ข้ามไปเนื้อหา

ฝิ่นหนาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฝิ่นหนาม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
อันดับ: Ranunculales
วงศ์: Papaveraceae
สกุล: Argemone
สปีชีส์: A.  mexicana
ชื่อทวินาม
Argemone mexicana
L.
Argemone mexicana

ฝิ่นหนาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Argemone mexicana; อังกฤษ: Mexican poppy; Mexican prickly poppy; cardo หรือ cardosanto) จัดเป็นดอกป๊อปปี้ชนิดหนึ่งที่พบในเม็กซิโก เป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้งและดินเสื่อมโทรม มักพบในพื้นที่ถนนตัดใหม่ มียางสีเหลือง ซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์ฟันแทะ แต่ชาวอินเดียนแดงพื้นเมืองในเม็กซิโกและสหรัฐฝั่งตะวันตกใช้พืชนี้เป็นยา[1]

องค์ประกอบทางเคมี

[แก้]

เมล็ดของฝิ่นหนามประกอบด้วยน้ำมันรับประทานไม่ได้สีเหลืองอ่อน 22-36% เรียก argemone oil หรือ katkar oil ซึ่งประกอบด้วยอัลคาลอยด์ที่เป็นพิษ ได้แก่ sanguinarine และ dihydrosanguinarine นอกจากนั้น ยังพบอัลคาลอยด์ชนิด quaternary isoquinoline alkaloid อีกสี่ชนิดคือ dehydrocorydalmine jatrorrhizine columbamine และ oxyberberine ที่แยกได้จากพืชทั้งต้นของฝิ่นหนาม[2] เมื่อกรีดฝักจะได้ยางสีเหลืองตามรอยแผล ซึ่งมีเบอเบอรีน และ โพรโทพีน

ความเป็นพิษ

[แก้]

เมล็ดของฝิ่นหนามคล้ายกับเมล็ดของมัสตาร์ด ( Brassica nigra) ทำให้เมล็ดของฝิ่นหนามกลายเป็นสิ่งปลอมปนของเมล็ดมัสตาร์ดได้ ทำให้เกิดความเป็นพิษขึ้น ซึ่งพบเหตุการณ์นี้หลายครั้งใน อินเดีย ฟิจิ แอฟริกาใต้ และประเทศอื่นๆ การเกิดขึ้นครั้งล่าสุด เกิดที่อินเดียเมื่อ พ.ศ. 2541 การปนเปื้อนน้ำมันจากฝิ่นหนามเพียง 1% ทำให้เกิดอาการทางคลินิกได้ ความเป็นพิษของ Katkar oil ทำให้เกิดอาการบวมโดยเฉพาะที่ขา


แพทย์พื้นบ้าน

[แก้]

ชาวเซรีในซาโนรา ประเทศเม็กซิโกใช้ฝิ่นหนามทั้งต้นทั้งสดและแห้ง น้ำที่ได้จากการแช่ใช้ดื่มรักษาอาการปวดไต ช่วยขับรกและทำความสะอาดร่างกายหลังคลอดบุตร [1] เมื่อชาวสเปนมาถึงซาโนราได้นำฝิ่นหนามไปใช้เป็นยาด้วยโดยใช้เป็นยาแก้ปวดและยากล่อมประสาท เมล็ดใช้เป็นยาระบาย[3] ในมาลีใช้รักษามาลาเรีย[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Felger, R. S.; Moser, M. B. (1985). People of the Desert and Sea. Tucson, AZ: University of Arizona Press.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Singh, S.; Singh, T. D.; Singh, V. P.; Pandey, V. B. (February 2010). "Quaternary Alkaloids of Argemone mexicana". Pharmaceutical Biology. 48 (2): 158–160. doi:10.3109/13880200903062622. PMID 20645832.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Moore, M. (1990). Los Remedios: Traditional Herbal Remedies of the Southwest. Santa Fe, NM: Museum of New Mexico Press.
  4. Willcox, M. L.; Graz, B.; Falquet, J.; และคณะ (2007). "Argemone mexicana Decoction for the Treatment of Uncomplicated Falciparum Malaria". Transactions of the Royal Society of Tropical Medicine and Hygiene. 101 (12): 1190–1198. doi:10.1016/j.trstmh.2007.05.017. PMID 17920092.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)