ข้ามไปเนื้อหา

พลาสมาควาร์ก–กลูออน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พลาสมาควาร์ก-กลูออน (อังกฤษ: quark-gluon plasma; QGP) หรือ ซุปควาร์ก[1] คือสถานะของควอนตัมโครโมไดนามิกส์ ซึ่งมีอยู่ที่ระดับอุณหภูมิและความหนาแน่นสูงยิ่งยวด สภาวะนี้ประกอบด้วยควาร์กและกลูออนที่ (เกือบเป็น) อิสระ อันเป็นอนุภาคมูลฐานสำคัญที่ประกอบกันขึ้นเป็นสสาร การทดลองโดยเครื่องซูเปอร์โปรตอนซิงโครตรอน (SPS) ที่เซิร์น เป็นความพยายามแรกในการสร้างพลาสมาควาร์ก-กลูออน ขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980-1990 ผลที่ได้ทำให้เซิร์นประกาศหลักฐานทางอ้อมที่ยืนยัน "สถานะใหม่ของสสาร"[2] ในปี ค.ศ. 2000 มีการทดลองที่ห้องทดลองแห่งชาติบรู๊คฮาเวนด้วยเครื่อง Relativistic Heavy Ion Collider (RHIC) ซึ่งยังคงพยายามดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน[3] รวมถึงการทดลองครั้งใหม่อีก 3 ครั้งด้วยเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ (LHC) และ Large Ion Collider Experiment (ALICE) ของเซิร์น[4] ATLAS experiment (ATLAS) และ Compact Muon Solenoid (CMS) ก็ยังคงศึกษาคุณสมบัติของพลาสมาควาร์ก-กลูออนนี้อยู่

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hadron production from a boiling quark soup: A thermodynamical quark model predicting particle ratios in hadronic collisions
  2. "A New State of Matter - Experiments". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-11. สืบค้นเมื่อ 2010-01-24.
  3. Relativistic Heavy Ion Collider, RHIC
  4. "Alice Experiment: Welcome to ALICE Portal". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-13. สืบค้นเมื่อ 2010-01-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]