ข้ามไปเนื้อหา

ประสพ รัตนากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประสพ รัตนากร

เกิด24 เมษายน พ.ศ. 2463
กรุงเทพมหานคร
เสียชีวิต5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 (92 ปี)
กรุงเทพมหานคร
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากจิตแพทย์คนแรกของไทย
คู่สมรสจันทร์ปรุง รัตนากร
บิดามารดา
  • ขุนรัตนากร (ปล้อง รัตนากร) (บิดา)
  • เจิม รัตนากร (มารดา)

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประสพ รัตนากร (24 เมษายน พ.ศ. 2463 – 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555) เป็นประธานคณะที่ปรึกษามูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้ริเริ่มการก่อตั้งโรงพยาบาลประสาททั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของประเทศไทย เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และก่อตั้งสมาคมวิชาชีพทางสุขภาพจิต

ประวัติ

[แก้]

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประสพ รัตนากรเป็นบุตรของขุนรัตนากร (ปล้อง รัตนากร)และนางเจิม รัตนากร สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาโทจิตเวชศาสตร์และประสาทวิทยา มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐ ศึกษาด้านจิตวิทยา ประสาทวิทยา เพิ่มเติมจากมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง ได้รับประกาศนียบัตรแพทย์เฉพาะทางประสาทวิทยาและจิตวิทยาคนแรกของไทย และยังเป็นผู้ริเริ่มการก่อตั้งโรงพยาบาลประสาททั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของประเทศไทย เผยแพร่ความรู้ด้านจิตวิทยาสู่สาธารณชนด้วยรายการใจเขาใจเรา ทางวิทยุและโทรทัศน์ ต่อเนื่องกันกว่า 50 ปี เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งก่อตั้งสมาคมวิชาชีพทางสุขภาพจิต ประสาทวิทยา จิตเวชศาสตร์ และสังคมวิทยา เป็นผู้ริเริ่มงานด้านสุขภาพผู้สูงอายุและชมรมผู้สูงอายุทั่วประเทศ รวมทั้งเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิวิจัยประสาทในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิรัฐบุรุษพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นอกจากนี้ได้รับการสดุดีจากองค์การอนามัยโลก ให้เป็นนักสุขภาพจิตชุมชนในรอบ 50 ปี

ด้านชีวิตครอบครัว

[แก้]

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประสพ รัตนากร สมรสกับนางจันทร์ปรุง รัตนากรสกุลเดิมจารุจินดา ธิดาของมหาอำมาตย์ตรี  พระยาสุเรนทรราชเสนา( เจิม จารุจินดา ) กับ หม่อมราชวงศ์หญิงปรุง  (ทินกร) มีบุตรธิดาคือ รองศาสตราจารย์ น.สพ.ปานเทพ รัตนากร อดีตคณบดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. นาวาอากาศเอกปุณย วิทย์ รัตนากรและ ศาตราจารย์แพทย์หญิงดิษยา รัตนากร ศาสตราจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

การศึกษา

[แก้]

การทำงาน

[แก้]
  • ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลประสาท พญาไท (สถาบันประสาทวิทยา ในปัจจุบัน)
  • ผู้อำนวยการกองสุขภาพจิต
  • ผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุขเฉพาะกิจ
  • ผู้อำนวยการสำนักงานศึกษาป้องกันการติดยา
  • รองเลขาธิการอาหารและยา
  • ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุขทางเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
  • ผู้ก่อตั้งและเป็นประธานมูลนิธิวิจัยประสาทในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามพระราชดำริ
  • ผู้ก่อตั้งมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และเป็นประธานมูลนิธิ (พ.ศ. 2527)

ความรู้ความสามารถ

[แก้]

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประสพ นับเป็นบุคคลพิเศษที่มีความรู้ความสามารถรอบด้าน มีผลงานที่ทรงคุณประโยชน์เอนกอนันต์ต่อวงการวิชาการและต่อสังคมมนุษย์ โดยเฉพาะด้านจิตวิทยา และประสาทวิทยาศาสตร์ และเป็นผู้หยิบยื่นความสุขทั้งทางกายและทางใจให้แก่ผู้อื่นตลอดมา

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประสพ รัตนากร เป็นผู้ริเริ่มการก่อตั้งสถาบันประสาทวิทยาและเป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลประสาทขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ก่อนจะขยายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ เขาเป็นหนึ่งในผู้ให้การสนับสนุนการก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา กระทั่งปี พ.ศ. 2547 จึงได้มีการจัดตั้ง “กองทุนศาสตราจารย์เกียรติยศ ประสพ รัตนากร” ขึ้นเพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยด้านประสาทวิทยาศาสตร์ โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานกองทุน โดยนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประสพได้ช่วยเหลือระดมเงินเข้าสู่กองทุนเสมอมา ประกอบกับที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดตั้งหน่วยวิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ขึ้นและใช้เงินจากกองทุนนี้สนับสนุนการเชิญนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมาแสดงปาฐกถาทางวิชาการอยู่บ่อยครั้ง

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประสพ รัตนากร เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดีตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ปีเดียวกัน ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือด และโรคไตวายเรื้อรัง สิริอายุ 92 ปี เวลา 13.00 น. ของวันเดียวกันได้มีการเคลื่อนศพออกจากโรงพยาบาลไปยังวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ศาลา 7 และมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพเวลา 17.30 น. ของวันถัดมา โดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานในพิธี ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ พระพิธีธรรม เป็นเวลา 7 วัน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เมื่อเวลา 17.00 นาฬิกา ของวันที่ 16 ธันวาคม ปีเดียวกัน

ปริญญากิตติมศักดิ์ที่ได้รับ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นที่ 1

พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ ชั้นที่ 1

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่อราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2018-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑๔ ตุลาคม ๒๕๐๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๘๐, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๓ ง หน้า ๒๘๒๐, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๖