ประเทศไทยใน พ.ศ. 2447
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 123 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 37 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนับเป็นปี ร.ศ. 122 (1 มกราคม - 31 มีนาคม) และ 123 (1 เมษายน - 31 ธันวาคม) ในแบบปัจจุบัน
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สยามมกุฎราชกุมาร: สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
- เจ้าผู้ครองประเทศราช
- นครเชียงใหม่: เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์
- นครลำปาง: เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
- นครลำพูน: เจ้าอินทยงยศโชติ
เหตุการณ์
[แก้]- 16 มกราคม - โรงเรียนช่างไหม สถาบันการศึกษาของกระทรวงเกษตราธิการ ได้ถือกำเนิดขึ้น ณ ตำบลทุ่งศาลาแดง กรุงเทพมหานคร
- 12 เมษายน - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯให้นักเรียนโรงเรียนเบญจมบพิตร หรือ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน ขึ้นเรียนบนอาคารถาวรหลังใหม่หลังจากฉลองอาคารแล้ว
- 20 สิงหาคม - มีการประหารชีวิตนักโทษด้วยการตัดศีรษะเป็นครั้งสุดท้ายในประเทศไทย ผู้ถูกประหารคือนางล้วน
- 4 ตุลาคม - ทดลองเปิดบุคคลัภย์ ซึ่งถือเป็นธนาคารแห่งแรกในสยาม
- 6 ตุลาคม - เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พร้อมด้วยเจ้าราชวงศ์ เจ้าราชภาคินัย เจ้าน้อยสมพมิตร เจ้าน้อยเมืองชื่น และเจ้าน้อยวุฒิวงษ์[1] นำเครื่องราชบรรณาการจากนครเชียงใหม่ มาถวายเพื่อแสดงความสวามิภักดิ์ ก่อนจะมีการยกเลิกธรรมเนียมการถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา[2]
- 27 ตุลาคม - ประกาศเลิกใช้เงินพดด้วง ให้นำมาคืนคลังภายในหนึ่งปี
- 14 พฤศจิกายน - มีพิธีฉลองที่จันทบุรีได้รับอิสรภาพจากฝรั่งเศส
- 9 ธันวาคม - ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรีในวันนี้ แต่ไปยึดเมืองตราดแทน
- 30 มีนาคม - ตั้งบริษัทรถรางสยาม
ผู้เกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]- 5 มกราคม – ภิญโญ อินทวิวัฒน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2493)
- 8 มกราคม – หม่อมเจ้าโสภณภราไดย สวัสดิวัตน์ พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2514)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 11 กุมภาพันธ์ – หม่อมเจ้าชวลิตโอภาศ กิติยากร พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2475)
- 18 กุมภาพันธ์ – ขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร พันธรักษ์) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2549)
- 21 กุมภาพันธ์ – ฉันท์ ขำวิไล นักประพันธ์ (เสียชีวิต พ.ศ. 2533)
- 24 กุมภาพันธ์ – โชติ สุวัตถิ นักชีววิทยา (ไม่ทราบปีอนิจกรรม)
มีนาคม
[แก้]- 13 มีนาคม – เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ ผู้สืบตระกูลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (พิราลัย พ.ศ. 2532)
เมษายน
[แก้]- 1 เมษายน – ฉัตร หนุนภักดี อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธร (อนิจกรรม พ.ศ. 2517)
- 29 เมษายน – พระดู่ พฺรหฺมปญฺโญ พระเกจิ (มรณภาพ พ.ศ. 2533)
พฤษภาคม
[แก้]- 1 พฤษภาคม – หลวงสุขุมนัยประดิษฐ (ประดิษฐ์ สุขุม) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนคนที่ 1 (อนิจกรรม พ.ศ. 2510)
- 6 พฤษภาคม – อรพินท์ ไชยกาล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2539)
- 8 พฤษภาคม – ไสว ไสวแสนยากร (เจ้าศรีไสว อุ่นคำ; ขุนไสวแสนยากร) อธิบดีกรมตำรวจคนที่ 15 (พิราลัย พ.ศ. 2523)
- 24 พฤษภาคม – มนตรี มงคลสมัย อายุรแพทย์ (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2498)
- 29 พฤษภาคม – จารุพัตรา ศุภชลาศัย (หม่อมเจ้าจารุพัตรา อาภากร) อดีตพระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2516)
มิถุนายน
[แก้]- 6 มิถุนายน – ศิริมาบังอร เหรียญสุวรรณ (หม่อมเจ้าศิริมาบังอร อาภากร) อดีตพระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2518)
- 22 มิถุนายน – หม่อมเจ้าวรศักดิเดชอุดม ศุขสวัสดิ์ พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2424)
- 27 มิถุนายน – สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสโก) อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (มรณภาพ พ.ศ. 2520)
กรกฎาคม
[แก้]- 2 กรกฎาคม – จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการคนที่ 10 (อนิจกรรม พ.ศ. 2528)
- 5 กรกฎาคม – ชิต สิงหเสนี อดีตมหาดเล็ก (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2498)
- 24 กรกฎาคม – พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2489)
สิงหาคม
[แก้]- 5 สิงหาคม – อุสา สุคันธมาลัย นักดนตรีไทย (เสียชีวิต พ.ศ. 2528)
กันยายน
[แก้]- 4 กันยายน – ดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา อดีตนางสนองพระโอษฐ์ (อนิจกรรม พ.ศ. 2540)
- 17 กันยายน – หม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศคนที่ 9 (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2534)
ตุลาคม
[แก้]- 16 ตุลาคม – สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม อุฑาฒิโม) เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารรูปที่ 4 (มรณภาพ พ.ศ. 2543)
- 23 ตุลาคม – หม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำเอธิโอเปีย (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2541)
- 24 ตุลาคม – ฟอง สิทธิธรรม อดีตรัฐมนตรี (อนิจกรรม พ.ศ. 2524)
พฤศจิกายน
[แก้]- 10 พฤศจิกายน – ทวี บุณยเกตุ นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 5 (อสัญกรรม พ.ศ. 2514)
- 12 พฤศจิกายน
- หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ (วรเศวต) พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2475)
- สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา (หลวงสุนทรเทพหัสดิน) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมคนที่ 3 (อนิจกรรม พ.ศ. 2528)
ธันวาคม
[แก้]- 3 ธันวาคม – ราศรี สิงหเนตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2537)
- 5 ธันวาคม – พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต อุปนายกสภากาชาดไทยคนที่ 6 (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2502)
- 15 ธันวาคม – ไชยลังกา เครือเสน ศิลปินแห่งชาติ (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2535)
- 20 ธันวาคม – สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี อดีตพระบรมราชินีสยาม (สวรรคต พ.ศ. 2527)
ไม่ทราบวัน
[แก้]- เล็ก สุมิตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนที่ 10 (อนิจกรรม พ.ศ. 2510)
- แพ เลี้ยงประเสริฐ นักมวยไทย (เสียชีวิต พ.ศ. 2520)
- หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สูตะบุตร) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนที่ 5 (อนิจกรรม พ.ศ. 2520)
- หลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมคนที่ 5 (อนิจกรรม พ.ศ. 2522)
ผู้เสียชีวิต
[แก้]เมษายน
[แก้]- 13 เมษายน – สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา พระสนมในรัชกาลที่ 4 (ประสูติ พ.ศ. 2381)
สิงหาคม
[แก้]- 19 สิงหาคม – โยอาคิม กรัสซี สถาปนิก (เกิด พ.ศ. 2380)
ตุลาคม
[แก้]- 26 ตุลาคม – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี อุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง (ประสูติ พ.ศ. 2411)
พฤศจิกายน
[แก้]- 4 พฤศจิกายน – พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) เจ้าเมืองสงขลาคนที่ 8 (เกิด พ.ศ. 2397)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ↑ เจ้าประเทศราชเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการ เจ้านครเชียงใหม่ เฝ้าถวายต้นไม้ทองเงินเครื่องราชบรรณาการราชกิจจานุเบกษา เล่ม 21 ตอนที่ 28 วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2447
- ↑ วรชาติ มีชูบท, เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค, 2556