ข้ามไปเนื้อหา

ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย
ทรัพย์สิรี เมื่อปี 2560
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเล่นปอป้อ
ประเทศประเทศไทย
เกิด18 เมษายน พ.ศ. 2535 (32 ปี)
จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย[1]
ส่วนสูง1.69 m (5 ft 7 in)
น้ำหนัก55 kg (121 lb)
มือที่ถนัดขวา
หญิงคู่และคู่ผสม[3]
อันดับโลกสูงสุด14 (หญิงเดี่ยว 12 กันยายน 2556)
9 (หญิงคู่ ร่วมกับ พุธิตา สุภจิรกุล 16 กุมภาพันธ์ 2560)
1 (คู่ผสม ร่วมกับ เดชาพล พัววรานุเคราะห์ 7 ธันวาคม 2564)[2]
อันดับโลกปัจจุบัน6 (คู่ผสม ร่วมกับ เดชาพล พัววรานุเคราะห์ 16 กรกฎาคม 2567)
รายการเหรียญรางวัล
แบดมินตันหญิง
ตัวแทนของ  ไทย
แบดมินตันชิงแชมป์โลก
เหรียญทอง - ชนะเลิศ อวยลวา 2021 คู่ผสม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ บาเซิล 2019 คู่ผสม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 โตเกียว 2022 หญิงคู่
ซูดีร์มันคัพ
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 หนานหนิง 2019 ทีมผสม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 โกลด์โคสต์ 2017 ทีมผสม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 กัวลาลัมเปอร์ 2013 ทีมผสม
ยูเบอร์คัพ
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ กรุงเทพมหานคร 2018 ทีมหญิง
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 อู่ฮั่น 2012 ทีมหญิง
เอเชียนเกมส์
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ กว่างโจว 2010 ทีมหญิง
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 จาการ์ตา-ปาเล็มบัง 2018 ทีมหญิง
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 หางโจว 2022 ทีมหญิง
ชิงแชมป์เอเชีย
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ อู่ฮั่น 2017 คู่ผสม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 อู่ฮั่น 2019 คู่ผสม
ชิงแชมป์เอเชียทีมผสม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 โฮจิมินห์ 2017 ทีมผสม
ชิงแชมป์เอเชียทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ไฮเดอราบาด 2016 ทีมหญิง
ซีเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ จาการ์ตา 2011 ทีมหญิง
เหรียญทอง - ชนะเลิศ สิงค์โปร์ 2015 ทีมหญิง
เหรียญทอง - ชนะเลิศ กัวลาลัมเปอร์ 2017 คู่ผสม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ กัวลาลัมเปอร์ 2017 ทีมหญิง
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ เนปยีดอ 2013 คู่ผสม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ กัวลาลัมเปอร์ 2017 หญิงคู่
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 เวียงจันทน์ 2009 ทีมหญิง
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 เนปยีดอ 2013 หญิงคู่
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 สิงค์โปร์ 2015 คู่ผสม
กีฬาโอลิมปิกเยาวชน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ สิงคโปร์ 2010 หญิงเดี่ยว
ชิงแชมป์เยาวชนโลก
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 อาโลร์เซอตาร์ หญิงคู่
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 อาโลร์เซอตาร์ ทีมผสม
ชิงแชมป์เยาวชนเอเชีย
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ กัวลาลัมเปอร์ 2010 หญิงเดี่ยว
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 กัวลาลัมเปอร์ 2009 หญิงคู่
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 กัวลาลัมเปอร์ 2009 ทีมผสม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 กัวลาลัมเปอร์ 2010 ทีมผสม
BWF profile

ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ชื่อเล่น ปอป้อ (เกิดวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2535) เป็นนักกีฬาแบดมินตันหญิงชาวไทย[4] ปัจจุบันครองอันดับ 1 ของโลก, เจ้าของเหรียญเงิน และเหรียญทองรายการชิงแชมป์โลก ในปี 2019 [en] และ 2021 [en] ตามลำดับ ประเภทคู่ผสมร่วมกับเดชาพล พัววรานุเคราะห์ ซึ่งเป็นคู่ผสมคู่แรกของไทยที่ได้แชมป์โลก[5][6][7] นอกจากนี้ยังชนะเลิศรายการในเวิลด์ทัวร์ 3 รายการติดต่อกัน 2 ครั้งภายใน 1 ปี คือต้นปี 2021 ที่ประเทศไทย และในปลายปีที่ บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย[8][9]

ทรัพย์สิรีเป็นนักกีฬาคนแรกของโลกที่ชนะเลิศการแข่งขันระดับกรังด์ปรีซ์โกลด์ครบทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ และคู่ผสม ทรัพย์สิรี ได้เหรียญทองแบดมินตันในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 ในประเภทหญิงเดี่ยว[10][11] และเหรียญเงินจากแบดมินตันในเอเชียนเกมส์ 2010 ในประเภททีมหญิง[12] รวมทั้งเป็นตัวแทนทีมชาติไทยผู้เข้าแข่งขันรายการเจแปนซูเปอร์ซีรีส์ 2012[13]

ประวัติ

[แก้]
ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย (ซ้าย) และนิพิฐพนธ์ พวงพั่วเพชร เมื่อปี 2556

ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย เข้าแข่งขันแบดมินตันในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 ซึ่งเธอเป็นฝ่ายชนะนักแบดมินตันจากเวียดนามแล้วเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศโดยได้พบกับเติ้งสวน จากจีน[14] ที่ซึ่งทรัพย์สิรีเป็นฝ่ายชนะด้วยคะแนน 21-14, 21-17 และได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันดังกล่าว[15]

วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554 ทรัพย์สิรีเข้าแข่งขันรายการแบดมินตันชิงแชมป์เอเชีย 2011 รอบ 16 คน ที่ซึ่งเธอเป็นฝ่ายชนะฟรานซิสกา รัตนาซารี จากอินโดนีเซีย ด้วยคะแนน 21-15, 21-19 และผ่านเข้ารอบไปพบกับหวัง ยี ฮาน ซึ่งเป็นมือวางอันดับ 3 จากจีน[16]

วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ทรัพย์สิรีเข้าแข่งขันรายการเซอร์กิตโลก "เอสซีจีไทยแลนด์โอเพ่นกรังด์ปรีซ์โกลด์ 2012" ซึ่งจัดขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในประเภทหญิงเดี่ยว เธอเป็นฝ่ายชนะคาโอริ อิมาเบปปู จากญี่ปุ่น 2-1 เกม ที่คะแนน 20-22, 21-19, 21-15 และผ่านเข้าสู่รอบ 8 คนสุดท้ายโดยได้พบกับไซนา เนวาล จากอินเดียซึ่งเป็นมือวางอันดับ 1 ของรายการ ส่วนในประเภทคู่ผสม เธอได้จับคู่กับสาวิตรี อมิตรพ่าย และทั้งคู่เป็นฝ่ายแพ้ชอย ฮาย อิน กับโซ ยอง คิม จากเกาหลีใต้ที่คะแนน 22-20, 15-21, 9-21[17]

วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555 ทรัพย์สิรีเข้าแข่งขันรายการหลี่หนิงไชน่ามาสเตอร์ซูเปอร์ซีรีส์ 2012 ที่ฉางโจว ประเทศจีน โดยในประเภทหญิงเดี่ยว เธอเป็นฝ่ายชนะมินัตสึ มิตานิ จากญี่ปุ่น 2-0 เกม ที่คะแนน 21-13, 21-13[18] ส่วนในประเภทหญิงคู่ เธอจับคู่กับสาวิตรี อมิตรพ่าย ที่ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้ต่อเหยา ยี่ซิน กับซง เสี้ยวซิน คู่มือวางอันดับ 5 ของโลกจากจีน 1-2 เกม ด้วยคะแนน 15-21, 21-19, 16-21[19]

วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ทรัพย์สิรีเข้าแข่งขันรายการเดนมาร์กโอเพ่นพรีเมียร์ซูเปอร์ซีรีส์ 2012 ที่โอเดนเซ ประเทศเดนมาร์ก โดยเธอได้จับคู่กับสาวิตรี อมิตรพ่าย และสามารถเป็นฝ่ายชนะหยาน พูนล็อง กับซื่อ หยิงซู่ จากฮ่องกง ซึ่งเป็นมือวางอันดับ 18 ของโลก 2-0 เกม ที่คะแนน 21-11, 21-8[20] และในช่วงระหว่างวันที่ 23-28 ตุลาคม ของปีเดียวกันนี้ ทรัพย์สิรีได้ร่วมแข่งขันรายการโยเน็กซ์เฟรนช์โอเพ่น 2012 โดยเธอได้พบกับคริสตินา กวานโฮล์ท จากสาธารณรัฐเช็ก ในประเภทหญิงเดี่ยว ส่วนในประเภทหญิงคู่ เธอได้จับคู่กับสาวิตรี อมิตรพ่าย และได้พบกับ เก็บบี อิมาวาน กับทิอารา นูไรดาห์ จากอินโดนีเซีย[21]

ครั้งหนึ่ง ได้มีการจัดการแข่งขันแบดมินตันรายการเอสซีจีแบดมินตันสตาร์ชาลเลนจ์ ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างนักแบดมินตันทีมชาติกับดารานักแสดง ที่ซึ่งเธอได้พบกับณัฐฐาวีรนุช ทองมี ในประเภทหญิงเดี่ยว[22]

ผลงาน

[แก้]

บีดับเบิลยูเอฟ ชิงแชมป์โลก

[แก้]

คู่ผสม

ปี สถานที่ คู่นักกีฬา คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2019 St. Jakobshalle,
บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์
ไทย เดชาพล พัววรานุเคราะห์ จีน เจิ้ง ซีเหวย์
จีน หวง หย่าฉยง
8–21, 12–21 Silver เหรียญเงิน
2021 Palacio de los Deportes Carolina Marín,
Huelva, สเปน
ไทย เดชาพล พัววรานุเคราะห์ ญี่ปุ่น ยูตะ วาตานาเบะ
ญี่ปุ่น อาริสะ ฮิงาชิโนะ
21–13, 21–14 Gold เหรียญทอง[23][24][25]

ชิงแชมป์เอเชีย

[แก้]

คู่ผสม

ปี สถานที่ คู่นักกีฬา คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2017 อู่ฮั่นยิมเนเซียม,
อู่ฮั่น, จีน
ไทย เดชาพล พัววรานุเคราะห์ จีน หลู ไค
จีน หวง หย่าฉยง
18–21, 11–21 Silver เหรียญเงิน
2019 จีน หวัง อี้ลวี่
จีน หวง ตงผิง
21–23, 10–21 Bronze เหรียญทองแดง

ซีเกมส์

[แก้]

หญิงคู่

ปี สถานที่ คู่นักกีฬา คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2013 Wunna Theikdi Indoor Stadium,
เนปยีดอ, เมียนมา
ไทย พุธิตา สุภจิรกุล อินโดนีเซีย นิตยา กริชินดา มาเฮสวารี
อินโดนีเซีย เกรย์เซีย โปลี
7–21, 11–21 Bronze เหรียญทองแดง
2017 Axiata Arena,
กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย
ไทย จงกลพรรณ กิติธรากุล
ไทย รวินดา ประจงใจ
16–21, 8–7 ถอนตัว (บาดเจ็บ) Gold เหรียญเงิน

คู่ผสม

ปี สถานที่ คู่นักกีฬา คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2013 Wunna Theikdi Indoor Stadium,
เนปยีดอ, เมียนมา
ไทย มณีพงศ์ จงจิตร อินโดนีเซีย มูฮัมมัด ริจาล
อินโดนีเซีย เด็บบี้ ซูซานโต
18–21, 19–21 Silver เหรียญเงิน
2015 สนามกีฬาในร่มสิงคโปร์,
ประเทศสิงคโปร์
ไทย สุดเขต ประภากมล อินโดนีเซีย ปราวีน จอร์แดน
อินโดนีเซีย เด็บบี้ ซูซานโต
13–21, 21–8, 14–21 Bronze เหรียญทองแดง
2017 Axiata Arena,
กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย
ไทย เดชาพล พัววรานุเคราะห์ มาเลเซีย โก๊ะ ซุน ฮวด
มาเลเซีย เชวอน เจมี ไล
21–15, 22–20 Gold เหรียญทอง

โอลิมปิกเยาวชน

[แก้]

หญิงเดี่ยว

ปี สถานที่ คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2010 สนามกีฬาในร่มสิงคโปร์,
ประเทศสิงคโปร์
จีน เติ้ง ฉวน 21–14, 21–17 เหรียญทอง

บีดับเบิลยูเอฟ เยาวชนชิงแชมป์โลก

[แก้]

เยาวชน หญิงคู่

ปี สถานที่ คู่นักกีฬา คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2009 Stadium Sultan Abdul Halim,
อาโลร์เซอตาร์, มาเลเซีย
ไทย รจนา จุฑาบัณฑิตกุล จีน ทัง จินหัว
จีน เชีย ฮวน
7–21, 15–21 Bronze เหรียญทองแดง

เยาวชนชิงแชมป์เอเชีย

[แก้]

เยาวชน หญิงเดี่ยว

ปี สถานที่ คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2010 Stadium Juara, กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย จีน Suo Di 13–21, 11–21 Silver เหรียญเงิน

เยาวชน หญิงคู่

ปี สถานที่ คู่นักกีฬา คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2009 Stadium Juara,
กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย
ไทย รจนา จุฑาบัณฑิตกุล จีน ลั่ว หยิง
จีน ลั่ว หยู
16–21, 10–21 Bronze เหรียญทองแดง

บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ (17 แชมป์, 10 รองแชมป์)

[แก้]

บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ ซึ่งถูกประกาศเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2017 และเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2018[26] เป็นรายการแข่งขันแบดมินตันระดับชั้นนำ รับรองโดย สหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF) ทัวร์นาเมนต์ถูกแบ่งออกเป็นหลายระดับ ได้แก่ เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์, ซูเปอร์ 1000, ซูเปอร์ 750, ซูเปอร์ 500, ซูเปอร์ 300 (ส่วนหนึ่งของ HSBC World Tour) และ ซูเปอร์ 100 [27]

หญิงคู่

ปี รายการ ระดับ คู่นักกีฬา คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2019 ไทยแลนด์ มาสเตอร์ส ซูเปอร์ 300 ไทย พุธิตา สุภจิรกุล จีน Li Wenmei
จีน เจิ้ง อวี่
15–21, 21–15, 21–10 1 ชนะเลิศ

คู่ผสม

ปี รายการ ระดับ คู่นักกีฬา คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2018 เดนมาร์ก โอเพ่น ซูเปอร์ 750 ไทย เดชาพล พัววรานุเคราะห์ จีน เจิ้ง ซีเหวย์
จีน หวง หย่าฉยง
16–21, 13–21 2 รองชนะเลิศ
2019 ไทยแลนด์ มาสเตอร์ส ซูเปอร์ 300 มาเลเซีย ชาน เป็ง ซุน
มาเลเซีย โก๊ะ หลิว หยิง
16–21, 15–21 2 รองชนะเลิศ
2019 มาเลเซีย มาสเตอร์ส ซูเปอร์ 500 ญี่ปุ่น ยูตะ วาตานาเบะ
ญี่ปุ่น อาริสะ ฮิงาชิโนะ
18–21, 18–21 2 รองชนะเลิศ
2019 สิงคโปร์ มาสเตอร์ส ซูเปอร์ 500 มาเลเซีย ตัน เคียน เหม็ง
มาเลเซีย ไล่ เป่ย จิง
21–14, 21–6 1 ชนะเลิศ
2019 โคเรีย โอเพ่น ซูเปอร์ 500 จีน เจิ้ง ซีเหวย์
จีน หวง หย่าฉยง
21–14, 21–13 1 ชนะเลิศ
2019 มาเก๊า โอเพ่น ซูเปอร์ 300 จีนไทเป หวัง ฉีหลิน
จีนไทเป เจิ้ง ฉีหยา
21–11, 21–8 1 ชนะเลิศ
2020 ออลอิงแลนด์ โอเพ่น ซูเปอร์ 1000 อินโดนีเซีย ปราวีน จอร์แดน
อินโดนีเซีย เมลาตี ดาเอวา อ็อกตาเวียนติ
15–21, 21–17, 8–21 2 รองชนะเลิศ
2020 (I) ไทยแลนด์ โอเพ่น ซูเปอร์ 1000 21–3, 20–22, 21–18 1 ชนะเลิศ
2020 (II) ไทยแลนด์ โอเพ่น ซูเปอร์ 1000 เกาหลีใต้ ซอ ซึง-แจ
เกาหลีใต้ แช ยู-จุง
21–16, 22–20 1 ชนะเลิศ
2020 บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์ เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์ 21–18, 8–21, 21–8 1 ชนะเลิศ
2021 เดนมาร์ก โอเพ่น ซูเปอร์ 1000 ญี่ปุ่น ยูตะ วาตานาเบะ
ญี่ปุ่น อาริสะ ฮิงาชิโนะ
18–21, 9–21 2 รองชนะเลิศ
2021 ไฮโล โอเพ่น ซูเปอร์ 500 อินโดนีเซีย ปราวีน จอร์แดน
อินโดนีเซีย เมลาตี ดาเอวา อ็อกตาเวียนติ
22–20, 21–14 1 ชนะเลิศ
2021 อินโดนีเซีย มาสเตอร์ส ซูเปอร์ 750 ฮ่องกง ถัง ชุน หมัน
ฮ่องกง เซียะ อิ๋ง เสว่
21–11, 21–12 1 ชนะเลิศ
2021 อินโดนีเซีย โอเพ่น ซูเปอร์ 1000 ญี่ปุ่น ยูตะ วาตานาเบะ
ญี่ปุ่น อาริสะ ฮิงาชิโนะ
21–12, 21–13 1 ชนะเลิศ
2021 บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์ เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์ 21–19, 21–11 1 ชนะเลิศ
2022 เยอรมัน โอเพ่น ซูเปอร์ 300 มาเลเซีย ตัน เคียน เหม็ง
มาเลเซีย ไล่ เป่ย จิง
21–11, 21–18 1 ชนะเลิศ[28]
2022 ไทยแลนด์ โอเพ่น ซูเปอร์ 500 จีน เจิ้ง ซีเหวย์
จีน หวง หย่าฉยง
12–21, 21–18, 14–21 2 รองชนะเลิศ
2022 มาเลเซีย โอเพ่น ซูเปอร์ 750 จีน เจิ้ง ซีเหวย์
จีน หวง หย่าฉยง
13–21, 18–21 2 รองชนะเลิศ
2022 สิงคโปร์ โอเพ่น ซูเปอร์ 500 จีน หวัง อี้ลวี่
จีน หวง ตงผิง
21–12, 21–17 1 ชนะเลิศ
2022 เจแปน โอเพน ซูเปอร์ 750 ญี่ปุ่น ยูตะ วาตานาเบะ
ญี่ปุ่น อาริสะ ฮิงาชิโนะ
16–21, 23–21, 21–18 1 ชนะเลิศ
2022 บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์ เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์ จีน เจิ้ง ซีเหวย์
จีน หวง หย่าฉยง
19–21, 21–18, 13–21 2 รองชนะเลิศ
2023 มาเลเซีย มาสเตอร์ส ซูเปอร์ 500 จีน Feng Yanzhe
จีน Huang Dongping
16–21, 21–13, 21–18 1 ชนะเลิศ
2023 ไทยแลนด์ โอเพ่น ซูเปอร์ 500 เกาหลีใต้ Kim Won-ho
เกาหลีใต้ Jeong Na-eun
21–11, 19–21, 20–22 2 รองชนะเลิศ
2023 เจแปน โอเพ่น ซูเปอร์ 750 ญี่ปุ่น ยูตะ วาตานาเบะ
ญี่ปุ่น อาริสะ ฮิงาชิโนะ
21–17, 16–21, 15–21 2 รองชนะเลิศ
2024 อินเดีย โอเพ่น ซูเปอร์ 750 จีน Jiang Zhenbang
จีน Wei Yaxin
21–16, 21–16 1 ชนะเลิศ
ไทยแลนด์ มาสเตอร์ส ซูเปอร์ 300 มาเลเซีย Chen Tang Jie
มาเลเซีย Toh Ee Wei
21–12, 21–18 1 ชนะเลิศ

บีดับเบิลยูเอฟ ซูเปอร์ซีรีส์ (1 รองแชมป์)

[แก้]

บีดับเบิลยูเอฟ ซูเปอร์ซีรีส์ เปิดตัวเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2006 และดำเนินการเมื่อปี 2007[29] เป็นรายการแข่งขันแบดมินตันระดับชั้นนำ รับรองโดย สหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF) โดยระดับของซูเปอร์ซีรีส์ ได้แก่ ซูเปอร์ซีรีส์ และซูเปอร์ซีรีส์ พรีเมียร์ ในแต่ละฤดูกาลประกอบไปด้วย 12 ทัวร์นาเมนต์ทั่วโลก ซึ่งถูกเปิดตัวตั้งแต่ปี 2011[30] ผู้เล่นที่ประสบความสำเร็จจะเข้าไปแข่งขันในซูเปอร์ซีรีส์ ไฟนัลส์ ซึ่งจะจัดขึ้นในทุก ๆ สิ้นปี

คู่ผสม

ปี รายการ คู่นักกีฬา คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2017 สิงคโปร์ โอเพ่น ไทย เดชาพล พัววรานุเคราะห์ จีน หลู ไค
จีน หวง หย่าฉยง
21–19, 16–21, 11–21 2 รองชนะเลิศ
  การแข่งขัน บีดับเบิลยูเอฟ ซูเปอร์ซีรีส์ไฟนัลส์
  การแข่งขัน บีดับเบิลยูเอฟ ซูเปอร์ซีรีส์ พรีเมียร์
  การแข่งขัน บีดับเบิลยูเอฟ ซูเปอร์ซีรีส์

บีดับเบิลยูเอฟ กรังปรีซ์ (4 แชมป์, 9 รองแชมป์)

[แก้]

บีดับเบิลยูเอฟ กรังปรีซ์ มีทั้งหมด 2 ระดับ คือ กรังปรีซ์ และกรังปรีซ์ โกลด์ ซึ่งเป็นซีรีส์ของการแข่งขันแบดมินตัน รับรองโดสหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF) มีการแข่งขันในระหว่าง ค.ศ. 2017 และ 2017

หญิงเดี่ยว

ปี รายการ คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2013 U.S. โอเพ่น ญี่ปุ่น ยูกะ คุสึโนเสะ 21–12, 21–13 1 ชนะเลิศ

หญิงคู่

ปี รายการ คู่นักกีฬา คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2012 อินเดีย กรังปรีซ์ โกลด์ ไทย สาวิตรี อมิตรพ่าย อินโดนีเซีย โกมาลา เดวี
อินโดนีเซีย เจนนา โกซาลี
21–12, 21–6 1 ชนะเลิศ
2013 ออสเตรเลีย โอเพ่น อินโดนีเซีย Vita Marissa
อินโดนีเซีย Aprilsasi Putri Lejarsar Variella
19–21, 15–21 2 รองชนะเลิศ
2014 U.S. โอเพ่น ไทย พุธิตา สุภจิรกุล อินโดนีเซีย Shendy Puspa Irawati
อินโดนีเซีย Vita Marissa
15–21, 10–21 2 รองชนะเลิศ
2015 เม็กซิโกซิตี กรังปรีซ์ ญี่ปุ่น ชิสึกะ มัตสึโอะ
ญี่ปุ่น มามิ นาอิโตะ
17–21, 21–16, 10–21 2 รองชนะเลิศ
2016 เยอรมัน โอเพ่น จีน หวง หย่าฉยง
จีน ทัง จินหัว
14–21, 18–21 2 รองชนะเลิศ
2016 ไทยแลนด์ โอเพ่น ญี่ปุ่น มายู มัตสึโมโตะ
ญี่ปุ่น วากานะ นางาฮาระ
21–12, 21–17 1 ชนะเลิศ
2017 ไทยแลนด์ มาร์สเตอร์ส จีน เฉิน ชิงเฉิน
จีน เจี่ย อี้ฝาน
16–21, 15–21 2 รองชนะเลิศ

คู่ผสม

ปี รายการ คู่นักกีฬา คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2014 U.S. โอเพ่น ไทย มณีพงศ์ จงจิตร อินโดนีเซีย Muhammad Rijal
อินโดนีเซีย Vita Marissa
16–21, 19–21 2 รองชนะเลิศ
2016 ไซเอ็ด โมดี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ไทย เดชาพล พัววรานุเคราะห์ อินโดนีเซีย ปราวีน จอร์แดน
อินโดนีเซีย เด็บบี้ ซูซานโต
25–23, 9–21, 16–21 2 รองชนะเลิศ
2016 โคเรีย มาสเตอร์ส เกาหลีใต้ โก ซอง-ฮยอน
เกาหลีใต้ คิม ฮา-นา
19–21, 16–21 2 รองชนะเลิศ
2017 ไทยแลนด์ มาสเตอร์ส จีน จาง หนาน
จีน หลี่ หยิน ฮุ่ย
11–21, 22–20, 13–21 2 รองชนะเลิศ
2017 สวิส โอเพ่น อินโดนีเซีย ปราวีน จอร์แดน
อินโดนีเซีย เด็บบี้ ซูซานโต
21–18, 21–15 1 ชนะเลิศ
  การแข่งขัน บีดับเบิลยูเอฟ กรังปรีซ์ โกลด์
  การแข่งขัน บีดับเบิลยูเอฟ กรังปรีซ์

บีดับเบิลยูเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล ชาลเลนจ์/ซีรีส์ (3 แชมป์, 2 รองแชมป์)

[แก้]

หญิงเดี่ยว

ปี รายการ คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2009 มาเลเซีย อินเตอร์เนชั่นแนล ไทย รัชนก อินทนนท์ 21–11, 19–21, 22–20 1 ชนะเลิศ
2011 เวียดนาม อินเตอร์เนชั่นแนล มาเลเซีย ที จิง ยี่ 19–21, 15–21 2 รองชนะเลิศ

หญิงคู่

ปี รายการ คู่นักกีฬา คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2009 การการแข่งขันแบดมินตันนานาชาติ ปุ้มปุ้ยแชมเปี้ยนชิพ ไทย พรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข อินเดีย P. C. Thulasi
อินเดีย N. Siki Reddy
21–19, 21–17 1 ชนะเลิศ
2015 USA อินเตอร์เนชั่นแนล ไทย พุธิตา สุภจิรกุล อังกฤษ เฮเธอร์ โอลเวอร์
อังกฤษ ลอเรน สมิธ
21–18, 19–21, 19–21 2 รองชนะเลิศ
2016 โปลิช โอเพ่น มาเลเซีย โจว เหม่ย ควาน
มาเลเซีย ลี เมิง เยียน
21–7, 21–17 1 ชนะเลิศ
  การแข่งขัน บีดับเบิลยูเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล ชาลเลนจ์
  การแข่งขัน บีดับเบิลยูเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล ซีรีส์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ฉันท์ชมา (6 February 2021). "ทำความรู้จัก "ปอป้อ ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย" นักแบดมินตันหญิงทีมชาติไทย". True ID. สืบค้นเมื่อ 8 December 2021.
  2. ""เดชาพล-ทรัพย์สิรี" ผงาดเบอร์ 1 โลกอย่างเป็นทางการ". MGR. 7 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 December 2021. สืบค้นเมื่อ 10 January 2022.
  3. "BWF contents". BWF-Tournament Software. สืบค้นเมื่อ 9 October 2016.[ลิงก์เสีย]
  4. Thailand shuttling to the top - China Daily (อังกฤษ)
  5. "มอบของขวัญส่งท้ายปี! บาส -ปอป้อ คว้า8 แชมป์ในปี 2021 ครองมือวางอันดับ1ของโลก". True ID. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
  6. "Badminton mixed doubles win first world championship" (ภาษาอังกฤษ). bangkokpost. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
  7. "Dechapol and Sapsiree make history" (ภาษาอังกฤษ). bangkokpost. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
  8. "Mixed doubles Thai badminton stars retain World Tour Finals crown" (ภาษาอังกฤษ). thethaiger.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
  9. "Dechapol and Sapsiree reach first Super Series final" (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
  10. "ClubXcite เปิดใจน้อง ปอป้อ ดาวรุ่งวงการลูกขนไก่ไทย - ผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2012-11-14.
  11. มั่นใจ 'พิสิษฐ์-ทรัพย์สิรี' มีเฮในโอลิมปิก2016 - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
  12. 2 แบดดาวรุ่ง ความหวังจุฬา
  13. BWF Tournament
  14. YOUTH OLYMPICS SF – Sapsiree makes up for Intanon's absence เก็บถาวร 2012-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  15. YOUTH OLYMPICS Finals – Thai for two and two for Thais (อังกฤษ)
  16. "8 นักแบดฯไทยโชว์ฟอร์มเยี่ยม ชิงแชมป์เอเชีย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-01. สืบค้นเมื่อ 2012-11-14.
  17. แบดคู่ผสม สุดเขต-สราลีย์ผ่านฉลุย รัชนก-พรทิพย์-ทรัพย์สิรีเข้ารอบ บุญศักดิ์พ่าย เอสซีจีโอเพ่น
  18. "รัชนกต้านมือ 1 โลกไม่ไหวพ่ายตกรอบ! คมชัดลึก : กีฬา : กีฬาในประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-17. สืบค้นเมื่อ 2021-11-06.
  19. เมย์ต้านสาวจีนไม่ไหว, ปอป้อพลิกโค่นสาวยุ่น - เดลินิวส์
  20. "สาวิตรี-ทรัพย์สิรีตบทะลุก่อนรองฯหวดคู่แบดฯโคนม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-11-14.
  21. หนังสือพิมพ์บ้านเมือง » น้องเมย์สบายโยเน็กซ์เฟรนช์[ลิงก์เสีย]
  22. "เครือซิเมนต์ไทย...ทำ (ให้) กรี๊ด...จัดนักตบลูกขนไก่ปะทะดาราดัง - สยามดารา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-04. สืบค้นเมื่อ 2012-11-14.
  23. "BREAKTHROUGH TITLES FOR THAILAND, JAPAN". /bwfworldchampionships.bwfbadminton.com (ภาษาอังกฤษ). BWF. สืบค้นเมื่อ 20 December 2021.
  24. "ประวัติศาสตร์! "บาส-ปอป้อ" ขยี้คู่ญี่ปุ่น2เกม ผงาดแชมป์โลกยิ่งใหญ่". www.siamsport.co.th. siamsport. สืบค้นเมื่อ 20 December 2021.
  25. "กระหึ่มโลก! "บาส-ปอป้อ" ท็อปฟอร์มคว่ำคู่ญี่ปุ่น คว้าแชมป์โลกแบดฯคู่ผสม". www.bangkokbiznews.com. bangkokbiznews.
  26. Alleyne, Gayle (19 March 2017). "BWF Launches New Events Structure". Badminton World Federation (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 29 November 2017.
  27. Sukumar, Dev (10 January 2018). "Action-Packed Season Ahead!". Badminton World Federation (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2018. สืบค้นเมื่อ 15 January 2018.
  28. บาส-ปอป้อ ไล่ถลุงคู่จีนยับซิวแชมป์แบดเยอรมัน โอเพ่น
  29. "BWF Launches Super Series". Badminton Australia (ภาษาอังกฤษ). 15 December 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2007.
  30. "Yonex All England Elevated To BWF Premier Super Series Event". IBadmintonstore (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2013. สืบค้นเมื่อ 29 September 2013.
  31. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]