ฟาโรห์วาคาเร เคติ
ฟาโรห์วาคาเร เคติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อัคธอส์,[1] เคติที่ 3 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โลงนอกของข้าราชบริพารนามว่า เนฟริ, บนนั้นพบมีพระนามของฟาโรห์วาคาเร เคติ (ไคโร ซีจี 28088) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | ประมาณ 50 ปี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | อาจเป็นกาคาเร ไอบิ หรือ วัดจ์คาเร (ถ้าเป็นราชวงศ์ที่เก้า); เนเฟอร์คาเรที่ 8 (ถ้าเป็นราชวงศ์ที่สิบ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | ไม่แน่ชัด (ถ้าเป็นราชวงศ์ที่เก้า); เมริคาเร (ถ้าเป็นราชวงศ์ที่สิบ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบุตร | เมริคาเร? | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่เก้า หรือ ราชวงศ์ที่สิบ |
วาคาเร เคติ เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่เก้าหรือสิบในสมัยช่วงระหว่างกลางที่ 1
การระบุตัวตน
[แก้]การมีอยู่ของฟาโรห์วาคาเร เคติ นั้นยังคงโต้เถียงกัน ในขณะที่นักวิชาการบางคนเชื่อว่า พระองค์เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่เก้า[2] คนอื่น ๆ อีกหลายคนจัดให้พระองค์อยู่ในราชวงศ์ที่สิบแห่งอียิปต์[3][4][5][6]
ข้อสันนิษฐานหากพระองค์อยู่ในราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์
[แก้]หากฟาโรห์วาคาเร เคติเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์ พระองค์อาจจะเป็นฟาโรห์อัคธอส์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์นี้ตามบันทึกของมาเนโท ที่ได้กล่าวว่า:
[ฟาโรห์] พระองค์แรกของราชวงศ์นี้คือ อัคธอส์ ซึ่งประพฤติตนโหดร้ายยิ่งกว่าผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ ผู้ก่อความวิบัติแก่ชาวอียิปต์ทั้งหลาย แต่ภายหลังพระองค์ถูกรุมเร้าด้วยความวิกลจริตและโดนจระเข้ปลงพระชนม์[1][7]
หากสมมติฐานนี้ถูกต้อง ฟาโรห์วาคาเร เคติ อาจจะเป็นผู้ปกครองท้องถิ่นเขตเฮราคลีโอโพลิส ซึ่งได้ใช้ประโยชน์จากความอ่อนแอของผู้ปกครองแห่งราชวงศ์ที่แปดที่ปกครอง ณ เมืองเมมฟิส เพื่อยึดบัลลังก์ของอียิปต์ตอนกลางและตอนล่างเมื่อประมาณ 2150 ปีก่อนคริสตกาล สมมติฐานนี้ได้รับการสนับสนุนโดยจารึกร่วมสมัยที่อ้างถึงแคว้นเฮราคลีโอโพลิสที่อยู่ทางเหนือในฐานะราชวงศ์ของเคติ[8] แม้ว่าจะพิสูจน์ได้เพียงว่าผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่เก้าจะมีพระนามว่า เคติ แต่ไม่จำเป็นว่าจะเป็นฟาโรห์วาคาเร เคติ
ข้อสันนิษฐานหากพระองค์อยู่ในราชวงศ์ที่สิบแห่งอียิปต์
[แก้]นักวิชาการหลายคน เชื่อว่า ฟาโรห์วาคาเร เคติ เป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบแห่งอียิปต์แทน โดยให้พระองค์เป็นพระองค์เดียวกับ เคติ ซึ่งเป็นผู้ถูกสันนิษฐานว่าเป็นทรงนิพนธ์หนังสือการสอนที่มีชื่อเสียงของฟาโรห์เมริคาเร ทำให้พระองค์จะต้องขึ้นครองราชย์อยู่ระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์เนเฟอร์คาเรที่ 8 และฟาโรห์เมริคาเร และฟาโรห์วาคาเร เคติ จะเป็นฟาโรห์แห่งเฮราคลีโอโพลิสพระองค์สุดท้ายที่ใช้พระนาม เคติ และผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์พระนามว่า อัคธอส์ ผู้เหี้ยมโหด จะกลายเป็นฟาโรห์เมริอิบเร เคติ และราชวงศ์แห่งเคติ ( House of Khety) จะอ้างถึงฟาโรห์เมริอิบเรแทนด้วย
เป็นที่ทราบกันว่า ฟาโรห์วาคาเร เคติได้เข้าเป็นพันธมิตรกับบรรดาผู้ปกครองท้องถิ่นอียิปต์ล่างที่สามารถขับไล่ "ชาวเอเชียเร่ร่อน" ที่เดินเตร่เร่ร่อนบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์มาหลายชั่วอายุคน ผู้ปกครองท้องถิ่นเหล่านั้น แม้จะรับรู้ถึงอำนาจของพระองค์ แต่ก็ยังปกครองโดยพฤตินัยอย่างอิสระไม่มากก็น้อย ซึ่งขับไล่ "ชาวเอเชีย" และอนุญาตให้มีการจัดตั้งการตั้งถิ่นฐานและสร้างแนวป้องกันใหม่บนพรมแดนตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดียวกับการค้าขายกับชายฝั่งเลวานไทน์[9] อย่างไรก็ตามพระองค์ยังเตือนฟาโรห์เมริคาเรว่า อย่าละเลยการปกป้องพรมแดนเหล่านี้ เนื่องจาก "ชาวเอเชีย" ยังคงถูกมองว่าเป็นอันตราย[10]
ในทางตอนใต้ พระองค์และผู้ปกครองท้องถิ่นแห่งอัสยุตผู้ซื่อสัตย์นามว่า เทฟิบิ ได้ยึดไทนิส ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกฟาโรห์แห่งธีบส์ นำโดยฟาโรห์อินโยเตฟที่ 2; อย่างไรก็ตาม กองทหารจากเฮราคลีโอโพลิสได้บุกรุกหลุมฝังศพอันศักดิ์สิทธิ์แห่งไทนิส ซึ่งเป็นความผิดร้ายแรงที่พระองค์ทราบด้วยพระองค์เอง การกระทำในครั้งนี้ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาทันทีฝ่ายธีบส์ ซึ่งต่อมาได้เข้ายึดไทนิสคืนได้ในที่สุด หลังจากเหตุการณ์นั้น ฟาโรห์วาคาเร เคติ ตัดสินพระทัยที่จะละทิ้งพระราโชบายที่รุนแรงนี้และเริ่มขั้นตอนของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับเขตปกครองทางใต้ ซึ่งคงอยู่จนกระทั่งช่วงหนึ่งของรัชสมัยของฟาโรห์เมริคาเร ซึ่งผู้ที่ขึ้นปกครองต่อจากพระองค์ ผู้ที่ครองราชย์ยาวนานถึงห้าทศวรรษ[11]
หลักฐานรับรอง
[แก้]ไม่มีหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัยที่มีพระนามของพระองค์ คาร์ทูธของฟาโรห์วาคาเรได้ปรากฏบนโลงศพไม้จากสมัยช่วงราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ ซึ่งจารึกด้วยข้อความโลงศพและเดิมสร้างขึ้นสำหรับข้าราชบริพารนามว่า เนฟริ ถูกค้นพบใน เดียร์ เอล-เบอร์ชา (Dier el-Bersha) และปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ในกรุงไคโร (ซีจี 28088)[12][13] บนนั้นพระนามของพระองค์ถูกแทนที่ด้วยนามของเนฟริเพียงที่เดียว แต่ไม่ทราบว่าข้อความเดิมถูกจารึกไว้สำหรับฟาโรห์หรือไม่หรือเพียงแค่คัดลอกมาจากที่อื่นก่อนหน้านี้[14] พระนามของฟาโรห์วาคาเร เคติ อาจจะบันทึกรวมอยู่ในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินด้วย[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 William Gillian Waddell: Manetho (= The Loeb classical library. Bd. 350). Harvard University Press, Cambridge (Mass.) 2004 (Reprint), ISBN 0-674-99385-3, p. 61.
- ↑ Jürgen von Beckerath, Handbuch der Ägyptischen Königsnamen, 2nd edition, Mainz, 1999, p. 74.
- ↑ William C. Hayes, in The Cambridge Ancient History, vol 1, part 2, 1971 (2008), Cambridge University Press, ISBN 0-521-077915, p. 996.
- ↑ Nicolas Grimal, A History of Ancient Egypt, Oxford, Blackwell Books, 1992, p. 144–47.
- ↑ Michael Rice, Who is who in Ancient Egypt, 1999 (2004), Routledge, London, ISBN 0-203-44328-4, p. 7.
- ↑ Margaret Bunson, Encyclopedia of Ancient Egypt. Infobase Publishing, 2009, ISBN 1438109970, p. 202.
- ↑ Margaret Bunson, op. cit., p. 355.
- ↑ Stephan Seidlmayer, Ian Shaw, The Oxford History of Ancient Egypt, ISBN 978-0-19-280458-7, p. 128.
- ↑ William C. Hayes, op. cit., p. 466.
- ↑ William C. Hayes, op. cit., p. 237.
- ↑ William C. Hayes, op. cit., pp. 466–67.
- ↑ Pierre Lacau, Sarcophages antérieurs au Nouvel Empire, tome II, Cairo, 1903, pp. 10–20.
- ↑ Alan Gardiner, Egypt of the Pharaohs, an introduction. Oxford University Press 1961, p. 112
- ↑ 14.0 14.1 Thomas Schneider, Lexikon der Pharaonen. Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3, p. 172.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Allen, James P. (1976). "The Funerary Texts of King Wahkare Akhtoy on a Middle Kingdom Coffin". ใน Johnson, J. H.; Wente, E. F. (บ.ก.). Studies in Honor of George R. Hughes, January 12, 1977. Studies in Ancient Oriental Civilization (SAOC). Vol. 39. Chicago: The Oriental Institute. ISBN 0-918986-01-X.