ผัน บุญชิต
ผัน บุญชิต | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 15 มกราคม พ.ศ. 2529 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 |
เสียชีวิต | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2541 (79 ปี) |
ผัน บุญชิต (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 - 7 ธันวาคม พ.ศ. 2541) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี 6 สมัย
ประวัติ
[แก้]ผัน บุญชิต เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462[1] สำเร็จการศึกษาธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
งานการเมือง
[แก้]ผัน เคยดำรงตำแหน่งเป็น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดบุรีรัมย์[2] ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2495 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2529 รวม 6 สมัย [3]
ผัน ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2526 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ครม.43)[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ผัน บุญชิต ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 6 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดอุบลราชธานี
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา[5]
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคสหภูมิ → พรรคชาติสังคม[6]
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคราษฎร
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]ผัน บุญชิต ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2541 สิริอายุ 79 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2529. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2529
- ↑ "วิเคราะห์กรณีป้าย "แยกดงอู่ผึ้ง"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-08-25.
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๒, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๒๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2462
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2541
- บุคคลจากจังหวัดอุบลราชธานี
- นักกฎหมายชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
- พรรคเสรีมนังคศิลา
- พรรคสหภูมิ
- พรรคชาติสังคม
- นักการเมืองพรรคกิจสังคม
- พรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)
- บุคคลจากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.