ข้ามไปเนื้อหา

พระแม่เปะริยาจจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าแม่เปะริยาจจิ
เทพีผู้ผดุงครรภ์ หมอตำแย[1]
เทวรูปเจ้าแม่เปะริยาจจิ ณ หน้าบรรณ วัดศรีวีระมากาลีอัมมัน สิงค์โปร์
ส่วนเกี่ยวข้องพระเทวี, เทพพื้นเมืองในศาสนาฮินดู, พระแม่ษัษฏี (ความเชื่อของอินเดียเหนือ)
ที่ประทับเขาไกรลาส
มนตร์โอม ศรี มาเตร นะมะ Om Śrī Mātre Namaha
อาวุธตรีศูล, ดาบ, ปาศะ (เชือก)
พาหนะสิงโต
วัดวัดศรีวิรัมกาลีอัมมัน(สิงค์โปร์), ศรีมริอัมมันมนเทียร สิงคโปร์
เทศกาลนวราตรี, Pumsavana
คู่ครองพระศิวะ

พระแม่เปะริยาจจิ (Tamil: பெரியாச்சி, IAST: Periyāchī) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู นางเป็นเทพีพื้นเมืองที่ถูกการผสานความเชื่อแบบพหุเทวนิยมของศาสนาฮินดูโดยอธิบายว่าเป็นหนึ่งในภาคหนึ่งของเจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวี นางเป็นที่รู้จักในนาม เปะริยาจจิ อัมมัน (อัมมัน ในภาษาทมิฬหมายถึง "มารดา") และบางครั้งอาจขนานนามของนางว่า เปะริยาจจิ กาลี อัมมัน เนื่องจากนางนั้นมีเทวลักษณะดุร้ายดังเช่นเจ้าแม่กาลี โดยทั่วนางได้รับการนับถือในฐานะเทพีผู้ผดุงครรภ์และการคลอดบุตร รวมถึงเทพีผู้เป็นหมอตำแย[2] นางได้รับการยกย่องนับถือเป็นอย่างสูงในหมู่ชาวฮินดูในสิงคโปร์, มาเลเซีย และ เกาะเรอูว์นียง[3][4] สำหรับในเทวสถานฮินดูในไทยมีการประดิษฐานเทวรูปพระเปะริยาจจิในวัดพระศรีมหาอุมาเทวีในฝั่งศาลพระเสื้อวัดด้านข้างศรียันตร์มหาลักษมี[5]

เทวรูปพระแม่เปริยาจี.
เทวรูปพระนางเปริยาจี ศิลปะแบบประเพณีท้องถิ่นอินเดียภาคใต้ในปัจจุบันประดับหน้าโคปุรัมฯ ณ เทวสถานศรีมหากาลิอัมมัน ประเทศสิงคโปร์
เทวรูปพระมทุไร วีรันพร้อมด้วยเทพชายาทั้งสอง (ซ้าย)และ นางพระเปริยาจี (ขวา) ศิลปะแบบประเพณีท้องถิ่นอินเดียภาคใต้ในปัจจุบันฯ ณ เทวสถานศรีมหามาริอัมมัน ประเทศสิงคโปร์

เทพปกรณัม

[แก้]

ในสมัยราชวงค์ปาณฑยะ มีกษัตริย์นามครองนครนามว่า พระเจ้าวัลภราช (Tamil: வல்லலராஜன் ராஜா) อันทรงมีอุปนิสัยเบียดเบียนอาณาประชาราษฎร์เป็นนิจสินอาจิณ ซึ่งในขณะนั้นพระอัครมเหสีของพระองค์ทรงครรภ์โอรสของพระองค์อยู่และทรงได้รับการพยากรณ์ว่า บุตรของอัครมเหสีของพระองค์จะนำความมาสู่วิบัติพระองค์หากเท้าของโอรสของพระองค์สัมผัสพื้นปฐพี ทรงเสาะหาและได้ว่าจ้างหมอตำแยชรานางหนึ่งเป็นผู้อภิบาลผดุงครรภ์โดยที่ไม่ทราบว่านางหมอตำแยนั้นเป็นผู้ใด

หลังจากอัครมเหสีของพระองค์มีประสูติกาลโอรสของพระองค์อย่างปลอดภัยแล้วทรงไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ทรงตรัสไว้รวมถึงหมายจะสังหารนางหมอตำแยชรานางนี้ด้วย นางจึงกลับปรากฏเป็นพระเทพีอันเป็นทิพยฐานะอันแท้จริงของนาง และทำการสังหารกษัตริย์องค์นี้เสีย อัครมเหสีของกษัตริย์องค์นั้นจึงจะสังหารโอรสนั้นด้วย เนื่องจากนางนั้นคิดว่าว่าโอรสที่เกิดแก่นางนั้นคือต้นเหตุของสิ่งเลวร้ายทั้งหมดที่นางได้ประสบเจอ พระเทพีองค์จึงสังหารนางกษัตรีย์นี้ด้วยโดยฉีกอุทรของนางและบริโภคอันตะ (ลำไส้) ของนางเสีย และช่วยชีวิตทารกนี้ไว้ นางจึงได้รับกายกย่องในฐานะเทพีผู้พิทักษ์ทารกและสตรีมีครรภ์ กล่าวกันว่าทารกนี้เจริญวัยขึ้นมาภายใต้การดูแลของพระเทพีองค์นี้และต่อมาได้เป็นกษัตริย์แห่งปาณฑยะ

ประติมานวิทยา

[แก้]

พระเปะริยาจจิมักปรากฏทิพยรูปเป็นเทพีที่มีลักษณะดูดุร้าย มักมีแปดกร โดยปกติมักทรงเทพอาวุธและทารกในหัตถ์ของนาง และหัตถ์ที่เหลืออาจทรงตรีศูล บ่วงบาศก์ กลองฑมรุ (บัณเฑาะว์) พร้อมงู ดาบ และกปาละอันเต็มไปด้วยโลหิต โดยนางนั้นนั่งหรือยืนโดยบาทของนั้นเหยียบที่อุระกษัตริย์ และกำลังฉีกอุทรของนางกษัตรีย์ที่อยู่บนตักของนาง และพระโอรสของกษัตริย์ก็ถูกยกขึ้นในอีกหัตถ์หนึ่ง[4][6] ถือกันว่ารูปลักษณ์ที่ดุร้ายของเทพีองค์นี้สามารถปัดเป่าวิญญาณชั่วร้ายและอวมงคลทั้งหลายได้[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Encyclopedia of the Divine Feminine: Goddess of 10,000 Names. Xlibris Corporation. 26 May 2021. ISBN 9781664105690.
  2. Sinha, Vineeta (2005). A New God in the Diaspora?: Muneeswaran Worship in Contemporary Singapore (ภาษาอังกฤษ). NUS Press. p. 303. ISBN 978-9971-69-321-3.
  3. Sinha p.303
  4. 4.0 4.1 Mark Lewis (2003). The Rough Guide to Singapore. Rough Guides. p. 64. ISBN 9781843530756.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-12. สืบค้นเมื่อ 2020-08-03.
  6. 6.0 6.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Corduan