ฟาโรห์เมริบเร
เซธ เมอร์อิบเร | |||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เซต | |||||||||||||||||||||||||
จารึกที่ถูกช่วงชิงที่ไรโฮลท์ได้เชื่อมโยงกับฟาโรห์เซธ เมอร์อิบเร[1] | |||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | น้อยกว่า 10 ปี ซึ่งอาจจะน้อยกว่า 5 ปี และสิ้นสุดรัชสมัยเมื่อ 1749 ปีก่อนคริสตกาล[1] | ||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เซเฮเทปคาเร อินเทฟ | ||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | โซเบคโฮเทปที่ 3 | ||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบสาม |
เซธ เมอร์อิบเร เป็นผู้ปกครองที่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับพระองค์น้อยมากในช่วงสมัยราชวงศ์ที่สิบสาม
พระองค์อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์ที่ยี่สิบสี่ และทรงครองราชย์ที่เมืองเมมฟิส และสิ้นสุดรัชสมัยเมื่อ 1749 ปีก่อนคริสตกาล[1] หรือประมาณราว 1700 ปีก่อนคริสตกาล[2] ระยะเวลาของการครองราชย์ของพระองค์นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่นักไอยคุปต์วิทยา คิม ไรโฮลท์ สันนิษฐานว่าพระองค์จะทรงครองราชย์ในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ถึงสิบปี[1]
หลักฐานยืนยัน
[แก้]ปรากฏพระนามของพระองค์ในบันทึกพระนามแห่งตูรินในคอลัมน์ที่ 7 แถวที่ 23 (ส่วนการพิจารณาของอลัน การ์ดิเนอร์และเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธจะอยู่ที่คอลัมน์ที่ 6 แถวที่ 23)[3]
ไรโฮลท์ได้เสนอเกี่ยวกับจารึก รหัส JE35256 ซึ่งค้นพบในอไบดอส และปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ เดิมทีจารึกไว้ด้วยพระนามประสูติ พระองค์นำหน้า และพระนามฮอรัสของพระองค์ไว้ ซึ่งบันทึกช่วงเวลาไว้ที่ ปีที่สี่แห่งการครองราชย์ แต่ต่อมาจารึกดังกล่าวได้ถูกแย่งชิงโดยฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 1[1] ก่อนหน้านี้ นักประวัติศาสตร์ แอนโธนี ลีฮี[4] ได้แย้งว่าจารึกดังกล่าวโปรดให้สร้างขึ้นโดยฟาโรห์เวกาฟ แทนที่จะเป็นพระองค์ ซึ่งเป็นความคิดเห็นที่ดาร์เรล เบเกอร์มีร่วมกัน[3]
ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองลักซอร์ที่เมดามุด วิหารแห่งหนึ่งปรากฏซากสิ่งปลูกสร้างและซากสถาปัตยกรรมมากมาย บางส่วนอาจจะถูกโปรดให้สร้างขึ้นโดยพระองค์ แต่ต่อมาถูกแย่งชิงโดยผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์คือ ฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 3[3] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทับหลังจากเมดามุดและปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ รหัส JE 44944 ปรากฏตัวสัญลักษณ์ที่เกือบถูกลบออก ซึ่งสอดคล้องกับพระนามประสูติของพระองค์[ต้องการอ้างอิง]
ด้านทฤษฎี
[แก้]นักไอยคุปต์วิทยา ดาร์เรล เบเกอร์ และคิม ไรโฮลท์ได้กำหนดให้พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่ยี่สิบสี่ของราชวงศ์ที่สิบสาม ในขณะที่เยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธมองว่าพระองค์เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ยี่สิบ[5] อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เห็นพ้องกันว่า พระองค์อาจจะทรงแย่งชิงพระราชบัลลังก์จากผู้ปกครองก่อนหน้าพระนามว่า ฟาโรห์เซเฮเทปคาเร อินเทฟ[3]
ระยะเวลาของการครองราชย์ของพระองค์หายไปในส่วนที่เสียหายของบันทึกพระนามฯ ยกเว้นในส่วนท้ายที่ปรากฎช่วงเวลา "... [และ] 6 วัน" คิม ไรโฮลท์ได้เสนอว่ารัชสมัยของฟาโรห์อิมิเรสอาว, ฟาโรห์เซเฮเทปคาเร อินเทฟ และพระองค์รวมกันแล้วอยู่ที่สิบปี[1] นอกจากนี้ ในบันทึกปาปิรุสโบลัก หมายเลข 18 ยังเป็นหลักฐานที่เชื่อได้ว่าฟาโรห์อิมิเรสอาว, ฟาโรห์เซเฮเทปคาเร อินเทฟ ทรงครองราชย์รวมนานกว่าห้าปี จึงเหลือเวลาไม่ถึงห้าปีให้กับรัชสมัยของพระองค์
ส่วนเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธเชื่อว่า สามารถระบุพระองค์ได้ว่าทรงเป็นบุคคลเดียวกับผู้ปกครองที่ได้รับการกล่าวถึงในบันทึกลำดับวงศ์ตระกูลของอังค์เอฟเอนเซคเมตจากช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบสองในเวลาต่อมา ผู้ปกครองพระองค์ดังกล่าวทรงพระนามว่า "อาเกน (Aaqen)" แปลว่า ลาอันแข็งแกร่ง และฟอน เบ็คเคอราธยังเสนอว่าคำดังกล่าวนั้นหมายถึงพระองค์ และเดิมมีพระนามคือ "เซธเกน (Sethqen)" ซึ่งมีความหมายว่า เทพเซธ ผู้ทรงแข็งแกร่ง ซึ่งอันที่จริง เนื่องจากเทพเจ้าเซธถูกห้ามในช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบสอง อักษรอียิปต์โบราณรูปสัตว์เซธจึงถูกแทนที่ด้วยอักษรอียิปต์โบราณรูปลา ซึ่งส่งผลให้อ่านเป็น "อาเกน (Aaqen)"
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997
- ↑ Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen, Albatros, 2002
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 406
- ↑ Leahy, Anthony (1989). "A Protective Measure at Abydos in the Thirteenth Dynasty". Journal of Egyptian Archaeology 75: 41–60.
- ↑ Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Konigsnamen, Münchner Ägyptologische Studien 20, Mainz.