พายุไต้ฝุ่นมาเรีย (พ.ศ. 2561)
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA) | |||
---|---|---|---|
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS) | |||
พายุไต้ฝุ่นมาเรียในวันที่ 9 กรกฎาคม
| |||
ก่อตัว | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 | ||
สลายตัว | 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 | ||
ความเร็วลม สูงสุด |
| ||
ความกดอากาศต่ำสุด | 915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.02 นิ้วปรอท) | ||
ผู้เสียชีวิต | รวม 2 คน | ||
ความเสียหาย | 630.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2018) | ||
พื้นที่ได้รับ ผลกระทบ |
หมู่เกาะมาเรียนา, หมู่เกาะริวกิว, จีน, เกาะไต้หวัน | ||
ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561 |
พายุไต้ฝุ่นมาเรีย หรือที่รู้จักในประเทศฟิลิปปินส์ว่า ไต้ฝุ่นการ์โด เป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงเป็นอย่างมาก โดยส่งผลกระทบต่อ กวม และประเทศจีน เช่นมณฑลฝูเจี้ยนและเกาะไต้หวัน ไต้ฝุ่นมาเรียเป็นพายุโซนร้อนที่แปดของมหาสมุทรแปซิฟิกทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในวันที่ 4 กรกฎาคม พายุมาเรียใด้ปะทะกับหมู่เกาะมาเรียนา และได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นลำดับที่สี่ของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ในวันรุ่งขึ้น พายุไต้ฝุ่นมาเรียได้เพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย จนวันที่ 6 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่นมาเรียกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น และกลายเป็นพายุระดับ 5 และอ่อนกำลังลงเนื่องจากวัฏจักรการแทนที่กำแพงตา แต่เมื่อเสร็จสิ้นวัฏจักรการแทนที่กำแพงตาในวันที่ 8 กรกฎาคม ก็กลับมาเพิ่มความรุนแรงเป็นครั้งที่สอง และได้กลับเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 5 อีกครั้ง หลังจากนั้นพายุเริ่มอ่อนลงเรื่อย ๆ เนื่องจากอุณหภูมิผิวน้ำทะเลเย็นลง ในวันที่ 10 กรกฎาคมพายุมาเรียปะทะหมู่เกาะยาเอยามะและส่งผลกระทบต่อไต้หวัน วันต่อมาพายุมาเรียได้ขี้นผั่งที่มณฑลฝูเจี้ยนประเทศจีนในวันที่ 11 กรกฎาคมก่อนจะสลายไปในวันถัดไป
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
[แก้]- วันที่ 2 กรกฎาคม ศูนย์เตือนภัยไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกประกาศเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในช่วงต้นของวันที่ 2 กรกฎาคมและทวีความรุนแรงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนโดยมีการกำหนดรหัส 10W ในวันเดียวกัน
- วันที่ 3 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้น[1]
- วันที่ 4 กรกฎาคม ระบบพายุทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อว่า มาเรีย (Maria)
- วันที่ 5 กรกฎาคม มาเรียทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ในขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจัดให้มาเรียเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 ซึ่งเป็นผลมาจากการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว
- วันที่ 6 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่นมาเรียกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น และกลายเป็นพายุระดับ 5 ลูกแรกในแอ่ง นับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นนกเต็น เมื่อฤดู 2559 ไม่นานหลังจากนั้น มาเรียประสบกับภาวะวัฏจักรการแทนที่กำแพงตา ทำให้มันอ่อนกำลังลงมีสถานะต่ำกว่าพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น
- วันที่ 8 กรกฎาคม วัฏจักรการแทนที่กำแพงตาของมาเรียเสร็จสมบูรณ์ และได้กลับเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 5 อีกครั้ง
- วันที่ 10 กรกฎาคม พายุมาเรียปะทะหมู่เกาะยาเอยามะและส่งผลกระทบต่อไต้หวันในเวลาต่อมา[2]
- วันที่ 11 กรกฎาคม พายุมาเรียได้ขี้นผั่งที่มณฑลฝูเจี้ยนในประเทศจีน[3]
- วันที่ 12 กรกฎาคม พายุมาเรียอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วและสลายไป