ข้ามไปเนื้อหา

ปลาสเกต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาสเกต
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเตเชียสยุคสุดท้าย–ปัจจุบัน[1]
ปลาสเกตอาร์กติก, Amblyraja hyperborea
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับใหญ่: Batoidea
อันดับ: Rajiformes
Berg, 1940
วงศ์: Rajidae
Bonaparte, 1831
สกุล
ดูในเนื้อหา

ปลาสเกต (อังกฤษ: Skate) ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง ในกลุ่มปลากระเบน จัดอยู่ในวงศ์ Rajidae จัดเป็นปลากระเบนขนาดเล็ก แต่มีความแตกต่างไปจากปลากระเบนรวมถึงปลากระดูกอ่อนจำพวกอื่น ๆ

ปัจจุบันพบมากกว่า 200 ชนิด แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย คือ Rajinae และ Arhynchobatinae

ปลาสเกตนับว่าเป็นปลากระเบนขนาดเล็ก จึงนิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศทางตะวันตก เพราะมีขนาดเล็กและเนื้อไม่มีกลิ่นแอมโมเนียฉุนเหมือนกับปลากระเบนจำพวกอื่น[2]

การจำแนก

[แก้]

แบ่งเป็นสกุล

โดยปลาสเกตที่พบได้ในน่านน้ำไทย มีรายงานเพียงชนิดเดียว คือ ปลาสเกตทะเลซูลู, Okamejei jensenae พบที่ท่าเทียบเรือจังหวัดระนองและภูเก็ต จัดเป็นปลาน้ำลึกที่พบไม่บ่อยนัก[3]

ความแตกต่างระหว่างปลาสเกตกับปลากระเบน

[แก้]
กระเป๋านางเงือก หรือไข่ของปลาสเกต
ปลาสเกตว่ายน้ำโดยใช้ครีบอก
ความแตกต่างทั่วไปของปลาสเกตกับปลากระเบน
ลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันไปทั่วของปลาสเกตกับปลากระเบน
ปลาสเกต
ปลากระเบน
อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างกันโดยพื้นฐาน
ลักษณะ ปลาสเกต ปลากระเบน ข้อมูล
การเกิด ปลาสเกตเป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่ โดยถือว่าเป็นปลากระดูกอ่อนเพียงไม่กี่จำพวกที่วางไข่ และเป็นปลากระเบนกลุ่มเดียวที่วางไข่ โดยไข่ถูกเรียกว่ากระเป๋านางเงือก ปลากระเบนออกลูกเป็นตัว โดยลูกปลาพัฒนาจนเป็นตัวในช่องท้องของแม่ เมื่อออกลูกจะออกคราวละ 1–5 ตัว [4] [3]
ครีบหลัง แตกต่าง หายไปหรือปรากฏร่องรอย [4]
ครีบเชิงกราน ครีบแบ่งออกเป็นสองแฉก ครีบแบ่งออกเป็นแฉกเดียว [5]
หาง หางอวบอ้วน ไม่มีเงี่ยงแหลม หางเรียวยาวเหมือนแส้ มีเงี่ยงแหลมหนึ่งหรือสองชิ้น [4][5]
การป้องกันตัว ป้องกันตัวเองโดยการใช้ตุ่มหนามบนหลัง ป้องกันตัวเองด้วยการใช้เงี่ยงแหลมที่โคนหาง [4]
ฟัน เล็ก ฟันแบนเหมาะสำหรับการบดอาหาร [4]
ขนาด โดยทั่วไปเล็กกว่าปลากระเบน โดยทั่วไปใหญ่กว่าปลาสเกต [4]
สี มักจะมีสีทึบทึม เช่น น้ำตาลหรือเทา (แต่ไม่เสมอไป) บ่อยครั้งที่พบว่ามีลวดลายต่าง ๆ (แต่ไม่เสมอไป) [5]
แหล่งอาศัย อาศัยอยู่ในทะเลลึก (แต่ไม่เสมอไป) อาศัยอยู่ในน้ำตื้น (แต่ไม่เสมอไป) [5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2009). "Rajidae" ในฐานข้อมูลปลา. ฉบับ January 2009
  2. "สเกต(Skate) หรือปลากระเบนขนาดเล็ก….กินได้". healthmeplease. December 24, 2013. สืบค้นเมื่อ July 17, 2016.
  3. 3.0 3.1 ทัศพล กระจ่างดารา. 2556. คู่มือภาคสนามการแยกชนิดปลากระเบนที่พบในน่านน้ำไทย. ศูนย์วิจัยและ พัฒนาประมงทะเลฝั่งอันดามัน, สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีประมงทะเล, สำนักวิจัยและ พัฒนาประมงทะเล, กรมประมง. 44 หน้า.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Ichthyology: Ray and Skate Basics Florida Museum of Natural History. Retrieved 21 March 2013.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Skate or Ray? ReefQuest Centre for Shark Research. Retrieved 212 March 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]