ข้ามไปเนื้อหา

ธนาคารอาคารสงเคราะห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
อุตสาหกรรมสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง
ก่อตั้ง24 กันยายน พ.ศ. 2496; 71 ปีก่อน (2496-09-24) ที่จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
สำนักงานใหญ่
จำนวนที่ตั้ง193 สาขา
พื้นที่ให้บริการประเทศไทย
บุคลากรหลักอัครุตม์ สนธยานนท์
(ประธานกรรมการ)
กมลภพ วีระพละ (กรรมการผู้จัดการ)
บริการการจัดหาเงินทุนอสังหาริมทรัพย์
รายได้สุทธิ
2.60 ล้านบาท
บริษัทแม่กระทรวงการคลัง
เว็บไซต์ghbank.co.th Edit this on Wikidata

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. (อังกฤษ: Government Housing Bank) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง โดยปัจจุบันกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด[1] จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2496[2] ทำหน้าที่ช่วยเหลือตลาดทางการเงินให้กับประชาชน ได้มีที่อยู่อาศัยตามสมควรแก่อัตภาพ โดยการให้กู้ยืมเงิน และ จัดสรรที่ดินเพื่อก่อสร้างที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่ประกอบธุรกิจในการส่งเสริมและช่วยเหลือประชาชนนำเงินไป ลงทุนเกี่ยวกับการสร้างอาคารและที่ดินโดยตรงทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางในการนำเงินไปใช้ประโยชน์ ใน กิจการเคหะและเป็นสถาบันการเงินที่ดำเนินธุรกิจ อีกทั้งยัง ร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ สนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่เป็นของตนเอง อาทิ ให้สินเชื่อกับผู้ที่ซื้อบ้านกับการเคหะแห่งชาติ สินเชื่อกับผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม ร่วมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้สมาชิกกู้เงินเพื่ออสังหาริมทรัพย์ ความช่วยเหลือด้านการมีบ้าน

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้รับโอนลูกหนี้และสินทรัพย์จากองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นอดีตรัฐวิสาหกิจของไทย เข้ามารวมไว้ด้วยกัน ในปี พ.ศ. 2542[3]

ในสิ้นปี 2565 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้แผ่นดินสะสมสูงสุด ลำดับที่ 6[4]

จำนวนสาขา

[แก้]

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีจุดบริการทั่วประเทศไทย จำนวน 146 จุด แบ่งเป็นสาขาหลัก 77 สาขา และสาขาย่อย 14 สาขา นอกจากนี้ยังมีหน่วยบริการสินเชื่อจำนวน 16 แห่ง ศูนย์ OSS จำนวน 26 ศูนย์ และเคาน์เตอร์การเงิน จำนวน 15 แห่ง[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อัตราดอกเบี้ยของธนาคาร
  2. พระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖
  3. การยุบเลิกองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (อบส.) โดย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ 1 เดือน เมษายน พ.ศ. 2553
  4. ปตท.แชมป์ ส่งรายได้เข้ารัฐมากสุด 1.89 หมื่นล้านบาท
  5. "สาขาธนาคาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-01. สืบค้นเมื่อ 2010-07-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]