พระยาประเสริฐสงคราม (เทียบ คมกฤส)
พระยาประเสริฐสงคราม (เทียบ คมกฤส) | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 1 เมษายน พ.ศ. 2477 | |
นายกรัฐมนตรี | พระยาพหลพลพยุหเสนา |
ก่อนหน้า | พลเรือโท พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) |
ถัดไป | พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2425 อำเภอบางบาล เมืองกรุงเก่า ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2484 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | หม่อมหลวงเครือวัลย์ ประเสริฐสงคราม |
บุตร | 12 คน |
พลตรี พระยาประเสริฐสงคราม (เทียบ คมกฤส) (18 ธันวาคม พ.ศ. 2425 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2484) ทหารบกชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ประวัติ
[แก้]พลตรี พระยาประเสริฐสงคราม มีนามเดิมว่า เทียบ คมกฤส เกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2425 ที่บ้านคลัง ตำบลบ้านคลัง อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็บบุตรของนายพรหม และนางแสง คมกฤส[1]
เริ่มศึกษาที่วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเมื่อปี พ.ศ. 2439 ได้เข้าศึกษาต่อวิชาทหารในโรงเรียนนายร้อยทหารบก จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2442 และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเป็น ร้อยตรี เมื่อ พ.ศ. 2444 และรับราชการสูงสุดที่ยศ พลตรี
พ.ศ. 2476 พลตรี พระยาประเสริฐสงคราม ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 4 และคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 5 ของ พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) และกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2477 โดยอ้างเหตุผลว่าป่วย ไม่สามารถรับราชการได้เต็มที่[2][3]
พระยาประเสริฐสงคราม สมรสกับหม่อมหลวงเครือวัลย์ ประเสริฐสงคราม (สกุลเดิม:สนิทวงศ์) ธิดาของพันตรี หลวงครรชิตสรกรรม (หม่อมราชวงศ์ดัด สนิทวงศ์) กับนางละม้าย (สกุลเดิม:ดิษยบุตร) มีบุตรธิดา 12 คน[4]
พลตรี พระยาประเสริฐสงคราม ถึงแก่กรรมเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2484[5]
บรรดาศักดิ์
[แก้]- 8 ธันวาคม พ.ศ. 2448 - ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น หลวงจงพยุหะ ถือศักดินา ๘๐๐ [6]
- 7 สิงหาคม พ.ศ. 2455 - ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น พระรามณรงค์ ถือศักดินา ๑๐๐๐[7]
- 20 เมษายน พ.ศ. 2461 - ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น พระยาประเสริฐสงคราม ถือศักดินา 1500[8]
ยศทหารและตำแหน่ง
[แก้]- ร้อยตรี (29 เมษายน พ.ศ. 2444)[9]
- ร้อยโท (25 มิถุนายน พ.ศ. 2445)
- ร้อยเอก (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2447)[10]
- พันตรี (14 ธันวาคม พ.ศ. 2449)[11]
- พันโท (3 พฤษภาคม พ.ศ. 2452)
- พันเอก (23 มีนาคม พ.ศ. 2459)[12]
- – เสนาธิการกองทัพน้อยทหารบกที่ 2
- 19 กันยายน พ.ศ. 2462 – ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 10[13]
- 7 เมษายน 2463 – ราชองครักษ์เวร[14]
- พลตรี (7 พฤษภาคม พ.ศ. 2466)[15]
ยศเสือป่า
[แก้]- – นายหมวดตรี
- 12 ธันวาคม 2461 – นายหมวดโท[16]
- 10 ธันวาคม 2463 – รักษาราชการแทนเสนาธิการกองเสนารักษาดินแดนอิสาณ[17]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- พ.ศ. 2467 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)[18]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[19]
- พ.ศ. 2475 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติ พลตรีพระยาประเสริฐสงคราม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-15. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 4 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-27. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-27. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
- ↑ "ศาสตราจารย์เทียม คมกฤส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
- ↑ อลงกฎ, พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. “กองทัพไทยของเรา.” อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี พระยาประเสริฐสงคราม (เทียบ คมกฤส). พระนคร : โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์, ๒๔๙๔. (หม่อมหลวงเครือวัลย์ ประเสริฐสงคราม พิมพ์แจก)
- ↑ ส่งสัญญาบัตรขุนนางไปพระราชทาน
- ↑ เลื่อนและตั้งบรรดาศักดิ์ (หน้า ๑๑๖๓)
- ↑ "พระราชทานตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๐๙)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-03. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน (หน้า ๑๐๔๙)
- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก (หน้า ๙๒)
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่องเลื่อนย้ายนายทหารรับราชการและออกจากประจำการ
- ↑ แจ้งความกรมราชองครักษ์ เรื่อง ตั้งราชองครักษ์เวร
- ↑ พระราชทานยศทหารและข้าราชการกระทรวงกลาโหม
- ↑ "พระราชทานยศเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 340. 22 ธันวาคม 1918. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2024.
- ↑ "แจ้งความกรมบัญชาการคณะเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 3106. 19 ธันวาคม 1920.
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า (หน้า 2657)
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (หน้า 3206)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๐๒๒, ๒๐ มีนาคม ๒๔๗๐