ข้ามไปเนื้อหา

นีกอลา ซาร์กอซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นีกอลา ซาร์กอซี
Nicolas Sarkozy
ซาร์กอซีใน ค.ศ. 2010
ประธานาธิบดีฝรั่งเศส คนที่ 23
ดำรงตำแหน่ง
16 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 – 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2012
(4 ปี 365 วัน)
นายกรัฐมนตรีฟร็องซัว ฟียง
ก่อนหน้าฌัก ชีรัก
ถัดไปฟร็องซัว ออล็องด์
ตำแหน่งภายใต้พรรคการเมือง
ประธานพรรคเลเรปูว์บลีแก็ง
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤษภาคม ค.ศ. 2015 – 23 สิงหาคม ค.ศ. 2016
(1 ปี 85 วัน)
ก่อนหน้าตนเอง
(พรรคสหภาพเพื่อขบวนการประชาชน)
ถัดไปโลร็องต์ โวเกียซ
ประธานพรรคสหภาพเพื่อขบวนการประชาชน
ดำรงตำแหน่ง
2 ธันวาคม ค.ศ. 2014 – 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2015
(0 ปี 179 วัน)
ก่อนหน้าฌ็อง-ฟร็องซัว โก้เป้
ถัดไปตนเอง
(พรรคเลเรปูว์บลีแก็ง)
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 – 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2007
(2 ปี 167 วัน)
ก่อนหน้าอาแล็ง ฌูเป
ฌ็อง-โกลด โกดัง (รักษาการ)
ถัดไปฌ็อง-โกลด โกดัง (รักษาการ)
ฌ็อง-ฟร็องซัว โก้เป้
ประธานพรรคชุมนุมเพื่อสาธารณรัฐ
(รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
16 เมษายน – 4 ธันวาคม ค.ศ. 1999
(0 ปี 232 วัน)
ก่อนหน้าฟีลิป เซกัง
ถัดไปมีแชลล์ อัลลีโย-มารี
ตำแหน่งรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
และการวางแผนภูมิภาค
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ความมั่นคงภายในและเสรีภาพท้องถิ่น
(ค.ศ. 2002–2004)
ดำรงตำแหน่ง
2 มิถุนายน ค.ศ. 2005 – 26 มีนาคม ค.ศ. 2007
(1 ปี 297 วัน)
นายกรัฐมนตรีดอมีนิก เดอ วีลแป็ง
ก่อนหน้าดอมีนิก เดอ วีลแป็ง (มหาดไทย)
ฌีลส์ เดอ โรเบียง (วางแผนภูมิภาค)
ถัดไปฟร็องซัว บาโรวง
ดำรงตำแหน่ง
7 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 – 30 มีนาคม ค.ศ. 2004
(1 ปี 328 วัน)
นายกรัฐมนตรีฌ็อง-ปีแยร์ ราฟาแร็ง
ก่อนหน้าดาเนียล วาย็อง
ถัดไปดอมีนิก เดอ วีลแป็ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การคลัง และอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม – 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004
(0 ปี 243 วัน)
นายกรัฐมนตรีฌ็อง-ปีแยร์ ราฟาแร็ง
ก่อนหน้าฟร็องซิส แมร์
ถัดไปแอร์เว แกมาร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงบประมาณ
ดำรงตำแหน่ง
30 มีนาคม ค.ศ. 1993 – 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1995
(2 ปี 42 วัน)
นายกรัฐมนตรีเอดัวร์ บาลาดูร์
ก่อนหน้ามาร์ตัง มาลวี
ถัดไปฟร็องซัว โดแบร์
โฆษกรัฐบาล
ดำรงตำแหน่ง
30 มีนาคม ค.ศ. 1993 – 19 มกราคม ค.ศ. 1995
(1 ปี 295 วัน)
นายกรัฐมนตรีเอดัวร์ บาลาดูร์
ก่อนหน้าหลุยส์ แมร์มาซ
ถัดไปฟิลิปป์ ดูสต์-บลาซี
ตำแหน่งภายใต้สมัชชาแห่งชาติ
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
จังหวัดโอดแซน เขตที่ 6
ดำรงตำแหน่ง
25 กันยายน ค.ศ. 1995 – 7 มิถุนายน ค.ศ. 2002
(6 ปี 255 วัน)
ก่อนหน้าชาลล์ เซคคัลดี-เรย์โนด์
ถัดไปโฌแอล เซคคัลดี-เรย์โนด์
ดำรงตำแหน่ง
23 มิถุนายน ค.ศ. 1988 – 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1993
(4 ปี 312 วัน)
ก่อนหน้าเขตเลือกตั้งแบบสัดส่วนตามจังหวัด
ตั้งเขตเลือกตั้ง
ถัดไปชาลล์ เซคคัลดี-เรย์โนด์
ตำแหน่งภายใต้สหภาพยุโรป
สมาชิกรัฐสภายุโรป
เขตฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
20 กรกฎาคม – 14 กันยายน ค.ศ. 1999
(0 ปี 56 วัน)
ถัดไปบริซ ออเตอร์เฟอร์
ตำแหน่งระดับเทศมนตรีและจังหวัด
ประธานสภาทั่วไปจังหวัดโอดแซน
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน ค.ศ. 2004 – 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2007
(3 ปี 43 วัน)
ก่อนหน้าชาร์ล ปาสกัว
ถัดไปปาตริก เดเวดเจียน
สมาชิกสภาทั่วไปจังหวัดโอดแซน
เขตเนอยี-ซูร์-แซนเหนือ
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม ค.ศ. 2004 – 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2007
(3 ปี 54 วัน)
ก่อนหน้าชาร์ล ปาสกัว
ถัดไปมารี-เซซิล เมนาร์ด
ดำรงตำแหน่ง
18 มีนาคม ค.ศ. 1985 – 7 ตุลาคม ค.ศ. 1988
(3 ปี 203 วัน)
ก่อนหน้าเอดิธ กอร์ซ-ฟร็องคลัง
ถัดไปชาร์ล ปาสกัว
นายกเทศมนตรีเนอยี-ซูร์-แซน
ดำรงตำแหน่ง
29 เมษายน ค.ศ. 1983 – 19 มิถุนายน ค.ศ. 2002
(19 ปี 51 วัน)
ก่อนหน้าอาชีล เปอแรตี
ถัดไปหลุยส์-ชาร์ล บารี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
นีกอลา ปอล สเตฟาน ซาร์กอซี เดอ นาฌี-บ็อกซา

(1955-01-28) 28 มกราคม ค.ศ. 1955 (69 ปี)
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
พรรคการเมืองเลเรปูว์บลีแก็ง (ค.ศ. 2015–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
สหภาพนักประชาธิปไตยเพื่อสาธารณรัฐ (ค.ศ. 1974–1976)
ชุมนุมเพื่อสาธารณรัฐ (ค.ศ. 1976–2002)
สหภาพเพื่อขบวนการประชาชน (ค.ศ. 2002–2015)
คู่สมรสมารี-โดมินิก กูลีโยลี (สมรส 1982; หย่า 1996)
เซซิลียา ซิกาเนร์-อัลเบนิซ (สมรส 1996; หย่า 2007)
การ์ลา บรูนี (สมรส 2008)
บุตร4 รวมไปถึงฌ็อง
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยปารีสตะวันตก-น็องแตร์ลาเดฟ็องส์ (MA, DEA)
Sciences Po
ลายมือชื่อ

นีกอลา ซาร์กอซี (ฝรั่งเศส: Nicolas Sarkozy; [nikɔla saʁkɔzi]; 28 มกราคม พ.ศ. 2498 — ) อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและอดีตเจ้าผู้ร่วมครองอันดอร์รา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเศรษฐกิจ การคลังและอุตสาหกรรม กระทรวงงบประมาณและนายกเทศมนตรีเมืองเนอยี-ซูร์-แซน

เขาเป็นที่รู้จักดีจากทัศนคติในด้านกฎหมายและคำสั่งของเขา[1] รวมถึงความต้องการให้เศรษฐกิจของประเทศฝรั่งเศสกลับคืนสู่สภาพเดิม[2] ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาได้สร้างความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสหรัฐอเมริกาและยังได้กระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรกับประเทศอื่น ๆ อีกด้วย[3] ชื่อเล่นที่ผู้สนับสนุนและไม่สนับสนุนต่างเรียกแทนตัวเขาคือ "ซาร์โก" (Sarko)

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ภูมิหลังครอบครัว

[แก้]

ประวัติตระกูล

[แก้]

นีกอลา ซาร์กอซี เป็นลูกชายของปาล ชาร์เกอซี เด นอจ-โบชอ (Pál Sárközy de Nagy-Bócsa) ชาวฮังการีที่อพยพมากับอ็องเดร มัลลาฮ์ (Andrée Mallah) หญิงชาวฝรั่งเศส ชาวนิกายคาทอลิก เชื้อสายกรีก-เซพาร์ดิกยิว [4][5] ตาของเขาเป็นชาวกรีกชื่อเบนิโก มัลลาฮ์ (ชื่อเดิม อารอน มัลลาฮ์) ลูกชายของมอร์เดไค มัลลาฮ์ (Mordechai Mallah) ซึ่งเบนิโกเป็นอายุรแพทย์จากเทสซาโลนีกี ที่อพยพมาประกอบอาชีพที่ประเทศฝรั่งเศส

ประวัติตระกูลบิดา

[แก้]

ชาร์เกอซี เด นอจ-โบชอ (Sárközy de Nagy-Bócsa) หรือ นอจโบชอย ชาร์เกอซี (Nagybócsai Sárközy) เกิด พ.ศ. 2471) ณ กรุงบูดาเปสต์ ในครอบครัวชนชั้นกลางในประเทศฮังการี ครอบครัวครอบครองที่ดินและปราสาทเล็ก ๆ ในหมู่บ้านออลอตชาน (Alattyán) ใกล้เมืองโซลโนก (Szolnok) ห่างจากกรุงบูดาเปสต์ไปทางทิศตะวันออก 92 กิโลเมตร (57 ไมล์)

พ่อและปู่ของปาล ซาร์กอซี ได้รับเลือกตั้งให้ดูแลเมืองโซลโนก อย่างไรก็ตามครอบครัวชาร์เกอซี เดอ นอจ-โบชอ (นอจ-โบชอย ชาร์เกอซี) นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ แต่ว่าแม่ (Katalin Tóth de Csáford) และย่าของปาล ซาร์กอซี นั้นนับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก และยังนิยมลัทธิอภิชนาธิปไตยอีกด้วย

ขณะที่กองทัพแดงบุกฮังการีเมื่อ พ.ศ. 2488 ครอบครัวชาร์เกอซีหนีไปประเทศเยอรมนี[6] และได้กลับไปอีกเมื่อ พ.ศ. 2489 แต่ที่ดินของพวกเขาก็ถูกยึดหมดแล้ว

พ่อของปาล ชาร์เกอซี (ปู่ของนีกอลา ซาร์กอซี) เสียชีวิตลงในเวลาต่อมา ส่วนแม่ของเขาเกรงว่าปาล ซาร์กอซีจะถูกเกณฑ์ไปร่วมกองทัพประชาชนฮังการีหรือส่งไปไซบีเรีย จึงโน้มน้าวให้เขาออกจากประเทศและสัญญาว่าจะตามเขาไปพบกันที่กรุงปารีส ปาลออกจากฮังการี ไปยังประเทศออสเตรียและต่อไปเยอรมนี ในขณะที่แม่ของเขารายงานต่อเจ้าหน้าที่ว่า เขาจมน้ำที่ทะเลสาบบาลาตอน ในที่สุดปาล ชาร์เกอซีได้ถึงเมืองบาเดิน-บาเดิน เยอรมนี ซึ่งอยู่ติดชายแดนฝรั่งเศส และยังเป็นสถานที่ตั้งของกองบัญชาการทหารฝรั่งเศสในเยอรมนีด้วย ที่นั้นเขาเข้าสมัครเป็นส่วนหนึ่งของกองทหารต่างฝรั่งเศส (Légion étrangère) เป็นเวลา 5 ปี และถูกส่งไปฝึกที่เมืองซีดีเบลอับเบส (Sidi Bel Abbès) ในประเทศแอลจีเรียในปกครองของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองบัญชาการกองทหารต่างประเทศฝรั่งเศส เขาเกือบต้องไปประจำการที่อินโดจีน ในการปกครองของฝรั่งเศส เมื่อจบการฝึก ซึ่งอาจได้รับอันตรายจากสงครามกับเวียดมินห์ แต่แพทย์ผู้ตรวจร่างกายก่อนเดินทาง เป็นชาวฮังการีด้วยกัน ด้วยความเห็นใจจึงช่วยเหลือปาลไม่ให้ไปประจำการยังอินโดจีนฝรั่งเศส เขากลับไปใช้ชีวิตเป็นพลเรือนในเมืองมาร์แซย์เมื่อ พ.ศ. 2491 อย่างไรก็ตามเขาได้ขอสัญชาติฝรั่งเศสชั่วคราวจนถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 เท่านั้น (หลังจากนั้นจึงเป็นคนไร้สัญชาติ) กระนั้นเขาก็ได้เปลี่ยนชื่อจากเป็นภาษาฮังการีเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า ปอล ซาร์กอซี เดอ นาฌี-บ็อกซา (Paul Sarközy de Nagy-Bocsa) และได้พบกับอ็องเดร มัลลาฮ์ แม่ของนีกอลา ซาร์กอซี (ชื่อเล่นว่า '"ดาดู'" [7]) เมื่อ พ.ศ. 2492

ประวัติตระกูลมารดา

[แก้]

อ็องเดร มัลลาฮ์ (Mallah) นักเรียนกฎหมาย ลูกสาวของ เบเนดิกต์ มัลลาฮ์ เศรษฐีผู้เชี่ยวชาญการแพทย์สาขาโรคระบบการขับถ่ายปัสสาวะและโรคติดต่อทางเพศ ผู้มีชื่อเสียงมานานในหมู่ชนชั้นกลาง ในเขตที่ 17 กรุงปารีส

ตามการศึกษาลำดับเครือญาติชาวยิว บรรพบุรุษของครอบครัวมัลลาฮ์แห่งซาโลนิกา มาจากประเทศสเปน อพยพมาตั้งแต่ พ.ศ. 2035 เนื่องจากกษัตริย์คาทอลิกได้ขับไล่ชาวยิวจากประเทศ ต่อมาตั้งรกรากที่แถบพรอว็องส์ ตอนใต้ของฝรั่งเศส ประมาณ 100 ปีหลังจากนั้น อพยพมาที่ซาโลนีกา

เบเนดิกต์ มัลลาฮ์ (เดิมชื่อ อารอน มัลลาฮ์ ชื่อเล่น เบนิโก) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2433 ในชุมชนเซพาร์ดิกยิว เมืองซาโลนีกา (เทสซาโลนีกี) จักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งในขณะนั้นประชากรส่วนมากเป็นชาวยิว เป็นลูกชายเจ้าของร้ายเพชรพลอย ออกจากซาโลนีกากับแม่ของเขาเมื่อ พ.ศ. 2447 ขณะอายุ 14 ปี เข้าเรียนที่ โรงเรียนลากานาล (Lycée Lakanal) โรงเรียนประจำที่มีชื่อเสียงในเมืองสโก (Sceaux) ในชนบททางใต้ของปารีส และเรียนต่อสาขาแพทยศาสตร์ หลังจากจบปริญญาตรี กลบไปอาศัยที่ประเทศฝรั่งเศส และเป็นพลเมืองฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

เขาเป็นแพทย์ในกองทัพฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุให้เขาเจอกับหญิงม่ายจากสงคราม อแดล บูวิเยร์ (พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2499) ซึ่งมาจากครอบครัวชนชั้นกลางในลียง และได้แต่งงานกันเมื่อ พ.ศ. 2460 อาแดล บูวีเย ยายของนีกอลา ซาร์กอซีนับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก เช่นเดียวกับชาวฝรั่งเศสทั่วไป ส่วนเบนิโก มัลลาฮ์ มิได้กล่าวถึงว่าเดิมนับถือศาสนาใด แต่เปลี่ยนมานับถือนิกายโรมันคาทอลิก หลังแต่งงานตามคำขอของพ่อแม่ฝ่ายหญิง พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อ

อย่างไรก็ตาม เขาและครอบครัวยังคงต้องหนีจากปารีส ไปลี้ภัยในจังหวัดกอร์แรซ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อหลบหลีกการถูกจับควบคุมตัวไปเยอรมนี ในระหว่างการล้างชาติพันธุ์โดยนาซี ตระกูลมัลลาฮ์ที่อาศัยในซาโลนีกาหรืออพยพมาฝรั่งเศส ถูกเนรเทศไปยังค่ายกักกัน ซึ่งทราบภายหลังว่า สมาชิกตระกูลมัลลาฮ์เสียชีวิตเพราะนาซีไปทั้งสิ้น 57 คน [8]

หลังจากนีกอลาเกิด

[แก้]

ปอล ซาร์กอซี และอ็องเดร มัลลาฮ์ ตั้งถิ่นฐานในเขตที่ 17 กรุงปารีส และมีบุตรด้วยกัน 3 คน ได้แก่

  • กีโยม ซาร์กอซี (Guillaume Sarkozy) (พ.ศ. 2494 — ) พ่อค้าในอุตสาหกรรมทอผ้า
  • นีกอลา ซาร์กอซี (Nicolas Sarkozy) (พ.ศ. 2498 — ) นักการเมืองและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสคนปัจจุบัน
  • ฟร็องซัว ซาร์กอซี (François Sarkozy) (พ.ศ. 2500 — ) จบปริญญาโททางบริหารธุรกิจ และบริหารบริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ

เมื่อ พ.ศ. 2502 ปอล ซาร์กอซีได้หย่ากับอ็องเดร มัลลาฮ์ และไปแต่งงานอีก 2 ครั้ง โดยมีลูกอีก 2 คนกับภรรยาคนที่สอง

โอลิวีเย ซาร์กอซี พี่น้องร่วมบิดาของเขาได้ถูกเลือกให้เป็นหัวหน้าบริหารและจัดการร่วมในบริษัทคาร์ลีล เมื่อมีนาคม พ.ศ. 2551 [9]

ชีวิตวัยเยาว์

[แก้]

ในวัยเด็กของซาร์กอซีนั้น บิดาของเขาได้ปฏิเสธในการให้เงินสนับสนุนครอบครัวเขา ทั้ง ๆ ที่ปอลได้ก่อตั้งบริษัทโฆษณาและเป็นเศรษฐี ครอบครัวของเขาจึงได้เพียงอาศัยอยู่ในคฤหาสน์เล็ก ๆ ของตาเขา (เบเนดิกต์ มัลลาฮ์) ในเขตที่ 17 เท่านั้น ต่อมาครอบครัวของเขาย้ายไปยังเทศบาลเนอยี-ซูร์-แซน หนึ่งในเทศบาลที่ร่ำรวยที่สุดของแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ ซาร์กอซีเคยกล่าวว่า ตาของเขาซึ่งเป็นพวกนิยมกอล มีอิทธิพลต่อเขามากกว่าบิดาเสียอีก ทั้งนี้ก็เพราะซาร์กอซีแทบไม่ได้เจอเขาเลย ตาของเขาเกิดมาเป็นพวกเซพาร์ดิกยิว ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนมานับถือโรมันคาทอลิก ซาร์กอซีจึงเติบโตมาด้วยการความเชื่อแบบคาทอลิก เขาและพี่น้องได้เข้าพิธีศีลจุ่มและล้างบาป ซึ่งทำให้เขาเป็นคาทอลิกอย่างสมบูรณ์ ซาร์กอซียังเคยกล่าวว่า คนต้นแบบที่เค้าชื่นชอบคนหนึ่งคือ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2

ปอล ซาร์กอซี พ่อของเขาไม่เคยสอนภาษาฮังการีให้แก่เขาหรือพี่น้องเลย และไม่มีหลักฐานว่ามีการพยายามสั่งสอนเรื่องพื้นหลังของครอบครัวหรือบรรพบุรุษเลย

ซาร์กอซียังเคยกล่าวว่า การที่พ่อทิ้งเขาไปแต่เยาว์ทำให้เขาเป็นอย่างที่เขาเป็นในปัจจุบัน และในฐานะที่เขาเป็นเด็กและวัยรุ่น เขาเคยรู้สึกว่าเขามีปมด้อยเรื่องฐานะกับเพื่อนร่วมห้องที่มีฐานะทางการเงินสูงกว่าเขา เขายังมีความรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย (เขาสูงเพียง 1.65 เมตร (5 ฟุต 5 นิ้ว) หรือไม่ก็ฐานะของครอบครัว — อย่างน้อยก็ต่ำกว่าผู้ที่อยู่อาศัยในเขตที่ 17) และได้เก็บความรู้สึกขุ่นเคืองใจที่มีต่อพ่อเขาเป็นอย่างมาก "สิ่งที่สร้างผมขึ้นมาทุกวันนี้คือความอับอายที่ผมได้รับมาในวัยเยาว์" เขากล่าว[10]

การศึกษา

[แก้]

ซาร์กอซีสมัครเข้าโรงเรียนชัปตาล (Lycée Chaptal) โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในเขตที่ 8 ซึ่งเขาตกในระดับ 6 (Sixième) (เทียบเท่าประถมศึกษาปีที่ 6 ในสหรัฐอเมริกาหรือมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในอังกฤษและเวลส์) ครอบครัวเขาจึงส่งเขาไปเรียนที่กูร์ แซงต์-หลุยส์ เดอ มงโซ (Cours Saint-Louis de Monceau) โรงเรียนคาทอลิกเอกชนในเขตที่ 17 ซึ่งเขาได้ถูกรายงานว่าเป็นนักเรียนระดับธรรมดา[11] ซึ่งเขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในปี พ.ศ. 2516 และต่อมาได้สมัครเข้ามหาวิทยาลัยปารีส 10 น็องแตร์ (Université Paris X Nanterre) และเรียนจบปริญญาโทสาขากฎหมาย และที่นี้เองเป็นสถานที่เริ่มต้นและกำลังหลักของเหตุการณ์พฤษภา 2511 (Mai 68) ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของนักเรียนหัวเอียงซ้าย แม้ว่าเขาจะถูกมองว่าเป็นคนเงียบ แต่เขาก็ได้ร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมปีกขวาของมหาวิทยาลัยซึ่งเขาก็ได้มีความตื่นตัวทางการเมือง หลังจบการศึกษา เขาเข้าศึกษาต่อที่สถาบันวิชาการเมืองปารีส (Institut d'Études Politiques de Paris) (พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2524) แต่ไม่จบเนื่องจากมีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษน้อยเกินไป[12] หลังจากผ่านการสอบแล้ว เขาได้เป็นทนายความกฎหมายด้านธุรกิจและครอบครัว[13]

การแต่งงานและการหย่า

[แก้]

มารี-โดมินิก กูลีโยลี

[แก้]

ในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2525 ซาร์กอซีได้แต่งงานกับมารี-ดอมีนิก กูลีโยลี (Marie-Dominique Culioli) ลูกสาวเภสัชกรจากวิโก (Vico) (หมู่บ้านทางตอนเหนือของอาฌักซีโย คอร์ซิกา) ทั้งสองมีลูกด้วยกัน 2 คนคือ

  • ปีแยร์ ซาร์กอซี (Pierre Sarkozy) (พ.ศ. 2528 — )
  • ฌ็อง ซาร์กอซี (Jean Sarkozy) (พ.ศ. 2530 — )

ผู้ที่เป็นสักขีพยานในการแต่งงานครั้งนี้ที่เด่นสะดุดตาคือนักการเมืองฝ่ายขวา ชาร์ล ปัสกา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นคู่แข่งทางการเมืองที่สำคัญของซาร์กอซี ซาร์กอซีได้หย่ากับกูลีโยลีในปี พ.ศ. 2539 หลังจากแยกกันอยู่เป็นเวลาหลายปี

เซซิลียา ซิกาเนร์-อัลเบนิซ

[แก้]

ในฐานะนายกเทศมนตรีเมืองเนอยี-ซูร์-แซน ซาร์กอซีก็ได้พบกับอดีตนางแบบและผู้บริหารความสัมพันธ์กับรัฐ เซซิลียา ซิกาเนร์-อัลเบนิซ (เหลนของนักประพันธ์เพลง ไอแซค อัลเบนิซโดยมีพ่อเป็นชาวรัสเซีย) เมื่อเข้าร่วมงานแต่งงานของเธอกับฌัก มาแต็ง[14] ในปี พ.ศ. 2531 ซิกาเนร์-อัลเบนิซได้ทิ้งฌัก มาแต็งเพื่อมาอยู่กับซาร์กอซี และได้หย่ากับฌัก มาแต็งหนึ่งปีต่อมา ซาร์กอซีแต่งงานกับเธอในปี พ.ศ. 2539 มีสักขีพยานคือมาร์แต็ง บูอีกส์และแบร์นาร์ด อาร์โนลต์ โดยทั้งสองมีลูก 1 คนคือ

ระหว่างปี พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2548 ทั้งสองได้ออกงานตามที่สาธารณะเป็นประจำ โดยที่ซิกาเนร์-อัลเบนิซทำหน้าที่เสมือนกับหัวหน้าคนสนิทของซาร์กอซีก็ว่าได้ ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 หนังสือพิมพ์เลอ มาแต็ง (Le Matin) ของสวิตเซอร์แลนด์ ได้เปิดเผยว่าซิกาเนร์-อัลเบนิซได้ทิ้งซาร์กอซีเพื่อไปอยู่กับชายชาวฝรั่งเศสโมร็อกโกชื่อว่า ริชาร์ด อัตติอัส (Richard Attias) ซึ่งเป็นหัวหน้าบริษัทโฆษณาและการสื่อสารปุบลิซิส (Publicis) สาขานิวยอร์ก[15] ทั้งนี้ยังมีการกล่าวหาเรื่องส่วนตัวอีกหลาย ๆ อย่างซึ่งทำให้ซาร์กอซีฟ้องหนังสือพิมพ์ดังกล่าว ในขณะเดียวกันซาร์กอซีเองก็มีข่าวฉาวกับอานน์ ฟุลดา นักหนังสือพิมพ์เลอ ฟิกาโร[16]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 การคืนดีกันของทั้งสองได้เกิดขึ้น ต้นปี พ.ศ. 2549 ซาร์กอซีได้กล่าวกับหนังสือพิมพ์ว่า เขาได้ต้อนรับการกลับมาของซิกาเนร์-อัลเบนิซจากสหรัฐอเมริกา แต่อย่างไรก็ตามไม่มีใครทราบว่าสภาวะของการคืนดีเป็นอย่างไร

ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2550 สำนักงานประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ประกาศการหย่าของนีกอลา ซาร์กอซี กับเซซิลียา ซิกาเนร์-อัลเบนิซด้วยการยินยอมของทั้งสอง (Divorce par consentement mutuel) ในวันที่ 15 ตุลาคม[17] เป็นที่น่าสนใจว่าเซซีเลียไม่สามารถฟ้องซาร์กอซีได้เนื่องจากมีความคุ้มกันโดยตำแหน่งประธานาธิบดีของซาร์กอซี (Immunity)

การ์ลา บรูนี

[แก้]

ปลายปี พ.ศ. 2550 ได้มีรายงานว่าการ์ลา บรูนีกำลังมีความสัมพันธ์กับประธานาธิบดีฝรั่งเศส นีกอลา ซาร์กอซี [18] หลังจากที่ช่างถ่ายภาพถ่ายภาพทั้งคู่กำลังเข้าชมดิสนีย์แลนด์ รีสอร์ท ปารีส และพักผ่อนที่ลูซอร์ ประเทศอียิปต์และเปตรา ประเทศจอร์แดน ระหว่างเทศกาลคริสต์มาส [19]

ในระหว่างการให้สัมภาษณ์แก่นักข่าวและหนังสือพิมพ์ที่เอลิเซ่ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2551 นั้น ประธานาธิบดีซาร์กอซีได้ยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองและพูดเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการแต่งงานของทั้งสอง [20] ซึ่งทั้งสองได้แต่งงานในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ที่พระราชวังเอลิเซ่ในกรุงปารีส การแต่งงานครั้งนี้เป็นการแต่งงานครั้งแรกของการ์ลา บรูนีและเป็นครั้งที่ 3 ของซาร์กอซี

ฐานะการเงินส่วนตัว

[แก้]

ซาร์กอซีได้ประกาศต่อคณะกรรมาธิการรัฐธรรมนูญว่าเขามีทรัพย์สินทั้งหมด 2 ล้านยูโร โดยที่ทรัพย์สินส่วนใหญ่จะมาจากกรมธรรม์ประกันภัยของเขา ในฐานะประธานาธิบดีฝรั่งเศส เขาได้รับเงินจำนวน 101,000 ยูโรต่อปี และเขายังได้เบี้ยบำนาญจากการเป็นนายกเทศมนตรีเมืองเนอยี-ซูร์-แซนจนกระทั่งปี พ.ศ. 2545 และยังได้เบี้ยบำนาญเป็นปีจากการเป็นสมาชิกสภาจังหวัดโอต์-เดอแซนอีกด้วย เงินปีของซาร์กอซีจะได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเป็น 240,000 ยูโร เนื่องจากการแก้ไขงบประมาณในปี พ.ศ. 2551

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

นักการเมืองทั้งซ้ายและขวาต่างยอมรับว่า ซาร์กอซีเป็นนักการเมืองและนักปราศรัยโจมตีทางการเมืองที่ช่ำชองที่สุดคนหนึ่ง[21] ผู้ที่สนับสนุนเขาในประเทศฝรั่งเศสต่างเล็งไปที่ความสามารถพิเศษของเขาและการนำนวัตกรรมการทางเมืองเข้ามาให้มีบทบาทในประเทศฝรั่งเศสอย่างไม่คาดคิด หลายคนมองว่าเขาต้องการปลีกออกจากสังคมนิยมฝรั่งเศสแบบเดิม ๆ ไปสู่การปฏิรูปเศรษฐกิจแบบอเมริกัน โดยรวมแล้ว เขาถูกจัดว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องสหรัฐอเมริกาและอิสราเอลมากกว่านักการเมืองฝรั่งเศสคนอื่น ๆ

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ซาร์กอซีเป็นประธานพรรคสหภาพเพื่อขบวนการประชาชน (Union pour un Mouvement Populaire : UMP) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองปีกขวาที่สำคัญพรรคหนึ่งและยังได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในคณะรัฐมนตรีของดอมีนิก เดอ วีลแป็ง โดยมีตำแหน่งอันทรงเกียรติคือรัฐมนตรีแห่งรัฐ (Ministre d'État) ซึ่งทำให้เขาอยู่ในอันดับ 3 ของประเทศรองจากประธานาธิบดีฌัก ชีรักและนายกรัฐมนตรีดอมีนิก เดอ วีลแป็ง ภาระหน้าที่ในฐานะรัฐมนตรีของซาร์กอซีนั้นจะต้องดูแลด้านการดำเนินการทางกฎหมายและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางและท้องถิ่น รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศาสนา (เขายังได้ตั้งสภาความเชื่อแห่งมุสลิมฝรั่งเศส (CFCM) อีกด้วย) ก่อนหน้านั้นเขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย ซึ่งเขาถูกบังคับให้ลาออกจากตำแหน่งจากการดำรงตำแหน่งในคณะรัฐบาล เขายังเคยเป็นรัฐมนตรีหลายสมัยซึ่งรวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกด้วย

ในรัฐบาล

[แก้]

อาชีพทางการเมืองของซาร์กอซีเริ่มต้นเมื่อเขามีอายุเพียง 22 ปี โดยการเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองเนอยี-ซูร์-แซน เขาเป็นสมาชิกพรรครวมพลเพื่อสาธารณรัฐ (Rassemblement pour la République : RPR) ซึ่งต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองนั้น หลังจากการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของอาชีล เปอแรตี นายกเทศมนตรีคนก่อน ซาร์กอซีสนิทสนมกับเปอเรตติเนื่องจากแม่ของเขาเป็นเป็นเลขาธิการของเปอเรตติ นักการเมืองอาวุโสของพรรครวมพลเพื่อสาธารณรัฐในขณะนั้นคือ ชาร์ล ปัสกวา ต้องการเป็นนายกเทศมนตรีจึงขอให้ซาร์กอซีจัดตารางการรณรงค์หาเสียงให้เขา แต่เขากลับนำข้อเสียของชาร์ล ปัสกวาไปเป็นประโยชน์และขับเคลื่อนให้เขาได้เป็นนายกเทศมนตรี ซาร์กอซีเป็นนายกเทศมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดในประเทศฝรั่งเศสโดยที่เทศบาลมีประชากรมากกว่า 50,000 คน เขาดำรงตำแหน่งตั้งแต่พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2545 ในปีพ.ศ. 2531 เขาได้เป็นสภาผู้แทนราษฎร

ในปี พ.ศ. 2536 เขาได้ออกข่าวไปทั่วประเทศหลังจากที่เขาทำการเจรจาเป็นการส่วนตัวกับ มนุษย์ระเบิด ซึ่งเป็นคนลักพาตัวเด็กเล็ก ๆ ไปเป็นตัวประกันในอนุบาลแห่งหนึ่งในเทศบาลเมืองเนอยี-ซูร์-แซน มนุษย์ระเบิด ดังกล่าวถูกสังหาร 2 วันหลังจากการเจรจาของตำรวจสังกัดหน่วย RAID (Recherche Assistance Intervention Dissuasion) ซึ่งเป็นหน่วยงานลับต่อต้านการก่อการร้ายของประเทศฝรั่งเศส โดยการสังหารครั้งนี้กระทำขณะที่ผู้ร้ายกำลังพักผ่อนอยู่

ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538 เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงงบประมาณและเป็นโฆษกรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเอดัวร์ บาลาดูร์ ช่วงแรกของชีวิตทางการเมืองของเขานั้น เขาถูกมองว่าเป็นผู้อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของฌัก ชีรัก ในช่วงที่เขาดูแลกระทรวงนั้น เขาได้เพิ่มหนี้สาธารณะของประเทศฝรั่งเศสมากกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงงบประมาณคนใด (ยกเว้นรัฐมนตรีก่อนหน้าเขา) ด้วยเงินจำนวนเท่ากัน (200,000 ล้านยูโร / 260,000 ล้านดอลลาร์) (งบประมาณปี 2537 - 2539)

ในปี พ.ศ. 2538 ซาร์กอซีได้ดูถูกชีรักแล้วหนุนหลังบาลาดูร์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2538 และหลังจากที่ชีรักชนะการเลือกตั้งแล้ว ซาร์กอซีก็ถูกปลดจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงงบประมาณและรู้ตัวดีว่าเขาหลุดออกจากวงจรอำนอจเสียแล้ว

อย่างไรก็ตาม เขาได้กลับมาหลังจากการชนะของฝ่ายขวาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2540 ในอันดับสองของพรรครวมพลเพื่อสาธารณรัฐ (RPR) เมื่อหัวหน้าพรรค ฟีลิป เซแก็งลาออกในปี พ.ศ. 2542 เขาได้ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค (ชั่วคราว) แต่ก็ประสบความล้มเหลวในการเลือกตั้งรัฐสภายุโรป พ.ศ. 2542 ได้คะแนนเพียง 12.7% จากผลการเลือกตั้งทั้งหมด น้อยกว่าพรรครวมพลเพื่อฝรั่งเศส (RPF) ของชาร์ล ปัสกวาเสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุนี้ทำให้ซาร์กอซีถูกปลดจากการเป็นหัวหน้าพรรคโดยทันที

ในปี พ.ศ. 2545 หลังชีรักชนะการเลือกตั้งเป็นครั้งที่สองในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2545 เขาแต่งตั้งให้ซาร์กอซีเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในคณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีฌ็อง-ปีแยร์ ราฟาแร็งโดยไม่คำนึงถึงความขัดแย้งของทั้งสอง[22] จากคำปราศรัยของชีรักในด้านความปลอดภัยบนท้องถนนเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคมนั้น ซาร์กอซีในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ผลักดันให้มีการจัดซื้อกล้องวงจรปิดและรณรงค์เพื่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนน้อยลง

ซาร์กอซีในการประชุมของพรรคในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547

ในการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2547 ซาร์กอซีถูกย้ายไปรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ความตรึงเครียดระหว่างซาร์กอซีและชีรักได้ดำเนินต่อไปในพรรคสหภาพเพื่อการเคลื่อนไหวของปวงชน (UMP) เมื่อซาร์กอซีมีเป้าหมายที่จดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ภายหลังที่อาแล็ง ฌูว์เปลาออก และยังไม่พอ เขายังต้องการที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกด้วย หลังจากเขาได้เอ่ยเรื่องนี้ขึ้นในสถานีโทรทัศน์ช่อง 2 ของประเทศฝรั่งเศสและถูกถามว่าเขาคิดเรื่องการเลือกตั้งประธานาธิบดีตอนโกนหนวดเมื่อเช้านี้หรือไม่ เขากล่าวว่า "ไม่ใช่แค่ตอนโกนหนวด"[23]

ในการเลือกตั้งภายในพรรคเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ซาร์กอซีได้กลายเป็นหัวหน้าพรรคสหภาพเพื่อการเคลื่อนไหวของปวงชน (UMP) ด้วยคะแนนกว่า 85% ของทั้งหมด ซึ่งเขาได้ปรึกษาชีรักและมีความคิดตรงกันว่า เขาควรลาออกจากการเป็นรัฐมนตรี ซึ่งเขาได้ลาออกเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ภายในพรรคได้ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มได้แก่ ซาร์โกไซต์ (Sarkozystes) เช่นมือขวาของเขา บรีซ ออร์ตเฟอซ์ และผู้จงรักภักดีของชีรัก เช่น ฌ็อง-หลุยส์ เดอเบร เป็นต้น

ซาร์กอซีได้รับเครื่องรัฐอิสริยาภรณ์โดยเป็น Chevalier de la Legion d'honneur โดยประธานาธิบดีฌัก ชีรักในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2548 (หลังจากรัฐธรรมนูญบังคับให้ออกจากการเป็นสมาชิกภาพเมื่อดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี)

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 สถานีวิทยุฟร็องแซ็งโฟ (France Info) สถานีวิทยุใหญ่ของประเทศฝรั่งเศสได้รายงานข่าวลือว่าจะมีการแต่งตั้งซาร์กอซีเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งหนึ่งในคณะรัฐมนตรีของดอมีนิก เดอ วีลแป็ง โดยไม่มีการลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคสหภาพเพื่อการเคลื่อนไหวของปวงชน (UMP) ซึ่งก็เป็นความจริงเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2548 หลังมีประกาศสมาชิกคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการในวันเดียวกัน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสมัยแรก

[แก้]

ตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของซาร์กอซีนั้น เขาถูกมองทั้งในด้านบวกและลบหลังการสำรวจในต้นปี พ.ศ. 2547 นโยบายการควบคุมและปราบปรามอาชญากรรมอย่างเข้มงวดของเขา ซึ่งเป็นผลให้มีจำนวนตำรวจบนท้องถนนมากขึ้นกว่าเดิมและจำนวนคดีอาชญากรรมลดลง ทั้งนี้มีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยจำนวนมากมาย

บางครั้งซาร์กอซียังช่วยบรรเทาความขัดแย้งระหว่างชาวฝรั่งเศสทั่วไปกับชุมชนมุสลิมในประเทศฝรั่งเศส คริสต์ศาสนานิกายคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ต่างมีโครงสร้างทางการปกครอง แต่ว่าชุมชมมุสลิมไม่มีโครงสร้างดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดปัญหากับรัฐบาลอยู่เป็นประจำ ซึ่งซาร์กอซีรู้สึกว่าพวกเขาต้องการมูลนิธิหรือองค์กร ซาร์กอซีสนับสนุนสภาศรัทธามุสลิมฝรั่งเศส (Conseil Français du Culte Musulman / CFCM) ซึ่งเป็นองค์กรตัวแทนของชาวฝรั่งเศสมุสลิม[24] และซาร์กอซียังเสนอความเห็นในการแก้ไขกฎหมายการแยกศาสนาออกจากรัฐ พ.ศ. 2448 (Loi du 9 décembre 1905 concernant la séparation des Églises et de l'État) เพื่อให้กองทุนในประเทศสามารถลงทุนสร้างมัสยิดได้ ทำให้ไม่ต้องพึ่งเงินทุนจากต่างประเทศในการดำเนินการ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

[แก้]

ในระยะเวลาสั้น ๆ ที่เขาดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เขาได้เสนอและดำเนินนโยบายต่าง ๆ มากมาย ต่อมาเขาลาออกจากการเป็นรัฐมนตรีหลังจากการเขาถูกเลือกให้เป็นประธานพรรคสหภาพเพื่อการเคลื่อนไหวของปวงชน (UMP)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Astier, Henri; What now for Nicolas Sarkozy?, BBC News, 16 May 2007
  2. Bennhold, Katrin; Sarkozy pledges quick action on French economy เก็บถาวร 2007-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, International Herald Tribune, 7 May 2007.
  3. Anderson, John Ward and Molly Moore; Sarkozy Wins, Vows to Restore Pride in Franc, Washington Post, 7 May 2007.
  4. BBC News Profile: Nicolas Sarkozy
  5. Nicola Sarkozy’s Thessaloniki Roots เก็บถาวร 2008-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน GreekInsight Newspaper 27 ธันวาคม พ.ศ 2550
  6. "Weekly Standard, France girds for the Sarko-Ségo showdown". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-13. สืบค้นเมื่อ 2008-04-17.
  7. The tough new president still loves his mum, France’s real first lady - The Guardian - Angelique Chrisafis - May 14, 2007
  8. Sarkozy's Jewish roots เก็บถาวร 2008-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Australian JewishNews May 8, 2007
  9. Nick Clarck, Carlyle poaches Olivier Sarkozy, The Independent, 4 March 2008 (อังกฤษ)
  10. see Catherine Nay’s semi-official biography
  11. Un pouvoir nommé désir, Catherine Nay, 2007
  12. Augustin Scalbert, Un soupçon de vantardise sur les CV ministériels, Rue 89, 18 September 2007 (ฝรั่งเศส)
  13. See Catherine Nay’s semi-official biography
  14. "Cécilia Sarkozy: The First Lady vanishes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-17. สืบค้นเมื่อ 2008-04-17.
  15. Events company Publicis had organised a large UMP meeting in 2004, nominating Sarkozy as party-head
  16. "The Sarkozy saga". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-26. สืบค้นเมื่อ 2021-08-17.
  17. "French president Sarkozy separation is 'divorce' - official UPDATE". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-05. สืบค้นเมื่อ 2011-08-05.
  18. French president, supermodel-singer linked USA Today, 17 Dec. 2007
  19. Paparazzi throng for Sarkozy trip, BBC News, 25 December 2007
  20. Sarkozy: avec Carla, c'est du sérieuxLe Figaro January 9, 2008 (ฝรั่งเศส)
  21. “French Populism”, by Ignacio Ramonet, Le Monde Diplomatique, June 2007 Edition, French version (ฝรั่งเศส), English translation เก็บถาวร 2007-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  22. Sauced Sarkozy เก็บถาวร 2013-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Felice E. Baker, The Dartmouth Independent, October 31, 2007
  23. Broadcast of “France 2" เก็บถาวร 2005-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 19 November 2003
  24. JO associations, 28 May 2003

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

[แก้]

สำนักพิมพ์

[แก้]

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

[แก้]


ก่อนหน้า นีกอลา ซาร์กอซี ถัดไป
ฌัก ชีรัก
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
(พ.ศ. 2550พ.ศ. 2555)
ฟร็องซัว ออล็องด์
ฌัก ชีรัก
เจ้าผู้ร่วมครองอันดอร์รา
ร่วมกับ ฌูอัน อันริก บิบัส ซิซิลิอา

(พ.ศ. 2550พ.ศ. 2555)
ฟร็องซัว ออล็องด์
ดอมีนิก เดอ วีลแป็ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รัฐบาลดอมีนิก เดอ วีลแป็ง

(พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550)
ฟร็องซัว บารวง
อาแล็ง ฌูว์เป ประธานพรรคอูแอ็มเป (UMP)
(พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2550)
ฌ็อง-ปีแยร์ ราฟาแร็ง
ฌ็อง-โกลด โกแด็ง
ปีแยร์ เมแอเญอรี
ฟร็องซิส แมร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและการจัดหางาน
รัฐบาลฌ็อง-ปีแยร์ ราฟาแร็ง 3

(พ.ศ. 2547)
แอร์เว แกมาร์ด
ชาร์ล ปัสกวา
ประธานสภาจังหวัดโอ-เดอ-แซน
(พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2550)
ปาทริก เดอเวอจีย็อง
ดาเนียล วาย็อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รัฐบาลฌ็อง-ปีแยร์ ราฟาแร็ง 1 และ 2

(พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2547)
ดอมีนิก เดอ วีลแป็ง
ฟีลิป เซแก็ง ประธานพรรคแอร์เปแอร์ (RPR)
(ชั่วคราว)

(พ.ศ. 2542)
มีแชล อาลีโย-มารี
อาแล็ง การีญง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสาร
รัฐบาลเอดัวร์ บาลาดูร์

(พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2538)
กาเตอรีน โทรต์มันน์
หลุยส์ แมร์มาซ โฆษกรัฐบาลเอดัวร์ บาลาดูร์
(พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538)
ฟิลิปป์ ดูสต์-บลาซี
มาร์แต็ง มาลวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงบประมาณ
รัฐบาลเอดัวร์ บาลาดูร์

(พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538)
ฟร็องซัว โดแบร์
อาชีล เปอแรตี
นายกเทศมนตรีเมืองเนอยี-ซูร์-แซน
(พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2545)
หลุยส์-ชาร์ล บารี