ปรากฏการณ์การวางกรอบ
ปรากฏการณ์การวางกรอบ[1] (อังกฤษ: framing effect) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่เรามีปฏิกิริยาต่อทางเลือกอย่างหนึ่งโดยต่าง ๆ กันไปขึ้นอยู่กับว่ามีการแสดงทางเลือกนั้นอย่างไร เช่นโดยเป็นการได้หรือการเสีย[2] (ดูตัวอย่างในการหลีกเลี่ยงการเสีย) คือ เรามักจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเมื่อแสดงทางเลือกนั้นโดยเป็นการได้ และจะทำการเสี่ยงเมื่อแสดงทางเลือกนั้นโดยเป็นการเสีย[3] การได้และการเสียสามารถวางกรอบได้โดยใช้คำแสดงผลต่าง ๆ กัน (เช่น จะมีการเสียชีวิตหรือจะมีการช่วยชีวิต คนไข้จะได้รับการรักษาหรือไม่ได้รับการรักษา)
ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม โดยเฉพาะคือ Prospect theory แสดงว่า
- การเสียที่มีมูลค่าเท่ากับการได้กลับมีความสำคัญต่อเรามากกว่า[3]
- เราชอบใจการได้ที่ชัวร์ มากกว่าการได้ที่เป็นเพียงแต่มีโอกาส คือเป็นไปตามความน่าจะเป็น[4]
- เราชอบใจการเสียที่เป็นเพียงแต่มีโอกาส มากกว่าการเสียที่แน่นอน[3]
อันตรายของปรากฏการณ์นี้ก็คือ ในชีวิตประจำวันจริง ๆ จะมีการแสดงทางเลือกโดยวางกรอบเป็นการได้หรือการเสียอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น[5]
ทฤษฎีนี้ช่วยให้เข้าใจการวางกรอบที่มีในการเคลื่อนไหวทางสังคม และในการสร้างความคิดเห็นทางการเมือง ที่ทำการปั่นเสียงเมื่อทำโพลทางการเมือง แล้วใช้การวางกรอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่สนับสนุนมุมมองของกลุ่มบุคคลที่ให้ทุนการทำโพล การทำเช่นนี้ทำให้มีนักวิชาการอ้างว่า เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของโพลการเมือง แม้ว่าจะมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ที่โพลมีให้กับสาธารณชน[6]
งานวิจัย
[แก้]ในปี ค.ศ. 1981 อะมอส ทเวอร์สกี้และแดเนียล คาฮ์นะมันตรวจสอบว่า การใช้คำวางกรอบทางเลือก มีอิทธิพลต่อคำตอบของผู้ร่วมการทดลองในสถานการณ์ที่เกี่ยวกับความเป็นความตาย (สมมุติ) อย่างไร[3] คือ มีการให้ผู้ร่วมการทดลองเลือกวิธีการรักษาสองอย่างสำหรับคน 600 คนที่เกิดโรคร้ายแรงถึงตาย การรักษาแบบแรกมีการพยากรณ์ว่า "มีผลให้ตาย 400 คน" เทียบกับการรักษาแบบที่สองที่ "มีโอกาส 33% ว่าจะไม่มีใครเสียชีวิต แต่ก็มีโอกาส 66% ว่าทุกคนจะเสียชีวิต" ทางเลือกเหล่านี้มีการแสดงให้ผู้ร่วมการทดลองโดยการวางกรอบคำพูดแบบบวก คือ จะมีกี่คนที่รอดชีวิต หรือว่า แบบลบ คือ จะมีกี่คนที่เสียชีวิต
การวางกรอบคำพูด | การรักษาแบบแรก | การรักษาแบบที่สอง |
---|---|---|
แบบบวก | "ช่วยชีวิต 200 คน" | "มีโอกาส 33% ช่วยชีวิตทั้ง 600 คน มีโอกาส 66% ที่จะไม่ช่วยใครเลย" |
แบบลบ | "400 คนจะเสียชีวิต" | "มีโอกาส 33% ว่าจะไม่มีใครเสียชีวิต มีโอกาส 66% ว่า ทั้ง 600 คนจะเสียชีวิต" |
ผู้ร่วมการทดลอง 72% เลือกวิธีการรักษาแรกเมื่อใช้คำพูดแบบบวก (คือ ช่วยชีวิต 200 คน) แต่จะมีเพียง 22% ที่เลือกเมื่อใช้คำพูดแบบลบ (คือ 400 คนจะเสียชีวิต)
ปรากฏการณ์นี้พบในการทดลองในสถานการณ์อื่น ๆ คือ
- นักศึกษาปริญญาเอก 93% ลงทะเบียนก่อนเวลาเมื่อมีการเน้นว่าจะต้องเสียค่าปรับถ้าลงทะเบียนสาย เทียบกับ 67% ที่ลงทะเบียนก่อนแมื่อแสดงว่าจะได้ส่วนลดเนื่องจากการลงทะเบียนก่อน[7]
- ผู้รับการสำรวจ 62% ไม่เห็นด้วยในการให้อนุญาต "เพื่อประณามประชาธิปไตยต่อหน้าสาธารณชน" แต่มีเพียง 46% ที่เห็นด้วยว่า เป็นความถูกต้องที่จะ "ห้ามการประณามประชาธิปไตยต่อหน้าสาธารณชน"[8]
- จะมีคนสนับสนุนนโยบายทางเศรษฐกิจมากกว่าถ้าเน้นอัตราการจ้างงาน มากกว่าเมื่อเน้นอัตราการตกงาน[6]
- มีการอ้างว่า การจำขังก่อนการพิพากษาคดีจะเพิ่มความร่วมมือจากผู้ต้องสงสัย เนื่องจากว่า การถูกจำขัง ไม่ใช่อิสรภาพ จะกลายเป็นมาตรฐานของผู้ต้องสงสัย ทำให้เห็นการให้ความร่วมมือว่า เป็นเหตุที่จะได้รับการปล่อยตัวเร็วขึ้น แทนที่จะเห็นว่า เป็นเหตุที่จะทำให้ตนถูกจำขัง[9]
เป็นวิธีการทางความคิดที่ไม่สมเหตุผล
[แก้]ปรากฏการณ์ดังที่แสดงในตัวอย่างต่าง ๆ เป็นเหตุให้ความคิดของมนุษย์ไม่สมเหตุผล ไม่ถูกตรรกะ คือ ทางตรรกวิทยา กฎ extensionality กำหนดว่า “สูตร (เช่นฟังก์ชัน) สองอย่างที่ให้ค่าความจริง (คือผล) เดียวกัน ไม่ว่าจะใช้ค่าอะไร (คือเหตุ) ต้องสามารถทดแทนกันได้ถ้ารักษาค่าความจริงไว้ได้ ในประโยคอะไรก็ตามที่มีสูตรนั้น”[10] กล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือ หลัก extensionality จัดว่า อะไรที่มีลักษณะภายนอกที่เหมือนกันจัดเป็นของที่เท่ากัน ถ้าเราตัดสินใจตามกฎนี้ วิธีการแสดงปัญหาก็ไม่ควรจะมีผลต่อการตัดสินใจ เช่น การแสดงปัญหาโดยใช้คำต่าง ๆ กัน ไม่ควรที่จะมีผลเป็นการตัดสินใจที่ต่างกัน เมื่อการประเมินตัดสินของเรากลับอาศัยข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นดังที่แสดงมาแล้ว นี่เป็นความคิดที่ไม่สมเหตุผล ไม่สมกับหลักตรรกศาสตร์[10]
องค์ประกอบคือวัย
[แก้]ปรากฏการณ์การวางกรอบเป็นความเอนเอียงที่มีกำลังที่สุดอย่างหนึ่งในการตัดสินใจ เป็นความเอนเอียงที่สามารถพิสูจน์ได้อย่างคงเส้นคงวาในงานทดลองต่าง ๆ[11] โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ความเสี่ยงต่อปรากฏการณ์นี้เพิ่มขึ้นตามวัย และความแตกต่างระหว่างวัยเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ[12][13][14] และการตัดสินใจทางการเงิน[15] แต่ว่า ปรากฏการณ์นี้ดูจะอันตรธานไปถ้าเกี่ยวเนื่องกับภาษาที่สอง[16] ซึ่งอาจจะอธิบายได้ว่า ภาษาที่สองสร้างความห่างไกลทางประชานและทางอารมณ์มากกว่าภาษาบ้านเกิด[17] และมีการประมวลผลอัตโนมัติในระดับที่น้อยกว่าภาษาบ้านเกิด ซึ่งนำไปสู่การไตร่ตรองที่เพิ่มขึ้น จึงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ และมีผลเป็นการตัดสินใจอย่างเป็นระบบมากกว่า[18]
วัยเด็กและวัยรุ่น
[แก้]ปรากฏการณ์มีกำลังเพิ่มขึ้นเมื่อเด็กเจริญวัยขึ้น[19][20][21] โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า การหาเหตุผลเชิงคุณภาพ (เทียบกับเชิงปริมาณ) จะมีเพิ่มขึ้นตามอายุ[19] คือ ในขณะที่เด็กวัยก่อนอนุบาลมีโอกาสสูงกว่าที่จะทำการตัดสินใจขึ้นอยู่กับปริมาณ เช่นโอกาสความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นของผล เด็กประถมและเด็กวัยรุ่นมีโอกาสสูงขึ้นเรื่อย ๆ ที่จะใช้เหตุผลเชิงคุณภาพ โดยเลือกผลที่ชัวร์ ๆ ในกรอบการได้ และเลือกการเสี่ยงผลในกรอบการเสีย ไม่ว่าความน่าจะเป็นจะเป็นอย่างไรจริง ๆ[19] การใช้เหตุผลเชิงคุณภาพเพิ่มขึ้น มีความสัมพันธ์กับการคิดที่ “อาศัยสาระสำคัญ” (gist based) ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในชีวิต[22]
อย่างไรก็ดีการคิดหาเหตุผลเชิงคุณภาพ และดังนั้นความเสี่ยงต่อปรากฏการณ์นี้ ก็ยังไม่มีกำลังในเด็กวัยรุ่นเท่ากับในผู้ใหญ่[19][21] และเด็กวัยรุ่นมีโอกาสสูงกว่าที่จะเลือกเสี่ยงผลทั้งในการกรอบการได้ ทั้งในกรอบการเสีย[20] ซึ่งอาจจะอธิบายได้ว่า เด็กวัยรุ่นขาดประสบการณ์เกี่ยวกับผลลบที่อาจจะเกิดขึ้น และดังนั้น ต้องประเมินการได้การเสียโดยเป็นกระบวนการเหนือสำนึก[20] โดยเพ่งความสนใจไปที่ข้อมูล รายละเอียด หรือการวิเคราะห์โดยปริมาณ บางอย่างโดยเฉพาะ[23] แล้วจึงมีผลเป็นการลดระดับปรากฏการณ์นี้ และทำให้เกิดความสม่ำเสมอทั้งในการวางกรอบเป็นการได้หรือเป็นการเสียมากกว่าผู้ใหญ่[23] แต่ว่า โดยเปรียบเทียบกันแล้ว เด็กวัย 10-12 ขวบมีโอกาสสูงกว่าในการเสี่ยงผลที่เป็นการแสดงปรากฏการณ์นี้ มากกว่าเด็กอายุน้อยกว่า ผู้จะพิจารณาความแตกต่างโดยปริมาณของทางเลือกที่ให้เท่านั้น[24]
ผู้ใหญ่รุ่นหนุ่มสาว
[แก้]ผู้ใหญ่รุ่นหนุ่มสาวมีโอกาสมากกว่าผู้ใหญ่อายุมากกว่าที่จะเสี่ยงผลเมื่อให้ทางเลือกมีกรอบเป็นการเสีย[11]
ในงานศึกษาหลายงานทำกับนักศึกษาปริญญาตรี นักวิจัยพบว่า นักศึกษาชอบใจทางเลือกที่มีกรอบเป็นการได้มากกว่า[25] ยกตัวอย่างเช่น ชอบใจเนื้อในตลาดที่ติดป้ายว่า "เนื้อไม่มัน 75%" มากกว่า "มีมัน 25%" หรือใช้ถุงยางอนามัยที่โฆษณาว่า "ได้ผล 95%" มากกว่าที่โฆษณา "มีโอกาสพลาด 5%"[25]
หนุ่มสาวมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อปรากฏการณ์นี้ เมื่อปัญหาเป็นเรื่องคลุมเครือไม่มีคำตอบ และแต่ละคนจะต้องกำหนดเองว่า ข้อมูลอะไรเข้าประเด็นกับปัญหา[25] ยกตัวอย่างเช่น นักศึกษาปริญญาตรียินดีที่จะซื้อของเช่นตั๋วหนังหลังจากเงินหายมีมูลค่าเท่ากับของ มากกว่าที่จะซื้อของหลังจากของหาย[25]
ผู้ใหญ่ที่อายุมาก
[แก้]ปรากฏการณ์นี้มีกำลังในผู้ใหญ่อายุมาก มากกว่ารุ่นหนุ่มสาว และในเด็กวัยรุ่น[12][13] นี้อาจจะเป็นเพราะมีความเอนเอียงประเภท negativity bias[26] มากขึ้น[13] แม้ว่าจะมีนักวิชาการที่อ้างว่า negativity bias จริง ๆ จะลดลงตามลำดับอายุ[15] คำอธิบายอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้ใหญ่อายุมากอาจจะมีทรัพยากรทางประชานน้อยกว่า จึงมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้กลยุทธ์ทางความคิดที่ใช้ทรัพยากรน้อยกว่าเมื่อต้องตัดสินใจ[11] คือ มักจะอาศัยข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่าย ๆ เช่นกรอบที่วางไว้ ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะเกี่ยวข้องกับปัญหาที่เป็นประเด็นหรือไม่[11]
มีงานศึกษาหลายงานที่แสดงว่า หนุ่มสาวจะทำการตัดสินใจที่มีความเอนเอียงน้อยกว่าผู้ใหญ่อายุมาก เพราะว่า พวกเขาตัดสินใจโดยตีความตามรูปแบบของเหตุการณ์ และสามารถใช้กลยุทธ์การตัดสินใจที่ดีกว่า ที่ต้องใช้ทรัพยากรทางประชาน เช่นทักษะต่าง ๆ ที่ต้องใช้ความจำใช้งาน (working-memory) เทียบกับผู้ใหญ่อายุมาก ผู้จะทำการตัดสินใจอาศัยปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทันทีต่อการได้หรือการเสีย[11]
การขาดทรัพยากรทางประชานของผู้สูงวัย เช่นความยืดหยุ่นได้ในการใช้กลยุทธ์ในการตัดสินใจ อาจเป็นเหตุให้ผู้สูงวัยจะได้รับอิทธิพลจากการตั้งกรอบทางอารมณ์มากกว่าหนุ่มสาวและเด็กวัยรุ่น[27] นอกจากนั้นแล้ว เมื่อเราอายุมากกว่า เราจะตัดสินใจเร็วกว่าเมื่อยังเป็นหนุ่มสาว[11] แต่ว่า ให้สังเกตว่า ถ้ามีคนอื่นบอกให้ทำ ผู้ใหญ่ที่สูงวัยบ่อยครั้งสามารถตัดสินใจอย่างมีความเอนเอียงน้อยกว่าเมื่อให้ตัดสินใจใหม่[11][12]
ปรากฏการณ์การวางกรอบที่เพิ่มขึ้นในผู้สูงวัยมีผลที่สำคัญ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล[12][13][14] คือผู้สูงวัยจะมีความอ่อนไหวในระดับสูงต่อข้อมูลรายละเอียดที่ให้หรือไม่ได้ให้ ซึ่งหมายความว่า อาจจะตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่สำคัญ ขึ้นอยู่กับว่า คุณหมอจะวางกรอบทางเลือกที่ให้อย่างไร ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างเชิงปริมาณของทางเลือก ซึ่งอาจจะมีผลเป็นการตัดสินใจที่ไม่สมควร[11]
เมื่อพิจารณาการรักษาโรคมะเร็ง การวางกรอบสามารถเปลี่ยนการตัดสินใจของผู้สูงวัยจากการรอดชีวิตในระยะสั้นไปยังระยะยาว โดยการวางกรอบแบบเสียและแบบได้ตามลำดับ[12] คือเมื่อรับข้อมูลเกี่ยวการรักษาที่วางกรอบว่ามีผลบวก มีผลลบหรือมีผลเปล่า ผู้สูงวัยมีโอกาสสูงอย่างมีนัยสำคัญที่จะยอมรับการรักษาเมื่อได้ข้อมูลบวก มากกว่าที่จะยอมรับการรักษาเดียวกันนั่นแหละเมื่อข้อมูลเป็นแบบลบหรือเป็นแบบเปล่า[13] นอกจากนั้นแล้ว การวางกรอบแม้แต่สามารถจะเปลี่ยนความคิด หลังจากตัดสินใจแล้ว คือเป็นเหตุให้เลิกล้มการตัดสินใจเบื้องต้น แล้วยอมรับการรักษาที่เป็นทางเลือก[13] นอกจากนั้นแล้ว ผู้สูงวัยจะสามารถจำข้อมูลที่มีการวางกรอบเป็นแบบบวกได้ดีกว่าที่มีกรอบแบบลบ[12][28] ซึ่งมีหลักฐานจากงานวิจัยที่ตรวจการระลึกข้อมูลการรักษาพยาบาลจากแผ่นพับของผู้สูงวัย[12][28]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ framing ว่า "การวางกรอบภาพ"
- ↑ Plous 1993
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Tversky & Kahneman 1981
- ↑ Clark 2009
- ↑ Druckman 2001a
- ↑ 6.0 6.1 Druckman 2001b
- ↑ Gächter et al. 2009
- ↑ Rugg, as cited in Plous 1993
- ↑ Bibas, Stephanos (2004). "Plea Bargaining outside the Shadow of Trial". Harvard Law Review. 117 (8): 2463–2547. JSTOR 4093404.
- ↑ 10.0 10.1 Bourgeois-Gironde, Sacha; Giraud, Raphaël (2009). "Framing effects as violations of extensionality". Theory and Decision. 67 (4): 385–404. doi:10.1007/s11238-009-9133-7. ISSN 0040-5833.
two formulas which have the same truth-value under any truth-assignments to be mutually substitutable salva veritate in a sentence that contains one of these formulas.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 11.7 doi:10.1093/geronb/gbr076
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 Erber, Joan (2013). Aging and Older Adulthood (3 ed.). John Wiley & Sons. p. 218. ISBN 978-0-470-67341-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-10. สืบค้นเมื่อ 2015-04-22.
{{cite book}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 Peters, Ellen; Finucane, Melissa; MacGregor, Donald; Slovic, Paul (2000). "The Bearable Lightness of Aging: Judgment and Decision Processes in Older Adults". ใน Stern, Paul C; Carstensen, Laura L. (บ.ก.). The aging mind: opportunities in cognitive research (PDF). Washington, D.C.: National Academy Press. ISBN 0-309-06940-8.
- ↑ 14.0 14.1 Hanoch, Yaniv; Rice, Thomas (2006). "Can Limiting Choice Increase Social Welfare? The Elderly and Health Insurance". The Milbank Quarterly. 84 (1): 37–73. doi:10.1111/j.1468-0009.2006.00438.x. JSTOR 25098107.
- ↑ 15.0 15.1 doi:10.1111/j.1749-6632.2011.06390.x
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ Keysar, B.; Hayakawa, S. L.; An, S. G. (2012). "The Foreign-Language Effect: Thinking in a Foreign Tongue Reduces Decision Biases". Psychological Science. 23 (6): 661–668. doi:10.1177/0956797611432178. ISSN 0956-7976.
- ↑ Keysar, Boaz; Hayakawa, Sayuri; An, Sun Gyu. "The Foreign-Language Effect : Thinking in a Foreign Tongue Reduces Decision Biases" (PDF). University of Chicago: Psychology. Psychological Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-11-23. สืบค้นเมื่อ 2014-12-03.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Keysar, Boaz; Hayakawa, Sayuri; An, Sun Gyu. "The Foreign-Language Effect : Thinking in a Foreign Tongue Reduces Decision Biases" (PDF). University of Chicago: Psychology. Psychological Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-11-23. สืบค้นเมื่อ 2014-12-03.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 doi:10.1111/j.1529-1006.2006.00026.x
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ 20.0 20.1 20.2 doi:10.1111/j.1532-7795.2010.00724.x
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ 21.0 21.1 doi:10.1111/j.1749-6632.2011.06208.x
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ doi:10.1177/0272989X08327066
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ 23.0 23.1 doi:10.1024/1421-0185.64.3.153
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ doi:10.1016/j.dr.2006.05.002
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ 25.0 25.1 25.2 25.3 Revlin, Russell (2012). "Chapter 11: Solving Problems". Cognition: Theory and Practice. New York, New York: Worth Publishers. ISBN 978-0716756675.
- ↑ negativity bias เป็นปรากฏการณ์ทางจิตที่เราสามารถระลึกถึงความทรงจำเชิงลบได้ดีกว่า เทียบกับความทรงจำเชิงบวก
- ↑ doi:10.1111/j.1468-5884.2010.00432.x
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ 28.0 28.1 doi:10.1111/j.1749-6632.2011.06209.x
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
แหล่งข้อมูล
[แก้]- Levin, Irwin P.; Gaeth, Gary J. (1988). "How Consumers are Affected by the Framing of Attribute Information Before and After Consuming the Product". Journal of Consumer Research. 15 (3): 374–378. doi:10.1086/209174. JSTOR 2489471.
- Clark, D (2009). Framing effects exposed. Pearson Education.
- Druckman, J. (2001a). "Evaluating framing effects". Journal of Economic Psychology. 22: 96–101. doi:10.1016/S0167-4870(00)00032-5.
- Druckman, J. (2001b). "Using credible advice to overcome framing effects". Journal of Law, Economics, and Organization. 17: 62–82. doi:10.1093/jleo/17.1.62.
- Gächter, S.; Orzen, H.; Renner, E.; Stamer, C. (2009). "Are experimental economists prone to framing effects? A natural field experiment". Journal of Economic Behavior & Organization. doi:10.1016/j.jebo.2007.11.003.
- Plous, Scott (1993). The psychology of judgment and decision making. McGraw-Hill. ISBN 978-0-07-050477-6.
- Tversky, Amos; Kahneman, Daniel (1981). "The Framing of decisions and the psychology of choice". Science. 211 (4481): 453–458. doi:10.1126/science.7455683. PMID 7455683.
- Kühberger, Anton; Tanner, Carmen (2010). "Risky choice framing: Task versions and a comparison of prospect theory and fuzzy-trace theory". Journal of Behavioral Decision Making. 23 (3): 314–329. doi:10.1002/bdm.656.
ดูเพิ่ม
[แก้]- Baars, B. A cognitive theory of consciousness, NY: Cambridge University Press 1988, ISBN 0-521-30133-5.
- Boulding, Kenneth E. (1956). The Image: Knowledge in Life and Society. Michigan University Press.
- Carruthers, P. (2003). "On Fodor's Problem". Mind and Language. 18 (5): 502–23. doi:10.1111/1468-0017.00240.
- Clark, A. (1997), Being There: Putting Brain, Body, and World Together Again, Cambridge, MA: MIT Press.
- Cutting, Hunter and Makani Themba Nixon (2006). Talking the Walk: A Communications Guide for Racial Justice: AK Press
- Dennett, D. (1978), Brainstorms, Cambridge, MA: MIT Press.
- Fairhurst, Gail T. and Sarr, Robert A. 1996. The Art of Framing: Managing the Language of Leadership. Jossey-Bass, Inc.
- Feldman, Jeffrey. (2007), Framing the Debate: Famous Presidential Speeches and How Progressives Can Use Them to Control the Conversation (and Win Elections). Brooklyn, NY: Ig Publishing.
- Fodor, J.A. (1983), The Modularity of Mind, Cambridge, MA: MIT Press.
- Fodor, J.A. (1987), "Modules, Frames, Fridgeons, Sleeping Dogs, and the Music of the Spheres", in Pylyshyn (1987).
- Fodor, J.A. (2000), The Mind Doesn't Work That Way, Cambridge, MA: MIT Press.
- Ford, K.M. & Hayes, P.J. (eds.) (1991), Reasoning Agents in a Dynamic World: The Frame Problem, New York: JAI Press.
- Goffman, Erving. 1974. Frame Analysis: An Essay on the Organization of Experience. London: Harper and Row.
- Goffman, E. (1974). Frame Analysis. Cambridge: Harvard University Press.
- Goffman, E. (1959). Presentation of Self in Everyday Life. New York: Doubleday.
- Gonzalez, Cleotilde; Dana, Jason; Koshino, Hideya; Just, Marcel (2005). "The framing effect and risky decisions: Examining cognitive functions with fMRI" (PDF). Journal of Economic Psychology. 26: 1–20. doi:10.1016/j.joep.2004.08.004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 11, 2007. สืบค้นเมื่อ 2023-01-03.
{{cite journal}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - Goodman, N. (1954), Fact, Fiction, and Forecast, Cambridge, MA: Harvard University Press.
- Hanks, S.; McDermott, D. (1987). "Nonmonotonic Logic and Temporal Projection". Artificial Intelligence. 33 (3): 379–412. doi:10.1016/0004-3702(87)90043-9.
- Haselager, W.F.G. (1997). Cognitive science and folk psychology: the right frame of mind. London: Sage
- Haselager, W.F.G.; Van Rappard, J.F.H. (1998). "Connectionism, Systematicity, and the Frame Problem" (PDF). Minds and Machines. 8 (2): 161–79. doi:10.1023/A:1008281603611. S2CID 12016883.
- Hayes, P.J. (1991), "Artificial Intelligence Meets David Hume: A Reply to Fetzer", in Ford & Hayes (1991).
- Heal, J. (1996), "Simulation, Theory, and Content", in Theories of Theories of Mind, eds. P. Carruthers & P. Smith, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 75–89.
- Johnson-Cartee, K. (2005). News narrative and news framing: Constructing political reality. Lanham, MD: Rowman & Littlefield.
- Kendall, Diana, Sociology In Our Times, Thomson Wadsworth, 2005, ISBN 0-534-64629-8 Google Print, p. 531
- Klandermans, Bert. 1997. The Social Psychology of Protest. Oxford: Blackwell.
- Lakoff, G. & Johnson, M. (1980), Metaphors We Live By, Chicago: University of Chicago Press.
- Leites, N. & Wolf, C., Jr. (1970). Rebellion and authority. Chicago: Markham Publishing Company.
- Martino, De; Kumaran, D; Seymour, B; Dolan, RJ (2006). "Frames, Biases, and Rational Decision-Making in the Human Brain". Science. 313 (5787): 684–87. Bibcode:2006Sci...313..684D. doi:10.1126/science.1128356. PMC 2631940. PMID 16888142.
- McAdam, D., McCarthy, J., & Zald, M. (1996). Introduction: Opportunities, Mobilizing Structures, and Framing Processes—Toward a Synthetic, Comparative Perspective on Social Movements. In D. McAdam, J. McCarthy & M. Zald (Eds.), Comparative Perspectives on Social Movements; Political Opportunities, Mobilizing Structures, and Cultural Framings (pp. 1–20). New York: Cambridge University Press.
- McCarthy, John (1986). "Applications of circumscription to formalizing common-sense knowledge". Artificial Intelligence. 28 (1): 89–116. doi:10.1016/0004-3702(86)90032-9.
- McCarthy, J. & Hayes, P.J. (1969), "Some Philosophical Problems from the Standpoint of Artificial Intelligence", in Machine Intelligence 4, ed. D.Michie and B.Meltzer, Edinburgh: Edinburgh University Press, pp. 463–502.
- McDermott, D. (1987), "We've Been Framed: Or Why AI Is Innocent of the Frame Problem", in Pylyshyn (1987).
- Mithen, S. (1987), The Prehistory of the Mind, London: Thames & Hudson.
- Nelson, T. E.; Oxley, Z. M.; Clawson, R. A. (1997). "Toward a psychology of framing effects". Political Behavior. 19 (3): 221–46. doi:10.1023/A:1024834831093. S2CID 15874936.
- Pan, Z.; Kosicki, G. M. (1993). "Framing analysis: An approach to news discourse". Political Communication. 10 (1): 55–75. doi:10.1080/10584609.1993.9962963.
- Pan. Z. & Kosicki, G. M. (2001). Framing as a strategic action in public deliberation. In S. D. Reese, O. H. Gandy, Jr., & A. E. Grant (Eds.), Framing public life: Perspectives on media and our understanding of the social world, (pp. 35–66). Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
- Pan, Z. & Kosicki, G. M. (2005). Framing and the understanding of citizenship. In S. Dunwoody, L. B. Becker, D. McLeod, & G. M. Kosicki (Eds.), Evolution of key mass communication concepts, (pp. 165–204). New York: Hampton Press.
- Pylyshyn, Zenon W. (ed.) (1987), The Robot's Dilemma: The Frame Problem in Artificial Intelligence, Norwood, NJ: Ablex.
- Stephen D. Reese, Oscar H. Gandy and August E. Grant. (2001). Framing Public Life: Perspectives on Media and Our Understanding of the Social World. Maywah, New Jersey: Lawrence Erlbaum. ISBN 978-0-8058-3653-0
- Russell, S. & Wefald, E. (1991), Do the Right Thing: Studies in Limited Rationality, Cambridge, MA: MIT Press.
- Scheufele, DA; Dietram, A. (1999). "Framing as a theory of media effects". Journal of Communication. 49 (1): 103–22. doi:10.1111/j.1460-2466.1999.tb02784.x.
- Shanahan, Murray P. (1997), Solving the Frame Problem: A Mathematical Investigation of the Common Sense Law of Inertia, Cambridge, MA: MIT Press. ISBN 0-262-19384-1
- Shanahan, Murray P. (2003), "The Frame Problem", in The Macmillan Encyclopedia of Cognitive Science, ed. L.Nadel, Macmillan, pp. 144–50.
- Simon, Herbert (1957), Models of Man, Social and Rational: Mathematical Essays on Rational Human Behavior in a Social Setting, New York: John Wiley. OCLC 165735
- Snow, D. A.; Benford, R. D. (1988). "Ideology, frame resonance, and participant mobilization". International Social Movement Research. 1: 197–217.
- Snow, D. A.; Rochford, E. B.; Worden, S. K.; Benford, R. D. (1986). "Frame alignment processes, micromobilization, and movement participation". American Sociological Review. 51 (4): 464–81. doi:10.2307/2095581. JSTOR 2095581. S2CID 144072873.
- Sperber, D.; Wilson, D. (1996). "Fodor's Frame Problem and Relevance Theory". Behavioral and Brain Sciences. 19 (3): 530–32. doi:10.1017/S0140525X00082030.
- Tarrow, S. (1983a). "Struggling to Reform: social Movements and policy change during cycles of protest". Western Societies Paper No. 15. Ithaca, NY: Cornell University.
- Tarrow, S. (1983b). "Resource mobilization and cycles of protest: Theoretical reflections and comparative illustrations". Paper presented at the Annual Meeting of the American Sociological Association, Detroit, August 31 – September 4.
- Triandafyllidou, A.; Fotiou, A. (1998). "Sustainability and Modernity in the European Union: A Frame Theory Approach to Policy-Making". Sociological Research Online. 3 (1): 60–75. doi:10.5153/sro.99. S2CID 142316616.
- Tilly, C., Tilly, L., & Tilly, R. (1975). The rebellious century, 1830–1930. Cambridge, MA: Cambridge University Press.
- Turner, R. H., & Killian, L. M. (1972). Collective Behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
- Tversky, Amos; Kahneman, Daniel (1986). "Rational Choice and the Framing of Decisions" (PDF). The Journal of Business. 59 (4): S251–S278. doi:10.1086/296365. JSTOR 2352759. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-11-26. สืบค้นเมื่อ 2023-01-03.
{{cite journal}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - Wilkerson, W.S. (2001). "Simulation, Theory, and the Frame Problem". Philosophical Psychology. 14 (2): 141–53. doi:10.1080/09515080120051535. S2CID 144727029.
- Willard, Charles Arthur. Liberalism and the Social Grounds of Knowledge Chicago: University of Chicago Press, 199