ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นับเคาเร อเมเนมเฮตที่ 2 หรือที่เรียกว่า อเมเนมฮัตที่ 2 เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์ที่สามจากราชวงศ์ที่สิบสอง ถึงแม้ว่าพระองค์จะครองราชย์มาอย่างน้อย 35 ปี แต่การครองราชย์ของพระองค์ค่อนข้างคลุมเครือ เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ในพระราชวงศ์ของพระองค์

พระราชวงศ์

[แก้]

การค้นพบทางโบราณคดีได้ระบุพระนามของพระราชมารดาของพระองค์ ซึ่งเป็น "พระราชมารดามารดาของกษัตริย์" พระนามว่า เนเฟรูที่ 3 แต่ไม่ได้ระบุพระนามของพระราชบิดา อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วถือว่า พระองค์เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ผู้เป็นผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ การยืนยันครั้งแรกของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 อาจมาจากหลุมฝังศพของผู้ปกครองท้องถิ่นนามว่า อเมเนมเฮต ซึ่งถูกฝังอยู่ที่เบนิ ฮาซาน ผู้ปกครองท้องถิ่นผู้นี้มีชีวิตในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ได้อารักขา "พระราชโอรสแห่งกษัตริย์ อเมนิ" ในการออกเดินทางไปยังนิวเบีย และเชื่อกันว่าเจ้าชายอเมนิพระองค์นี้ไม่ใช่บุคคลใดอื่นนอกจากฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 ในวัยทรงพระเยาว์ของพระองค์[4]

ไม่ทราบตัวตนของพระราชินีและพระมเหสีของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 มีเจ้านายสตรีในราชวงศ์หลายพระองค์ถูกฝังอยู่ภายในพีระมิดของพระองค์ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายเหล่านั้นกับฟาโรห์นั้นไม่คลุมเครือ คือ พระราชินีเคมินุบ จะต้องระบุช่วงราชวงศ์ที่สิบสามในเวลาต่อมา และ "พระราชธิดาแห่งกษัตริย์" อีกสามพระองค์พระนามว่า อิตา, อิตาเวเรต และเคนเมต ซึ่งอาจเป็นพระราชธิดาของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 แต่ยังขาดการยืนยันที่ชัดเจน[4] แต่ผู้สืบทอดสันตติวงศ์ต่อจากพระองค์ก็น่าจะเป็นพระราชโอรสของพระองค์ก็คือฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 แม้ว่าจะไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนก็ตาม[5] พระราชบุตรพระองค์อื่น ๆ ได้แก่ เจ้าชายอเมเนมเฮตอังค์ และเจ้าหญิงโนเฟรตที่ 2 และเจ้าหญิงเคเนเมตเนเฟอร์เฮดเจต ซึ่งน่าจะเป็นพระองค์เดียวกันกับพระนางเคเนเมตเนเฟอร์เฮดเจตที่ 1 และในเวลาต่อมา เจ้านายสตรีทั้งสองพระองค์นี้ได้ถูกสถาปนาขึ้นเป็นพระมเหสีในฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ผู้เป็นพระเชษฐาหรือพระอนุชา[6] พระราชินีและพระราชมารดาแห่งกษัตริย์ที่มีพระนามว่า เซเนต เป็นที่ทราบจากรูปสลักจำนวนสามรูป และไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นพระสวามีและพระโอรสของพระองค์ ซึ่งเป็นไปได้ว่าฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 จะเป็นพระสวามีของพระองค์

รัชสมัย

[แก้]

การเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ

[แก้]
สฟิงซ์แห่งอเมเนมเฮตที่ 2 จากทานิส ในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ เอ 23
สร้อยพระศอของเจ้าหญิงเคนเมต, พระราชธิดาในฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2
รูปสลักผู้พิทักษ์ ซึ่งเสมือนพระพักตร์ของฟาโรห์ที่ครองราชย์ อาจจะเป็นฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 และทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ศักดิ์สิทธิ์สำหรับอิมยูต ทำจากไม้ซีดาร์และปูนปลาสเตอร์ ช่วงประมาณ 1919–1885 ปีก่อนก่อนคริสตกาล[7]

ครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่าฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 ได้เป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ก็คือ ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ซึ่งเป็นข้อสมมติฐานจากหลักจารึกของข้าราชการนามว่า เวปวาเวโต (ไลเดิน, วี 4) ที่ระบุช่วงปีที่ 44 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 และปีที่ 2 แห่งการครองราชย์ของพระองค์[8] การมีอยู่ของสำเร็จราชการร่วมดังกล่าวในปัจจุบันถือว่าไม่น่าเป็นไปได้ และช่วงเวลาบนจารึกได้ถูกตีความว่าเป็นช่วงเวลาที่เวปวาเวโตได้อยู่ในตำแหน่ง ตั้งแต่รัชสมัยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ปีที่ 44 ถึง ปีที่ 2 ของรัชสมัยฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2[9][10]

จดหมายเหตุประจำรัชสมัย

[แก้]
จารึกของผู้ดูแลห้องหับนามว่า เซนิเตฟ ซึ่งเป็นผู้นำข้ารับใช้ที่ "วัดแรก" มีคนใช้นำเครื่องเซ่นมาถวายรูปสลักฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 (ด้านซ้ายบน), พิพิธภัณฑ์บริติช, อีเอ 576

บันทึกที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องกับรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 ในช่วงต้นรัชสมัยคือชิ้นส่วนของบันทึกที่เรียกว่า พระราชพงศาวดารแห่งอเมเนมเฮตที่ 2 ที่ค้นพบที่เมมฟิส (ภายหลังนำมาใช้ใหม่ในช่วงราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์) ซึ่งเป็นจัดบันทึกสำหรับเวลาการถวายเครื่องบูชาให้กับวิหารและเหตุการณ์ทางการเมืองในบางครั้ง มีการกล่าวถึงการเดินทางของกองทัพทหารไปยังเอเชีย การบุกโจมตีเมืองยูเอียและเมืองเอียซิ ซึ่งไม่ระบุที่ตั้งของเมืองทั้งสอง และการมาของผู้ถือเครื่องบรรณาการจากเอเชียและดินแดนคุช[11] ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการสำรวจการขุดหลายครั้ง: อย่างน้อย 3 แห่งในคาบสมุทรไซนาย วาดิ-กาซุส (ปีที่ 28) และอีกหนึ่งแห่งเพื่อค้นหาแร่อเมทิสต์ในวาดิ เอล-ฮูดิ และเป็นที่ทราบกันดีว่า พระองค์ได้ทรงโปรดให้สร้างสิ่งปลูกสร้างที่เฮลิโอโพลิส, เฮราคลีโอโพลิส และเมมฟิสในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออก และบูรณะปฏิสังขรวิหารที่พังทลายขึ้นที่เฮอร์โมโพลิส มีการกล่าวถึงการสร้าง "วัดแรก" บางส่วน แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าควรเป็นอย่างไร[12] การค้นพบที่รู้จักกันดีที่เกี่ยวข้องกับฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 คือ มหาสฟิงซ์แห่งทานิส (พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ เอ 23) ซึ่งต่อมาถูกฟาโรห์พระองค์อื่นแย่งชิง พระองค์ยังได้รับการจารึกพระนามบนกล่องสมบัติของวัตถุเงินที่อยู่ใต้วิหารแห่งเทพมอนทูที่เอล-โตด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งของเหล่านี้ไม่ใช่งานฝีมือของช่างชาวอียิปต์ แต่เป็นฝีมือช่างจากบริเวณทะเลอีเจียน ซึ่งเป็นหลักฐานการติดต่อระหว่างอียิปต์กับอารยธรรมต่างดินแดนในสมัยราชอาณาจักรกลาง และจารึกจำนวนมากที่มีคาร์ทูชของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 แต่สามารถช่วยเพียงเล็กน้อยในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับเหตุการณ์ในรัชสมัยของพระองค์[13]

ข้าราชบริพารในราชสำนัก

[แก้]

ข้าราชบริพารบางคนในราชสำนักของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 เป็นที่ทราบ คือ เซนุสเรต ซึ่งเป็นราชมนตรีในช่วงต้นรัชสมัยและหนึ่งในผู้สืบทอดตำแหน่งของเขาคือ อเมนิ และต่อมาตามมาด้วยซิเอเซ ที่ทำหน้าที่ที่โดดเด่นและเป็นผู้ดูแลพระคลังมหาสมบัติและเจ้าพนักงานชั้นสูงก่อนหน้าจะดำรงตำแหน่งเป็นราชมนตรี นอกจากซิเอซิ ก็ยังมีผู้ดูแลพระคลังมหาสมบัติอื่น ๆ ที่ทราบ ได้แก่ เรฮูเออร์ดเจอร์เซน และ เมริเคา "ผู้ดูแลพระทวารประตู" นามว่า เคนติเคติเวอร์ ซึ่งถูกฝังใกล้กับพีระมิดของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 ส่วนข้าราชการคนอื่น ๆ ที่เป็นทราบ ได้แก่ "ผู้ดูแลห้องหับ" นามว่า สโนฟรู และเซนิเตฟ ซามอนต์ ซึ่งมีตำแหน่งราชอาลักษณ์และ ไอริ-พัต (iry-pat)[12] และ อเมนิ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้ดูแลกองทหารที่ยิ่งใหญ่ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะดำรงตำแหน่งในช่วงรัชสมัยฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2

การสืบสันตติวงศ์

[แก้]

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 และฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ได้เป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกันเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งเป็นเพียงประเด็นเดียวที่เกิดขึ้นเป็นปกติในทั้งช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง จารึกแห่งฮาปุจากโคนอสโซ ซึ่งไม่เหมือนกับจารึกแห่งเวปวาเวโต โดยจารึกแห่งฮาปุจากโคนอสโซได้ระบุอย่างชัดเจนว่าฟาโรห์ทั้งพระสองนี้ได้ปกครองร่วมกันมาระยะหนึ่ง[11] ซึ่งปีที่ 3 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 เท่ากับปีที่ 35 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 และปีที่ 35 บนจารึกแห่งฮาปุยังเป็นระยะเวลาที่สูงสุดที่เกี่ยวข้องกับรัชสมัยของพระองค์[14]

พีระมิด

[แก้]
แผนผังพีระมิดแห่งอเมเนมเฮตที่ 2 ที่ดาห์ชูร์

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 ทรงเลือกบริเวณดาห์ชูร์สำหรับการสร้างพีระมิดของพระองค์ ต่างจากผู้ปกครองก่อนหน้าทั้งสองพระองค์ที่สร้างพีระมิดที่ลิชต์ ซึ่งดาห์ชูร์เป็นไม่ได้พื้นที่หมู่สุสานของราชวงศ์อีกตั้งแต่สมัยฟาโรห์สเนฟรูจากราชวงศ์ที่สี่ที่พระองค์ได้โปรดให้สร้างพีระมิดแดงขึ้น ในปัจจุบัน พีระมิดของ ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 ซึ่งเดิมเรียกว่า อเมนู-เซเคม แต่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในปัจจุบันในชื่อว่า พีระมิดขาว ซึ่งหลงเหลืออยู่ในสภาพที่ไม่ดีและโดนโจรปล้นสุสาน วิหารฝังพระศพที่อยู่ติดกับพีระมิดที่เรียกว่า ดเจฟา-อเมเนมฮัต[15] เจ้านายหลายพระองค์ถูกฝังอยู่ภายในพีระมิดแห่งนี้ ซึ่งหลุมฝังพระศพถูกค้นพบโดยแฌ็ค เดอ มอร์แกง ในปี ค.ศ.1894/5 คือ เจ้าหญิงทั้งสามพระองค์นามว่า อิตา, อิตาเวเรต และเคนเมต ถูกค้นพบโดยสภาพที่ไม่มีใครเข้ามาบุกรุก โดยยังคงเหลืออัญมณีที่สวยงามของพระองค์ และยังมีหลุมฝังศพของสตรีชั้นสูงนามว่า ซัตฮาธอร์เมริต, ผู้ดูแลพระคลังฯ อเมนโฮเทป และพระราชินีเคมินุบ ซึ่งหลุมฝังศพทั้งสองกลับถูกปล้นในสมัยโบราณและระบุเวลาต่อมาในช่วงราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Amenemhat II on Digitalegypt
  2. Hornung 2006, p. 491.
  3. Grajetzki 2006, p. 45.
  4. 4.0 4.1 Grajetzki 2006, p. 45
  5. Grajetzki 2006, p. 48.
  6. Dodson & Hilton 2004, pp. 96–97.
  7. "Guardian Figure". www.metmuseum.org. Metropolitan Museum of Art. สืบค้นเมื่อ 9 February 2022.
  8. Murnane 1977, pp. 5–6.
  9. Delia 1979, pp. 16, 21–22.
  10. Willems 2010, pp. 92–93.
  11. 11.0 11.1 Grajetzki 2006, pp. 45–46.
  12. 12.0 12.1 Grajetzki 2006, pp. 47–48.
  13. Grajetzki 2006, p. 47.
  14. Murnane 1977, p. 7.
  15. Grajetzki 2006, pp. 46–47.
  16. Untitled information on White Pyramid burials

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Delia, Robert D. (1979). "A new look at some old dates: a reexamination of Twelfth Dynasty double dated inscriptions". Bulletin of the Egyptological Seminar of New York. 1: 15–28.
  • Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3.
  • Grajetzki, Wolfram (2006). The Middle Kingdom of Ancient Egypt: History, Archaeology and Society. London: Duckworth. ISBN 0-7156-3435-6.
  • Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David, บ.ก. (2006). Ancient Egyptian Chronology. Handbook of Oriental Studies. Leiden, Boston: Brill. ISBN 978-90-04-11385-5. ISSN 0169-9423.
  • Murnane, William J. (1977). Ancient Egyptian coregencies (=Studies in Ancient Oriental Civilization, no. 40). Chicago: The Oriental Institute of the University of Chicago. ISBN 0-918986-03-6.
  • Willems, Harco (2010). "The First Intermediate Period and the Middle Kingdom". ใน Lloyd, Alan B. (บ.ก.). A companion to Ancient Egypt, volume 1. Wiley-Blackwell.