พรหมามนเทียร (ปุษกร)
หน้าตา
พรหมามนเทียรที่ปุษกร | |
---|---|
พรหมามนเทียร, ปุษกร[1] | |
พรหมามนเทียรที่ปุษกร | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | อัชเมร์ |
เทพ | พระพรหม,พระแม่คายตรี |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | ปุษกร |
รัฐ | รัฐราชสถาน |
ประเทศ | ประเทศอินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 26°29′14″N 74°33′15″E / 26.48722°N 74.55417°E |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | แบบราชสถาน |
เสร็จสมบูรณ์ | ศตวรรษที่ 14 (โครงสร้างปัจจุบัน) |
ชคัตปิตาพรหมามนเทียร (Jagatpita Brahma Mandir) เป็นโบสถ์พราหมณ์ในเมืองปุษกร รัฐราชสถาน ใกล้กับทะเลสาบปุษกร ที่นี่เป็นหนึ่งในโบสถ์พระพรหมไม่กี่แห่งที่ยังหลงเหลือในประเทศอินเดีย และเป็นที่ที่มีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาที่เหลืออยู่[2] อินเตอร์เนชั่นนัลบิสสิเนสไตมส์ ระบุว่าที่นี่และทะเลสาบปุษกรเป็นหนึ่งในห้าสถานที่แสวงบุญศักดิ์สิทธิ์ของประเทศอินเดีย[3]
สิ่งปลูกสร้างหลังปัจจุบันของมนเทียรสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 14[4] มีศิขระสีแดงขนาดใหญ่เป็นเอกลักษณ์ประดับด้วยภาพสลักนูนต่ำของ หงส์ ภายในครรภคฤห์ประดิษฐานจตุรพักตร์พรหม (พระพรหมสี่พักตร์) และพระแม่คายตรี ผู้ดูแลมนเทียรคือนักบวชกลุ่มสันยาสี[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Official board pictured in File:Pushkar05.jpg
- ↑ 2.0 2.1 "Temple Profile: Mandir Shri Brahma Ji". Devasthan Department, Govt of Rajasthan. 2001–2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2011. สืบค้นเมื่อ 31 January 2010.
- ↑ "Ten of the World's Most Religious Cities". Pushkar. International Business Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2009. สืบค้นเมื่อ 2010-01-24.
- ↑ "Brahma Temple". Rajasthan Tourism- The Official website of Rajasthan. Government of Rajasthan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2010. สืบค้นเมื่อ 30 January 2010.
- "City Development Plan for Ajmer and Pushkar" (PDF). Ajmer Municipal Council, Pushkar Municipal Board (Government of Rajasthan). June 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 April 2009. สืบค้นเมื่อ 29 January 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ พรหมามนเทียร (ปุษกร)