นพเคราะห์
เคราะห์ (ภาษาสันสกฤต: ग्रह, gráha คระ-หะ ซึ่งหมายความว่า ฉกฉวย, จับ, คว้า, ยึด) คือสิ่งที่มีอำนาจในจักรวาลของพระภูมิเทวี (โลก) นพเคราะห์ (ภาษาสันสกฤต: नवग्रह, gráha นะ-วะ-คระ-หะ) หมายความว่า 9 ภูมิ, 9 ขอบเขต, 9 โลก, 9 ดาวเคราะห์
เทวดานพเคราะห์
[แก้]ลำดับเลข | รูป | นาม | เทพชายา | ดาวเคราะห์ | วัน |
---|---|---|---|---|---|
1. | พระอาทิตย์ (เทวนาครี: सूर्य, สูรยะ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง มีอำนาจเหนือกว่าเทวดานพเคราะห์ทั้งหลาย ในคติไทย พระอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นมาจากราชสีห์ 6 ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีแดง แล้วเสก ได้เป็นพระอาทิตย์ มีสีวรกายแดง ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และแสดงถึงสระทั้งหมดในภาษาบาลี (อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) พระอาทิตย์ เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางก้าวร้าวรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันอาทิตย์ หรือมีพระอาทิตย์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์รุนแรง ตัดสินใจไว เฉียบขาด รักอิสระ แต่ซื่อสัตย์ ตามนิทานชาติเวร พระอาทิตย์เป็นมิตรกับพระพฤหัสบดี และเป็นศัตรูกับพระอังคาร ในโหราศาสตร์ไทย พระอาทิตย์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ 1 และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากราชสีห์ 6 ตัวนี้เอง จึงทำให้มีกำลังพระเคราะห์เป็น 6 สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ก็คือปางถวายเนตร |
พระนางศรัณยา พระนางฉายา พระอุษาเทวี |
ดวงอาทิตย์ | วันอาทิตย์ | |
2. | พระจันทร์ (เทวนาครี: चंद्र) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระจันทร์ถูกสร้างขึ้นมาจากนางอัปสร (นางฟ้า) 15 องค์ บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีขาวนวล แล้วเสกได้เป็นพระจันทร์ มีสีวรกายขาวนวล ทรงอาชา (ม้า) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออก และแสดงถึงอักษรวรรค กะ (ก ข ค ฅ ฆ ง) พระจันทร์ เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางนุ่มนวลอ่อนโยน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันจันทร์ หรือมีพระจันทร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์อ่อนโยน เพ้อฝัน รวนเร (แต่อาจมีเล่ห์เหลี่ยมมาก) ตามนิทานชาติเวร พระจันทร์เป็นมิตรกับพระพุธ และเป็นศัตรูกับพระพฤหัสบดี ในโหราศาสตร์ไทย พระจันทร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ 2 และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากนางฟ้า 15 องค์ จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น 15 สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันจันทร์ก็คือปางห้ามสมุทร |
พระนางโรหิณี และเทวีนักษัตร รวม 27 นาง | ดวงจันทร์ | วันจันทร์ | |
3. | พระอังคาร (เทวนาครี: मंगल, มังคละ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระอังคารถูกสร้างขึ้นมาจากกระบือ (ควาย) 8 ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีชมพูหม่น แล้วเสกได้เป็นพระอังคาร มีสีวรกายชมพู ทรงมหิงสาเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค จะ (จ ฉ ช ฌ ญ) พระอังคาร เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรงและเร่าร้อน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันอังคาร หรือมีพระอังคารสถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์มุทะลุ ตึงตัง ชอบใช้กำลัง ใจร้อน ตามนิทานชาติเวร พระอังคารเป็นมิตรกับพระศุกร์ และเป็นศัตรูกับพระอาทิตย์ ในโหราศาสตร์ไทย พระอังคารถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ 3 และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากกระบือ 8 ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น 8 สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอังคารก็คือปางไสยาสน์และภายหลังมีปางลีลาเพิ่มอีกหนึ่งปาง |
พระนางชวาลินี (Jwalini ) | ดาวอังคาร | วันอังคาร | |
4. | พระพุธ (เทวนาครี: बुध, พุธ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระพุธถูกสร้างขึ้นมาจากคชสาร (ช้าง) 17 เชือก บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเขียวใบไม้ แล้วเสกได้เป็นพระพุธ มีพระวรกายเขียว ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค ฏะ ใหญ่ (ฏ ฐ ฑ ฒ ณ) พระพุธเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนโยนไพเราะ นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันพุธ หรือมีพระพุธสถิตร่วมกับลัคนา มักชอบพูดชอบเจรจา สุขุมรอบคอบ แต่ตื่นกลัวง่าย ตามนิทานชาติเวร พระพุธเป็นมิตรกับพระจันทร์ และเป็นศัตรูกับพระราหู ในโหราศาสตร์ไทย พระพุธถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ 4 และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากคชสาร 17 เชือก จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น 17 สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพุธก็คือปางอุ้มบาตร |
พระนางอิลา | ดาวพุธ | วันพุธ | |
5. | พระพฤหัสบดี (เทวนาครี: बृहस्पति, พฤหัสบดี) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระพฤหัสบดีถูกสร้างขึ้นมาจากฤษี 19 ตน บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเหลืองส้ม แล้วเสกได้เป็นพระพฤหัสบดี มีสีวรกายส้มแดง ทรงมฤค (กวาง) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตก และแสดงถึงอักษรวรรค ปะ (บ ผ พ ภ ม) พระพฤหัสบดีจัดว่าเป็นครูของเทวดาทั้งหลาย จึงนิยมทำพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดีเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลดังเช่นนิสัยแห่งพระฤษี นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันพฤหัสบดี หรือมีพระพฤหัสบดีสถิตร่วมกับลัคนา มักทำอะไรด้วยความระมัดระวัง สุขุมรอบคอบ เมตตาปรานีต่อผู้อื่น ตามนิทานชาติเวร พระพฤหัสบดีเป็นมิตรกับพระอาทิตย์ และเป็นศัตรูกับพระจันทร์ ในโหราศาสตร์ไทย พระพฤหัสบดีถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ 5 และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากฤษี 19 ตน จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น 19 สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดีก็คือปางสมาธิ |
พระนางดารา | ดาวพฤหัสบดี | วันพฤหัสบดี | |
6. | พระศุกร์ (เทวนาครี: बृहस्पति) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระศุกร์ถูกสร้างขึ้นมาจากโค (วัว) 21 ตัว (บางตำรากล่าวว่าสร้างจากเทพยาธร-ครึ่งเทพครึ่งมนุษย์) บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีฟ้าอ่อน แล้วเสกได้เป็นพระศุกร์ มีสีวรกายฟ้า ทรงคาวีเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศเหนือ และแสดงถึงเศษวรรคที่ 2 (ส ห ฬ อ) พระศุกร์จัดเป็นครูของพวกยักษ์ ซึ่งตรงข้ามกับพระพฤหัสบดีที่เป็นครูของเทพ พระศุกร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนหวาน แต่ค่อนข้างไปทางใฝ่ต่ำ นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันศุกร์หรือมีพระศุกร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาน่ารัก อ่อนหวาน ชอบงานศิลปะทุกประเภท ตามนิทานชาติเวร พระศุกร์เป็นมิตรกับพระอังคารและเป็นศัตรูกับพระเสาร์ ในโหราศาสตร์ไทย พระศุกร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ 6 และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากโค 21 ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น 21 สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันศุกร์ก็คือปางรำพึง |
พระนางชยันตี, พระนางอุรจลาวดี (Urjjasvati) และพระนางสัปตปาวลา (Sataparva)[1] | ดาวศุกร์ | วันศุกร์ | |
7. | พระเสาร์ (เทวนาครี: शनि, ศนิ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระเสาร์ถูกสร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ (เสือ) 10 ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีดำ แล้วเสกได้เป็นพระเสาร์มีสีวรกายดำคล้ำ ทรงพยัคฆ์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค ตะ เล็ก (ต ถ ท ธ น) พระเสาร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันเสาร์หรือมีพระเสาร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาดุดัน แข็งแรง กล้าได้กล้าเสีย บุคลิกเคร่งขรึม ตามนิทานชาติเวร พระเสาร์เป็นมิตรกับพระราหูและเป็นศัตรูกับพระศุกร์ ในโหราศาสตร์ไทย พระเสาร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ 7 และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ 10 ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น 10 สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันเสาร์ก็คือปางนาคปรก |
พระนางมัณฑา และ พระนางนีลา | ดาวเสาร์ | วันเสาร์ | |
8. | พระราหู (เทวนาครี: राहु) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย กำเนิดของพระราหูมีอยู่ด้วยกันสองตำนานด้วยกันคือ 1. พระราหูถูกสร้างขึ้นมาโดยพระอิศวร หรือพระศิวะจากหัวผีโขมด 12 หัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีทอง แล้วประพรมด้วยน้ำอัมฤตเสกได้เป็นพระราหู มีสีวรกายสีนิลออกไปทางทองแดง มีวิมานสีนิลอยู่ในอากาศ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ทิศพายัพ) และแสดงถึงเศษวรรคที่ 1 (ย ร ล ว) 2. พระราหูเป็นโอรสของท้าววิประจิตติและนางสิงหิกาหรือนางสิงหะรา เมื่อเกิดมามีกายเป็นยักษ์และมีหางเป็นนาค พระราหูเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางลุ่มหลงมัวเมา พระราหูเป็นมิตรกับพระเสาร์และเป็นศัตรูกับพระพุธอันมีเหตุตามนิทานชาติเวร ในอดีตชาติ พระราหูได้เกิดมาเป็นน้องร่วมท้องเดียวกันกับเทวดานพเคราะห์อีก 2 องค์ คือ พระอาทิตย์และพระจันทร์ โดยพระราหูเกิดเป็นน้องสุดท้อง ครั้งหนึ่ง พระราหูได้ร่วมทำบุญถวายพระที่มารับบิณฑบาตร่วมกับพี่ทั้ง 2 คน พระอาทิตย์ตักบาตรในครั้งนั้นด้วยภาชนะทอง พระจันทร์ตักบาตรด้วยภาชนะเงิน ส่วนพระราหูตักบาตรด้วยภาชนะที่ทำมาจากกะลามะพร้าว เมื่อทั้ง 3 พี่น้องได้มาเกิดเป็นเทวดานพเคราะห์ พระอาทิตย์จึงมีรัศมีและวรรณะเปล่งปลั่งดุจทองคำ พระจันทร์มีรัศมีและวรรณะเป็นสีขาวสว่างดุจเงิน และพระราหูมีรัศมีและวรรณะเป็นสีนิลออกไปทางทองแดง (แต่ในบางตำราก็ว่ากายของพระราหูนั้นมีสีดำบ้าง สีทองบ้าง แตกต่างกันไป) สาเหตุที่พระราหูมีกายเพียงครึ่งท่อน[แก้]มีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งที่เหล่าเทวดาได้ทำพิธีกวนเกษียรสมุทรเพื่อให้ได้น้ำอัมฤตนั้นมีทั้งเทวดาและยักษ์ทั้งหลายเข้าร่วมทำพิธี พระราหูได้แอบอยู่ในกลีบเมฆ เมื่อทำพิธีสำเร็จพระราหูจึงรีบลอบดื่มน้ำอัมฤตที่เกิดขึ้นนั้น พระอาทิตย์และพระจันทร์ได้เห็นเข้าจึงรีบเอาความนั้นไปทูลบอกพระนารายณ์หรือพระวิษณุ พระนารายณ์ทราบจึงขว้างจักรตัดไปถูกกลางตัวพระราหูขาดกลายเป็นสองท่อน แต่ด้วยว่าน้ำอัมฤตที่พระราหูได้ดื่มนั้นไหลไปจนถึงกลางตัวพระราหูแล้วพอดี ครึ่งบนของพระราหูที่ถูกตัดออกจึงกลายเป็นอมตะ ส่วนครึ่งร่างนั้นได้กลายมาเป็นพระเคราะห์องค์ที่ 9 แห่งเหล่าเทวดานพเคราะห์ซึ่งก็คือ พระเกตุ จากนั้นเมื่อครั้งใดที่พระราหูได้พบเจอพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ พระราหูก็จะจับมากลืนกินด้วยความโกรธแค้นที่เทวดาทั้งสององค์นำเรื่องไปทูลพระนารายณ์ แต่อมไว้ในปากได้ไม่นานก็ต้องคายออกมาเพราะทนความร้อนและรัศมีของเทวดานพเคราะห์ทั้งสองไม่ได้ เกิดเป็นเหตุของปรากฏการณ์สุริยุปราคาและจันทรุปราคาตามคติความเชื่อของคนโบราณ ในโหราศาสตร์ไทย พระราหูถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ 8 และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากหัวผีโขมด 12 หัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น 12 |
พระนางนาคกัณณี (Nagakanni ) และ พระนางนาควัลลี ( Nagavalli ) | node of the Moon | ||
9. | พระเกตุ (เทวนาครี: केतु) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระเกตุถูกสร้างจากหางของพระราหู เนื่องจากพระราหูแอบไปขโมยน้ำอมฤตที่เทวดาได้กวนไว้ดื่ม พระอินทร์โกรธจึงขว้างจักรตัดเอวพระราหู เดชะฤทธิ์น้ำอมฤต พระราหูจึงไม่ตาย และกลับไปยังวิมานเดิม หางที่ขาดนั้นเองก็กลายเป็นพระเกตุ ประจำในทิศท่ามกลาง ให้ผลเป็นกลาง ๆ ในการพยากรณ์ จึงไม่นิยมพิจารณาพระเกตุมากนัก ในโหราศาสตร์ไทย พระเกตุถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ 9 |
พระนางจิตราเลขา (Chitralekha) | Descending node of the Moon |