริ่มร่วมแข่งขันครั้งแรกใน ฟุตบอลโลก 1974 รอบคัดเลือก ในปี พ.ศ. 2517 ครั้งแรกและเข้าร่วมตลอดจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าทีมไทยจะยังไม่สามารถผ่านรอบคัดเลือกได้ ผลงานที่ดีสุดของทีมไทยในรอบคัดเลือก คือ ใน ฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือก และ ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โดยในฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือกทีมชาติไทยได้อันดับหนึ่งในรอบแบ่งสาย และผ่านเข้าร่วมเล่นในรอบคัดเลือกรอบสองเป็นครั้งแรก แต่ก็ยังไม่สามารถผ่านรอบคัดเลือกรอบสองเพื่อเข้าแข่งขันในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้ และในฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือกทีมชาติไทยได้เข้ารอบไปเล่นรอบสองทันทีและได้อันดับหนึ่ง เข้ารอบสาม แต่ก็ยังไม่สามารถผ่านรอบคัดเลือกรอบสามเพื่อเข้าแข่งขันในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้

ฟุตบอลโลก 1974

[แก้]

ในรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 1974 ที่แข่งขันที่เยอรมนีตะวันตก ทางฟีฟ่ากำหนดให้ ทีมจากเอเอฟซีและโอเอฟซี เข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลกได้ 1 ประเทศ โดยในฟุตบอลโลกคราวนั้น มีประเทศร่วมแข่งขันทั้งหมด 18 ประเทศ ก่อนเริ่มการแข่งขัน อินเดีย ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ ได้ถอนตัวไป ทำให้เหลืออยู่ 15 ประเทศ โดยการแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 สาย ตามภูมิศาสตร์และสภาพทางการเมืองขณะนั้น ทีมชาติไทยถูกจัดให้อยู่ใน สาย A-2 ซึ่งประกอบไปด้วย อิสราเอล เกาหลีใต้ มาเลเซีย และ ไทย โดยเอาอันดับ 1 และ 2 ของแต่ละกลุ่มเข้าไปเล่นรอบคัดเลือกต่อไป ซึ่งในการแข่งขันครั้งนี้ ไทย แพ้ 3 นัดติดต่อกัน อยู่ในอันดับสุดท้ายทำให้ไม่ผ่านรอบคัดเลือกรอบแรก

ฟุตบอลโลก 1978

[แก้]

ในรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 1978 ที่แข่งขันที่อาร์เจนตินา ทางฟีฟ่ากำหนดให้ ทีมจากเอเอฟซีและโอเอฟซี เข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลกได้ 1 ประเทศ โดยในฟุตบอลโลกคราวนั้น มีประเทศร่วมแข่งขันทั้งหมด 22 ประเทศ ในการแข่งขันนี้แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม โดยทีมชาติไทยอยู่กลุ่มที่ 1 ซึ่งประกอบไปด้วย ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ไทย จัดการแข่งขันที่ประเทศสิงค์โปร์ โดยเอาอันดับ 1 แต่ละกลุ่มเข้าไปเล่นรอบคัดเลือกต่อไป ในการแข่งขันครั้งนี้ ไทย ชนะ 1 ครั้ง และ แพ้ 3 ครั้ง จบในอันดับสุดท้าย ทำให้ไม่ผ่านรอบคัดเลือกรอบแรก และเป็นการชนะครั้งแรกของทีมชาติไทยในการแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกโดยพบอินโดนีเซียด้วยจำนวนประตู 3-2

ฟุตบอลโลก 1982

[แก้]

ในรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 1982 ที่แข่งขันที่สเปน ทางฟีฟ่ากำหนดให้ ทีมจากเอเอฟซีและโอเอฟซี เข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลกได้ 2 ประเทศ เนื่องจากทีมที่ร่วมเล่นทั่วโลกเพิ่มจาก 16 เป็น 24 ประเทศ โดยในรอบคัดเลือกโซนเอเชียและโอเชียเนียคราวมีประเทศร่วมแข่งขันทั้งหมด 21 ประเทศ ซึ่งก่อนเริ่มการแข่งขัน อิหร่านได้ถอนตัว ทำให้เหลืออยู่ 20 ประเทศ ในการแข่งขันนี้แบ่งออกเป็น 5 สาย โดยเอาอันดับ 1 แต่ละกลุ่มเข้าไปเล่นรอบคัดเลือกต่อไป ทีมชาติไทยอยู่ในกลุ่มที่ 3 ซึ่งประกอบไปด้วย คูเวต(เจ้าภาพ) เกาหลีใต้ มาเลเซีย และ ไทย ในการแข่งขันครั้งนี้ ไทย เสมอ 1 ครั้ง และ แพ้ 2 ครั้ง จบการแข่งขันในอันดับสุดท้ายของกลุ่มทำให้ไม่ผ่านรอบคัดเลือก

ฟุตบอลโลก 1986

[แก้]

ในรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 1986 ที่แข่งขันที่เม็กซิโก ทางฟีฟ่ากำหนดให้ ทีมจากเอเอฟซีเข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลกได้ 2 ประเทศ โดยในฟุตบอลโลกคราวนั้นได้แยกรอบคัดเลือกทีมจากโอเชียเนียออก ซึ่งในโซนเอเชียมีประเทศร่วมแข่งขันทั้งหมด 27 ประเทศ ในการแข่งขันนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ และแบ่งย่อยออกไป โดยทีมชาติไทยอยู่ในกลุ่ม3B ซึ่งประกอบไปด้วย อินโดนีเซีย อินเดีย ไทย และ บังกลาเทศ โดยเอาอันดับ 1 แต่ละกลุ่มเข้าไปเล่นรอบคัดเลือกต่อไป ซึ่งในครั้งนี้ไทยชนะ 1 เสมอ 2 และแพ้ 3 ครั้ง จบการแข่งขันในอันดับ 3 ทำให้ไม่ผ่านรอบคัดเลือกรอบแรก ถือเป็นการชนะครั้งที่ 2 ของทีมชาติไทยในการแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกโดยชนะบังกลาเทศ ด้วยจำนวนประตู 3-0 (เหย้า)

ฟุตบอลโลก 1990

[แก้]

ในรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 1990 ที่แข่งขันที่อิตาลี ทางฟีฟ่ากำหนดให้ ทีมจากเอเอฟซีเข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลกได้ 2 ประเทศ มีประเทศร่วมแข่งขันทั้งหมด 26 ประเทศ ในการแข่งขันนี้แบ่งออกเป็น 6 สาย โดยทีมชาติไทยอยู่สาย E ซึ่งประกอบไปด้วย จีน อิหร่าน บังกลาเทศ และ ไทย โดยเอาอันดับ 1 แต่ละกลุ่มเข้าไปเล่นรอบคัดเลือกต่อไป ซึ่งในครั้งนี้ไทยชนะ 1 และแพ้ 5 ครั้ง อยู่ในอันดับสุดท้าย ทำให้ไม่ผ่านรอบคัดเลือกรอบแรก

ฟุตบอลโลก 1994

[แก้]

ในรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 1994 ที่แข่งขันที่สหรัฐอเมริกา ทางฟีฟ่ากำหนดให้ ทีมจากเอเอฟซีเข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลกได้ 2 ประเทศ มีประเทศร่วมแข่งขันทั้งหมด 29 ประเทศ ในการแข่งขันนี้แบ่งออกเป็น 6 สาย โดยทีมชาติไทยอยู่สาย F ซึ่งประกอบไปด้วย ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไทย บังกลาเทศ และ ศรีลังกา โดยเอาอันดับ 1 แต่ละกลุ่มเข้าไปเล่นรอบคัดเลือกต่อไป ซึ่งในครั้งนี้ไทยชนะ 4 และแพ้ 4 ครั้ง ได้ 8 คะแนนอยู่ในอันดับที่ 3 ไม่ผ่านรอบคัดเลือกรอบแรก

ฟุตบอลโลก 1998

[แก้]

ในรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 1998 ที่แข่งขันที่ฝรั่งเศส ทางฟีฟ่ากำหนดให้ ทีมจากเอเอฟซีเข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลกได้ 3.5 ประเทศ (ทีมที่สี่จะแข่งเพลย์ออฟกับทีมจากโอเอฟซี) การเพิ่มจำนวนนี้เนื่องจากทีมที่ร่วมเล่นทั่วโลกเพิ่มจาก 24 เป็น 32 ประเทศ มีประเทศร่วมแข่งขันทั้งหมด 36 ประเทศ ในการแข่งขันนี้แบ่งออกเป็น 10 สาย โดยทีมชาติไทยอยู่สาย 6 ซึ่งประกอบไปด้วย เกาหลีใต้ ไทย และ ฮ่องกง ซึ่งในครั้งนี้ไทยชนะ 1 เสมอ 1 และแพ้ 2 ครั้ง ทำให้ไม่ผ่านรอบคัดเลือกรอบแรก

ฟุตบอลโลก 2002

[แก้]

ในรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 2002 ที่แข่งขันที่ เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ทางฟีฟ่ากำหนดให้ ทีมจากเอเอฟซีเข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลกได้ 4.5 ประเทศ (ทีมที่ห้าจะแข่งเพลย์ออฟกับทีมจากยูฟ่า) แต่เนื่องจากเกาหลีใต้และญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจึงผ่านเข้าเล่นไปทำให้เหลือทีมที่ร่วมเล่นได้ 2.5 ทีม มีประเทศร่วมแข่งขันทั้งหมด 40 ประเทศ ในการแข่งขันนี้แบ่งออกเป็น 10 สาย โดยทีมชาติไทยอยู่สาย 5 ซึ่งประกอบไปด้วยไทย เลบานอน ศรีลังกา และ ปากีสถาน ซึ่งในครั้งนี้ไทยชนะ 5 เสมอ 1 ครั้ง ทำให้ผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบที่สอง

ในรอบคัดเลือกรอบที่ 2 แบ่งออกเป็น 2 สาย สายละ 5 ประเทศ ไทยได้อยู่สาย A ซึ่งประกอบไปด้วย ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน บาห์เรน อิรัก และ ไทย ซึ่งในครั้งนี้ไทยเสมอ 4 และแพ้ 4 ครั้ง ทำให้ไทยไม่ผ่านรอบคัดเลือก

ฟุตบอลโลก 2006

[แก้]

ในรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 2006 ที่แข่งขันที่ เยอรมนี ทางฟีฟ่ากำหนดให้ ทีมจากเอเอฟซีเข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลกได้ 4.5 ประเทศ (ทีมที่ห้าจะแข่งเพลย์ออฟกับทีมจากคอนแคแคฟ) มีประเทศร่วมแข่งขันทั้งหมด 39 ประเทศ ในการแข่งขันนี้แบ่งออกเป็น 3 รอบ โดย 6 ประเทศที่อันดับฟีฟ่าอยู่ในระดับล่างได้มาแข่งในรอบแรก โดยทีมไทยได้ไปรอแข่งขันในรอบที่สอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มๆละ 4 ทีม โดยเอาอันดับ 1 แต่ละกลุ่มเข้าไปเล่นรอบคัดเลือกต่อไป ทีมชาติไทยอยู่กลุ่มที่ 5 ซึ่งประกอบไปด้วย เกาหลีเหนือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไทย และ เยเมน ซึ่งในครั้งนี้ไทยชนะ 2 เสมอ 1 แพ้ 3 ครั้งอยู่ในอันดับที่ 3 ไม่ผ่านรอบคัดเลือกรอบสอง (หมายเหตุ ชัยชนะ 2 ครั้ง ประกอบด้วย ชนะ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 3-0 (เหย้า) และ ชนะ เยเมน 3-0 (เยือน))

ฟุตบอลโลก 2010

[แก้]

ในรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 2010 ที่แข่งขันที่ แอฟริกาใต้ ทางฟีฟ่ากำหนดให้ ทีมจากเอเอฟซีเข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลกได้ 4.5 ประเทศ (ทีมที่ห้าจะแข่งเพลย์ออฟกับทีมจากโอเอฟซี) มีประเทศร่วมแข่งขันทั้งหมด 43 ประเทศ โดยทีมมือวางอันดับ 6-43 ได้มาแข่งในรอบแรก ไทย ซึ่งเป็นมือวางอันดับ 19 จึงพบกับ มาเก๊า มือวางอันดับ 34 ผลคือ ไทยชนะมาเก๊าด้วยผลประตูรวม 13-2

แต่เนื่องจากเมื่อเทียบอันดับมือวางของทีมที่เข้ารอบมาด้วยกันแล้ว ไทยเป็นทีมมือวางในอันดับ 15 ทำให้ต้องแข่งรอบคัดเลือกรอบที่ 2 พบกับ เยเมน ผลคือ ไทยชนะเยเมนด้วยผลประตูรวม 2-1

ในรอบคัดเลือก รอบที่ 3 แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มๆละ 4 ประเทศ โดยเอาอันดับ 1 และ 2 ของแต่ละกลุ่มเข้าไปเล่นรอบคัดเลือกต่อไป ไทยได้อยู่ในสาย 2 ร่วมกับ ญี่ปุ่น,บาห์เรน และโอมาน ซึ่งในครั้งนี้ไทย เสมอ 1 แพ้ 5 ครั้ง อยู่ในอันดับสุดท้ายของกลุ่ม ไม่ผ่านรอบคัดเลือก รอบที่ 3

ฟุตบอลโลก 2014

[แก้]

ในรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 2014 ที่แข่งขันที่ บราซิล ทางฟีฟ่ากำหนดให้ ทีมจากเอเอฟซีเข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลกได้ 4.5 ประเทศ (ทีมที่ห้าจะแข่งเพลย์ออฟกับทีมจากคอนเมบอล) มีประเทศร่วมแข่งขันทั้งหมด 43 ประเทศ โดยทีมมือวางอันดับ 28-43 ในรอบแรก ส่วนมือวางอันดับ 6-27 ได้บายและรอพบผู้ชนะจากรอบแรก ไทย ซึ่งเป็นมือวางอันดับ 18 จึงได้บายในรอบแรกและพบกับ ปาเลสไตน์ มือวางอันดับ 37 ในรอบที่ 2 ผลคือ ไทยชนะปาเลสไตน์ด้วยประตูรวม 3-2

ในรอบคัดเลือก รอบที่ 3 แบ่งออกเป็น 5 สาย สายละ 4 ประเทศ ไทยได้อยู่ในสาย D ร่วมกับ ออสเตรเลีย, ซาอุดิอาระเบีย และโอมาน โดยเอาอันดับ 1 และ 2 ของแต่ละทีมเข้าไปเล่นรอบคัดเลือกต่อไป ซึ่งไทยชนะ 1 เสมอ 1 แพ้ 4 ครั้งอยู่ในอันดับสุดท้ายของกลุ่ม ไม่ผ่านรอบคัดเลือก รอบที่ 3 (หมายเหตุ 1 นัดที่ทีมไทยชนะในรอบนี้ คือ นัดที่เตะในบ้านพบกับโอมานด้วยผลการแข่งขัน 3-0 )

ฟุตบอลโลก 2018

[แก้]

ในรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 2018 ที่แข่งขันที่ รัสเซีย ทางฟีฟ่ากำหนดให้ทีมจากเอเอฟซีเข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลกได้ 4.5 ประเทศ (ทีมที่ห้าจะแข่งเพลย์ออฟกับทีมจากคอนคาแคฟ) มีประเทศร่วมแข่งขันทั้งหมด 43 ประเทศ โดยอันดับ 35-46 จะต้องแข่งในรอบแรกก่อน ส่วนอันดับ 1-34 จะไปรอพบผู้ชนะจากรอบแรกในรอบที่ 2 ไทยซึ่งเป็นมือวางอันดับ...

ในรอบคัดเลือก รอบที่ 2 แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มๆละ 5 ประเทศ ยกเว้นกลุ่ม F ซึ่งไทยอยู่และกลุ่ม G ที่อินโดนีเซียและคูเวตถูกฟีฟ่าแบน ทำให้ 2 กลุ่มนี้เหลือ 4 ประเทศ และเหลืออยู่ในรอบที่ 2 เพียง 38 ประเทศ โดยกลุ่ม F ไทยอยู่ร่วมกับ อิรัก, เวียดนาม และ ไต้หวัน โดยผลงานของทีมชาติไทยในรอบนี้แข่งไป 6 นัด ชนะ 4 เสมอ 2 เป็นที่หนึ่งของกลุ่มผ่านเข้ารอบรอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 3 ต่อไป

ในรอบคัดเลือก รอบที่ 3 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ทีม โดยเอาอันดับ 1 และ 2 ของแต่ละทีมเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ส่วนอันดับ 3 ไปเล่นตัดเชือกกับทีมอันดับ 3 ของอีกกลุ่มในรอบคัดเลือก รอบที่ 4 โดยไทยอยู่ในกลุ่ม B ร่วมกับญี่ปุ่น, ซาอุดิอาระเบีย, ออสเตรเลีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอิรัก ในรอบนี้ไทย เสมอ 2 แพ้ 8 ครั้งอยู่ในอันดับสุดท้ายของกลุ่ม ไม่ผ่านรอบคัดเลือก รอบที่ 3

สถิติ

[แก้]
สถิติฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย สถิติรอบคัดเลือก
ปี ประเทศเจ้าภาพ ผลการแข่งขัน ลำดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
1930  อุรุกวัย ปฏิเสธเข้าร่วม ใช้วิธีส่งเทียบเชิญ
1934  อิตาลี ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม
1938  ฝรั่งเศส
1950  บราซิล
1954  สวิตเซอร์แลนด์
1958  สวีเดน
1962  ชิลี
1966  อังกฤษ
1970  เม็กซิโก
1974  เยอรมนีตะวันตก ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 4 0 0 4 0 12
1978  อาร์เจนตินา 4 1 0 3 8 12
1982  สเปน 3 0 1 2 3 13
1986  เม็กซิโก 6 1 2 3 4 4
1990  อิตาลี 6 1 0 5 2 14
1994  สหรัฐ 8 4 0 4 13 7
1998  ฝรั่งเศส 4 1 1 2 5 6
2002  เกาหลีใต้
 ญี่ปุ่น
14 5 6 4 25 20
2006  เยอรมนี 6 2 1 3 9 10
2010  แอฟริกาใต้ 10 3 2 5 5 14
2014  บราซิล 8 3 1 4 4 8
2018  รัสเซีย 16 4 4 8 20 30
2022  กาตาร์ 8 2 3 3 9 9
2026  แคนาดา
 เม็กซิโก
 สหรัฐ
6 2 2 2 9 9
2030  สเปน
 โปรตุเกส
 โมร็อกโก
 อุรุกวัย
 ปารากวัย
 อาร์เจนตินา
การแข่งขันในอนาคต การแข่งขันในอนาคต
2034  ซาอุดีอาระเบีย การแข่งขันในอนาคต การแข่งขันในอนาคต
รวม ไม่เคยเข้าร่วม 0/23 0 0 0 0 0 0 103 29 23 52 116 168

อ้างอิง

[แก้]

สถิติ จาก rsssf.com

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]