ผู้ใช้:M sky/เภสัชกรรม
เภสัชกรรม (อังกฤษ: Pharmacy, [φάρμακον 'pharmakon'] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถาน หมายถึงวิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยการเตรียมเครื่องยา, ตัวยาจากธรรมชาติหรือการสังเคราะห์ให้เป็นยาสําเร็จรูป อันหมายถึงวิชาชีพด้านการปรุงยา และจ่ายยา รวมถึงการดูแลผู้ป่วยด้วย ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 กำหนดความหมายของวิชาชีพเภสัชกรรมไว้ว่าเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวกับการกรทำในการเตรียมยา การผลิตยา การประดิษฐ์ยา การเลือกสรรยา การวิเคราะห์ยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา การปรุงยา และจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ รวมทั้งการดำเนินการปรุงยาและการขายยาตามปฏหมายว่าด้วยยา
นิรุกติศาสตร์และความหมายของคำ
[แก้]ประวัติ
[แก้]ประวัติเภสัชกรรมสากล
[แก้]เภสัชกรรมเป็นวิชาชีพที่ถือกำเนิดควบคู่กับมนุษย์มานานแล้ว ด้วยเหตุที่ยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นในการดำรงชีพของมนุษย์ ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ การรักษาโรคของมนุษย์อาศัยการสังเกตพฤติกรรมของสัตว์อื่นๆ ทำให้เกิดการสะสมองค์ความรู้ต่อมาเรื่อยๆ อย่างไรก็ดี การรักษาโรคยังคงมีความเชื่อในอำนาจลี้ลับ บ้างใช้เวทย์มนต์ และไสยศาสตร์ รวมถึงการติดต่อกับพระเจ้า ควบคู่ไปกับการใช้สมุนไพร
ครั้นต่อมาในสมัยเมโสโปเตเมีย ได้เริ่มมีการบันทึกเรื่องราวทางการแพทย์และเภสัชกรรมเพิ่มขึ้น โดยจารึกในก้อนดินเหนียมด้วยอักษรคูนิฟอร์ม แล้วนำไปตากแห้ง ปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย นับเป็นเภสัชตำรับฉบับแรกของโลก (อังกฤษ: Earlist Pharmacopoeia) โดยในยุคนี้ การแพทย์ยังคงผูกพันกับไสยศาสตร์ นับถือพระผู้เป็นเจ้าที่บำบัดรักษาโรค ในสมัยนี้การรักษาโรคได้ใช้สมุนไพรหล
ประวัติเภสัชกรรมไทย
[แก้]สัญลักษณ์แห่งวิชาชีพ
[แก้]ข้อมูล | ภาพสัญลักษณ์ |
---|---|
โกร่งบดยา | |
โกร่งบดยา (อังกฤษ: mortar and pestle, ความหมาย: ครก และ สาก) โกร่งบดยาคือเครื่องมือที่เภสัชกรใช้บดยาและปรุงยาซึ่งประกอบด้วยตัวโกร่ง (mortar) และลูกบด (pestle) โดยทั่วไปโกร่งจะมีลักษณะเหมือนชามคอนข้างหนาปากกว้าง ภายในผิวเรียบมัน ส่วนใหญ่โกร่งบดยาจะทำด้วยกระเบื้องพอร์ซเลน(porcelain) ใช้สำหรับใส่วัสดุที่จะบด ลูกบดมีลักษณะเป็นแท่งใช้สำหรับทุบและบดวัสดุที่ต้องการให้ละเอียดและผสมเข้ากันส่วนมากจะทำด้วยไม้ โกร่งจึงเป็นสัญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรมอยู่ประจำร้านขายยาในเวลาต่อมา
|
|
เรซิพี | |
Rx เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในใบสั่งยาจากแพทย์ถึงเภสัชกร เริ่มแรกเข้าใจว่าเป็นการเขียนอักขระลงเลขยันต์เพราะสมัยก่อนการแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพเช่นปัจจุบัน โอกาสที่คนไข้จะหายหรือตายไม่ต่างกันมากนัก การอาศัยโชคช่วยจึงมีส่วนในการรักษา โดยการเขียนคำในภาษาลาตินว่า recipe (เรซิพี) [1] หมายถึง สูตร ตำรับ เขียนไปเขียนมามีการตัดหางตัวอาร์เลยกลายเป็น Rx ที่เห็นกันในปัจจุบัน | |
ถ้วยยาไฮเกีย | |
ถ้วยยาไฮเกีย หรือ ถ้วยยาไฮเจีย (อังกฤษ: Bowl of Hygeia) รูปงูศักดิ์สิทธิ์พันรอบถ้วยยาของเทพีไฮเจีย (Hygeia) ซึ่งเป็นเทพี แห่งสุขภาพอนามัย ความสะอาด และสุขลักษณะ และเป็นธิดาของแอสคลีปิอุส (Asclepius) ที่มีหน้าที่ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และต่อมาถูกยกย่องเป็นเทพแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน ส่วนไฮเกียถูกยกย่องเป็นเทพีแห่งเภสัชกรรมด้วย | |
ถ้วยตวงยา | |
ถ้วยตวงยา (อังกฤษ:conical measure) เป็นภาชนะที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมี บริเวณปากภาชนะจะบากเป็นร่องเพื่อให้เทสารเคมีที่เป็นของเหลวออกมาได้สะดวก และด้านข้างจะมีขีดเครื่องหมายบอกปริมาตรของเหลวที่บรรจุอยู่ด้วย ภาชนะเหล่านี้อาจทำด้วยพลาสติก แก้ว หรือโบโรซิลิเกต (borosilicate)
ถ้วยตวงยา (measuring cups) สำหรับผู้ป่วยนิยมทำด้วยพลาสติก เพราะแตกเสียหายยาก ส่วนที่ทำด้วยแก้วโบโรซิลิเกต มักใช้ในห้องปฏิบัติการเภสัชกรรม |
ไฟล์:Conical-measure.jpg |
เฉลว | |
เฉลว(อังกฤษ:Chalew) เป็นเครื่องหมายทำด้วยเส้นตอกไม้ไผ่หรือหวายเส้น หักขัดกันเป็นมุม ตั้งแต่สามมุมขึ้นไป | ไฟล์:CHALAK.jpg |
กากบาทเขียว | |
กากบาทเขียว (อังกฤษ: pharmacy cross) เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของวิชาชีพเภสัชกรรม
นิยมมากในประเทศสหราชอาณาจักรและประเทศฝรั่งเศส |