รายชื่อธนาคารในประเทศไทย
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ธนาคารในประเทศไทย)
รายชื่อธนาคารทั้งหมดในไทย
ธนาคารกลาง
[แก้]รหัสธนาคาร | ธนาคาร | ก่อตั้ง | ประเภท | หมายเหตุ | รหัส SWIFTCODE |
---|---|---|---|---|---|
001 | ธนาคารแห่งประเทศไทย | 2485 | ธนาคารแห่งชาติ | เดิมคือ สำนักงานธนาคารชาติไทย มีหน้าที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ไทย | BOTHTHBK |
ธนาคารพาณิชย์ไทย
[แก้]รหัสธนาคาร | ธนาคาร | ก่อตั้ง | ประเภท | หมายเหตุ | รหัส SWIFTCODE |
---|---|---|---|---|---|
002 | ธนาคารกรุงเทพ | 2487 | บริษัทมหาชน SET: BBL |
BKKBTHBK | |
004 | ธนาคารกสิกรไทย | 2488 | บริษัทมหาชน SET: KBANK |
KASITHBK | |
006 | ธนาคารกรุงไทย | 2509 | บริษัทมหาชน SET: KTB |
ธนาคารของรัฐที่มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ก่อตั้งโดยควบรวมกิจการธนาคารมณฑล ธนาคารเกษตร (พ.ศ. 2509) และต่อมายังได้รับโอนกิจการของธนาคารมหานคร และบางส่วนของธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ (พ.ศ. 2541) | KRTHTHBK |
011 | ธนาคารทหารไทยธนชาต | 2500 | บริษัทมหาชน SET: TTB |
เดิมชื่อธนาคารทหารไทย และควบรวมกับธนาคารธนชาต (พ.ศ. 2564) | TMBKTHBK |
014 | ธนาคารไทยพาณิชย์ | 2449 | บริษัทมหาชน SET: SCB |
เดิมชื่อบริษัท แบงก์สยามกัมมาจลทุน จำกัด และเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ (พ.ศ. 2482) | SICOTHBK |
025 | ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | 2488 | บริษัทมหาชน SET: BAY |
เดิมใช้ชื่อว่า ธนาคารแห่งกรุงศรีอยุธยา จำกัด จนถึงปี พ.ศ. 2512 | AYUDTHBK |
069 | ธนาคารเกียรตินาคินภัทร | 2514 | บริษัทมหาชน SET: KKP |
เดิมคือ บริษัท เงินทุน เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ก่อนจะปรับรูปแบบเป็นธนาคารพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2548 และเปลี่ยนชื่อจาก ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563 | KIFITHB1 |
022 | ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย | 2492 | บริษัทมหาชน SET: CIMBT |
เดิมใช้ชื่อว่า ธนาคารสหธนาคาร จำกัด (มหาชน) (ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2492) และเปลี่ยนชื่อจาก ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 | UBOBTHBK |
067 | ธนาคารทิสโก้ | 2548 | บริษัทมหาชน SET: TISCO |
เดิมคือ บริษัท เงินทุน ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) (ก่อตั้งปี พ.ศ. 2512) | TFPCTHB1 |
024 | ธนาคารยูโอบี | 2549 | บริษัทมหาชน SET: UOBT |
เปลี่ยนชื่อมาจาก ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ (ไทย) จำกัด (มหาชน) เมื่อ 2 พฤษภาคม 2549 | UOVBTHBK |
071 | ธนาคารไทยเครดิต | 2547 | บริษัทมหาชน
SET : CREDIT |
ปรับสถานะจากธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ โดยเปลี่ยนชื่อมาจาก ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 เดิมคือ บริษัท กรุงเทพสินทวี จำกัด (ก่อตั้ง พ.ศ. 2513) | THCETHB1 |
073 | ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ | 2552 | บริษัทมหาชน SET: LHFG |
ปรับสถานะจากธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ โดยเปลี่ยนชื่อมาจาก ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2554 | LAHRTHB1 |
070 | ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) | 2553 | บริษัทมหาชน SET: ICBCT |
เปลี่ยนชื่อมาจาก ธนาคารสินเอเซีย เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2553 | ICBKTHBK |
098 | ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย | 2545 | ธนาคารของรัฐบาล ตัวอักษรย่อ: SME |
เดิมคือ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม | - |
034 | ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร | 2509 | ธนาคารของรัฐบาล ตัวอักษรย่อ: BAAC |
เดิมชื่อ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ | BAABTHBK |
035 | ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย | 2536 | ธนาคารของรัฐบาล ตัวอักษรย่อ: EXIM |
EXTHTHBK | |
030 | ธนาคารออมสิน | 2456 | ธนาคารของรัฐบาล ตัวอักษรย่อ: GSB |
เปลี่ยนชื่อมาจากคลังออมสิน (2490) | GSBATHBK |
033 | ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | 2496 | ธนาคารของรัฐบาล ตัวอักษรย่อ: GHB |
ธนาคารพาณิชย์การศาสนา
[แก้]รหัสธนาคาร | ธนาคาร | ก่อตั้ง | ประเภท | หมายเหตุ | รหัส SWIFTCODE |
---|---|---|---|---|---|
066 | ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย | 2545 | ธนาคารของรัฐบาล ตัวอักษรย่อ: ISBT |
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารเฉพาะกิจของรัฐที่จัดตั้งขึ้นมาตาม พรบ.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย[1] | TIBTTHBK |
ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ
[แก้]รหัสธนาคาร | ธนาคาร | ก่อตั้ง | ประเภท | หมายเหตุ | รหัส SWIFTCODE |
---|---|---|---|---|---|
026 | ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ | 2548 | บริษัทมหาชน | ยกฐานะจากสาขา ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ เป็นธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2548 | ICBCTHBKBNA |
052 | ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) | 2557 | บริษัทมหาชน | ยกฐานะจากสาขา ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ เป็นธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 | BKCHTHBK |
079 | ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) | 2558 | บริษัทมหาชน | ANZBTHBK | |
080 | ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) | 2558 | บริษัทมหาชน | STBCTHBK | |
020 | ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) | 2548 | บริษัทมหาชน | เกิดขึ้นจากการรวมกิจการของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สาขากรุงเทพ (เป็นสาขาเฉพาะ) และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน เข้าเป็นธนาคารเดียวในปี 2548 จนกระทั่งในปี 2560 ได้ทำการโอนธุรกิจลูกค้าบุคคลไปให้เป็นของธนาคารทิสโก้ แต่ยังคงเปิดให้บริการเฉพาะแก่ลูกค้าองค์กรและลูกค้าธุรกิจจนถึงปัจจุบัน | |
017 | ธนาคารซิตี้แบงก์ | 2466 | บริษัทมหาชน | เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ได้ทำการโอนธุรกิจลูกค้าบุคคลไปให้เป็นของธนาคารยูโอบี แต่ยังคงเปิดให้บริการเฉพาะแก่ลูกค้าองค์กรและลูกค้าธุรกิจจนถึงปัจจุบัน | CITITHBX |
ธนาคารในอดีต
[แก้]ธนาคารในอดีต ในที่นี้หมายรวมถึง ปิดกิจการ เปลี่ยนชื่อ หรือยุบรวมกิจการกับธนาคารอื่น
รหัสธนาคาร | ธนาคาร | ก่อตั้ง | ปิดกิจการ | ประเภท | หมายเหตุ | รหัส SWIFTCODE |
---|---|---|---|---|---|---|
072 | ธนาคารจีอี มันนี่ เพื่อรายย่อย | 2549 | 2551 | ธนาคารเอกชน | โอนกิจการไปยังธนาคารกรุงศรีอยุธยา | |
ธนาคารไทยทนุ | 2492 | 2542 | บริษัทมหาชน | เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ ในปี พ.ศ. 2542 (ปัจจุบันเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต) | DANUTHBK | |
012 | ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ | 2542 | 2547 | บริษัทมหาชน | ยุบรวมกิจการเข้ากับธนาคารทหารไทยธนชาต ในปี พ.ศ. 2547 | DANUTHBK |
ธนาคารสิงขร | 2493 | 2493 | บริษัทจำกัด | ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารศรีนคร (ปัจจุบันเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต) | ||
021 | ธนาคารศรีนคร | 2493 | 2545 | บริษัทมหาชน | ยุบรวมกิจการกับธนาคารนครหลวงไทย (ปัจจุบันเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต) | |
015 | ธนาคารนครหลวงไทย | 2484 | 2554 | บริษัทมหาชน | เดิมชื่อ ธนาคารนครหลวงแห่งประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารนครหลวงไทย และวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 จึงยุบรวมกิจการกับธนาคารธนชาต (ปัจจุบันเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต) | SITYTHBK |
065 | ธนาคารธนชาต | 2545 | 2564 | บริษัทมหาชน | เดิมคือ บริษัท เงินทุน เอกชาติ จำกัด (มหาชน) (ก่อตั้งขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2530) ปัจจุบันยุบกับธนาคารทหารไทยธนชาต | THBKTHBK |
ธนาคารแห่งเอเชียเพื่อการอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม | 2482 | 2519 | บริษัทจำกัด | เปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารเอเชีย (พ.ศ. 2519) (ปัจจุบันเป็น ธนาคารยูโอบี) | ||
ธนาคารเอเชีย | 2519 | 2547 | บริษัทมหาชน | ยุบรวมกิจการกับธนาคารยูโอบีรัตนสิน โดยใช้ธนาคารเอเชียเป็นแกนหลัก และเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารยูโอบี ในปี พ.ศ. 2547 | ||
ธนาคารแหลมทอง | 2491 | 2541 | บริษัทมหาชน | ยุบรวมกิจการกับธนาคารรัตนสิน (ปัจจุบันเป็น ธนาคารยูโอบี) | ||
ธนาคารรัตนสิน | 2541 | 2542 | บริษัทมหาชน | รัฐบาลได้เข้าควบคุมกิจการธนาคารแหลมทอง เนื่องจากธนาคารประสบสภาพคล่องในปี พ.ศ. 2541 โดยควบรวมกับ ธนาคารรัตนสิน เนื่องจากเพราะขนาดกิจการและไม่มีเครือข่ายสาขา ต่อมารัฐบาลได้ขายกิจการให้กับกลุ่มธนาคารยูไนเต็ดฯ ในปี พ.ศ. 2542 จากนั้นจึงได้เปลื่ยนชื่อเป็น ธนาคารยูโอบีรัตนสิน (ปัจจุบันเป็น ธนาคารยูโอบี) | ||
019 | ธนาคารยูโอบีรัตนสิน | 2542 | 2547 | บริษัทมหาชน | กลุ่มยูโอบีได้ซื้อกิจการของธนาคารเอเซีย โดยใช้ธนาคารเอเชียเป็นแกนหลักจึงยุบรวมกิจการเข้ากับธนาคารเอเซีย (ปัจจุบันเป็น ธนาคารยูโอบี) | |
ธนาคารตันเปงชุน | 2477 | 2503 | บริษัทจำกัด | ต่อมาเปลี่ยนเป็นธนาคารไทยพัฒนา (พ.ศ. 2503) (ปัจจุบันเป็น ธนาคารกรุงไทย) | ||
ธนาคารไทยพัฒนา | 2503 | 2520 | บริษัทจำกัด | เปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารมหานคร (พ.ศ. 2520) (ปัจจุบันเป็น ธนาคารกรุงไทย) | ||
013 | ธนาคารมหานคร | 2520 | 2541 | บริษัทมหาชน | ยุบรวมกิจการเข้ากับธนาคารกรุงไทย ในปี พ.ศ. 2541 | |
070 | ธนาคารสินเอเซีย | 2548 | 2553 | บริษัทมหาชน | เดิมคือ บริษัท เงินทุน สินเอเซีย จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งปี พ.ศ. 2512 ต่อมาปี พ.ศ. 2548 ได้เปลี่ยนเป็นธนาคาร สินเอเซีย จำกัด (มหาชน) และปี พ.ศ. 2553 ธนาคารสากลพาณิชย์แห่งประเทศจีน (ICBC) ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) | ACLXTHBK |
068 | ธนาคารเอไอจี เพื่อรายย่อย | 2551 | 2552 | ธนาคารเอกชน | เดิมคือบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ บางกอกอินเวสต์เมนท์ จำกัด (มหาชน) (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504) ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น บริษัท อยุธยา โทเทิล โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันปิดกิจการลงแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2556 | |
ธนาคารมณฑล | 2485 | 2509 | บริษัทจำกัด | ยุบรวมกับธนาคารเกษตร จัดตั้งเป็น "ธนาคารกรุงไทย" | ||
ธนาคารเกษตร | 2492 | 2509 | บริษัทจำกัด | ยุบรวมกับธนาคารมณฑล จัดตั้งเป็น "ธนาคารกรุงไทย" | ||
ธนาคารหวั่งหลีจัน | 2476 | 2516 | บริษัทจำกัด | ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารหวั่งหลี ปัจจุบันเป็น ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) | ||
ธนาคารหวั่งหลี | 2516 | 2528 | บริษัทจำกัด | ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารนครธน ปัจจุบันเป็น ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) | ||
ธนาคารนครธน | 2528 | 2542 | บริษัทมหาชน | ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารสแตนด์ดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน ปัจจุบันเป็น ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) | ||
007 | ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน | 2542 | 2548 | บริษัทมหาชน | ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) | SCNBTHBK |
ธนาคารสหธนาคาร | 2492 | 2541 | บริษัทมหาชน | ควบรวมกับบงล.กรุงไทยธนกิจและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 12 แห่ง โดยใช้ธนาคารสหธนาคารเป็นแกนและเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารไทยธนาคาร (ปัจจุบันเป็น ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย) | ||
ธนาคารไทยธนาคาร | 2541 | 2552 | บริษัทมหาชน | กลุ่มซีไอเอ็มบีเข้ามาถือหุ้นใหญ่จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย | UBOBTHBK | |
003 | ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ | 2487 | 2541 | บริษัทมหาชน | แปรสภาพเป็นบริษัทลูกหนี้ (ล้มละลายปี พ.ศ. 2546) และโอนสินทรัพย์ไปยังธนาคารกรุงไทย (เฉพาะสินทรัพย์ หนี้สินพร้อมกับลูกหนี้ที่มีคุณภาพ และเงินฝากลูกค้าเดิม) และบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (เฉพาะสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ) | |
ธนาคารเอเชียทรัสต์ | 2493 | 2527 | บริษัทจำกัด | เปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารสยาม (ปัจจุบันเป็น ธนาคารกรุงไทย) | ||
016 | ธนาคารสยาม | 2527 | 2530 | บริษัทจำกัด | ปิดกิจการ และโอนสินทรัพย์ไปยังธนาคารกรุงไทย |
สาขาและสำนักงานตัวแทนธนาคารต่างชาติ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- โตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ, The Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ, Ltd.
- ซิตี้แบงค์,
- ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอร์เรชั่น, Sumitomo Mitsui Banking Corporation
- เอช เอส บี ซี, HSBC
- ดอยซ์แบงก์
- เจพี มอร์แกน เชส,
- คาลิยง, Crédit Agricole Corporate and Investment Bank
- อินเดียนโอเวอร์ซีส์, Indian Overseas Bank
- เอบีเอ็น แอมโร เอ็น.วี., ABN AMRO Bank N.V.
- อาร์ เอช บี, RHB Bank Berhad
- โอเวอร์ซี-ไชนิสแบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น แห่งประเทศจีน, Oversea-Chinese Banking Corporation
- มิซูโฮ คอร์ปอเรต, Mizuho Corporate Bank, Ltd.
- โนวาสโกเทีย, Scotiabank (Bank of Nova Scotia)
- บีเอ็นพี พารีบาส์
- โซซิเยเต้ เจเนราล,
หมายเหตุ
[แก้]- รหัสสถาบันการเงินเป็นเลขสามหลัก ใช้สำหรับระบบชำระเงินภายในประเทศ
- SWIFT Code ใช้สำหรับระบบชำระเงินระหว่างประเทศ แสดงเฉพาะ 4 ตัวแรก
- ประเทศไทยไม่ใช้ระบบ IBAN และไม่มี Routing transit number ข้อมูลที่จำเป็นในการชำระเงินมีเพียงชื่อหรือรหัสธนาคารและเลขบัญชีเท่านั้น (แต่ละธนาคารมีความยาวเลขบัญชีไม่เท่ากัน)
ดูเพิ่ม
[แก้]- ISO 9362 SWIFT-BIC, BIC code, SWIFT ID หรือ SWIFT code
- BAHTNET ระบบ Real Time Gross Settlement ในประเทศไทย
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สมาชิกระบบชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ 2019-06-19.