น้ำส้มควันไม้
ชื่อ | |
---|---|
ชื่ออื่น
wood vinegar and wood acid
| |
เลขทะเบียน | |
ECHA InfoCard | 100.029.495 |
EC Number |
|
UNII | |
CompTox Dashboard (EPA)
|
|
คุณสมบัติ | |
ลักษณะทางกายภาพ | Yellow to red liquid |
กลิ่น | acrid smoky |
ความหนาแน่น | 1.08 g/mL |
จุดเดือด | 99 องศาเซลเซียส (210 องศาฟาเรนไฮต์; 372 เคลวิน) |
ดัชนีหักเหแสง (nD)
|
1.371-1.378 |
ความอันตราย | |
GHS labelling: | |
เตือน | |
H226, H312, H315, H319, H335 | |
จุดวาบไฟ | 44 องศาเซลเซียส (111 องศาฟาเรนไฮต์; 317 เคลวิน) |
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
|
Liquid smoke |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
น้ำส้มควันไม้ หรือ กรดไพโรลิกเนียส (อังกฤษ: pyroligneous acid) เป็นของเหลวใส สีน้ำตาล มีกลิ่นควันไฟ ได้จากการควบแน่นของควันที่เกิดจากการเผาไม้ให้กลายเป็นถ่านในสภาวะที่มีออกซิเจนจำกัด โดยมีอุณหภูมิในเตาอยู่ระหว่าง 300 - 400 องศาเซลเซียส อุณหภูมิปากปล่องระหว่าง 80 – 150 องศาเซลเซียส สารประกอบต่างๆ ในไม้จะสลายด้วยความร้อนเกิดเป็นสารประกอบอินทรีย์ เมื่อนำของเหลวที่ได้จากการควบแน่นมาเก็บในที่ร่มประมาณ 3 เดือน เพื่อให้เกิดการตกตะกอน จะแยกตัวเป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดจะเป็นน้ำมันใส ชั้นกลางเป็นน้ำส้มควันไม้ และน้ำมันดินตกตะกอนอยู่ด้านล่างสุด[3]
องค์ประกอบ
[แก้]น้ำส้มควันไม้เป็นสารผสม ประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 80-90 และสารประกอบอินทรีย์มากกว่า 200 ชนิด ส่วนใหญ่จะมีกรดแอซีติก (กรดน้ำส้ม) แอซีโทน และเมทานอล ซึ่งน้ำส้มควันไม้นี้เคยใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตกรดแอซีติกในเชิงพาณิชย์ มีฟีนอลจากการสลายตัวของลิกนิน มีกรดอินทรีย์และแอลกอฮอล์ต่าง ๆ ที่ได้จากการสลายเฮมิเซลลูโลสและเซลลูโลส น้ำส้มควันไม้มีค่า pH ประมาณ 3 ความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.012 – 1.024 ซึ่งมีความแตกต่างตามประเภทของไม้ที่นำมาเผา [4]
การใช้ประโยชน์
[แก้]- การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม ได้แก่ ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว สารปรับผิวนุ่ม อุตสาหกรรมอาหารรมควัน อุตสาหกรรมย้อมผ้าและยารักษาโรคผิวหนัง[4]
- การใช้ประโยชน์ในครัวเรือน เช่น ใช้รักษาแผลสด แผลถูกน้ำร้อนและไฟลวก รักษาโรคน้ำกัดเท้าและเชื้อราที่ผิวหนัง ราดทำลายปลวกและมด ป้องกันสัตว์ต่างๆ เช่นตะขาบ ตะเข็บ แมงป่อง กิ้งกือ ราดโคนต้นไม้รักษาโรคราและโรคเน่า รวมทั้งป้องกันแมลงวางไข่ ฉีดพ่นถังขยะเพื่อป้องกันกลิ่นและแมลงวัน ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ ฉีดพ่นใบเพื่อขับไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา
- การใช้ประโยชน์ทางด้านปศุสัตว์ ใช้ลดกลิ่นและแมลงในฟาร์มปศุสัตว์ใช้ผสมอาหารสัตว์เพื่อช่วยการย่อยอาหารและป้องกันโรคท้องเสีย [4]
- การใช้น้ำส้มควันไม้เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ การแช่เมล็ดข้าวที่เสื่อมคุณภาพตามธรรมชาติเนื่องจากผ่านการเก็บรักษา 10 เดือนในน้ำส้มควันไม้เจือจาง 300 เท่า เป็นเวลา 48 ชั่วโมง เมล็ดมีความงอกร้อยละ 96.67 ซึ่งสูงกว่าเมล็ดที่ไม่ผ่านการแช่และแช่ด้วยน้ำ[5] น้ำส้มควันไม้ระดับความเข้มข้น 1: 500 มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมแมลงศัตรูพืชในข้าวโพดหวานทั้งวิธีการฉีดพ่นบนใบและฉีดลงดิน[6]
- ระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกา การปรุงอาหารใน สมาพันธรัฐอเมริกา ได้พยายามทดแทนการขาดแคลนเกลือโดยเก็บรักษาเนื้อสัตว์และปลาในน้ำส้มควันไม้ แต่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าใดนัก [7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Pyroligneous acid from Sigma-Aldrich
- ↑ George A. Burdock (2010), "PYROLIGNEOUS ACID", Fenaroli's Handbook of Flavor Ingredients (6th ed.), Taylor & Francis, pp. 1774–1775, ISBN 978-1-4200-9077-2
- ↑ ชมรมสวนป่า ผลิตภัณฑ์และพลังงานจากไม้. (2546). ถ่านไม้และน้ำส้มควันไม้. มปท. มปป. หน้าที่ 48.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 จิระพงษ คูหากาญจ์. (2552). การผลิตถ่านและน้ำส้มควันไม้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท ออฟเซ็ท คีเอชั่น จำกัด
- ↑ ศิรษา สังวาลย์, ดรุณี โชติษฐยางกูร, สดุดี วรรณพัฒน์และอนันต์ พลธานี. (2553). น้ำส้มควันไม้กับศักยภาพการใช้เป็นสารแช่เมล็ดในข้าวนาหว่านน้ำตม. การประชุมวิชาการเกษตรครั้งที่ 11 ประจำปี 2553 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 25 – 26 มกราคม 2553, หน้า 244 -250.
- ↑ Pangnakorn, U. (2008). Utilization of Wood Vinegar By – product From Iwate Kiln for Organic Agricultural System.Technology and Innovation for Sustaion for Sustainable Development Conferene (TISD 2008) Faculty of Engineering, Khon Kaen University. 28 – 29 January. pp. 17 -19
- ↑ Kurlansky, Mark (2002). Salt: A World History. Penguin Books. pp. 267–68. ISBN 0-14-200161-9.